ยานยนต์
การส่งออกสินค้ายานยนต์ในเดือนพฤศจิกายนมีมูลค่า 533.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนตุลาคม ร้อยละ 8.27
ภาพรวมการส่งออกยานยนต์
การส่งออกยานยนต์ ระยะ 11 เดือน(ม.ค.-พ.ย.)ของปี 2548 มีมูลค่า 5,090.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 44.65
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547
ไทยสามารถส่งออกยานยนต์เพิ่มขึ้น จากการขยายฐานการผลิตและการลงทุนเพิ่มขึ้นในประเทศไทย อาทิ บริษัทโตโยต้าส่งออกรถยนต์
โครงการ IMV (Innovation International Multi Purpose Vehicle) ไป 50 ประเทศจำนวน 150,000 คัน รวมทั้งมีแผนลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถปิกอัพ Hilux แห่งใหม่ กำลังการผลิต 100,000 คัน ในปี 2550 ทั้งนี้ Isuzu ได้ตั้งเป้าขยายการส่งออก จาก 20,000 คัน ในปี 2548 เป็นส่งออกจำนวน 50,000 คัน General Motor เพิ่มกำลังการผลิตให้ถึง 110,000 คันต่อปี นิสสันจะขยายกำลังการผลิตถึง 200,000 คันใน 5 ปี และฮอนด้า จะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 120,000 คันในปีหน้า เป็นต้น
ผลจากการเจรจาข้อตกลง FTA ทำให้สามารถขยายการส่งออกยานยนต์ไปประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นสูงมาก รวมทั้ง
อัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรที่แข็งขึ้นและค่าเงินบาท ที่อ่อนลงทำให้ประเทศในยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร สเปน กรีซ และตุรกี มีการสั่งซื้อรถปิกอัพจากไทยเพิ่มขึ้น รวมทั้งการส่งออกรถปิกอัพไปตลาดตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดิอาระเบีย เพิ่มขึ้นด้วย
เป้าหมายการส่งออกปี 2548:
มีมูลค่า 5,440 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40
อุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์
การส่งออกสินค้าอุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายนมี มูลค่า 407.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม
ร้อยละ 4
ภาพรวมการส่งออกอุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์
การส่งออกอุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์ในระยะ 11 เดือน(ม.ค.-พ.ย.)ของปี 2548 มีมูลค่า 4,242.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 เนื่องจากปัจจัยสำคัญหลายประการ ได้แก่ ผลต่อเนื่องของการส่งออกสินค้ายานยนต์ของไทยที่เพิ่มขึ้นสูงมาก ทำให้สินค้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ประเภท OEM (Original Equipment Manufacturer) สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นตามปริมาณการส่งออกยานยนต์ของไทย
การส่งออกสินค้าชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ ประเภท CKD (Completely Knocked Down) และ OEM เพื่อนำไปประกอบรถยนต์ไปประเทศหลักมีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง โดยเฉพาะในเขตการค้าเสรี AFTA และประเทศที่ตั้งของบริษัทแม่ ได้แก่ ญี่ปุ่น และประเทศที่เป็นฐานการผลิตสินค้ารถยนต์ เช่น แอฟริกาใต้ เป็นต้น
การกระตุ้นมูลค่าการส่งออก สินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ แบบ OEM อาศัย ข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ เช่น FTA และการมุ่งเจาะตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูง เพื่อขยายปริมาณการส่งออกสินค้าทดแทน After Market และ REM (Replacement Equipment Manufacturer) อาทิ ตะวันออกกลาง ได้แก่ อิหร่าน ตุรกี เยเมน และ แอฟริกาตอนหนือ ได้แก่ อียิปต์ โมร็อกโกและ อัลจีเรีย อาศัยการดำเนินกิจกรรม การเดินทางไปพบลูกค้าโดยตรง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในประสิทธิของสินค้าไทย ที่มีราคาไม่แพงเท่ายุโรปแต่มีคุณภาพใกล้เคียงของ Original
เป้าหมายการส่งออกปี 2548:
มีมูลค่า 5,134 เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40
ที่มา: http://www.depthai.go.th