ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. กองทุนฟื้นฟูฯ เตรียมประมูลขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้จากสถาบันการเงินที่ยึดกิจการมาออก
จำหน่ายเป็นครั้งแรกของปี 47 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ขณะนี้กองทุนเพื่อการ
ฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินอยู่ระหว่างการหารือขั้นสุดท้ายกับกรมบังคับคดีเกี่ยวกับการประมูลขายสิทธิ
เรียกร้องของลูกหนี้จากสถาบันการเงิน ที่ทางกองทุนฟื้นฟูฯ ยึดกิจการก่อนหน้านี้ออกจำหน่าย ซึ่งนับว่าเป็น
การจำหน่ายสินทรัพย์ภายใต้การดูแลเป็นครั้งแรกของปี 47 คาดว่าจะมีการขายสิทธิเรียกร้องลูกหนี้จำนวน 5
แห่ง มูลค่ารวมกันประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยจะนำออกประมูลในช่วงปลายเดือน ก.พ.จนถึงต้นเดือน
มี.ค.นี้ ทั้งนี้ ปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูฯ ยังคงมีสถาบันการเงินที่เข้าไปยึดกิจการเหลืออยู่ประมาณ 40 แห่ง จึงตั้ง
เป้าหมายที่จะขายสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉลี่ยไตรมาสละ 5 แห่ง หรือเฉลี่ยปีละ 20 แห่ง
ซึ่งจะทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ สามารถจัดการกับสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายใน 2 ปีได้ (บ้านเมือง)
2. ปริมาณเช็คเรียกเก็บเพื่อการหักบัญชีระหว่างธนาคารในไตรมาส 3 ปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8
รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ปริมาณเช็คเรียกเก็บเพื่อการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคาร
ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในไตรมาสที่ 3 ปี 46 มีจำนวน 15,556 ล้านฉบับ มูลค่า 5.12 ล้านล้านบาท
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากไตรมาสก่อน โดยเป็นเช็คเรียกเก็บเฉลี่ยต่อวันมีมูลค่า 81,360 ล้านบาท คิด
เป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวม
ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และมูลค่าการส่งออก รวมทั้งการซื้อ
ขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีปริมาณและมูลค่าสูงขึ้นเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ส่วน
ปริมาณเช็คคืนจากการเรียกเก็บมีจำนวน 363,839 ฉบับ มูลค่า 41,160 ล้านบาท ในขณะที่ปริมาณเช็คคืน
โดยไม่มีเงิน (เช็คเด้ง) มีจำนวนทั้งสิ้น 232,533 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 20,480 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,210
ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา (เดลินิวส์)
3. รัฐบาลกำหนดให้การส่งออกมีอัตราการเติบโตร้อยละ 15 ในปี 47 รองนายกรัฐมนตรี (ดร.
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เปิดเผยภายหลังเปิดการประชุม “ยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศของไทย
(roadmap) เมื่อ 11 ม.ค.47 ว่า ในปี 47 รัฐบาลมีเป้าหมายผลักดันมูลค่าการส่งออกให้มีอัตราการเติบโต
ร้อยละ 15 หรือคิดเป็นมูลค่า 91,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. และปี 48 ตั้งเป้าหมายมีมูลค่าการส่งออก 1
แสนล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะนี้การนำเข้าตั้งเป้าหมายไว้ปีละ 4,000-5,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. พร้อม
กันนี้ให้เน้นการส่งออกในตลาดใหม่ร้อยละ 60 และตลาดเก่าร้อยละ 40 โดยเน้นที่ตลาดใหม่เพิ่มขึ้น ได้แก่
จีนมีอัตราการเติบโตร้อยละ 38 อินเดียร้อยละ 55 และตะวันออกกลางร้อยละ 15 เนื่องจากตลาดเก่ามีการ
กีดกันทางการค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่รัฐบาลลงนามทำเขตการเสรี (เอฟทีเอ) กับตลาดใหม่ จึงน่าจะเป็นช่องทาง
ในการเข้าไปทำตลาดใหม่ นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ทุกหน่วยงานผลักดันไทยเพิ่มความสามารถในการส่งออก
โดยตั้งเป้าให้เลื่อนจากอันดับ 22 มาเป็นอันดับ 20 ของโลกใน 3 ปีข้างหน้า และคาดหวังให้เลื่อนอันดับจาก
อันดับ 7 ในภูมิภาคเอเชียมาอยู่ 1 ใน 5 ของเอเชีย (ไทยโพสต์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, ไทย
รัฐ)
4. ธ.กรุงเทพคาดว่าปี 47 ดอกเบี้ยเงินกู้ยังไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินใน
ระบบยังอยู่ในระดับสูงถึง 1.1 ล้านล้านบาท ผู้จัดการฝ่ายวิจัย ธ.กรุงเทพ เปิดเผยว่า ในปี 47 นี้ อัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้ยังคงไม่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินในระบบยังมีอยู่ในระดับสูงถึง 1.1
ล้านล้านบาท และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย
สรอ. อาจจะมีการปรับขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง แต่ก็ไม่ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศต้องปรับเพิ่มขึ้น เพราะ
การที่ สรอ.ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเท่านั้น (กรุงเทพธุรกิจ)
5. บล.ธนชาติคาดว่าปี 47 เป็นปีที่สถาบันการเงินทั้งระบบจะต้องปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่
ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ธนชาติ ออกบทวิเคราะห์ภายหลังจาก ครม.ประกาศแผนแม่บทการเงินฉบับใหม่ว่า ปี
47 นี้นับเป็นปีที่สถาบันการเงินทั้งระบบจะต้องปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตาม
ศักยภาพและความน่าจะเป็น คือ กลุ่มที่ 1 เงินกองทุนเกิน 50,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 5 แห่ง กลุ่มที่ 2
เงินกองทุนอยู่ในช่วง 5,000-50,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 9 แห่ง และกลุ่มที่ 3 เงินกองทุนต่ำกว่า
5,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 6 แห่ง (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดสั่งซื้อสินค้าเยอรมนีในเดือน พ.ย.46 สูงขึ้นแม้ว่าค่าเงินยูโรแข็งขึ้น รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 9 ม.ค.47 ยอดสั่งซื้อสินค้าเยอรมนีในเดือน พ.ย.46 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5
หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ในเดือน ต.ค.46 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยยอดสั่งซื้อสินค้าจากต่าง
ประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในเดือน ต.ค.46 ในขณะที่ยอดสั่งซื้อภายใน
ประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ในเดือน ต.ค.46 แต่ในขณะที่เยอรมนีส่งออกสินค้า
ไปยังประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 45 ยอดส่งออก
สินค้าไปยังประเทศในสหภาพยุโรปที่ไม่ใช้เงินสกุลยูโร 3 ประเทศคือ อังกฤษ สวีเดน และเดนมาร์กกลับลด
ลงร้อยละ 1.4 เช่นเดียวกับยอดส่งออกสินค้าไปยังประเทศนอกสหภาพยุโรปลดลงร้อยละ 4.8 การแข็งค่า
ของเงินยูโรต่อเงินสกุลสำคัญโดยเฉพาะเงินดอลลาร์ สรอ.ได้สร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการและเจ้า
หน้าที่ของรัฐในเยอรมนีเนื่องจากทำให้สินค้าที่ผลิตในเขตเศรษฐกิจยุโรปมีราคาสูงขึ้นเมื่อส่งไปขายยังประเทศ
นอกเขตเศรษฐกิจยุโรป เมื่อประกอบกับตัวเลขการส่งออกในเดือน พ.ย.46 ต่ำกว่าที่คาดไว้ซึ่งส่งผลให้ยอด
เกินดุลการค้าในเดือนเดียวกันลดลง ทำให้คาดกันว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในไตรมาสที่
4 ปี 46 จะลดลงร้อยละ 0.5 จากที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าในปี 46 เยอรมนีขาดดุลงบประมาณน้อยกว่าที่คาดไว้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 10
ม.ค. 47 รัฐบาลเยอรมนีเปิดเผยว่าการขาดดุลงปม. ของเยอรมนีในปี 46 อาจจะน้อยกว่าที่คาดไว้ แต่ยัง
คงสูงกว่ากฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรปที่กำหนดไว้ว่าต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
(GDP) ทั้งนี้โฆษก ก.คลังเยอรมนีกล่าวว่า การขาดดุลในปี46 อาจจะประมาณ 39 พันล.ยูโร (50.04 พัน
ล. ดอลลาร์ สรอ.) ต่ำกว่าที่ได้คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขาดดุลงปม.ประมาณ 43.4 พัน ล.ยูโร เนื่องจากมี
รายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น และการตัดลดงปม.ของกระทรวงแรงงานลง ทั้งนี้เมื่อปี 45 เยอรมนีขาดดุ
ลงปม. มากกว่ากฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรป และปี 46 คาดว่าจะขาดดุลงปม.ถึงร้อยละ 4 ของ GDP (รอย
เตอร์)
3. การส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้จีนเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.2 ในเดือน ธ.ค.46
รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 9 ม.ค.46 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า เดือน ธ.ค.46 จีนเกินดุลการค้าเป็นจำนวน
5.73 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.2 เทียบต่อปี เป็นผลจากการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวส่ง
ผลให้การส่งออกของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.7 เทียบต่อปี เป็นจำนวน 48.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่
การนำเข้ามีจำนวน 42.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.4 เทียบต่อปี สำหรับยอดการส่งออกทั้งปี
46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.6 เป็นจำนวน 438.4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9
เป็นจำนวน 412.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ทำให้ยอดเกินดุลการค้าทั้งปี 46 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 16
หรือเป็นจำนวน 25.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ยอดเกินดุลการค้าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานการณ์การ
ลงทุนจากต่างประเทศที่แข็งแกร่ง ได้ช่วยสนับสนุนให้จีนเป็นประเทศที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศใหญ่เป็น
อันดับสองของโลกที่ระดับ 403 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นปี 46 อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กล่าวว่า การ
เกินดุลการค้าของจีนมีแนวโน้มลดลงในระยะต่อไป เนื่องจากการนำเข้ามีทิศทางเพิ่มขึ้นสูงกว่าการส่ง
ออกอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
4. ยอดขายของห้างสรรพสินค้าเกาหลีใต้ในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน
รายงานจากโซล เมื่อ 11 ม.ค.46 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดขายของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่สุด 3
แห่งของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการชี้วัดความต้องการของผู้บริโภค ในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ
2.5 เทียบต่อปี เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 11 เดือนนับตั้งแต่เดือน ม.ค.46 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เป็น
ผลจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงสิ้นปี อย่างไรก็ตาม การประเมินยอดขายของเดือน ม.ค.47 มีแนวโน้ม
ลดลงประมาณร้อยละ 3.5 เนื่องจากความต้องการสินค้าประเภทเครื่องทำความร้อนและเครื่องนุ่งห่มกันหนาว
ลดลง สำหรับยอดขายของร้านค้าส่งในเดือน ธ.ค.46 ลดลงร้อยละ 7.1 เทียบต่อปี (รอยเตอร์)
5. ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีน รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 47 นสพ.
ซินหัวของจีนรายงานว่า ในปี 46 ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีนมาเป็นเวลาถึง 11 ปีแล้ว
โดยมูลค่าการค้า 2 ฝ่ายสูงถึง 133.58 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 จากปีก่อน
สำหรับการค้าสองฝ่ายระหว่างจีนกับสรอ. ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของจีนนั้นเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ร้อยละ 30 อยู่ที่ระดับ 126.33 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. สำหรับการค้าระหว่างจีนกับสหภาพยุโรปนั้นถือว่า
ใหญ่เป็นอันดับที่สามด้วยมูลค่าทางการค้าที่สูงถึง 125.22 พัน ล.ดอลลาร์สรอ.หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ
44.4 รัฐบาลจีนเปิดเผยว่าในปี 46 การส่งออกทั้งสิ้นของจีนสูงถึง 438.4 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่ม
ขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 34.6 ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 อยู่ที่ระดับ 412.8 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.
ส่งผลให้การเกินดุลการค้าของจีนจากช่วงเดียวกันปีก่อนลดลงมากกว่าร้อยละ 16 อยู่ที่ระดับ 25.5 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. สำหรับการที่จีนกำหนดค่าเงินหยวนไว้ที่ประมาณ 8.28 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. เพื่อรักษา
เสถียรภาพเงินหยวนนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสรอ. กล่าวตำหนิว่า ค่าเงินหยวนถูกเกินไปไม่ได้สะท้อน
ภาพความจริง ส่งผลให้จีนได้เปรียบทางการค้ากับประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ตามผวก. ธ. กลางจีนกล่าวว่าจีน
กำลังปฏิรูประบบธพ. ให้แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามเห็นว่าแรงกดดันเรื่องค่าเงินหยวนได้บรรเทาลงแล้วเนื่อง
จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง ปัญหาดุลการค้าเปลี่ยนไป และ เศรษฐกิจสรอ.ฟื้นตัวอย่างรวด
เร็ว(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12/1/47 9/1/47 31/12/46 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.022 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.8175/39.1125 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.2500 - 1.2800 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 783.44/63.01 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,800/7,900 7,750/7,850 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 29.69 29.93 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 17.79/14.69 17.29*/14.39 ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. กองทุนฟื้นฟูฯ เตรียมประมูลขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้จากสถาบันการเงินที่ยึดกิจการมาออก
จำหน่ายเป็นครั้งแรกของปี 47 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ขณะนี้กองทุนเพื่อการ
ฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินอยู่ระหว่างการหารือขั้นสุดท้ายกับกรมบังคับคดีเกี่ยวกับการประมูลขายสิทธิ
เรียกร้องของลูกหนี้จากสถาบันการเงิน ที่ทางกองทุนฟื้นฟูฯ ยึดกิจการก่อนหน้านี้ออกจำหน่าย ซึ่งนับว่าเป็น
การจำหน่ายสินทรัพย์ภายใต้การดูแลเป็นครั้งแรกของปี 47 คาดว่าจะมีการขายสิทธิเรียกร้องลูกหนี้จำนวน 5
แห่ง มูลค่ารวมกันประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยจะนำออกประมูลในช่วงปลายเดือน ก.พ.จนถึงต้นเดือน
มี.ค.นี้ ทั้งนี้ ปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูฯ ยังคงมีสถาบันการเงินที่เข้าไปยึดกิจการเหลืออยู่ประมาณ 40 แห่ง จึงตั้ง
เป้าหมายที่จะขายสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉลี่ยไตรมาสละ 5 แห่ง หรือเฉลี่ยปีละ 20 แห่ง
ซึ่งจะทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ สามารถจัดการกับสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายใน 2 ปีได้ (บ้านเมือง)
2. ปริมาณเช็คเรียกเก็บเพื่อการหักบัญชีระหว่างธนาคารในไตรมาส 3 ปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8
รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ปริมาณเช็คเรียกเก็บเพื่อการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคาร
ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในไตรมาสที่ 3 ปี 46 มีจำนวน 15,556 ล้านฉบับ มูลค่า 5.12 ล้านล้านบาท
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากไตรมาสก่อน โดยเป็นเช็คเรียกเก็บเฉลี่ยต่อวันมีมูลค่า 81,360 ล้านบาท คิด
เป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวม
ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และมูลค่าการส่งออก รวมทั้งการซื้อ
ขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีปริมาณและมูลค่าสูงขึ้นเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ส่วน
ปริมาณเช็คคืนจากการเรียกเก็บมีจำนวน 363,839 ฉบับ มูลค่า 41,160 ล้านบาท ในขณะที่ปริมาณเช็คคืน
โดยไม่มีเงิน (เช็คเด้ง) มีจำนวนทั้งสิ้น 232,533 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 20,480 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,210
ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา (เดลินิวส์)
3. รัฐบาลกำหนดให้การส่งออกมีอัตราการเติบโตร้อยละ 15 ในปี 47 รองนายกรัฐมนตรี (ดร.
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เปิดเผยภายหลังเปิดการประชุม “ยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศของไทย
(roadmap) เมื่อ 11 ม.ค.47 ว่า ในปี 47 รัฐบาลมีเป้าหมายผลักดันมูลค่าการส่งออกให้มีอัตราการเติบโต
ร้อยละ 15 หรือคิดเป็นมูลค่า 91,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. และปี 48 ตั้งเป้าหมายมีมูลค่าการส่งออก 1
แสนล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะนี้การนำเข้าตั้งเป้าหมายไว้ปีละ 4,000-5,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. พร้อม
กันนี้ให้เน้นการส่งออกในตลาดใหม่ร้อยละ 60 และตลาดเก่าร้อยละ 40 โดยเน้นที่ตลาดใหม่เพิ่มขึ้น ได้แก่
จีนมีอัตราการเติบโตร้อยละ 38 อินเดียร้อยละ 55 และตะวันออกกลางร้อยละ 15 เนื่องจากตลาดเก่ามีการ
กีดกันทางการค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่รัฐบาลลงนามทำเขตการเสรี (เอฟทีเอ) กับตลาดใหม่ จึงน่าจะเป็นช่องทาง
ในการเข้าไปทำตลาดใหม่ นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ทุกหน่วยงานผลักดันไทยเพิ่มความสามารถในการส่งออก
โดยตั้งเป้าให้เลื่อนจากอันดับ 22 มาเป็นอันดับ 20 ของโลกใน 3 ปีข้างหน้า และคาดหวังให้เลื่อนอันดับจาก
อันดับ 7 ในภูมิภาคเอเชียมาอยู่ 1 ใน 5 ของเอเชีย (ไทยโพสต์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, ไทย
รัฐ)
4. ธ.กรุงเทพคาดว่าปี 47 ดอกเบี้ยเงินกู้ยังไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินใน
ระบบยังอยู่ในระดับสูงถึง 1.1 ล้านล้านบาท ผู้จัดการฝ่ายวิจัย ธ.กรุงเทพ เปิดเผยว่า ในปี 47 นี้ อัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้ยังคงไม่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินในระบบยังมีอยู่ในระดับสูงถึง 1.1
ล้านล้านบาท และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย
สรอ. อาจจะมีการปรับขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง แต่ก็ไม่ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศต้องปรับเพิ่มขึ้น เพราะ
การที่ สรอ.ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเท่านั้น (กรุงเทพธุรกิจ)
5. บล.ธนชาติคาดว่าปี 47 เป็นปีที่สถาบันการเงินทั้งระบบจะต้องปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่
ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ธนชาติ ออกบทวิเคราะห์ภายหลังจาก ครม.ประกาศแผนแม่บทการเงินฉบับใหม่ว่า ปี
47 นี้นับเป็นปีที่สถาบันการเงินทั้งระบบจะต้องปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตาม
ศักยภาพและความน่าจะเป็น คือ กลุ่มที่ 1 เงินกองทุนเกิน 50,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 5 แห่ง กลุ่มที่ 2
เงินกองทุนอยู่ในช่วง 5,000-50,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 9 แห่ง และกลุ่มที่ 3 เงินกองทุนต่ำกว่า
5,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 6 แห่ง (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดสั่งซื้อสินค้าเยอรมนีในเดือน พ.ย.46 สูงขึ้นแม้ว่าค่าเงินยูโรแข็งขึ้น รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 9 ม.ค.47 ยอดสั่งซื้อสินค้าเยอรมนีในเดือน พ.ย.46 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5
หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ในเดือน ต.ค.46 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยยอดสั่งซื้อสินค้าจากต่าง
ประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในเดือน ต.ค.46 ในขณะที่ยอดสั่งซื้อภายใน
ประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ในเดือน ต.ค.46 แต่ในขณะที่เยอรมนีส่งออกสินค้า
ไปยังประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 45 ยอดส่งออก
สินค้าไปยังประเทศในสหภาพยุโรปที่ไม่ใช้เงินสกุลยูโร 3 ประเทศคือ อังกฤษ สวีเดน และเดนมาร์กกลับลด
ลงร้อยละ 1.4 เช่นเดียวกับยอดส่งออกสินค้าไปยังประเทศนอกสหภาพยุโรปลดลงร้อยละ 4.8 การแข็งค่า
ของเงินยูโรต่อเงินสกุลสำคัญโดยเฉพาะเงินดอลลาร์ สรอ.ได้สร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการและเจ้า
หน้าที่ของรัฐในเยอรมนีเนื่องจากทำให้สินค้าที่ผลิตในเขตเศรษฐกิจยุโรปมีราคาสูงขึ้นเมื่อส่งไปขายยังประเทศ
นอกเขตเศรษฐกิจยุโรป เมื่อประกอบกับตัวเลขการส่งออกในเดือน พ.ย.46 ต่ำกว่าที่คาดไว้ซึ่งส่งผลให้ยอด
เกินดุลการค้าในเดือนเดียวกันลดลง ทำให้คาดกันว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในไตรมาสที่
4 ปี 46 จะลดลงร้อยละ 0.5 จากที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าในปี 46 เยอรมนีขาดดุลงบประมาณน้อยกว่าที่คาดไว้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 10
ม.ค. 47 รัฐบาลเยอรมนีเปิดเผยว่าการขาดดุลงปม. ของเยอรมนีในปี 46 อาจจะน้อยกว่าที่คาดไว้ แต่ยัง
คงสูงกว่ากฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรปที่กำหนดไว้ว่าต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
(GDP) ทั้งนี้โฆษก ก.คลังเยอรมนีกล่าวว่า การขาดดุลในปี46 อาจจะประมาณ 39 พันล.ยูโร (50.04 พัน
ล. ดอลลาร์ สรอ.) ต่ำกว่าที่ได้คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขาดดุลงปม.ประมาณ 43.4 พัน ล.ยูโร เนื่องจากมี
รายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น และการตัดลดงปม.ของกระทรวงแรงงานลง ทั้งนี้เมื่อปี 45 เยอรมนีขาดดุ
ลงปม. มากกว่ากฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรป และปี 46 คาดว่าจะขาดดุลงปม.ถึงร้อยละ 4 ของ GDP (รอย
เตอร์)
3. การส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้จีนเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.2 ในเดือน ธ.ค.46
รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 9 ม.ค.46 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า เดือน ธ.ค.46 จีนเกินดุลการค้าเป็นจำนวน
5.73 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.2 เทียบต่อปี เป็นผลจากการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวส่ง
ผลให้การส่งออกของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.7 เทียบต่อปี เป็นจำนวน 48.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่
การนำเข้ามีจำนวน 42.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.4 เทียบต่อปี สำหรับยอดการส่งออกทั้งปี
46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.6 เป็นจำนวน 438.4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9
เป็นจำนวน 412.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ทำให้ยอดเกินดุลการค้าทั้งปี 46 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 16
หรือเป็นจำนวน 25.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ยอดเกินดุลการค้าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานการณ์การ
ลงทุนจากต่างประเทศที่แข็งแกร่ง ได้ช่วยสนับสนุนให้จีนเป็นประเทศที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศใหญ่เป็น
อันดับสองของโลกที่ระดับ 403 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นปี 46 อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กล่าวว่า การ
เกินดุลการค้าของจีนมีแนวโน้มลดลงในระยะต่อไป เนื่องจากการนำเข้ามีทิศทางเพิ่มขึ้นสูงกว่าการส่ง
ออกอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
4. ยอดขายของห้างสรรพสินค้าเกาหลีใต้ในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน
รายงานจากโซล เมื่อ 11 ม.ค.46 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดขายของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่สุด 3
แห่งของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการชี้วัดความต้องการของผู้บริโภค ในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ
2.5 เทียบต่อปี เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 11 เดือนนับตั้งแต่เดือน ม.ค.46 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เป็น
ผลจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงสิ้นปี อย่างไรก็ตาม การประเมินยอดขายของเดือน ม.ค.47 มีแนวโน้ม
ลดลงประมาณร้อยละ 3.5 เนื่องจากความต้องการสินค้าประเภทเครื่องทำความร้อนและเครื่องนุ่งห่มกันหนาว
ลดลง สำหรับยอดขายของร้านค้าส่งในเดือน ธ.ค.46 ลดลงร้อยละ 7.1 เทียบต่อปี (รอยเตอร์)
5. ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีน รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 47 นสพ.
ซินหัวของจีนรายงานว่า ในปี 46 ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีนมาเป็นเวลาถึง 11 ปีแล้ว
โดยมูลค่าการค้า 2 ฝ่ายสูงถึง 133.58 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 จากปีก่อน
สำหรับการค้าสองฝ่ายระหว่างจีนกับสรอ. ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของจีนนั้นเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ร้อยละ 30 อยู่ที่ระดับ 126.33 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. สำหรับการค้าระหว่างจีนกับสหภาพยุโรปนั้นถือว่า
ใหญ่เป็นอันดับที่สามด้วยมูลค่าทางการค้าที่สูงถึง 125.22 พัน ล.ดอลลาร์สรอ.หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ
44.4 รัฐบาลจีนเปิดเผยว่าในปี 46 การส่งออกทั้งสิ้นของจีนสูงถึง 438.4 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่ม
ขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 34.6 ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 อยู่ที่ระดับ 412.8 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.
ส่งผลให้การเกินดุลการค้าของจีนจากช่วงเดียวกันปีก่อนลดลงมากกว่าร้อยละ 16 อยู่ที่ระดับ 25.5 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. สำหรับการที่จีนกำหนดค่าเงินหยวนไว้ที่ประมาณ 8.28 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. เพื่อรักษา
เสถียรภาพเงินหยวนนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสรอ. กล่าวตำหนิว่า ค่าเงินหยวนถูกเกินไปไม่ได้สะท้อน
ภาพความจริง ส่งผลให้จีนได้เปรียบทางการค้ากับประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ตามผวก. ธ. กลางจีนกล่าวว่าจีน
กำลังปฏิรูประบบธพ. ให้แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามเห็นว่าแรงกดดันเรื่องค่าเงินหยวนได้บรรเทาลงแล้วเนื่อง
จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง ปัญหาดุลการค้าเปลี่ยนไป และ เศรษฐกิจสรอ.ฟื้นตัวอย่างรวด
เร็ว(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12/1/47 9/1/47 31/12/46 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.022 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.8175/39.1125 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.2500 - 1.2800 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 783.44/63.01 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,800/7,900 7,750/7,850 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 29.69 29.93 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 17.79/14.69 17.29*/14.39 ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-