สถานการณ์ตลาดกุ้งปี 2546

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 13, 2004 15:17 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ตลาดยุโรป
สถานการณ์การนำเข้ากุ้งในตลาดยุโรป มียอดการนำเข้าค่อนข้างน้อย เนื่องจาก ยุโรปมีมาตรการบังคับตรวจสารไนโตรฟูแรนส์อย่างเข้มงวด โดเฉพาะกุ้งที่นำเข้าจากเอเชีย จึงส่งผลต่อการส่งออกกุ้งของไทย เนื่องจากผู้นำเข้าไม่กล้าเสี่ยงที่จะนำเข้ากุ้งจากประเทศไทย แต่หลังจากเดือนมิถุนายนเมื่อทางยุโรปยกเลิกมาตรการดังกล่าว สภาวะการส่งออกของไทยจึงมีความคล่องตัวขึ้น ผู้นำเข้าเริ่มกล้าสั่งซื้อกุ้งจากไทยเพิ่มขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามสืบเนื่องจากสถานการณ์หน้าร้อนในยุโรปมีอากาศร้อนจัด ส่งผลกระทบให้ตลาดอาหารแช่แข็งเริ่มเงียบเหงาลงอีก เพราะร้นค้าส่วนมากประสบกับปัญหาการควบคุมอุณหภูมิในตู้แช่แข็ง ซึ่งส่งผลให้อาหรแช่แข็งจำนวนมากละลาย ดังนั้นอาหารแช่แข็งจึงมีราคาแพง ทำให้ยอดขายไม่ตรงตามเป้าที่วางไว้
สถานการณ์นำเข้ายุโรปในเดือนตุลาคมไม่มีการเคลื่อนไหวมาก เนื่องจากราคาของกุ้งในตลาดลดลง ส่งผลให้ผู้นำเข้าชะลอตัวในการวางแผนการซื้อสินค้า โดยรอดูสถานการณ์ราคาว่ามีแนวโน้มไปในทางใด แต่ในช่วงปลายเดือนตุลาคมแนวโน้มการนำเข้ากุ้งของตลาดยุโรปเริ่มดีขึ้น สืบเนื่องจากเทศกาลต่างๆในช่วงปลายปีที่ใกล้จะมาถึง การตัดสินใจในการสั่งซื้อสินค้ารอช้าไม่ได้
ส่วนราคาขายในตลาดยุโรปยังอยู่ในระดับคงเดิม ถึงแม้ว่าราคาจากที่แหล่งที่มาจะมีราคาลดลง
ตลาดไต้หวัน
เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวโดยเฉพาะผ็นำเข้าจะได้เปรียบเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ อ่อนตัวลงผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงสุขภาพ และให้ความสนใจถึงคุณภาพ และความ ปลอดภัยของอาหารที่รับประทาน กุ้งขาวจากจีน, กุ้งกุลาดำจากเวียดนาม ได้ลักลอบเข้าไปยังประเทศไต้หวันอย
ต่อเนื่อง ทำให้ราคาในตลาดลดลงทั้งกุ้งกุลาดำ และกุ้งขาว ยังมีตลาดจำเพาะอยู่ กุ้งขาวยังไม่สามารถแทนที่กุ้งกุลาดำได้ทั้งหมด ในช่วงเดือนตุลาคม-เดือนมกราคมปีหน้าเป็นช่วงเทศกาลต่างๆ ในไต้หวัน อัตราการนำเข้ากุ้งต่างๆ ในไต้หวันจึงสูงขึ้น สำหรับการส่งออกกุ้งจากไทยไปไต้หวัน กุ้งจำพวกแปรรูปจะส่งออกได้ดีกว่ากุ้งแช่แข็งเนื่องจากกุ้งแช่แข็งมีประเทศที่เป็นคู่แข่งคือจีนและเวียดนามซึ่งมีราคาที่ถูกกว่า
ตลาดเกาหลี
สถานการณ์ทั่วไปในเกาหลีเศรฐกิจเริ่มปรับตัวไปในทิศทางลบแต่ไม่ส่งผลกระทบต่อการนำเข้ากุ้ง เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในระดับฐานะปานกลางขึ้นไป และเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเริ่มคงตัว ลูกค้าเริ่มกล้าที่จะสั่งซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้น โดยกุ้งกุลาดำยังเป็นเป้าหมายหลักในการสั่งซื้อในตลาดเกาหลีแต่ในอนาคตข้างหน้ากุ้งขาวน่าจะเริ่มเข้ามาตีตลาดในประเทศเกาหลีได้เนื่องจากมีการโฆษณาเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันการนำเข้ากุ้งในเกาหลีจะมาจากจีนเป็นส่วนมาก อาจเป็นผลจากกุ้งในจีนมีราคาถูก
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ส่งผลกระทบต่อสู้ส่งออกของไทยเนื่องจากจำนวนผู้ส่งออกจากไทยที่ส่งออกกุ้งไปดเกาหลีมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเพราะคาดว่าตลาดการบริโภคอาหารทะเลในเกาหลีน่าจะมีแนวโน้มทิศทางในการปรับตัวดีขึ้น
ตลาดออสเตรเลีย
ในช่วงไตรมาสที่ 4 เป็นช่วงส่งมอบสิค้าตามคำสั่งซื้อ (Order) ซึ่งทุกชิปเม้นท์ (Shipment) จะต้องไปให้ทันขายในช่วงเทศกาลคริสต์มาส (Christmas’s Sale) ยอดการสั่งซื้อในไตรมานี้จะน้อยลงโดยเฉพาะเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม เพราะลูกค้าต้องรอดูสินค้าที่เหลือหลังจากการขายในช่วงคริสต์มาสก่อนสั่งสินค้าใหม่ ดังนั้นการส่งออกสินค้าจึงต้องดูที่จำนวนวนผลผลิต ถ้าจำนวนผลผลิตออกมามากและราคาอยู่ในระดับต่ำ ผู้ส่งออกมีความจำเป็นที่จะเก็บสินค้าเพื่อไว้รอขายในช่วงมกราคมปีหน้า
ที่มา: http://www.depthai.go.th
-อบ-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ