ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เปิดเผยแนวทางการแก้ไขภาระหนี้ภาคประชาชนในส่วนของหนี้ในระบบสถาบันการเงิน นาง
ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขภาระหนี้ภาค
ประชาชนในส่วนของหนี้ในระบบสถาบันการเงินว่า จะต้องดูแนวทางที่เสนอก่อนว่าเป็นอย่างไร แต่ถ้าพิจารณาโดย
หลักการแล้ว หากมีการเจรจาลดหนี้กับธนาคารได้จริง รัฐบาลจะต้องนำเงินงบประมาณเข้าไปอุดหนุนหรือไม่
เพราะ ธพ.ซึ่งทำธุรกิจไม่น่าจะยอมมีต้นทุนจากหนี้สินที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีรายงานจาก
ธปท.ว่า การเจรจาลดหนี้ต้องขึ้นอยู่กับว่าหนี้สินที่มีนั้นจะมีคุณภาพมากน้อยอย่างไร เพราะหากผู้ก่อหนี้ไม่มีความ
สามารถชำระหนี้ได้จริง แม้ให้มีการลดหนี้ลงก็ไม่เกิดประโยชน์ ในขณะที่หากมีผู้ก่อหนี้บางรายไม่ยอมชำระหนี้ได้ตาม
ความสามารถจริงที่มีก็เป็นสิ่งที่ต้องระวัง ทั้งนี้ การจัดการกับปัญหาหนี้สินภาคประชาชน อาจมีการจัดตั้งองค์กรที่มี
ลักษณะคล้ายกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ขึ้นมา เพื่อรับซื้อหนี้จาก ธพ.แล้วเจรจาลดหนี้กับธนาคารให้กับลูกหนี้ที่มาขอลด
หนี้ ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจเกิดปัญหาเพราะลูกหนี้จะชำระหนี้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่องค์กรดังกล่าวรับซื้อมาจาก ธพ.
ซึ่งก็ต้องนำเงินภาษีของประชาชนไปชดเชยในส่วนนั้น ทั้งนี้ ธปท.เตรียมหารือร่วมกับ ก.คลัง ในวันที่ 5 ต.ค.นี้
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท.จัดพิมพ์ธนบัตรชนิดราคา 100 บาทแบบใหม่ เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี แห่งการเลิก
ทาสไทย กรรมการผู้จัดการโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ร่วมเทิดพระ
เกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี แห่งการเลิกทาสในไทย โดยจะ
นำธนบัตรชนิดราคา 100 บาท แบบปรับปรุง ออกใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ต.ค.48 เป็นต้นไป โดยลักษณะที่สำคัญของ
ธนบัตรแบบปรับปรุงนี้ คือ ด้านหน้ายังเหมือนธนบัตรปัจจุบัน ส่วนด้านหลังตอนกลางเบื้องขวามีพระบรมฉายาสาทิส
ลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เต็มยศทหารเรือ พิมพ์ด้วยสีแดงเข้ม ตอนล่างของ
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์มีลายประดิษฐ์และลายไทยสีแดงเข้ม เบื้องซ้ายมุมบนมีตราอักษรพระปรมาภิไธย “จ.ป.
ร.” พิมพ์ด้วยสีแดงบนลายพื้นสีแดงและน้ำเงิน เบื้องซ้ายตอนกลางมีภาพพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการเลิกทาส พิมพ์
ด้วยสีแดงเข้มบนลายประดิษฐ์รูปวงกลม พิมพ์ด้วยสีแดง แดงแสด น้ำเงิน และส้ม (บ้านเมือง,เดลินิวส์, โพสต์ทู
เดย์, แนวหน้า, ข่าวสด)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคไทยในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 7 ปี ที่ร้อยละ 6.0 เทียบต่อ
ปี ปลัด ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของไทยเดือน ก.ย.48 เท่ากับ 111.2 เทียบต่อเดือน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 83 เดือน (นับตั้งแต่
เดือน ก.ย.42) ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ย 9 เดือนของปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.) เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.0 ทั้งนี้ สาเหตุที่เงินเฟ้อเมื่อเทียบต่อเดือนสูงขึ้นเป็นผลมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและ
เครื่องดื่มร้อยละ 1.1 และดัชนีราคาสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.5 ส่วนสาเหตุที่ตัวเลข
เงินเฟ้อเฉลี่ย 9 เดือนสูงขึ้นเป็นผลมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 4.3
และหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.8 สำหรับเงินเดือนเมื่อเทียบต่อปีสูงขึ้นเพราะมีปัจจัยมาจาก
การสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแทบทั้งสิ้น โดยราคาน้ำมันดิบดูไบสูงขึ้นถึงร้อยละ 59.3 ส่งผลให้ราคาน้ำมัน
ดีเซลในประเทศสูงขึ้นร้อยละ 63.6 ส่วนเบนซิน 95 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.51อนึ่ง สำหรับเป้าหมายเงินเฟ้อทั้งปี ยัง
ยืนยันที่เป้าหมายเดิมคือร้อยละ 4.2 (ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, บ้านเมือง, แนว
หน้า, ข่าวสด)
4. สบพ.เพิ่มวงเงินพันธบัตรน้ำมันอายุ 3 ปีจากเดิม 4,400 ล้านบาท เป็น 8,800 ล้านบาท ผอ.
สำนักงานบริหารกองทุนพลังงาน (สบพ.) เปิดเผยในการบรรยายพิเศษ “พันธบัตรสถาบันบริหารกองทุน” ว่า สบ
พ.ได้ปรับแผนการเสนอขายพันธบัตรเพื่อนำเงินไปชำระหนี้สถาบันการเงินที่กู้มาตรึงราคาน้ำมัน โดยเพิ่มวงเงิน
พันธบัตรอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.87 จากเดิม 4,400 ล้านบาท เป็น 8,800 ล้านบาท เท่ากับพันธบัตร
อายุ 1 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.28 และ 2 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.26 ส่งผลให้พันธบัตรล็อตแรกที่เปิดขาย
ให้นักลงทุนทั่วไปในวันที่ 10-12 ต.ค.นี้เพิ่มขึ้น 26,400 ล้านบาท และล็อต 2 ที่จะเปิดขายในช่วง ก.พ.49
เหลือ 15,600 ล้านบาท เนื่องจากการโรดโชว์นักลงทุนพบว่า มีความต้องการพันธบัตรอายุ 3 ปีสูงกว่าปริมาณที่
เสนอขายถึง 6 เท่า ความต้องการพันธบัตรอายุ 2 ปีสูงกว่า 2 เท่า และพันธบัตรอายุ 1 ปีสูงกว่าเล็กน้อย นอก
จากนี้ ยังได้ปรับสัดส่วนการขายแก่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย จากเดิมสัดส่วน 50:50 เป็น 60:40
(มติชน, แนวหน้า, ข่าวสด)
5. ยอดการได้รับอนุมัติก่อสร้างที่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ 10.8 เทียบต่อไตรมาส สำนักงานสถิติแห่ง
ชาติ เปิดเผยว่า ยอดการได้รับอนุมัติก่อสร้างใหม่ในไตรมาส 2 ปี 48 อยู่ที่ 45537 ราย ลดลงร้อยละ 13.7
เทียบกับช่วงเดียวกันปี 47 ส่วนการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ 10.8 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า รวมมีพื้นที่
ก่อสร้าง 9.59 ล้าน ตร.ม.ขณะที่การก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ในไตรมาส 2 ปี 48 หลังจากที่
ลดลงถึงร้อยละ 10.8 ในปี 47 ทั้งนี้ การจัดข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างภายในประเทศ ถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญของ
การกำหนดนโยบายต่อภาครัฐ และวิเคราะห์ถึงผลของการลงทุนที่เกิดขึ้น มีการปรับเปลี่ยนในอัตราที่ลดลงหรือเพิ่ม
ขึ้น ซึ่งจะเป็นดัชนีหนึ่งของการบ่งชี้ถึงทิศทางเศรษฐกิจภายในประเทศและความเชื่อมั่นของภาคเอกชน (ผู้จัดการ
รายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของโลกในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบปีจากความต้องการที่
เพิ่มขึ้นใน สรอ. รายงานจากลอนดอน เมื่อ 3 ต.ค.48 ดัชนี Global PMI ซึ่งชี้วัดภาคการผลิตของโลกจากผล
สำรวจโดย JP Morgan และ องค์กรด้านการบริหารการวิจัยและการจัดซื้อจากทั่วโลก เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ
54.7 ในเดือน ก.ย.48 จากระดับ 52.2 ในเดือน ส.ค.48 โดยดัชนีในส่วนของผลผลิตเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ
57.3 สูงสุดในรอบปี ในขณะที่ดัชนีในส่วนที่เกี่ยวกับคำสั่งซื้อสินค้าก็เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 57.5 จากระดับ 54.0 ใน
เดือน ส.ค.48 สูงสุดในรอบ 13 เดือน ทั้งนี้เป็นผลจากดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของ สรอ.ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ
59.4 จากระดับ 53.6 ในเดือน ส.ค.48 จากที่คาดไว้ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.0 โดยโรงงานอุตสาหกรรม
ใน สรอ.กำลังเดินเครื่องจักรผลิตสินค้าในอัตราสูงสุดในรอบปีเพื่อให้ทันต่อความต้องการสินค้าเพื่อใช้ในการบูรณะ
และซ่อมแซมความเสียหายจากผลกระทบของพายุเฮอริเคนแคทรินาและริต้า ในขณะที่ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของเขต
เศรษฐกิจยุโรปได้รับประโยชน์จากค่าเงินยูโรที่อ่อนตัวลงทำให้ผู้ผลิตส่งออกสินค้าได้เพิ่มขึ้นและทำให้ดัชนี PMI
เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 51.7 จากระดับ 50.4 ในเดือน ส.ค.48 สูงสุดในรอบ 7 เดือน เช่นเดียวกับดัชนี PMI
ของอังกฤษที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 51.5 จากระดับ 50.3 ในเดือน ส.ค.48 สูงสุดในรอบ 6 เดือน และดัชนี
PMI ของญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 54.5 จากระดับ 53.8 ในเดือน ส.ค.48 จากความต้องการในประเทศที่เพิ่ม
ขึ้น (รอยเตอร์)
2. อุตสาหกรรมการผลิตของสรอ.ขยายตัวภายหลังจากได้รับความเสียหายจากพายุเฮอริเคนแคทรี
นา รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 48 ทางการสรอ.เปิดเผยว่า ในเดือนก.ย. อุตสาหกรรมการผลิต
ของสรอ.ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งเกินความคาดหมาย โดยคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมากอยู่ที่ระดับ 63.8 เพิ่มขึ้น
จากระดับ 56.4 ในเดือนส.ค. หลังจากได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนแคทรีนา ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการก่อ
สร้างเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุด ทั้งนี้ The Institute for Supply Management — ISM กล่าวว่าดัชนี ISM ซึ่ง
แสดงกิจกรรมทางอุตสาหกรรมในเดือนก.ย. อยู่ที่ระดับ 59.4 เพิ่มขึ้นจาก 53.6 ในเดือนส.ค. และสูงกว่าที่ได้
คาดการณ์ไว้ว่า ISM จะลดลงอยู่ที่ระดับ 52.0 อย่างไรก็ตามมีความวิตกว่าการเพิ่มขึ้นของดัชนี ISM จะเป็นการ
ขยายตัวชั่วคราวมิได้เป็นไปตามวัฏจักรทางธุรกิจ เนื่องจากได้รับแรงกระตุ้นจากอุปสงค์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากพายุเฮอริ
เคนแคทรีนาที่พัดเข้าชายฝั่งเม็กซิโกเมื่อปลายเดือนส.ค.ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. เดือน ก.ย.48 PMI ของจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 3 ต.
ค.48 CLSA เปิดเผยว่า Purchasing Managers’ Index (PMI) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการชี้วัดภาคการผลิต
ของจีน ในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 50.9 จากระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 50.6 ในเดือน ส.
ค.48 อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้ภาวะการขยายตัวของภาคการผลิต ทั้งนี้ แม้
ว่าดัชนีที่เป็นส่วนประกอบโดยส่วนใหญ่จะปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ก็ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของดัชนีเหล่านั้น
โดยดัชนีคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นที่ระดับ 52.6 จากระดับ 52.2 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นที่ระดับ 51.8
จากระดับ 51.4 ขณะที่ดัชนีสินค้าคงคลังสำเร็จรูปลดลงที่ระดับ 47.0 จากระดับ 48.4 ซึ่งหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์
จาก CLSA กล่าวว่าภาคการผลิตของจีนส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่าน
มา อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการจ้างงานกลับเป็นสิ่งที่ก่อความกังวล เห็นได้จากดัชนีการจ้างงานซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง
เล็กน้อยที่ระดับ 49.4 จากระดับ 49.1 สาเหตุจากบริษัทผู้ตอบแบบสอบถามประมาณร้อยละ 5 กล่าวว่าพวกเขามี
การลดจำนวนแรงงานลงให้สอดคล้องกับผลผลิตที่ลดลง ประกอบกับมีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้นทำให้ความ
จำเป็นในการจ้างงานลดลง อนึ่ง ทางการจีนได้เริ่มทำการสำรวจดัชนี PMI เมื่อเร็วๆ นี้ โดยดัชนีฯ ในเดือน
ส.ค. อยู่ที่ระดับ 52.6 เพิ่มขึ้นจากระดับ 51.1 ในเดือน ก.ค.48 และจะมีการเผยแพร่ดัชนีฯ ประจำเดือน ก.
ย.48 ในสัปดาห์หน้า (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการส่งออกของมาเลเซียในเดือน ส.ค.48 จะขยายตัวร้อยละ 7.1 รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 3 ต.ค.48 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนัก
เศรษฐศาสตร์ว่า การส่งออกของมาเลเซียในเดือน ส.ค.48 มีความเป็นไปได้ที่จะเร่งตัวขึ้น โดยคาดว่าจะขยาย
ตัวร้อยละ 7.1 จากปีก่อน หลังจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.9 ในเดือน ก.ค.48 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำสุดนับ
ตั้งแต่เดือน ส.ค.46 ที่การส่งออกขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 โดยการเพิ่มขึ้นในครั้งนี้มีปัจจัยบวกจากการที่ความ
ต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกมีการฟื้นตัวดีขึ้น ทำให้มาเลเซียที่ส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิสก์มากถึงครึ่งหนึ่ง
ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดได้รับผลดีตามไปด้วย ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจุดต่ำสุดของการส่งสินค้าออกของ
มาเลเซียได้ผ่านพ้นไปแล้ว ในขณะที่การนำเข้าสินค้าที่ส่วนใหญ่นำไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกคาดว่าจะ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ในเดือน ส.ค.48 จากปีก่อน ทำให้การได้เปรียบดุลการค้าจะลดลงอยู่ที่ระดับ 7.4 พันล้าน
ริงกิต (2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) จากปีก่อนที่เกินดุลการค้า 8.1 พันล้านริงกิต ทั้งนี้ ประเทศในเอเชียอีกหลาย
ประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกต่างมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นเช่นกัน อาทิ เกาหลีใต้การส่งออกเดือน ก.ย.48
เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 จากปีก่อน ส่วนไต้หวันการส่งออกเดือน ส.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 จากปีก่อน อนึ่ง
มาเลเซียจะเปิดเผยตัวเลขอย่างเป็นทางการในวันอังคารนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 ต.ค. 48 3 ต.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.149 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.9555/41.2447 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.47486 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 717.42/ 13.14 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,050/9,150 9,050/9,150 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.69 57.42 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เปิดเผยแนวทางการแก้ไขภาระหนี้ภาคประชาชนในส่วนของหนี้ในระบบสถาบันการเงิน นาง
ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขภาระหนี้ภาค
ประชาชนในส่วนของหนี้ในระบบสถาบันการเงินว่า จะต้องดูแนวทางที่เสนอก่อนว่าเป็นอย่างไร แต่ถ้าพิจารณาโดย
หลักการแล้ว หากมีการเจรจาลดหนี้กับธนาคารได้จริง รัฐบาลจะต้องนำเงินงบประมาณเข้าไปอุดหนุนหรือไม่
เพราะ ธพ.ซึ่งทำธุรกิจไม่น่าจะยอมมีต้นทุนจากหนี้สินที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีรายงานจาก
ธปท.ว่า การเจรจาลดหนี้ต้องขึ้นอยู่กับว่าหนี้สินที่มีนั้นจะมีคุณภาพมากน้อยอย่างไร เพราะหากผู้ก่อหนี้ไม่มีความ
สามารถชำระหนี้ได้จริง แม้ให้มีการลดหนี้ลงก็ไม่เกิดประโยชน์ ในขณะที่หากมีผู้ก่อหนี้บางรายไม่ยอมชำระหนี้ได้ตาม
ความสามารถจริงที่มีก็เป็นสิ่งที่ต้องระวัง ทั้งนี้ การจัดการกับปัญหาหนี้สินภาคประชาชน อาจมีการจัดตั้งองค์กรที่มี
ลักษณะคล้ายกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ขึ้นมา เพื่อรับซื้อหนี้จาก ธพ.แล้วเจรจาลดหนี้กับธนาคารให้กับลูกหนี้ที่มาขอลด
หนี้ ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจเกิดปัญหาเพราะลูกหนี้จะชำระหนี้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่องค์กรดังกล่าวรับซื้อมาจาก ธพ.
ซึ่งก็ต้องนำเงินภาษีของประชาชนไปชดเชยในส่วนนั้น ทั้งนี้ ธปท.เตรียมหารือร่วมกับ ก.คลัง ในวันที่ 5 ต.ค.นี้
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท.จัดพิมพ์ธนบัตรชนิดราคา 100 บาทแบบใหม่ เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี แห่งการเลิก
ทาสไทย กรรมการผู้จัดการโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ร่วมเทิดพระ
เกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี แห่งการเลิกทาสในไทย โดยจะ
นำธนบัตรชนิดราคา 100 บาท แบบปรับปรุง ออกใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ต.ค.48 เป็นต้นไป โดยลักษณะที่สำคัญของ
ธนบัตรแบบปรับปรุงนี้ คือ ด้านหน้ายังเหมือนธนบัตรปัจจุบัน ส่วนด้านหลังตอนกลางเบื้องขวามีพระบรมฉายาสาทิส
ลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เต็มยศทหารเรือ พิมพ์ด้วยสีแดงเข้ม ตอนล่างของ
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์มีลายประดิษฐ์และลายไทยสีแดงเข้ม เบื้องซ้ายมุมบนมีตราอักษรพระปรมาภิไธย “จ.ป.
ร.” พิมพ์ด้วยสีแดงบนลายพื้นสีแดงและน้ำเงิน เบื้องซ้ายตอนกลางมีภาพพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการเลิกทาส พิมพ์
ด้วยสีแดงเข้มบนลายประดิษฐ์รูปวงกลม พิมพ์ด้วยสีแดง แดงแสด น้ำเงิน และส้ม (บ้านเมือง,เดลินิวส์, โพสต์ทู
เดย์, แนวหน้า, ข่าวสด)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคไทยในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 7 ปี ที่ร้อยละ 6.0 เทียบต่อ
ปี ปลัด ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของไทยเดือน ก.ย.48 เท่ากับ 111.2 เทียบต่อเดือน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 83 เดือน (นับตั้งแต่
เดือน ก.ย.42) ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ย 9 เดือนของปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.) เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.0 ทั้งนี้ สาเหตุที่เงินเฟ้อเมื่อเทียบต่อเดือนสูงขึ้นเป็นผลมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและ
เครื่องดื่มร้อยละ 1.1 และดัชนีราคาสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.5 ส่วนสาเหตุที่ตัวเลข
เงินเฟ้อเฉลี่ย 9 เดือนสูงขึ้นเป็นผลมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 4.3
และหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.8 สำหรับเงินเดือนเมื่อเทียบต่อปีสูงขึ้นเพราะมีปัจจัยมาจาก
การสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแทบทั้งสิ้น โดยราคาน้ำมันดิบดูไบสูงขึ้นถึงร้อยละ 59.3 ส่งผลให้ราคาน้ำมัน
ดีเซลในประเทศสูงขึ้นร้อยละ 63.6 ส่วนเบนซิน 95 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.51อนึ่ง สำหรับเป้าหมายเงินเฟ้อทั้งปี ยัง
ยืนยันที่เป้าหมายเดิมคือร้อยละ 4.2 (ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, บ้านเมือง, แนว
หน้า, ข่าวสด)
4. สบพ.เพิ่มวงเงินพันธบัตรน้ำมันอายุ 3 ปีจากเดิม 4,400 ล้านบาท เป็น 8,800 ล้านบาท ผอ.
สำนักงานบริหารกองทุนพลังงาน (สบพ.) เปิดเผยในการบรรยายพิเศษ “พันธบัตรสถาบันบริหารกองทุน” ว่า สบ
พ.ได้ปรับแผนการเสนอขายพันธบัตรเพื่อนำเงินไปชำระหนี้สถาบันการเงินที่กู้มาตรึงราคาน้ำมัน โดยเพิ่มวงเงิน
พันธบัตรอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.87 จากเดิม 4,400 ล้านบาท เป็น 8,800 ล้านบาท เท่ากับพันธบัตร
อายุ 1 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.28 และ 2 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.26 ส่งผลให้พันธบัตรล็อตแรกที่เปิดขาย
ให้นักลงทุนทั่วไปในวันที่ 10-12 ต.ค.นี้เพิ่มขึ้น 26,400 ล้านบาท และล็อต 2 ที่จะเปิดขายในช่วง ก.พ.49
เหลือ 15,600 ล้านบาท เนื่องจากการโรดโชว์นักลงทุนพบว่า มีความต้องการพันธบัตรอายุ 3 ปีสูงกว่าปริมาณที่
เสนอขายถึง 6 เท่า ความต้องการพันธบัตรอายุ 2 ปีสูงกว่า 2 เท่า และพันธบัตรอายุ 1 ปีสูงกว่าเล็กน้อย นอก
จากนี้ ยังได้ปรับสัดส่วนการขายแก่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย จากเดิมสัดส่วน 50:50 เป็น 60:40
(มติชน, แนวหน้า, ข่าวสด)
5. ยอดการได้รับอนุมัติก่อสร้างที่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ 10.8 เทียบต่อไตรมาส สำนักงานสถิติแห่ง
ชาติ เปิดเผยว่า ยอดการได้รับอนุมัติก่อสร้างใหม่ในไตรมาส 2 ปี 48 อยู่ที่ 45537 ราย ลดลงร้อยละ 13.7
เทียบกับช่วงเดียวกันปี 47 ส่วนการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ 10.8 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า รวมมีพื้นที่
ก่อสร้าง 9.59 ล้าน ตร.ม.ขณะที่การก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ในไตรมาส 2 ปี 48 หลังจากที่
ลดลงถึงร้อยละ 10.8 ในปี 47 ทั้งนี้ การจัดข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างภายในประเทศ ถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญของ
การกำหนดนโยบายต่อภาครัฐ และวิเคราะห์ถึงผลของการลงทุนที่เกิดขึ้น มีการปรับเปลี่ยนในอัตราที่ลดลงหรือเพิ่ม
ขึ้น ซึ่งจะเป็นดัชนีหนึ่งของการบ่งชี้ถึงทิศทางเศรษฐกิจภายในประเทศและความเชื่อมั่นของภาคเอกชน (ผู้จัดการ
รายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของโลกในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบปีจากความต้องการที่
เพิ่มขึ้นใน สรอ. รายงานจากลอนดอน เมื่อ 3 ต.ค.48 ดัชนี Global PMI ซึ่งชี้วัดภาคการผลิตของโลกจากผล
สำรวจโดย JP Morgan และ องค์กรด้านการบริหารการวิจัยและการจัดซื้อจากทั่วโลก เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ
54.7 ในเดือน ก.ย.48 จากระดับ 52.2 ในเดือน ส.ค.48 โดยดัชนีในส่วนของผลผลิตเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ
57.3 สูงสุดในรอบปี ในขณะที่ดัชนีในส่วนที่เกี่ยวกับคำสั่งซื้อสินค้าก็เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 57.5 จากระดับ 54.0 ใน
เดือน ส.ค.48 สูงสุดในรอบ 13 เดือน ทั้งนี้เป็นผลจากดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของ สรอ.ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ
59.4 จากระดับ 53.6 ในเดือน ส.ค.48 จากที่คาดไว้ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.0 โดยโรงงานอุตสาหกรรม
ใน สรอ.กำลังเดินเครื่องจักรผลิตสินค้าในอัตราสูงสุดในรอบปีเพื่อให้ทันต่อความต้องการสินค้าเพื่อใช้ในการบูรณะ
และซ่อมแซมความเสียหายจากผลกระทบของพายุเฮอริเคนแคทรินาและริต้า ในขณะที่ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของเขต
เศรษฐกิจยุโรปได้รับประโยชน์จากค่าเงินยูโรที่อ่อนตัวลงทำให้ผู้ผลิตส่งออกสินค้าได้เพิ่มขึ้นและทำให้ดัชนี PMI
เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 51.7 จากระดับ 50.4 ในเดือน ส.ค.48 สูงสุดในรอบ 7 เดือน เช่นเดียวกับดัชนี PMI
ของอังกฤษที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 51.5 จากระดับ 50.3 ในเดือน ส.ค.48 สูงสุดในรอบ 6 เดือน และดัชนี
PMI ของญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 54.5 จากระดับ 53.8 ในเดือน ส.ค.48 จากความต้องการในประเทศที่เพิ่ม
ขึ้น (รอยเตอร์)
2. อุตสาหกรรมการผลิตของสรอ.ขยายตัวภายหลังจากได้รับความเสียหายจากพายุเฮอริเคนแคทรี
นา รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 48 ทางการสรอ.เปิดเผยว่า ในเดือนก.ย. อุตสาหกรรมการผลิต
ของสรอ.ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งเกินความคาดหมาย โดยคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมากอยู่ที่ระดับ 63.8 เพิ่มขึ้น
จากระดับ 56.4 ในเดือนส.ค. หลังจากได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนแคทรีนา ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการก่อ
สร้างเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุด ทั้งนี้ The Institute for Supply Management — ISM กล่าวว่าดัชนี ISM ซึ่ง
แสดงกิจกรรมทางอุตสาหกรรมในเดือนก.ย. อยู่ที่ระดับ 59.4 เพิ่มขึ้นจาก 53.6 ในเดือนส.ค. และสูงกว่าที่ได้
คาดการณ์ไว้ว่า ISM จะลดลงอยู่ที่ระดับ 52.0 อย่างไรก็ตามมีความวิตกว่าการเพิ่มขึ้นของดัชนี ISM จะเป็นการ
ขยายตัวชั่วคราวมิได้เป็นไปตามวัฏจักรทางธุรกิจ เนื่องจากได้รับแรงกระตุ้นจากอุปสงค์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากพายุเฮอริ
เคนแคทรีนาที่พัดเข้าชายฝั่งเม็กซิโกเมื่อปลายเดือนส.ค.ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. เดือน ก.ย.48 PMI ของจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 3 ต.
ค.48 CLSA เปิดเผยว่า Purchasing Managers’ Index (PMI) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการชี้วัดภาคการผลิต
ของจีน ในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 50.9 จากระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 50.6 ในเดือน ส.
ค.48 อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้ภาวะการขยายตัวของภาคการผลิต ทั้งนี้ แม้
ว่าดัชนีที่เป็นส่วนประกอบโดยส่วนใหญ่จะปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ก็ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของดัชนีเหล่านั้น
โดยดัชนีคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นที่ระดับ 52.6 จากระดับ 52.2 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นที่ระดับ 51.8
จากระดับ 51.4 ขณะที่ดัชนีสินค้าคงคลังสำเร็จรูปลดลงที่ระดับ 47.0 จากระดับ 48.4 ซึ่งหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์
จาก CLSA กล่าวว่าภาคการผลิตของจีนส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่าน
มา อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการจ้างงานกลับเป็นสิ่งที่ก่อความกังวล เห็นได้จากดัชนีการจ้างงานซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง
เล็กน้อยที่ระดับ 49.4 จากระดับ 49.1 สาเหตุจากบริษัทผู้ตอบแบบสอบถามประมาณร้อยละ 5 กล่าวว่าพวกเขามี
การลดจำนวนแรงงานลงให้สอดคล้องกับผลผลิตที่ลดลง ประกอบกับมีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้นทำให้ความ
จำเป็นในการจ้างงานลดลง อนึ่ง ทางการจีนได้เริ่มทำการสำรวจดัชนี PMI เมื่อเร็วๆ นี้ โดยดัชนีฯ ในเดือน
ส.ค. อยู่ที่ระดับ 52.6 เพิ่มขึ้นจากระดับ 51.1 ในเดือน ก.ค.48 และจะมีการเผยแพร่ดัชนีฯ ประจำเดือน ก.
ย.48 ในสัปดาห์หน้า (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการส่งออกของมาเลเซียในเดือน ส.ค.48 จะขยายตัวร้อยละ 7.1 รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 3 ต.ค.48 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนัก
เศรษฐศาสตร์ว่า การส่งออกของมาเลเซียในเดือน ส.ค.48 มีความเป็นไปได้ที่จะเร่งตัวขึ้น โดยคาดว่าจะขยาย
ตัวร้อยละ 7.1 จากปีก่อน หลังจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.9 ในเดือน ก.ค.48 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำสุดนับ
ตั้งแต่เดือน ส.ค.46 ที่การส่งออกขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 โดยการเพิ่มขึ้นในครั้งนี้มีปัจจัยบวกจากการที่ความ
ต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกมีการฟื้นตัวดีขึ้น ทำให้มาเลเซียที่ส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิสก์มากถึงครึ่งหนึ่ง
ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดได้รับผลดีตามไปด้วย ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจุดต่ำสุดของการส่งสินค้าออกของ
มาเลเซียได้ผ่านพ้นไปแล้ว ในขณะที่การนำเข้าสินค้าที่ส่วนใหญ่นำไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกคาดว่าจะ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ในเดือน ส.ค.48 จากปีก่อน ทำให้การได้เปรียบดุลการค้าจะลดลงอยู่ที่ระดับ 7.4 พันล้าน
ริงกิต (2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) จากปีก่อนที่เกินดุลการค้า 8.1 พันล้านริงกิต ทั้งนี้ ประเทศในเอเชียอีกหลาย
ประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกต่างมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นเช่นกัน อาทิ เกาหลีใต้การส่งออกเดือน ก.ย.48
เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 จากปีก่อน ส่วนไต้หวันการส่งออกเดือน ส.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 จากปีก่อน อนึ่ง
มาเลเซียจะเปิดเผยตัวเลขอย่างเป็นทางการในวันอังคารนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 ต.ค. 48 3 ต.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.149 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.9555/41.2447 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.47486 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 717.42/ 13.14 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,050/9,150 9,050/9,150 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.69 57.42 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--