กรุงเทพ--3 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2548 ที่โรมแรมสยาม ซิตี้ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับพลังงานทดแทน ความคืบหน้ากรณีกลุ่มคน 131 คน ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ที่รัฐกลันตัน มาเลเซีย และ E- passport สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การสัมมนาเรื่องพลังงานทดแทน ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงสนพระทัยเรื่องพลังงานทดแทนจากน้ำมันพืชมานานแล้ว ปัจจุบันโลกกำลังประสบภาวะปัญหาราคาน้ำมันแพง รัฐบาลจึงได้ให้ความสนใจหาแหล่งพลังงานทดแทนใหม่ โดยการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในการช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และในฐานะที่ตนเป็นประธานของกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) เมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ นครนิวยอร์คได้มีการประชุม ACD จึงได้เสนอแนะให้สมาชิกของกลุ่มให้ความร่วมมือกันมากขึ้นในเรื่องพลังงานน้ำมันโดยเสนอข้อคิดว่า ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันซึ่งเป็นประเทศสมาชิกของ ACD ควรหันมาลงทุนในกรอบ ACD เพื่อช่วยเหลือประเทศในกลุ่มสมาชิก และสำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับพลังงานทดแทนระหว่างไทยและบราซิลในวันนี้มีขึ้นเนื่องจากเห็นว่าประเทศบราซิลมีประสบการณ์ใช้ประโยชน์จากอ้อยเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งเพิ่มรายได้ให้กับภาคเกษตรด้วย นอกจากนั้น ประเทศไอซ์แลนด์ ก็ได้ศึกษาการใช้พลังงานทดแทนจาก Hydrogen และประเทศในยุโรปตะวันออก เช่น เชค และ ฮังการี ให้ความสนใจเรื่องพลังงานทดแทนจากพืชเช่นกัน
2. กรณีกลุ่มคน 131 คน ต่อกรณีความคืบหน้ากลุ่มคน 131 คน ที่ถูกทางการมาเลเซียจับกุมในข้อหาลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย นั้น ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า นาย Antonio Guterres เลขาธิการสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้โทรศัพท์พูดคุยกับตนในระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 60 ที่ นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อหารือในเรื่องดังกล่าว โดยย้ำถึงความปลอดภัย และความสบายใจของกลุ่มคน 131 คนดังกล่าวหากจะเดินทางกลับประเทศไทย โดย ดร. กันตธีร์กล่าวว่า ข้อมูลที่ทาง UNHCR ได้จากการสัมภาษณ์ เป็นข้อมูลฝ่ายเดียว ดังนั้น จึงไม่ควรดำเนินการใดๆเนื่องจากอาจจะกระทบการแก้ปัญหาระหว่างไทย และมาเลเซีย
สำหรับปัญหาล่าช้าในการแก้ไขเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจาก กลุ่มคนดังกล่าวไม่มีเอกสารประจำตัว จึงต้องสัมภาษณ์ ตรวจสอบข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบกับศูนย์ข้อมูล โดยการร่วมมือกันระหว่างหลายหน่วยงาน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จากกรมการกงสุล และเจ้าหน้าที่จากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงการต่างประเทศ. จะดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ นอกจากนั้นความล่าช้ายังเกิดจากปัญหาการจำกัดเวลาของฝ่ายมาเลเซีย ซึ่งอนุญาตให้คณะทำงานจากฝ่ายไทยปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะๆ เพียง 4-5 ครั้งๆ ละ 1 วัน เท่านั้น
ดร. กันตธีร์ฯ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ จำนวนที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นคนไทยบางส่วนแจ้งความประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทย และคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่จนถึงปัจจุบันนี้ ข้อมูลตัวเลขยังไม่ชัดเจน ทั้งนี้ได้สั่งการให้กงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน เข้าไปดูแลและสัมภาษณ์ กลุ่มคนดังกล่าวในวันเสาร์ และวันอาทิตย์ นี้ ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวด้วยว่า ฝ่ายมาเลเซียให้ความร่วมมือในการดำเนินการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ประสานกันในหลายระดับ และหลายหน่วยงาน
3. เรื่อง E-Passport เกี่ยวกับการต่ออายุหนังสือเดินทางแบบเดิมนั้น ดร. กันตธีร์ฯ ชี้แจงว่า เนื่องจากขณะนี้อยู่ในระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่าน (transitional period) ระหว่างการใช้หนังสือเดินทางแบบเดิมไปใช้ E-Passport และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ที่อยู่ห่างไกล หรืออยู่ในต่างประเทศ ที่มีความจำเป็นและไม่สามารถทำ E-Passport ได้นั้น กระทรวงการต่างประเทศกำลังพิจารณาว่าควรที่จะอนุญาตให้ใช้หนังสือเดินทางแบบเดิมไปอีกระยะหนึ่งก่อนหรือไม่
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2548 ที่โรมแรมสยาม ซิตี้ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับพลังงานทดแทน ความคืบหน้ากรณีกลุ่มคน 131 คน ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ที่รัฐกลันตัน มาเลเซีย และ E- passport สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การสัมมนาเรื่องพลังงานทดแทน ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงสนพระทัยเรื่องพลังงานทดแทนจากน้ำมันพืชมานานแล้ว ปัจจุบันโลกกำลังประสบภาวะปัญหาราคาน้ำมันแพง รัฐบาลจึงได้ให้ความสนใจหาแหล่งพลังงานทดแทนใหม่ โดยการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในการช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และในฐานะที่ตนเป็นประธานของกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) เมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ นครนิวยอร์คได้มีการประชุม ACD จึงได้เสนอแนะให้สมาชิกของกลุ่มให้ความร่วมมือกันมากขึ้นในเรื่องพลังงานน้ำมันโดยเสนอข้อคิดว่า ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันซึ่งเป็นประเทศสมาชิกของ ACD ควรหันมาลงทุนในกรอบ ACD เพื่อช่วยเหลือประเทศในกลุ่มสมาชิก และสำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับพลังงานทดแทนระหว่างไทยและบราซิลในวันนี้มีขึ้นเนื่องจากเห็นว่าประเทศบราซิลมีประสบการณ์ใช้ประโยชน์จากอ้อยเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งเพิ่มรายได้ให้กับภาคเกษตรด้วย นอกจากนั้น ประเทศไอซ์แลนด์ ก็ได้ศึกษาการใช้พลังงานทดแทนจาก Hydrogen และประเทศในยุโรปตะวันออก เช่น เชค และ ฮังการี ให้ความสนใจเรื่องพลังงานทดแทนจากพืชเช่นกัน
2. กรณีกลุ่มคน 131 คน ต่อกรณีความคืบหน้ากลุ่มคน 131 คน ที่ถูกทางการมาเลเซียจับกุมในข้อหาลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย นั้น ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า นาย Antonio Guterres เลขาธิการสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้โทรศัพท์พูดคุยกับตนในระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 60 ที่ นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อหารือในเรื่องดังกล่าว โดยย้ำถึงความปลอดภัย และความสบายใจของกลุ่มคน 131 คนดังกล่าวหากจะเดินทางกลับประเทศไทย โดย ดร. กันตธีร์กล่าวว่า ข้อมูลที่ทาง UNHCR ได้จากการสัมภาษณ์ เป็นข้อมูลฝ่ายเดียว ดังนั้น จึงไม่ควรดำเนินการใดๆเนื่องจากอาจจะกระทบการแก้ปัญหาระหว่างไทย และมาเลเซีย
สำหรับปัญหาล่าช้าในการแก้ไขเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจาก กลุ่มคนดังกล่าวไม่มีเอกสารประจำตัว จึงต้องสัมภาษณ์ ตรวจสอบข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบกับศูนย์ข้อมูล โดยการร่วมมือกันระหว่างหลายหน่วยงาน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จากกรมการกงสุล และเจ้าหน้าที่จากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงการต่างประเทศ. จะดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ นอกจากนั้นความล่าช้ายังเกิดจากปัญหาการจำกัดเวลาของฝ่ายมาเลเซีย ซึ่งอนุญาตให้คณะทำงานจากฝ่ายไทยปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะๆ เพียง 4-5 ครั้งๆ ละ 1 วัน เท่านั้น
ดร. กันตธีร์ฯ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ จำนวนที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นคนไทยบางส่วนแจ้งความประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทย และคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่จนถึงปัจจุบันนี้ ข้อมูลตัวเลขยังไม่ชัดเจน ทั้งนี้ได้สั่งการให้กงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน เข้าไปดูแลและสัมภาษณ์ กลุ่มคนดังกล่าวในวันเสาร์ และวันอาทิตย์ นี้ ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวด้วยว่า ฝ่ายมาเลเซียให้ความร่วมมือในการดำเนินการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ประสานกันในหลายระดับ และหลายหน่วยงาน
3. เรื่อง E-Passport เกี่ยวกับการต่ออายุหนังสือเดินทางแบบเดิมนั้น ดร. กันตธีร์ฯ ชี้แจงว่า เนื่องจากขณะนี้อยู่ในระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่าน (transitional period) ระหว่างการใช้หนังสือเดินทางแบบเดิมไปใช้ E-Passport และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ที่อยู่ห่างไกล หรืออยู่ในต่างประเทศ ที่มีความจำเป็นและไม่สามารถทำ E-Passport ได้นั้น กระทรวงการต่างประเทศกำลังพิจารณาว่าควรที่จะอนุญาตให้ใช้หนังสือเดินทางแบบเดิมไปอีกระยะหนึ่งก่อนหรือไม่
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-