ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.แถลงรายละเอียดแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวถึงแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.ว่า จะเป็นปัจจัยผลักดันให้ ธพ.มีการควบรวมกิจการกันมากขึ้น โดย
รูปแบบของสถาบันการเงินจะเหลือ 2 ประเภทสำหรับ ธพ.ไทย คือ ธนาคารพาณิชย์ไทย (ธพ.) และธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (ธย.)
ส่วน ธ.ต่างประเทศจะแบ่งเป็น สาขา ธ.ต่างประเทศ (Branch) และ ธพ.ที่เป็นบริษัทลูกของ ธ.ต่างประเทศ (Subsidiary)
โดยภายใน 1-2 เดือนจากนี้ ธปท.จะออกเกณฑ์การให้ใบอนุญาตธนาคารใหม่ทั้ง 4 ประเภท ซึ่งจะมีรายละเอียดของการยกระดับขึ้นเป็น
ธพ. ซึ่ง บง. และ บค. สามารถยื่นคำขอปรับสถานะและแผนการดำเนินการมายัง ธปท.ภายใน 6 เดือน เพื่อให้ ธปท.พิจารณาเสนอ
ก.คลังต่อไป ในส่วนของ ธพ. สามารถดำเนินการต่อไปได้อยู่แล้ว เนื่องจากเป็นธนาคารเต็มรูปแบบตามคำจำกัดความในแผนฯ แต่จะ
ต้องมีการควบรวมสถาบันการเงินในเครือเข้าเป็นแห่งเดียว สำหรับภาพรวมของสถาบันการเงิน คาดว่าการควบรวมกิจการทั้งหมดจะ
เสร็จสิ้นภายในปี 48 (โลกวันนี้)
2. เจบิคมีความสนใจออกบาทบอนด์ในประเทศไทย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รอง นรม. เปิดเผยภายหลังการหารือกับ
นายซาดากาสึ ทานิกากิ รมว.คลังของญี่ปุ่นว่า เป็นการเตรียมความพร้อมในการเปิดเจรจาการค้าเสรีระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ส่วนการพัฒนา
ตลาด พธบ.เอเชียนั้น ญี่ปุ่นเห็นด้วยและจะสนับสนุนอย่างเต็มที่เกี่ยวกับ พธบ.เอเชียซึ่งไทยจะเป็นแกนนำในการจัดตั้ง นอกจากนี้ รมว.
คลังญี่ปุ่น กล่าวเพิ่มเติมว่า กองทุนความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) มีความต้องการที่จะมาออก พธบ.เพื่อระดมเงินใน
รูปเงินบาทในประเทศไทย (บาทบอนด์) หลังจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการออก พธบ.จะมีการหารือร่วม
กันอีกครั้ง (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. การส่งออกข้าวไทยในปี 46 มีปริมาณสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงตัวเลขการส่ง
ออกข้าวในปี 46 ว่า มีปริมาณทั้งสิ้น 7.58 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 4.68% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่
มีการส่งออกข้าว โดยมีมูลค่าส่งออกประมาณ 1,855 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 19.5% จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าจะมีการส่งออก
ประมาณ 1,700 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือ 7.3 ล้านตัน ทั้งนี้ การส่งออกข้าวไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการที่ไทยร่วมมือกับผู้ผลิต
ข้าวรายใหญ่ของโลก 5 ประเทศ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาดร่วมกัน ทำให้ไม่มีการตัดราคาขายข้าวเหมือนที่ผ่านมา และ
ปริมาณสต็อกข้าวของอินเดียลดลงทำให้ไทยขยายตลาดได้มากขึ้น ประกอบกับภาครัฐและเอกชนร่วมมือประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการ
ขายข้าวไทยในตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผลจากการกำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิทำให้ต่างประเทศมีความเชื่อมั่นใน
คุณภาพข้าว สำหรับในปี 47 กำหนดเป้าหมายการส่งออกข้าวไว้ที่ 8 ล้านตัน หรือมูลค่า 1,900 ล.ดอลลาร์ สรอ. (สยามรัฐ)
4. ผลการจัดเก็บภาษีในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้น 31.72% จากปีก่อน อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บ
ภาษีอากรประจำเดือน ธ.ค.46 ว่า สามารถจัดเก็บภาษีทุกประเภทรวมกันได้ 49,774 ล.บาท สูงกว่าประมาณการ 13,005 ล.บาท
หรือ 35.37% และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 11,986 ล.บาท หรือ 31.72% โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถจัดเก็บได้
10,439 ล.บาท ภาษีเงินได้นิติบุคคล 10,052 ล.บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 26,883 ล.บาท และภาษีธุรกิจเฉพาะ 1,103 ล.บาท ทั้งนี้
การจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผล
จากการเร่งโอนอสังหาริมทรัพย์ให้เสร็จสิ้นก่อนสิ้นปี เพื่อให้ทันต่อการใช้มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ (สยามรัฐ)
5. กรมสรรพากรพร้อมดำเนินการด้านภาษีในการควบรวมสถาบันการเงิน อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากร
พร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ด้านภาษีในการควบรวมสถาบันการเงินตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งอยู่ในข่ายการควบ
รวมกิจการแบบปกติที่กรมสรรพากรได้มีการยกเว้นภาษีให้อยู่แล้ว แต่หากสถาบันการเงินที่ควบรวมมีปัญหาเกี่ยวกับภาษีอื่นๆ กรมสรรพากร
ก็พร้อมจะพิจารณาเพิ่มเติมให้ (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 47
จากผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 44 คนของรอยเตอร์ในช่วงระหว่างวันที่ 30 ธ.ค. 46 | 6 ม.ค. 47 นักเศรษฐศาสตร์
ส่วนใหญ่ถึง 42 คนเห็นว่า ธ. กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับร้อยละ 3.75 ต่อไปอีกในการประชุมที่กำลังจะมาถึง
ขณะที่เงินปอนด์เมื่อเทียบค่ากับเงินดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์นี้สูงสุดในรอบ 11 ปี และ ธ. กลางอังกฤษกำลังเฝ้าคอยรายงานตัวเลข
อัตราเงินเฟ้อในเดือนหน้า นับเป็นครั้งแรกที่มีการประชุมนโยบายการเงินในเดือนม.ค.นับตั้งแต่ที่ รมว. คลัง (Gordon Brown)
ได้เปลี่ยนเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อจากร้อยละ 2.5 เหลือเพียงร้อยละ 2.0 อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าธ. กลางอังกฤษจะปรับอัตรา
ดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน ก.พ. เพื่อลดความร้อนแรงในตลาดที่อยู่อาศัยและการกู้ยืมของผู้บริโภค นักวิเคราะห์จาก BNP Paribas
ในลอนดอนเชื่อว่าต้องมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยแน่นอนเพียงแต่รอจังหวะที่เหมาะสมเท่านั้น (รอยเตอร์)
2. เทศกาลจับจ่ายซื้อของช่วยให้ตัวเลขการจ้างงานของ สรอ.ในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มสูงขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
7 ม.ค.47 ตัวเลขการขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. เมื่อสิ้นปี 46 ลดลงต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจ
ของรอยเตอร์ที่คาดว่า ก.แรงงานของ สรอ.จะรายงานตัวเลขการจ้างงานที่ไม่ใช่ภาคเกษตรในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้น 130,000
ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราการว่างงานจะคงที่อยู่ระดับร้อยละ 5.9 โดยการจ้างงานเพิ่มส่วนใหญ่มาจากภาคบริการโดยเฉพาะการค้า
ปลีกซึ่งมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลปลายปี ผู้ค้าปลีกหลายรายให้ความเห็นว่าพวกเขาไม่เพียงแต่ต้องการจ้างพนักงานชั่วคราว
เพิ่มเท่านั้น แต่ยังต้องการจ้างพนักงานเต็มเวลาเพิ่มขึ้นด้วย ในขณะที่คาดว่าตัวเลขการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในเดือน ธ.ค.46
จะลดลง 15,000 ตำแหน่ง หลังจากที่ลดลงในเดือน พ.ย.46 เป็นเดือนที่ 40 ติดต่อกัน ซึ่งนักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าแรงงานส่วน
ใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน นายจ้างจึงระมัดระวังในการจ้างงานและชอบที่จะจ้างงานชั่วคราวให้แน่ใจก่อนจะ
บรรจุใครเป็นพนักงานเต็มเวลา (รอยเตอร์)
3. จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเดือน ธ.ค. 46 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 7 ม.ค. 47 Die
Welt Newspaper ของเยอรมนีรายงานว่า ในเดือน ธ.ค. 46 มีแนวโน้มว่าคนว่างงานของเยอรมนีจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 4.31 ล้านคน
ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดเมื่อเทียบต่อปีนับแต่เดือน ธ.ค. 40 เป็นต้นมา และเพิ่มขึ้นประมาณ 125,000 คนเมื่อเทียบต่อเดือน ทั้งนี้ รมว.
เศรษฐกิจและแรงงานของเยอรมนี (Wolfgang Clement) กล่าวว่า แม้ว่าตัวเลขการว่างงานของเดือน ธ.ค. 46 จะไม่ค่อยดีนัก
แต่ก็ยังไม่เลวร้ายเหมือนในอดีตที่ผ่านมา นอกจากนั้นยังมีเครื่องบ่งชี้บางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าตัวเลขการว่างงานจะค่อย ๆ ลดลงอย่าง
ช้า ๆ (รอยเตอร์)
4. รอยเตอร์คาดว่าธ.กลางเกาหลีใต้จะยังคงรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำต่อไป รายงานจากโซล เมื่อ 6 ม.ค.47
ผลสำรวจรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ในสัปดาห์นี้ ธ.กลางเกาหลีใต้จะยังคงระดับอัตราดอกเบี้ยข้ามคืนซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 3.75
และอาจจะยังคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง อันเป็นสัญญาณถึงการบริโภคภายในประเทศเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น แม้ว่าจะมีความกดดันจากระดับ
ราคาที่สูงขึ้น โดยราคาขายส่งในเดือน ธ.ค.46 พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 11 เดือน เนื่องจากวัตถุดิบมีราคาเพิ่มขึ้น และภาวะค่าเงินวอนที่อ่อนตัวลง
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน ธ.ค.46 ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน นักวิเคราะห์เห็นว่าภาวะเงินเฟ้อในขณะนี้ยังไม่ส่งผลกระทบต่อ
ระบบเศรษฐกิจเท่าไรนัก โดยภาวะเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในขณะนี้ฟื้นตัวเพียงเล็กน้อยจากที่เคยอยู่ในภาวะถดถอยเมื่อครึ่งปีแรกของปี 46 เนื่องจาก
การใช้จ่ายของผู้บริโภคและธุรกิจถดถอยลง นอกจากนี้นักวิเคราะห์ยังเห็นว่าภาวะเงินเฟ้ออาจจะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ ธ.กลางเกาหลีใต้จะกังวล
แต่มีสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นคือภาวะการฟื้นตัวของการบริโภคภาคครัวเรือนที่ชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8/1/2547 7/1/2547 31/12/2546 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.059 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.9003/39.1834 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.2500 - 1.3000 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 750.97/48.14 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,700/7,800 7,750/7,850 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 28.96 29 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม เมื่อ 8 ม.ค.47 17.79*/14.69 17.29*/14.39 17.29*/14.39 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.แถลงรายละเอียดแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวถึงแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.ว่า จะเป็นปัจจัยผลักดันให้ ธพ.มีการควบรวมกิจการกันมากขึ้น โดย
รูปแบบของสถาบันการเงินจะเหลือ 2 ประเภทสำหรับ ธพ.ไทย คือ ธนาคารพาณิชย์ไทย (ธพ.) และธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (ธย.)
ส่วน ธ.ต่างประเทศจะแบ่งเป็น สาขา ธ.ต่างประเทศ (Branch) และ ธพ.ที่เป็นบริษัทลูกของ ธ.ต่างประเทศ (Subsidiary)
โดยภายใน 1-2 เดือนจากนี้ ธปท.จะออกเกณฑ์การให้ใบอนุญาตธนาคารใหม่ทั้ง 4 ประเภท ซึ่งจะมีรายละเอียดของการยกระดับขึ้นเป็น
ธพ. ซึ่ง บง. และ บค. สามารถยื่นคำขอปรับสถานะและแผนการดำเนินการมายัง ธปท.ภายใน 6 เดือน เพื่อให้ ธปท.พิจารณาเสนอ
ก.คลังต่อไป ในส่วนของ ธพ. สามารถดำเนินการต่อไปได้อยู่แล้ว เนื่องจากเป็นธนาคารเต็มรูปแบบตามคำจำกัดความในแผนฯ แต่จะ
ต้องมีการควบรวมสถาบันการเงินในเครือเข้าเป็นแห่งเดียว สำหรับภาพรวมของสถาบันการเงิน คาดว่าการควบรวมกิจการทั้งหมดจะ
เสร็จสิ้นภายในปี 48 (โลกวันนี้)
2. เจบิคมีความสนใจออกบาทบอนด์ในประเทศไทย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รอง นรม. เปิดเผยภายหลังการหารือกับ
นายซาดากาสึ ทานิกากิ รมว.คลังของญี่ปุ่นว่า เป็นการเตรียมความพร้อมในการเปิดเจรจาการค้าเสรีระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ส่วนการพัฒนา
ตลาด พธบ.เอเชียนั้น ญี่ปุ่นเห็นด้วยและจะสนับสนุนอย่างเต็มที่เกี่ยวกับ พธบ.เอเชียซึ่งไทยจะเป็นแกนนำในการจัดตั้ง นอกจากนี้ รมว.
คลังญี่ปุ่น กล่าวเพิ่มเติมว่า กองทุนความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) มีความต้องการที่จะมาออก พธบ.เพื่อระดมเงินใน
รูปเงินบาทในประเทศไทย (บาทบอนด์) หลังจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการออก พธบ.จะมีการหารือร่วม
กันอีกครั้ง (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. การส่งออกข้าวไทยในปี 46 มีปริมาณสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงตัวเลขการส่ง
ออกข้าวในปี 46 ว่า มีปริมาณทั้งสิ้น 7.58 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 4.68% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่
มีการส่งออกข้าว โดยมีมูลค่าส่งออกประมาณ 1,855 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 19.5% จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าจะมีการส่งออก
ประมาณ 1,700 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือ 7.3 ล้านตัน ทั้งนี้ การส่งออกข้าวไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการที่ไทยร่วมมือกับผู้ผลิต
ข้าวรายใหญ่ของโลก 5 ประเทศ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาดร่วมกัน ทำให้ไม่มีการตัดราคาขายข้าวเหมือนที่ผ่านมา และ
ปริมาณสต็อกข้าวของอินเดียลดลงทำให้ไทยขยายตลาดได้มากขึ้น ประกอบกับภาครัฐและเอกชนร่วมมือประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการ
ขายข้าวไทยในตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผลจากการกำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิทำให้ต่างประเทศมีความเชื่อมั่นใน
คุณภาพข้าว สำหรับในปี 47 กำหนดเป้าหมายการส่งออกข้าวไว้ที่ 8 ล้านตัน หรือมูลค่า 1,900 ล.ดอลลาร์ สรอ. (สยามรัฐ)
4. ผลการจัดเก็บภาษีในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้น 31.72% จากปีก่อน อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บ
ภาษีอากรประจำเดือน ธ.ค.46 ว่า สามารถจัดเก็บภาษีทุกประเภทรวมกันได้ 49,774 ล.บาท สูงกว่าประมาณการ 13,005 ล.บาท
หรือ 35.37% และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 11,986 ล.บาท หรือ 31.72% โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถจัดเก็บได้
10,439 ล.บาท ภาษีเงินได้นิติบุคคล 10,052 ล.บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 26,883 ล.บาท และภาษีธุรกิจเฉพาะ 1,103 ล.บาท ทั้งนี้
การจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผล
จากการเร่งโอนอสังหาริมทรัพย์ให้เสร็จสิ้นก่อนสิ้นปี เพื่อให้ทันต่อการใช้มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ (สยามรัฐ)
5. กรมสรรพากรพร้อมดำเนินการด้านภาษีในการควบรวมสถาบันการเงิน อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากร
พร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ด้านภาษีในการควบรวมสถาบันการเงินตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งอยู่ในข่ายการควบ
รวมกิจการแบบปกติที่กรมสรรพากรได้มีการยกเว้นภาษีให้อยู่แล้ว แต่หากสถาบันการเงินที่ควบรวมมีปัญหาเกี่ยวกับภาษีอื่นๆ กรมสรรพากร
ก็พร้อมจะพิจารณาเพิ่มเติมให้ (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 47
จากผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 44 คนของรอยเตอร์ในช่วงระหว่างวันที่ 30 ธ.ค. 46 | 6 ม.ค. 47 นักเศรษฐศาสตร์
ส่วนใหญ่ถึง 42 คนเห็นว่า ธ. กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับร้อยละ 3.75 ต่อไปอีกในการประชุมที่กำลังจะมาถึง
ขณะที่เงินปอนด์เมื่อเทียบค่ากับเงินดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์นี้สูงสุดในรอบ 11 ปี และ ธ. กลางอังกฤษกำลังเฝ้าคอยรายงานตัวเลข
อัตราเงินเฟ้อในเดือนหน้า นับเป็นครั้งแรกที่มีการประชุมนโยบายการเงินในเดือนม.ค.นับตั้งแต่ที่ รมว. คลัง (Gordon Brown)
ได้เปลี่ยนเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อจากร้อยละ 2.5 เหลือเพียงร้อยละ 2.0 อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าธ. กลางอังกฤษจะปรับอัตรา
ดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน ก.พ. เพื่อลดความร้อนแรงในตลาดที่อยู่อาศัยและการกู้ยืมของผู้บริโภค นักวิเคราะห์จาก BNP Paribas
ในลอนดอนเชื่อว่าต้องมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยแน่นอนเพียงแต่รอจังหวะที่เหมาะสมเท่านั้น (รอยเตอร์)
2. เทศกาลจับจ่ายซื้อของช่วยให้ตัวเลขการจ้างงานของ สรอ.ในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มสูงขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
7 ม.ค.47 ตัวเลขการขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. เมื่อสิ้นปี 46 ลดลงต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจ
ของรอยเตอร์ที่คาดว่า ก.แรงงานของ สรอ.จะรายงานตัวเลขการจ้างงานที่ไม่ใช่ภาคเกษตรในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้น 130,000
ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราการว่างงานจะคงที่อยู่ระดับร้อยละ 5.9 โดยการจ้างงานเพิ่มส่วนใหญ่มาจากภาคบริการโดยเฉพาะการค้า
ปลีกซึ่งมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลปลายปี ผู้ค้าปลีกหลายรายให้ความเห็นว่าพวกเขาไม่เพียงแต่ต้องการจ้างพนักงานชั่วคราว
เพิ่มเท่านั้น แต่ยังต้องการจ้างพนักงานเต็มเวลาเพิ่มขึ้นด้วย ในขณะที่คาดว่าตัวเลขการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในเดือน ธ.ค.46
จะลดลง 15,000 ตำแหน่ง หลังจากที่ลดลงในเดือน พ.ย.46 เป็นเดือนที่ 40 ติดต่อกัน ซึ่งนักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าแรงงานส่วน
ใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน นายจ้างจึงระมัดระวังในการจ้างงานและชอบที่จะจ้างงานชั่วคราวให้แน่ใจก่อนจะ
บรรจุใครเป็นพนักงานเต็มเวลา (รอยเตอร์)
3. จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเดือน ธ.ค. 46 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 7 ม.ค. 47 Die
Welt Newspaper ของเยอรมนีรายงานว่า ในเดือน ธ.ค. 46 มีแนวโน้มว่าคนว่างงานของเยอรมนีจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 4.31 ล้านคน
ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดเมื่อเทียบต่อปีนับแต่เดือน ธ.ค. 40 เป็นต้นมา และเพิ่มขึ้นประมาณ 125,000 คนเมื่อเทียบต่อเดือน ทั้งนี้ รมว.
เศรษฐกิจและแรงงานของเยอรมนี (Wolfgang Clement) กล่าวว่า แม้ว่าตัวเลขการว่างงานของเดือน ธ.ค. 46 จะไม่ค่อยดีนัก
แต่ก็ยังไม่เลวร้ายเหมือนในอดีตที่ผ่านมา นอกจากนั้นยังมีเครื่องบ่งชี้บางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าตัวเลขการว่างงานจะค่อย ๆ ลดลงอย่าง
ช้า ๆ (รอยเตอร์)
4. รอยเตอร์คาดว่าธ.กลางเกาหลีใต้จะยังคงรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำต่อไป รายงานจากโซล เมื่อ 6 ม.ค.47
ผลสำรวจรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ในสัปดาห์นี้ ธ.กลางเกาหลีใต้จะยังคงระดับอัตราดอกเบี้ยข้ามคืนซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 3.75
และอาจจะยังคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง อันเป็นสัญญาณถึงการบริโภคภายในประเทศเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น แม้ว่าจะมีความกดดันจากระดับ
ราคาที่สูงขึ้น โดยราคาขายส่งในเดือน ธ.ค.46 พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 11 เดือน เนื่องจากวัตถุดิบมีราคาเพิ่มขึ้น และภาวะค่าเงินวอนที่อ่อนตัวลง
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน ธ.ค.46 ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน นักวิเคราะห์เห็นว่าภาวะเงินเฟ้อในขณะนี้ยังไม่ส่งผลกระทบต่อ
ระบบเศรษฐกิจเท่าไรนัก โดยภาวะเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในขณะนี้ฟื้นตัวเพียงเล็กน้อยจากที่เคยอยู่ในภาวะถดถอยเมื่อครึ่งปีแรกของปี 46 เนื่องจาก
การใช้จ่ายของผู้บริโภคและธุรกิจถดถอยลง นอกจากนี้นักวิเคราะห์ยังเห็นว่าภาวะเงินเฟ้ออาจจะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ ธ.กลางเกาหลีใต้จะกังวล
แต่มีสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นคือภาวะการฟื้นตัวของการบริโภคภาคครัวเรือนที่ชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8/1/2547 7/1/2547 31/12/2546 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.059 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.9003/39.1834 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.2500 - 1.3000 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 750.97/48.14 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,700/7,800 7,750/7,850 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 28.96 29 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม เมื่อ 8 ม.ค.47 17.79*/14.69 17.29*/14.39 17.29*/14.39 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-