กรุงเทพ--7 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามเข้าเยี่ยมคารวะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อหารือเรื่องการเตรียมการจัด การประชุมสุดยอดอาเซม
วันนี้ (7 มกราคม 2547) นายเล วัน บ่าง (Le Van Bang) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ในฐานะผู้แทนพิเศษของนายฟาน วัน ข่าย นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือเรื่องการเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซม (ASEM Summit) ซึ่งเวียดนามจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 9 ตุลาคม 2547
ภายหลังการหารือ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้ข้อคิดเห็นกับฝ่ายเวียดนามเกี่ยวกับการเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซม ดังนี้
1. การประชุมอาเซมเป็นการประชุมที่มีความสำคัญต่อฝ่ายเอเชียและฝ่ายยุโรป ที่ผ่านมาฝ่ายไทยมีความห่วงใยเกี่ยวกับความสนใจหรือความสำคัญที่ฝ่ายยุโรปให้กับเวทีการประชุมในกรอบอาเซม ฝ่ายไทยจึงขอให้เวียดนามในฐานะเจ้าภาพการประชุมฯ ย้ำกับฝ่ายยุโรปถึงความสำคัญของการประชุมฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมอบหมายผู้แทนเข้าร่วมการประชุมฯ ควรเป็นระดับที่เหมาะสม
2. ระเบียบวาระของการหารือควรมีความสมดุล โดยเน้นทุกด้าน รวมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
3. ควรเน้นบทบาทของภาคเอกชนในการประชุมฯ มากขึ้นเพื่อส่งเสริมพลังขับเคลื่อนของการประชุมฯ สำหรับรูปแบบของการเข้าร่วมและบทบาทของภาคเอกชนเป็นเรื่องที่น่าจะมีการหารือกันต่อไป
4. การขยายสมาชิกภาพของการประชุมฯ สำหรับฝ่ายยุโรปนั้น มีสมาชิกใหม่ของ สหภาพยุโรป 10 ประเทศ ที่แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมการประชุมอาเซม สำหรับเอเชีย มีประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน 3 ประเทศที่ยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก ได้แก่ ลาว พม่าและกัมพูชา ซึ่งฝ่ายอาเซียนเห็นว่าประเทศ ทั้งสามควรได้รับเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของอาเซมพร้อมกัน และในโอกาสนี้ ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ฝ่ายเวียดนามทราบถึงพัฒนาการของสถานการณ์ในพม่าและการที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Bangkok Process เพื่อสนับสนุนกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่า
5. ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความสัมพันธ์ทวิภาคีของไทยและเวียดนามซึ่งมีความราบรื่นและใกล้ชิดในทุก ๆ ด้าน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายกำหนดที่จะจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทยกับเวียดนามระหว่างวันที่ 20 — 22 กุมภาพันธ์ 2547
ในโอกาสนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับผลการเดินทางไปเยือนมาเลเซียของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือเรื่องสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยว่า การเดินทางไปเยือนมาเลเซียของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศในครั้งนี้ เป็นไปตามหลักการที่ยึดถือระหว่างประเทศทั้งสอง กล่าวคือเมื่อ มีเหตุการณ์อันใดที่กระทบกับความมั่นคงชายแดนของไทยและมาเลเซีย ทั้งสองฝ่ายจะให้ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงได้เดินทางไปเยือนมาเลเซียเพื่อแสดงท่าทีในระดับนโยบายว่าฝ่ายไทยต้องการความร่วมมือจากฝ่ายมาเลเซีย ซึ่งฝ่ายมาเลเซียทั้งในระดับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียได้แสดงความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับฝ่ายไทยอย่างเต็มที่ ซึ่งหน่วยงานในระดับปฏิบัติจะหารือในรายละเอียดของความร่วมมือในลำดับต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามเข้าเยี่ยมคารวะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อหารือเรื่องการเตรียมการจัด การประชุมสุดยอดอาเซม
วันนี้ (7 มกราคม 2547) นายเล วัน บ่าง (Le Van Bang) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ในฐานะผู้แทนพิเศษของนายฟาน วัน ข่าย นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือเรื่องการเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซม (ASEM Summit) ซึ่งเวียดนามจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 9 ตุลาคม 2547
ภายหลังการหารือ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้ข้อคิดเห็นกับฝ่ายเวียดนามเกี่ยวกับการเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซม ดังนี้
1. การประชุมอาเซมเป็นการประชุมที่มีความสำคัญต่อฝ่ายเอเชียและฝ่ายยุโรป ที่ผ่านมาฝ่ายไทยมีความห่วงใยเกี่ยวกับความสนใจหรือความสำคัญที่ฝ่ายยุโรปให้กับเวทีการประชุมในกรอบอาเซม ฝ่ายไทยจึงขอให้เวียดนามในฐานะเจ้าภาพการประชุมฯ ย้ำกับฝ่ายยุโรปถึงความสำคัญของการประชุมฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมอบหมายผู้แทนเข้าร่วมการประชุมฯ ควรเป็นระดับที่เหมาะสม
2. ระเบียบวาระของการหารือควรมีความสมดุล โดยเน้นทุกด้าน รวมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
3. ควรเน้นบทบาทของภาคเอกชนในการประชุมฯ มากขึ้นเพื่อส่งเสริมพลังขับเคลื่อนของการประชุมฯ สำหรับรูปแบบของการเข้าร่วมและบทบาทของภาคเอกชนเป็นเรื่องที่น่าจะมีการหารือกันต่อไป
4. การขยายสมาชิกภาพของการประชุมฯ สำหรับฝ่ายยุโรปนั้น มีสมาชิกใหม่ของ สหภาพยุโรป 10 ประเทศ ที่แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมการประชุมอาเซม สำหรับเอเชีย มีประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน 3 ประเทศที่ยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก ได้แก่ ลาว พม่าและกัมพูชา ซึ่งฝ่ายอาเซียนเห็นว่าประเทศ ทั้งสามควรได้รับเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของอาเซมพร้อมกัน และในโอกาสนี้ ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ฝ่ายเวียดนามทราบถึงพัฒนาการของสถานการณ์ในพม่าและการที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Bangkok Process เพื่อสนับสนุนกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่า
5. ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความสัมพันธ์ทวิภาคีของไทยและเวียดนามซึ่งมีความราบรื่นและใกล้ชิดในทุก ๆ ด้าน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายกำหนดที่จะจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทยกับเวียดนามระหว่างวันที่ 20 — 22 กุมภาพันธ์ 2547
ในโอกาสนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับผลการเดินทางไปเยือนมาเลเซียของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือเรื่องสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยว่า การเดินทางไปเยือนมาเลเซียของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศในครั้งนี้ เป็นไปตามหลักการที่ยึดถือระหว่างประเทศทั้งสอง กล่าวคือเมื่อ มีเหตุการณ์อันใดที่กระทบกับความมั่นคงชายแดนของไทยและมาเลเซีย ทั้งสองฝ่ายจะให้ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงได้เดินทางไปเยือนมาเลเซียเพื่อแสดงท่าทีในระดับนโยบายว่าฝ่ายไทยต้องการความร่วมมือจากฝ่ายมาเลเซีย ซึ่งฝ่ายมาเลเซียทั้งในระดับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียได้แสดงความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับฝ่ายไทยอย่างเต็มที่ ซึ่งหน่วยงานในระดับปฏิบัติจะหารือในรายละเอียดของความร่วมมือในลำดับต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-