ความต้องการของตลาดในปัจจุบันและอนาคต
อุตสาหกรรมพลาสติกมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทย เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก หรือ อุตสาหกรรมต่อเนื่องหลากหลายประเภท อาทิ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อาหารแปรรูป ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องแต่งกาย เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้าง ฯลฯ ที่ล้วนต้องใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้า ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารก็เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมพลาสติกและมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารเนื่องจากอาหารในปัจจุบันมีการบรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาคุณภาพของอาหารและเพื่อความสวยงามของผลิตภัณฑ์
ฟิลม์พลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารนั้นสามารถจำแนกตามวัตถุดิบที่ใช้และวัตถุประสงค์ในการใช้งานดังนี้
1) ฟิล์มพลาสติกเดี่ยว (Single Plastic Film) มักใช้ทำถุงทั่วไป โดยมีราคาไม่สูงมาก เช่นถุง LDPE หรือถุงเย็น และ ถุง PP หรือถุงร้อน นอกจากนี้ยังนิยมทำเป็นถุงชั้นในในกล่องกระดาษแข็งบรรจุอาหารสำเร็จรูปเพื่อการขายปลีก
2) ฟิล์มพลาสติกประกบ (Laminated Plastic Film) หมายถึงฟิล์มต่างชนิดกันที่ประกบเข้าด้วยกันหรือฟิล์มพลาสติกที่ใช้ประกบกับวัสดุอื่นๆ เช่นกระดาษแผ่นเปลวอลูมิเนียม รวมทั้งพลาสติกที่ผ่านการเคลือบด้วยไออลูมิเนียมแล้วนำมาประกบกับฟิล์มพลาสติกอื่นๆ โดยโครงสร้างของฟิล์มพลาสติกประเภทนี้ต้องประกอบด้วยวัสดุตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป โดยอาหารที่ใช้บรรจุสำหรับฟิล์มพลาสติกประเภทนี้คือ อาหารแห้ง เครื่องดื่มผงสำเร็จรูป อาหารที่ต้องฆ่าเชื้อด้วยความร้อน บะหมี่สำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว อาหารที่ใช้ไขมันสูง อาหารแช่แข็ง เนื้อแปรรูป ปลาเค็มซึ่งบรรจุด้วยระบบสุญญากาศ อาหารว่างและผักดอง (ต้มฆ่าเชื้อได้) เป็นต้น
3) ฟิล์มพลาสติกรีดร่วม (Coextruded Plastic Film) เป็นฟิล์มหลายชั้นซึ่งประกบด้วยพลาสติกชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน โดยการประกบใช้วิธีรีดให้ติดกัน โดยอาหารที่ใช้บรรจุสำหรับฟิล์มพลาสติกประเภทนี้คือ เนื้อ ไส้กรอก แฮม ปลา เนยแข็ง คอร์นเฟลก นมผง น้ำมันสลัด และอาหารที่มีไขมันสูง เป็นต้น
รายละเอียดทางด้านการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการประกอบกิจการ รวมทั้งนโยบายรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาในการลงทุนในอุตสาหกรรมฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารมีดังต่อไปนี้
จำนวนผู้ผลิตและผู้นำเข้า
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการภายในประเทศไทยในอุตสาหกรรมฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารเป็นจำนวนทั้งสิ้น 16 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่จำนวน 10 ราย ผู้ประกอบการขนาดกลางจำนวน 4 ราย และผู้ประกอบการขนาดเล็กจำนวน 2 ราย (ข้อมูลจากกรมโรงงาน ณ. เดือนมีนาคม 2545) ส่วนผู้นำเข้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารมีจำนวนทั้งสิ้น 96 ราย และมีจำนวนผู้ส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร 187 ราย
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารที่ประกอบกิจการอยู่ภายในเขตความรับผิดชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 มีจำนวนทั้งสิ้น 2 รายหรือคิดเป็นร้อยละ 12.5 ของ ผู้ประกอบการทั้งประเทศโดยเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางจำนวน 2 ราย
ผู้ผลิตและผู้นำตลาดที่สำคัญของประเทศไทยในอุตสาหกรรมฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารได้แก่ บริษัท ทีเอฟเอ็ม แพคเกจจิ้ง ฟิล์ม จำกัด จังหวัดระยอง ทุนจดทะเบียน 1,490,315,400 บาท บริษัท ไทยฟิล์มอินดัสตรี่ จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง ทุนจดทะเบียน 977,900,198 บาท บริษัท ไทยพลาสติกฟิล์ม์ จำกัด จังหวัดสระบุรี ทุนจดทะเบียน 147,850,000 บาท และบริษัท ซี.พี.อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ จำกัด จังหวัดนครราชสีมา ทุนจดทะเบียน 136,000,000 บาท ส่วนผู้ผลิตและผู้นำตลาดฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารที่อยู่ภายในเขตศูนย์อุตสาหกรรมภาคที่ 9 ได้แก่ บริษัท ฟูจิเอช จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ ทุนจดทะเบียน 310,000,000บาท บริษัท โพลีเมอร์ อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ จำกัด จังหวัดฉะเชิงเทรา ทุนจดทะเบียน 190,000,000 บาท บริษัท ไทยคาสท์ฟิล์ม จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ 127,000,000 บาท และบริษัท ยูนิเวอร์ซัล พลาสติกส์ อินดัสตรีสจำกัด จังหวัดปราจีนบุรี ทุนจดทะเบียน 121,000,000 บาท
ภาวะตลาดในประเทศและการส่งออกนำเข้า
เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทต่อภาคอุตสาหกรรมของไทย และอุตสาหกรรมอาหารมีความเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งที่แสดงถึงภาพลักษณ์และตำแหน่งการตลาด (Market Positioning) ของอาหารเหล่านั้น รวมทั้งเป็นสิ่งที่ช่วยในการรักษาและยืดอายุของอาหารได้อีกด้วย
อุตสาหกรรมฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารมีการแข่งขันค่อนข้างสูง กล่าวคือ มีปริมาณความต้องการใช้ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารต่ำกว่าปริมาณความสามารถในการผลิตของผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ แม้ว่าอุตสาหกรรมอาหารจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ก็ยังสามารถทำการผลิตบรรจุภัณฑ์สนองตอบต่อความต้องการบรรจุภัณฑ์ได้จากกำลังการผลิตที่เหลืออยู่อีกเป็นปริมาณมาก นอกจากนี้ในตลาดบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารโดยรวม ยังมีการแข่งขันระหว่างบรรจุภัณฑ์ต่างประเภทด้วยเช่นกัน เนื่องจากสามารถใช้ทดแทนกันได้ ในขณะที่ระดับราคาต้นทุนมีความแตกต่างกัน เช่น การแข่งขันระหว่างขวดแก้วและขวด PET กระป๋องและกล่องกระดาษ Aseptic เป็นต้น
ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารนั้นปัจจุบันยังมีผู้ผลิตภายในประเทศอยู่ไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศมากกว่า โดยมีมูลค่าการนำเข้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศเท่ากับ 19,581.37และ 19,724.77 ล้านบาทในปี พ.ศ.2543และ2544 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากประเทศต่างๆที่สำคัญได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวันและมาเลเซียเป็นต้น การนำเข้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศเพื่อนำมาใช้ภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 และ 2544 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารเท่ากับ ร้อยละ 31.24 และ 0.73 ตามลำดับ
เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการลดภาระจากการนำเข้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารประกอบกับจังหวัดที่อยู่ภายในเขตศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 มีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารมากมาย ดังนั้นการผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารเพื่อทดแทนการนำเข้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร จึงเป็นสิ่งที่ควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการที่สนใจในการลงทุนในธุรกิจผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารเข้ามาประกอบกิจการธุรกิจประเภทนี้
ช่องทางการจำหน่ายฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารภายในประเทศ สามารถจำหน่ายฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารให้กับโรงงานที่ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารมากมายทั้งอาหารทะเลและผลไม้ที่มีอยู่มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดที่อยู่ภายในเขตศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 (รายละเอียดรายชื่อโรงงานในอุตสาหกรรมอาหารและผลไม้นั้นสามารถดูได้จากรายงานสินค้าศักยภาพที่ผ่านมาในตอนต้นของบทที่ 4)
ภาวะตลาดต่างประเทศ
ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารไปยังตลาดโลกคิดเป็นมูลค่า 11,078.69 และ 11,407.11 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2543 และ 2544 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวในการส่งออกเท่ากับ 25.27 และ 2.96 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกสินค้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารที่สำคัญของประเทศไทย ดังต่อไปนี้
ฮ่องกงโดยมีมูลค่าส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากประเทศไทยไปฮ่องกงเท่ากับ 2,733.09 และ 2,779.51 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 24.67 และ 24.37 ของมูลค่าการส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
อินโดนีเซียโดยมีมูลค่าส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากประเทศไทยไป อินโดนีเซียเท่ากับ 449.27 และ 554.70 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 4.06 และ 4.86 ของมูลค่าการส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
สหรัฐอเมริกาโดยมีมูลค่าส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริกาเท่ากับ 521.90 และ 691.04 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 4.71 และ 6.06 ของมูลค่าการ ส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
มาเลเซียโดยมีมูลค่าส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากประเทศไทยไปประเทศมาเลเซียเท่ากับ 955.59 และ 749.90 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 และ 6.57 ของมูลค่าการส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
เวียดนามโดยมีมูลค่าส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากประเทศไทยไปประเทศเวียดนามเท่ากับ 598.69 และ 624.98 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 5.46 และ 5.48 ของมูลค่าการส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
ช่องทางการตลาดและการจำหน่าย
ช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ถุงมือยางแบ่งตามขนาดของผู้ประกอบการดังนี้
1) จำหน่ายผ่านบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (Trading Company) โดยจ่ายค่านายหน้าให้บริษัทเหล่านี้ ประมาณร้อยละ 2-3 ของมูลค่าการขาย
2) จำหน่ายโดยตรงให้แก่ลูกค้าต่างประเทศ โดยทางลูกค้าจะเข้ามาติดต่อว่าจ้างให้บริษัททำการผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารให้ หรืออีกวิธีหนึ่งคือบริษัทไปติดต่อหาลูกค้าในต่างประเทศเองโดยไปตั้งสำนักงานขายที่ต่างประเทศและใช้ยี่ห้อของบริษัทเอง
แนวโน้มของตลาดในอนาคต
ตลาดผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารภายในประเทศยังมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตเนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารไทยที่เติบโตขึ้น แต่ปัญหาของอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารคือมีนำเข้าผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศมาก ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศที่มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำและราคาสินค้าถูกกว่าสินค้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารภายในประเทศเข้ามาตีตลาดผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของไทย โดยประเทศไทยยังคงมีการนำเข้าสินค้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศเป็นมูลค่าสูง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการขยายตัวการนำเข้าสินค้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศ เท่ากับร้อยละ 31.24 และ 0.73 ในปี พ.ศ.2543และ2544ตามลำดับ ซึ่งถ้ามีการผลิตสินค้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารให้มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศก็จะทำให้เป็นการทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศได้
สำหรับแนวโน้มการส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของประเทศไทยคาดว่ายังคงมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวการส่งออกผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของไทยในปีพ.ศ. 2543 และ2544 เท่ากับร้อยละ 25.27 และ 2.96 ตามลำดับ ซึ่งเห็นได้ว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในอนาคตคาดว่าตลาดส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของไทยจึงมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตสำหรับผู้ที่สนใจในเขตศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ที่จะทำการลงทุนในผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร และตลาดต่างประเทศในสินค้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารที่กำลังมีแนวโน้มที่ดีคือตลาดฮ่องกง อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และออสเตรเลียเป็นต้น
ปัญหาและอุปสรรค
จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารสรุปปัญหาและอุปสรรคในการประกอบการอุตสาหกรรมฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารได้ดังนี้
1. การพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารยังมีไม่เพียงพอ และการใช้เครื่องจักรภายในประเทศยังไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ยังต้องพึ่งพาเครื่องจักรและอุปกรณ์จากต่างประเทศ และยังขาดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เชิงพาณิชย์
2. วัตถุดิบภายในประเทศมีราคาสูง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารที่ออกมาสู่ตลาดมีราคาสูงตามไปด้วย ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารที่มาจากการนำเข้าจากต่างประเทศได้ 3. ปัญหาด้านแรงงานที่ยังมีแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญอยู่ไม่มาก แรงงานที่มีอยู่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ไม่มีทักษะในด้านการผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร
ข้อเสนอแนะ
ควรพัฒนาการใช้เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร และการใช้เครื่องจักรภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมทั้งวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเชิงพาณิชย์ และควรมีการฝึกอบรมแรงงานที่มีอยู่ให้มีความเชี่ยวชาญ และเป็นแรงงานที่มีทักษะในด้านการผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
อุตสาหกรรมพลาสติกมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทย เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก หรือ อุตสาหกรรมต่อเนื่องหลากหลายประเภท อาทิ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อาหารแปรรูป ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องแต่งกาย เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้าง ฯลฯ ที่ล้วนต้องใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้า ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารก็เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมพลาสติกและมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารเนื่องจากอาหารในปัจจุบันมีการบรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาคุณภาพของอาหารและเพื่อความสวยงามของผลิตภัณฑ์
ฟิลม์พลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารนั้นสามารถจำแนกตามวัตถุดิบที่ใช้และวัตถุประสงค์ในการใช้งานดังนี้
1) ฟิล์มพลาสติกเดี่ยว (Single Plastic Film) มักใช้ทำถุงทั่วไป โดยมีราคาไม่สูงมาก เช่นถุง LDPE หรือถุงเย็น และ ถุง PP หรือถุงร้อน นอกจากนี้ยังนิยมทำเป็นถุงชั้นในในกล่องกระดาษแข็งบรรจุอาหารสำเร็จรูปเพื่อการขายปลีก
2) ฟิล์มพลาสติกประกบ (Laminated Plastic Film) หมายถึงฟิล์มต่างชนิดกันที่ประกบเข้าด้วยกันหรือฟิล์มพลาสติกที่ใช้ประกบกับวัสดุอื่นๆ เช่นกระดาษแผ่นเปลวอลูมิเนียม รวมทั้งพลาสติกที่ผ่านการเคลือบด้วยไออลูมิเนียมแล้วนำมาประกบกับฟิล์มพลาสติกอื่นๆ โดยโครงสร้างของฟิล์มพลาสติกประเภทนี้ต้องประกอบด้วยวัสดุตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป โดยอาหารที่ใช้บรรจุสำหรับฟิล์มพลาสติกประเภทนี้คือ อาหารแห้ง เครื่องดื่มผงสำเร็จรูป อาหารที่ต้องฆ่าเชื้อด้วยความร้อน บะหมี่สำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว อาหารที่ใช้ไขมันสูง อาหารแช่แข็ง เนื้อแปรรูป ปลาเค็มซึ่งบรรจุด้วยระบบสุญญากาศ อาหารว่างและผักดอง (ต้มฆ่าเชื้อได้) เป็นต้น
3) ฟิล์มพลาสติกรีดร่วม (Coextruded Plastic Film) เป็นฟิล์มหลายชั้นซึ่งประกบด้วยพลาสติกชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน โดยการประกบใช้วิธีรีดให้ติดกัน โดยอาหารที่ใช้บรรจุสำหรับฟิล์มพลาสติกประเภทนี้คือ เนื้อ ไส้กรอก แฮม ปลา เนยแข็ง คอร์นเฟลก นมผง น้ำมันสลัด และอาหารที่มีไขมันสูง เป็นต้น
รายละเอียดทางด้านการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการประกอบกิจการ รวมทั้งนโยบายรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาในการลงทุนในอุตสาหกรรมฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารมีดังต่อไปนี้
จำนวนผู้ผลิตและผู้นำเข้า
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการภายในประเทศไทยในอุตสาหกรรมฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารเป็นจำนวนทั้งสิ้น 16 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่จำนวน 10 ราย ผู้ประกอบการขนาดกลางจำนวน 4 ราย และผู้ประกอบการขนาดเล็กจำนวน 2 ราย (ข้อมูลจากกรมโรงงาน ณ. เดือนมีนาคม 2545) ส่วนผู้นำเข้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารมีจำนวนทั้งสิ้น 96 ราย และมีจำนวนผู้ส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร 187 ราย
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารที่ประกอบกิจการอยู่ภายในเขตความรับผิดชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 มีจำนวนทั้งสิ้น 2 รายหรือคิดเป็นร้อยละ 12.5 ของ ผู้ประกอบการทั้งประเทศโดยเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางจำนวน 2 ราย
ผู้ผลิตและผู้นำตลาดที่สำคัญของประเทศไทยในอุตสาหกรรมฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารได้แก่ บริษัท ทีเอฟเอ็ม แพคเกจจิ้ง ฟิล์ม จำกัด จังหวัดระยอง ทุนจดทะเบียน 1,490,315,400 บาท บริษัท ไทยฟิล์มอินดัสตรี่ จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง ทุนจดทะเบียน 977,900,198 บาท บริษัท ไทยพลาสติกฟิล์ม์ จำกัด จังหวัดสระบุรี ทุนจดทะเบียน 147,850,000 บาท และบริษัท ซี.พี.อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ จำกัด จังหวัดนครราชสีมา ทุนจดทะเบียน 136,000,000 บาท ส่วนผู้ผลิตและผู้นำตลาดฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารที่อยู่ภายในเขตศูนย์อุตสาหกรรมภาคที่ 9 ได้แก่ บริษัท ฟูจิเอช จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ ทุนจดทะเบียน 310,000,000บาท บริษัท โพลีเมอร์ อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ จำกัด จังหวัดฉะเชิงเทรา ทุนจดทะเบียน 190,000,000 บาท บริษัท ไทยคาสท์ฟิล์ม จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ 127,000,000 บาท และบริษัท ยูนิเวอร์ซัล พลาสติกส์ อินดัสตรีสจำกัด จังหวัดปราจีนบุรี ทุนจดทะเบียน 121,000,000 บาท
ภาวะตลาดในประเทศและการส่งออกนำเข้า
เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทต่อภาคอุตสาหกรรมของไทย และอุตสาหกรรมอาหารมีความเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งที่แสดงถึงภาพลักษณ์และตำแหน่งการตลาด (Market Positioning) ของอาหารเหล่านั้น รวมทั้งเป็นสิ่งที่ช่วยในการรักษาและยืดอายุของอาหารได้อีกด้วย
อุตสาหกรรมฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารมีการแข่งขันค่อนข้างสูง กล่าวคือ มีปริมาณความต้องการใช้ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารต่ำกว่าปริมาณความสามารถในการผลิตของผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ แม้ว่าอุตสาหกรรมอาหารจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ก็ยังสามารถทำการผลิตบรรจุภัณฑ์สนองตอบต่อความต้องการบรรจุภัณฑ์ได้จากกำลังการผลิตที่เหลืออยู่อีกเป็นปริมาณมาก นอกจากนี้ในตลาดบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารโดยรวม ยังมีการแข่งขันระหว่างบรรจุภัณฑ์ต่างประเภทด้วยเช่นกัน เนื่องจากสามารถใช้ทดแทนกันได้ ในขณะที่ระดับราคาต้นทุนมีความแตกต่างกัน เช่น การแข่งขันระหว่างขวดแก้วและขวด PET กระป๋องและกล่องกระดาษ Aseptic เป็นต้น
ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารนั้นปัจจุบันยังมีผู้ผลิตภายในประเทศอยู่ไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศมากกว่า โดยมีมูลค่าการนำเข้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศเท่ากับ 19,581.37และ 19,724.77 ล้านบาทในปี พ.ศ.2543และ2544 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากประเทศต่างๆที่สำคัญได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวันและมาเลเซียเป็นต้น การนำเข้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศเพื่อนำมาใช้ภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 และ 2544 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารเท่ากับ ร้อยละ 31.24 และ 0.73 ตามลำดับ
เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการลดภาระจากการนำเข้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารประกอบกับจังหวัดที่อยู่ภายในเขตศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 มีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารมากมาย ดังนั้นการผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารเพื่อทดแทนการนำเข้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร จึงเป็นสิ่งที่ควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการที่สนใจในการลงทุนในธุรกิจผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารเข้ามาประกอบกิจการธุรกิจประเภทนี้
ช่องทางการจำหน่ายฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารภายในประเทศ สามารถจำหน่ายฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารให้กับโรงงานที่ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารมากมายทั้งอาหารทะเลและผลไม้ที่มีอยู่มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดที่อยู่ภายในเขตศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 (รายละเอียดรายชื่อโรงงานในอุตสาหกรรมอาหารและผลไม้นั้นสามารถดูได้จากรายงานสินค้าศักยภาพที่ผ่านมาในตอนต้นของบทที่ 4)
ภาวะตลาดต่างประเทศ
ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารไปยังตลาดโลกคิดเป็นมูลค่า 11,078.69 และ 11,407.11 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2543 และ 2544 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวในการส่งออกเท่ากับ 25.27 และ 2.96 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกสินค้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารที่สำคัญของประเทศไทย ดังต่อไปนี้
ฮ่องกงโดยมีมูลค่าส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากประเทศไทยไปฮ่องกงเท่ากับ 2,733.09 และ 2,779.51 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 24.67 และ 24.37 ของมูลค่าการส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
อินโดนีเซียโดยมีมูลค่าส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากประเทศไทยไป อินโดนีเซียเท่ากับ 449.27 และ 554.70 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 4.06 และ 4.86 ของมูลค่าการส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
สหรัฐอเมริกาโดยมีมูลค่าส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริกาเท่ากับ 521.90 และ 691.04 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 4.71 และ 6.06 ของมูลค่าการ ส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
มาเลเซียโดยมีมูลค่าส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากประเทศไทยไปประเทศมาเลเซียเท่ากับ 955.59 และ 749.90 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 และ 6.57 ของมูลค่าการส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
เวียดนามโดยมีมูลค่าส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากประเทศไทยไปประเทศเวียดนามเท่ากับ 598.69 และ 624.98 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 5.46 และ 5.48 ของมูลค่าการส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
ช่องทางการตลาดและการจำหน่าย
ช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ถุงมือยางแบ่งตามขนาดของผู้ประกอบการดังนี้
1) จำหน่ายผ่านบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (Trading Company) โดยจ่ายค่านายหน้าให้บริษัทเหล่านี้ ประมาณร้อยละ 2-3 ของมูลค่าการขาย
2) จำหน่ายโดยตรงให้แก่ลูกค้าต่างประเทศ โดยทางลูกค้าจะเข้ามาติดต่อว่าจ้างให้บริษัททำการผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารให้ หรืออีกวิธีหนึ่งคือบริษัทไปติดต่อหาลูกค้าในต่างประเทศเองโดยไปตั้งสำนักงานขายที่ต่างประเทศและใช้ยี่ห้อของบริษัทเอง
แนวโน้มของตลาดในอนาคต
ตลาดผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารภายในประเทศยังมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตเนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารไทยที่เติบโตขึ้น แต่ปัญหาของอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารคือมีนำเข้าผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศมาก ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศที่มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำและราคาสินค้าถูกกว่าสินค้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารภายในประเทศเข้ามาตีตลาดผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของไทย โดยประเทศไทยยังคงมีการนำเข้าสินค้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศเป็นมูลค่าสูง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการขยายตัวการนำเข้าสินค้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศ เท่ากับร้อยละ 31.24 และ 0.73 ในปี พ.ศ.2543และ2544ตามลำดับ ซึ่งถ้ามีการผลิตสินค้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารให้มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศก็จะทำให้เป็นการทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศได้
สำหรับแนวโน้มการส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของประเทศไทยคาดว่ายังคงมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวการส่งออกผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของไทยในปีพ.ศ. 2543 และ2544 เท่ากับร้อยละ 25.27 และ 2.96 ตามลำดับ ซึ่งเห็นได้ว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในอนาคตคาดว่าตลาดส่งออกฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารของไทยจึงมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตสำหรับผู้ที่สนใจในเขตศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ที่จะทำการลงทุนในผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร และตลาดต่างประเทศในสินค้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารที่กำลังมีแนวโน้มที่ดีคือตลาดฮ่องกง อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และออสเตรเลียเป็นต้น
ปัญหาและอุปสรรค
จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารสรุปปัญหาและอุปสรรคในการประกอบการอุตสาหกรรมฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารได้ดังนี้
1. การพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารยังมีไม่เพียงพอ และการใช้เครื่องจักรภายในประเทศยังไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ยังต้องพึ่งพาเครื่องจักรและอุปกรณ์จากต่างประเทศ และยังขาดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เชิงพาณิชย์
2. วัตถุดิบภายในประเทศมีราคาสูง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารที่ออกมาสู่ตลาดมีราคาสูงตามไปด้วย ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารที่มาจากการนำเข้าจากต่างประเทศได้ 3. ปัญหาด้านแรงงานที่ยังมีแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญอยู่ไม่มาก แรงงานที่มีอยู่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ไม่มีทักษะในด้านการผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร
ข้อเสนอแนะ
ควรพัฒนาการใช้เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร และการใช้เครื่องจักรภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมทั้งวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเชิงพาณิชย์ และควรมีการฝึกอบรมแรงงานที่มีอยู่ให้มีความเชี่ยวชาญ และเป็นแรงงานที่มีทักษะในด้านการผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-