ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เตรียมหารือกับผู้บริหารของ สง.ไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับแผนพัฒนาระบบสถาบันการ
เงิน นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า วันนี้ (13 ม.ค.47)
ธปท.ได้เชิญผู้บริหารของสถาบันการเงินไทยและต่างประเทศทั้งหมดมาหารือเกี่ยวกับนโยบายของ ธปท.ตาม
แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และการดำเนินตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินในช่วงต่อไป (โลกวันนี้,
สยามรัฐ, ข่าวสด)
2. ผลจากการตรึงราคาน้ำมันในประเทศ 3 วัน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงรับภาระจำนวนกว่า 360
ล้านบาท ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่รัฐบาลประกาศตรึงราคาน้ำมัน
ในประเทศ โดยกำหนดเพดานราคาน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 16.99 บาทต่อลิตร เบนซิน 91 อยู่ที่ 16.19
บาทต่อลิตร และดีเซลอยู่ที่ 14.59 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา รวม 3 วัน กองทุนน้ำมันเชื้อ
เพลิงรับภาระจ่ายเงินชดเชยราคาน้ำมันไปแล้วกว่า 360 ล้านบาท โดยเงินส่วนนี้โรงกลั่นจะได้รับการจ่ายชด
เชยจากภาครัฐคืนภายใน 15 วัน ผ่านวิธีการหักกลบลบหนี้จากเงินภาษีสรรพสามิตน้ำมัน (ไทยรัฐ, ข่าวสด)
3. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ธุรกิจบัตรเครดิตในปี 47 จะชะลอตัวลง บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ได้คาดการณ์ว่า ธุรกิจบัตรเครดิตอาจมีการเติบโตชะลอตัวลงในปี 47 คือ จำนวนบัตรเครดิตในระบบธนาคาร
พาณิชย์จะมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 18 จากปี 46 หรืออยู่ที่ประมาณ 5.2 ล้านบัตร จากที่ประมาณ
4,355,018 บัตรในปี 46 ซึ่งชะลอลงจากปีก่อนหน้า ที่ขยายตัวประมาณร้อยละ 28 เทียบต่อปี อันเป็นผลจาก
การแข่งขันที่รุนแรง และจากกฎหมายบัตรเครดิตที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 46 ซึ่งมีส่วนทำให้ผู้ประกอบการบาง
ส่วนอาจหันไปทำธุรกิจรายย่อยประเภทอื่น เช่น สินเชื่อบุคคล หรือ Personal Loans (กรุงเทพธุรกิจ)
4. บล.ธนชาติคาดการณ์ผลการดำเนินงานของ ธพ.ขนาดใหญ่ 5 แห่ง ปี 46มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ
358 จากปีก่อน บล.ธนชาติได้ทำการประเมินฐานะการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ ประจำปี 46 ว่า ธพ.
ขนาดใหญ่จำนวน 5 แห่ง คือ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ และ ธ.กรุงศรีอยุธยา
ซึ่งมีสินทรัพย์รวมกันกว่าร้อยละ 75 ของกลุ่ม ธพ.ทั้งหมด จะมีกำไรสุทธิรวมกันประมาณ 4.85 หมื่นล้านบาท
หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 358.1 ทั้งนี้ ธพ.ที่มีผลประกอบการโดดเด่นมากที่สุด คือ ธ.ไทยพาณิชย์
ขณะที่ ธพ.ที่ประสบปัญหาการขาดทุนจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ ธ.ทหารไทย และ ธ.ดีบีเอส
ไทยทนุ ที่คาดว่าจะขาดทุนสุทธิ 1.54 หมื่นล้านบาท และ 2.41 พัน ล้านบาท ตามลำดับ (ผู้จัดการรายวัน)
5. บสท.เตรียมเสนอ ครม.พิจารณาปรับแนวทางการบริหารการทำงานใหม่ ประธานกรรมการ
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เปิดเผยว่า ในเร็ว ๆ นี้ จะเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาปรับแนว
ทางการทำงานใน บสท.ใหม่ตามที่ได้หารือกับ ผู้ช่วย รมว.คลัง (นายกิตติ ลิ่มสกุล) แต่ไม่มีการปรับเปลี่ยน
คณะกรรมการ กรรมการบริหาร บสท. และกรรมการผู้จัดการ บสท. (นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ) ในขณะนี้แต่
อย่างใด ซึ่งในปี 47 ต้องดำเนินกลยุทธ์ใน 8 แนวทางที่จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและลดปัญหาหนี้ที่ไม่
ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ให้ได้มากที่สุด (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
6. ที่ประชุม ก.พาณิชย์อนุมัติให้ขอ งปม.เพิ่มเติมจำนวน 1,700 ล้านบาทเพื่อชำระหนี้โครงการ
รับจำนำข้าว รมว.ก.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารนโยบายข้าว (
กนข.)ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการของบประมาณเพิ่มเติมจำนวน 1,700 ล้านบาท เพื่อชำระหนี้ในโครงการ
รับจำนำข้าวฤดูกาลผลิตปี 2542/43 เนื่องจากการดำเนินการแทรกแซงมีผลขาดทุน ซึ่งขณะนี้รัฐบาลมีภาระที่
จะต้องจ่ายหนี้คืนแก่ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธ.กรุงไทย และโรงสีที่รัฐบาลนำ
ไปฝากเก็บ รวมถึงโครงการรับจำนำข้าวฤดูกาลผลิตปี 2543/44 อีก 2 โครงการที่ประสบภาวะขาดทุนเช่นกัน
(สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ.ในเดือน ธ.ค.46 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากการเพิ่มขึ้น
ของราคาอาหารและพลังงาน รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 12 ม.ค.47 ผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์
คาดว่าดัชนีราคาผู้ผลิตซึ่งรัฐบาลมีกำหนดจะเผยแพร่ในวันที่ 14 ม.ค.47 เวลา 8.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือน พ.ย.46 โดยมีสาเหตุมาจาก
การเพิ่มขึ้นของราคาอาหารซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ —0.7 เป็นร้อยละ 7.8 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาและการ
เพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน แต่หากไม่รวมอาหารและพลังงานแล้ว คาดว่าดัชนีราคาผู้ผลิตจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
0.1 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน พ.ย.46 โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพการผลิตและ
การแข่งขันในตลาดทำให้ราคาวัตถุดิบในการผลิตไม่สูงขึ้น (รอยเตอร์)
2. คาดว่ายอดขาดดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน พ.ย.46 จะมีจำนวน 42 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 12 ม.ค.47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ 24 คนคาดว่าตัวเลขการ
ขาดดุลการค้าของ สรอ. ในเดือน พ.ย.46 ซึ่ง ก.พาณิชย์ สรอ.มีกำหนดจะเผยแพร่ในวันที่ 14 ม.ค.47
เวลา 8.30 น.ตามเวลาท้องถิ่นจะมีจำนวน 42 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค.46 ซึ่งมี
จำนวน 41.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และนับเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันที่ยอดขาดดุลการค้าเกินระดับ 40 พัน
ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดนำเข้าซึ่งรวมถึงพลังงานที่มีราคาสูงขึ้น มีมากกว่า
การเพิ่มขึ้นของยอดส่งออกซึ่งรวมถึงการขายเครื่องบินโดยสารโดยได้รับประโยชน์จากการที่ค่าเงินดอลลาร์
สรอ.อ่อนตัวลง (รอยเตอร์)
3. OPEC จะยังไม่เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันแม้ว่าจะมีราคาสูงขึ้น รายงานจากคาราคัส เมื่อวันที่
12 ม.ค. 47 นาย Rafael Ramirez รมว. น้ำมันเวเนซูเอลาเปิดเผยว่า ยังไม่มีความจำเป็นที่กลุ่ม
ประเทศผู้ผลิตเพื่อการส่งออกน้ำมัน (OPEC) จะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันก่อนการประชุมที่จะถึงในเดือนก.พ.
นี้ และการที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นเป็นผลจากสต็อกน้ำมันดิบของสรอ.ลดลง ประกอบกับสภาพอากาศเย็น โดยน้ำมัน
ดิบมีราคาสูงถึงบาร์เรลละ 34.72 ดอลลาร์ สรอ.สูงกว่าในช่วงสงครามอิรัก ทั้งนี้นาย Ramirez กล่าวว่า
เวเนซูเอลาซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของ OPEC ได้สนับสนุนการปรับลดปริมาณการผลิต
น้ำมันดิบลงหากต้องการให้น้ำมันดิบมีราคาสูง แต่รมว. น้ำมันในกลุ่ม OPEC บางคนกังวลว่าอุปสงค์น้ำมันจะลด
ลงตามฤดูกาลในช่วงไตรมาสที่ 2 จะผลักดันให้ราคาน้ำมันดิบต่ำลง อย่างไรก็ตามผู้ค้าน้ำมันซื้อ-ขายกันที่
บาร์เรลละ 22-28 ดอลลาร์ สรอ. ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลา 20 วันแล้ว และภายใต้กฎของการรักษา
เสถียรภาพราคาน้ำมันของ OPEC หากน้ำมันดิบมีราคาสูงกว่าบาร์เรลละ 28 ดอลลาร์ สรอ. เป็นเวลา 20
วันจะต้องพิจารณาเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันในกลุ่ม OPEC อย่างไรก็ตามสมาชิกกลุ่ม OPEC บางส่วนเห็นว่า
การที่ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สรอ.อ่อนลงจึงกำลังเจรจาเพื่อหาสัดส่วนสกุลเงินในตะกร้า
ที่เหมาะสมที่ไม่ให้ราคาน้ำมันดิบถูกลงกว่าความเป็นจริงหากค่าเงินดอลลาร์สรอ.อ่อนลง (รอยเตอร์)
4. ปริมาณเงินหมุนเวียนและยอดเงินให้กู้ยืมของ ธพ. ในเดือน ธ.ค.46 สะท้อนการฟื้นตัวอย่าง
เปราะบางของภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น รายงานจากโตเกียวเมื่อ 13 ม.ค.46 ธ.กลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า
ปริมาณเงินหมุนเวียนของญี่ปุ่น (M2+CDs) ในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากเดือน พ.ย.46 ที่เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 1.6 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบต่อปี ทำให้ M2+CDs ของทั้งปี 46 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
1.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในปี 45 สำหรับยอดเงินให้กู้ยืมของ ธพ.ญี่ปุ่น ธ.กลางรายงานว่า ลดลง
ร้อยละ 5.1 ในเดือน ธ.ค.46 เทียบต่อปี ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 72 สะท้อนถึงการฟื้น
ตัวอย่างเปราะบางของภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น รวมทั้งแสดงให้เห็นว่า ธพ.และประชาชนผู้กู้ยืมยังคงให้ความ
สำคัญกับการลดความเสี่ยงและภาระหนี้สิน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขปริมาณเงินหมุนเวียนและยอดเงินให้กู้ยืมของ
ธพ.ดังกล่าวขัดแย้งกับตัวเลขชี้นำทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในปี 46 ซึ่งฟื้นตัวขึ้นตาม
การเติบโตของการส่งออก (รอยเตอร์)
เศรษฐกิจ 13/1/47 12/1/47 31/12/46 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.91 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.7518/39.0420 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.2500 - 1.2800 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 794.01/57.63 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,750/7,850 7,800/7,900 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 30.19 29.69 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 17.29*/14.39 ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เตรียมหารือกับผู้บริหารของ สง.ไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับแผนพัฒนาระบบสถาบันการ
เงิน นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า วันนี้ (13 ม.ค.47)
ธปท.ได้เชิญผู้บริหารของสถาบันการเงินไทยและต่างประเทศทั้งหมดมาหารือเกี่ยวกับนโยบายของ ธปท.ตาม
แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และการดำเนินตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินในช่วงต่อไป (โลกวันนี้,
สยามรัฐ, ข่าวสด)
2. ผลจากการตรึงราคาน้ำมันในประเทศ 3 วัน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงรับภาระจำนวนกว่า 360
ล้านบาท ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่รัฐบาลประกาศตรึงราคาน้ำมัน
ในประเทศ โดยกำหนดเพดานราคาน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 16.99 บาทต่อลิตร เบนซิน 91 อยู่ที่ 16.19
บาทต่อลิตร และดีเซลอยู่ที่ 14.59 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา รวม 3 วัน กองทุนน้ำมันเชื้อ
เพลิงรับภาระจ่ายเงินชดเชยราคาน้ำมันไปแล้วกว่า 360 ล้านบาท โดยเงินส่วนนี้โรงกลั่นจะได้รับการจ่ายชด
เชยจากภาครัฐคืนภายใน 15 วัน ผ่านวิธีการหักกลบลบหนี้จากเงินภาษีสรรพสามิตน้ำมัน (ไทยรัฐ, ข่าวสด)
3. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ธุรกิจบัตรเครดิตในปี 47 จะชะลอตัวลง บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ได้คาดการณ์ว่า ธุรกิจบัตรเครดิตอาจมีการเติบโตชะลอตัวลงในปี 47 คือ จำนวนบัตรเครดิตในระบบธนาคาร
พาณิชย์จะมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 18 จากปี 46 หรืออยู่ที่ประมาณ 5.2 ล้านบัตร จากที่ประมาณ
4,355,018 บัตรในปี 46 ซึ่งชะลอลงจากปีก่อนหน้า ที่ขยายตัวประมาณร้อยละ 28 เทียบต่อปี อันเป็นผลจาก
การแข่งขันที่รุนแรง และจากกฎหมายบัตรเครดิตที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 46 ซึ่งมีส่วนทำให้ผู้ประกอบการบาง
ส่วนอาจหันไปทำธุรกิจรายย่อยประเภทอื่น เช่น สินเชื่อบุคคล หรือ Personal Loans (กรุงเทพธุรกิจ)
4. บล.ธนชาติคาดการณ์ผลการดำเนินงานของ ธพ.ขนาดใหญ่ 5 แห่ง ปี 46มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ
358 จากปีก่อน บล.ธนชาติได้ทำการประเมินฐานะการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ ประจำปี 46 ว่า ธพ.
ขนาดใหญ่จำนวน 5 แห่ง คือ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ และ ธ.กรุงศรีอยุธยา
ซึ่งมีสินทรัพย์รวมกันกว่าร้อยละ 75 ของกลุ่ม ธพ.ทั้งหมด จะมีกำไรสุทธิรวมกันประมาณ 4.85 หมื่นล้านบาท
หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 358.1 ทั้งนี้ ธพ.ที่มีผลประกอบการโดดเด่นมากที่สุด คือ ธ.ไทยพาณิชย์
ขณะที่ ธพ.ที่ประสบปัญหาการขาดทุนจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ ธ.ทหารไทย และ ธ.ดีบีเอส
ไทยทนุ ที่คาดว่าจะขาดทุนสุทธิ 1.54 หมื่นล้านบาท และ 2.41 พัน ล้านบาท ตามลำดับ (ผู้จัดการรายวัน)
5. บสท.เตรียมเสนอ ครม.พิจารณาปรับแนวทางการบริหารการทำงานใหม่ ประธานกรรมการ
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เปิดเผยว่า ในเร็ว ๆ นี้ จะเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาปรับแนว
ทางการทำงานใน บสท.ใหม่ตามที่ได้หารือกับ ผู้ช่วย รมว.คลัง (นายกิตติ ลิ่มสกุล) แต่ไม่มีการปรับเปลี่ยน
คณะกรรมการ กรรมการบริหาร บสท. และกรรมการผู้จัดการ บสท. (นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ) ในขณะนี้แต่
อย่างใด ซึ่งในปี 47 ต้องดำเนินกลยุทธ์ใน 8 แนวทางที่จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและลดปัญหาหนี้ที่ไม่
ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ให้ได้มากที่สุด (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
6. ที่ประชุม ก.พาณิชย์อนุมัติให้ขอ งปม.เพิ่มเติมจำนวน 1,700 ล้านบาทเพื่อชำระหนี้โครงการ
รับจำนำข้าว รมว.ก.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารนโยบายข้าว (
กนข.)ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการของบประมาณเพิ่มเติมจำนวน 1,700 ล้านบาท เพื่อชำระหนี้ในโครงการ
รับจำนำข้าวฤดูกาลผลิตปี 2542/43 เนื่องจากการดำเนินการแทรกแซงมีผลขาดทุน ซึ่งขณะนี้รัฐบาลมีภาระที่
จะต้องจ่ายหนี้คืนแก่ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธ.กรุงไทย และโรงสีที่รัฐบาลนำ
ไปฝากเก็บ รวมถึงโครงการรับจำนำข้าวฤดูกาลผลิตปี 2543/44 อีก 2 โครงการที่ประสบภาวะขาดทุนเช่นกัน
(สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ.ในเดือน ธ.ค.46 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากการเพิ่มขึ้น
ของราคาอาหารและพลังงาน รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 12 ม.ค.47 ผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์
คาดว่าดัชนีราคาผู้ผลิตซึ่งรัฐบาลมีกำหนดจะเผยแพร่ในวันที่ 14 ม.ค.47 เวลา 8.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือน พ.ย.46 โดยมีสาเหตุมาจาก
การเพิ่มขึ้นของราคาอาหารซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ —0.7 เป็นร้อยละ 7.8 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาและการ
เพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน แต่หากไม่รวมอาหารและพลังงานแล้ว คาดว่าดัชนีราคาผู้ผลิตจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
0.1 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน พ.ย.46 โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพการผลิตและ
การแข่งขันในตลาดทำให้ราคาวัตถุดิบในการผลิตไม่สูงขึ้น (รอยเตอร์)
2. คาดว่ายอดขาดดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน พ.ย.46 จะมีจำนวน 42 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 12 ม.ค.47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ 24 คนคาดว่าตัวเลขการ
ขาดดุลการค้าของ สรอ. ในเดือน พ.ย.46 ซึ่ง ก.พาณิชย์ สรอ.มีกำหนดจะเผยแพร่ในวันที่ 14 ม.ค.47
เวลา 8.30 น.ตามเวลาท้องถิ่นจะมีจำนวน 42 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค.46 ซึ่งมี
จำนวน 41.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และนับเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันที่ยอดขาดดุลการค้าเกินระดับ 40 พัน
ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดนำเข้าซึ่งรวมถึงพลังงานที่มีราคาสูงขึ้น มีมากกว่า
การเพิ่มขึ้นของยอดส่งออกซึ่งรวมถึงการขายเครื่องบินโดยสารโดยได้รับประโยชน์จากการที่ค่าเงินดอลลาร์
สรอ.อ่อนตัวลง (รอยเตอร์)
3. OPEC จะยังไม่เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันแม้ว่าจะมีราคาสูงขึ้น รายงานจากคาราคัส เมื่อวันที่
12 ม.ค. 47 นาย Rafael Ramirez รมว. น้ำมันเวเนซูเอลาเปิดเผยว่า ยังไม่มีความจำเป็นที่กลุ่ม
ประเทศผู้ผลิตเพื่อการส่งออกน้ำมัน (OPEC) จะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันก่อนการประชุมที่จะถึงในเดือนก.พ.
นี้ และการที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นเป็นผลจากสต็อกน้ำมันดิบของสรอ.ลดลง ประกอบกับสภาพอากาศเย็น โดยน้ำมัน
ดิบมีราคาสูงถึงบาร์เรลละ 34.72 ดอลลาร์ สรอ.สูงกว่าในช่วงสงครามอิรัก ทั้งนี้นาย Ramirez กล่าวว่า
เวเนซูเอลาซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของ OPEC ได้สนับสนุนการปรับลดปริมาณการผลิต
น้ำมันดิบลงหากต้องการให้น้ำมันดิบมีราคาสูง แต่รมว. น้ำมันในกลุ่ม OPEC บางคนกังวลว่าอุปสงค์น้ำมันจะลด
ลงตามฤดูกาลในช่วงไตรมาสที่ 2 จะผลักดันให้ราคาน้ำมันดิบต่ำลง อย่างไรก็ตามผู้ค้าน้ำมันซื้อ-ขายกันที่
บาร์เรลละ 22-28 ดอลลาร์ สรอ. ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลา 20 วันแล้ว และภายใต้กฎของการรักษา
เสถียรภาพราคาน้ำมันของ OPEC หากน้ำมันดิบมีราคาสูงกว่าบาร์เรลละ 28 ดอลลาร์ สรอ. เป็นเวลา 20
วันจะต้องพิจารณาเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันในกลุ่ม OPEC อย่างไรก็ตามสมาชิกกลุ่ม OPEC บางส่วนเห็นว่า
การที่ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สรอ.อ่อนลงจึงกำลังเจรจาเพื่อหาสัดส่วนสกุลเงินในตะกร้า
ที่เหมาะสมที่ไม่ให้ราคาน้ำมันดิบถูกลงกว่าความเป็นจริงหากค่าเงินดอลลาร์สรอ.อ่อนลง (รอยเตอร์)
4. ปริมาณเงินหมุนเวียนและยอดเงินให้กู้ยืมของ ธพ. ในเดือน ธ.ค.46 สะท้อนการฟื้นตัวอย่าง
เปราะบางของภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น รายงานจากโตเกียวเมื่อ 13 ม.ค.46 ธ.กลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า
ปริมาณเงินหมุนเวียนของญี่ปุ่น (M2+CDs) ในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากเดือน พ.ย.46 ที่เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 1.6 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบต่อปี ทำให้ M2+CDs ของทั้งปี 46 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
1.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในปี 45 สำหรับยอดเงินให้กู้ยืมของ ธพ.ญี่ปุ่น ธ.กลางรายงานว่า ลดลง
ร้อยละ 5.1 ในเดือน ธ.ค.46 เทียบต่อปี ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 72 สะท้อนถึงการฟื้น
ตัวอย่างเปราะบางของภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น รวมทั้งแสดงให้เห็นว่า ธพ.และประชาชนผู้กู้ยืมยังคงให้ความ
สำคัญกับการลดความเสี่ยงและภาระหนี้สิน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขปริมาณเงินหมุนเวียนและยอดเงินให้กู้ยืมของ
ธพ.ดังกล่าวขัดแย้งกับตัวเลขชี้นำทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในปี 46 ซึ่งฟื้นตัวขึ้นตาม
การเติบโตของการส่งออก (รอยเตอร์)
เศรษฐกิจ 13/1/47 12/1/47 31/12/46 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.91 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.7518/39.0420 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.2500 - 1.2800 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 794.01/57.63 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,750/7,850 7,800/7,900 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 30.19 29.69 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 17.29*/14.39 ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-