1. การค้าต่างประเทศและดุลการชำระเงิน
ในเดือนเมษายน 2548 ดุลการค้าขาดดุลต่อเนื่องกัน เป็นเดือนที่ 4 โดยขาดดุล 1,763 ล้านดอลลาร์ สรอ. จาก มูลค่าการนำเข้าที่ยังคงขยายตัวในอัตราสูงที่ร้อยละ 33.0 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่า 9,919 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้านำเข้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ น้ำมันดิบเหล็ก เครื่องจักรกลและชิ้นส่วน และเคมีภัณฑ์ รวมทั้ง มีการนำเข้าเครื่องบินพาณิชย์ 2 ลำ มูลค่า 243 ล้านดอลลาร์ สำคัญ ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และ สินค้าเกษตรส่งออกยังคงลดลงเนื่องจากปัญหาภัยแล้ง
ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 154 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 491 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากในเดือนนี้มีการจ่ายเงินปันผลของ ขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ยอดการส่งกลับกำไรและเงินปันผลในเดือนนี้เพิ่มขึ้นมาก ทำให้ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุลลดลงเหลือเพียง 154 ล้านดอลลาร์ สรอ. จำนวนนักท่องเที่ยวซึ่งลดลงร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ระเบิดที่สนามบินหาดใหญ่เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2548
ดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุล 1,609 ล้านดอลลาร์ จากดุลการค้าที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นมาก ส่วนดุลการชำระเงิน เกินดุล 442 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ขาดดุล 413 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน
เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ เดือนมีนาคม 2548 เกินดุล 493 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ที่ขาดดุล 145 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเงินทุนไหลเข้า ส่วนใหญ่มาจากการได้รับสินเชื่อการค้าของบริษัทน้ำมัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ภาคเอกชน เกินดุล 680 ล้านดอลลาร์ สรอ.โดยภาคธนาคารขาดดุล 47 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนหนี้ของกิจการวิเทศธนกิจ ขณะที่ภาคธนาคารพาณิชย์ เกินดุลเล็กน้อย ส่วนภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร เกินดุล 727 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการได้รับสินเชื่อการค้าของบริษัท น้ำมัน เป็นสำคัญ นอกจากนี้ ยังมีเงินทุนไหลเข้าในส่วน ของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และเงินทุนไหลเข้าผ่านรายการบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
ภาคทางการ ขาดดุล 187 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยภาครัฐขาดดุล 237 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนหนี้ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ และการซื้อคืนตราสารหนี้ของภาครัฐที่ออกในต่างประเทศโดยธนาคารพาณิชย์ในไทย
ทีมวิเคราะห์ดุลการชำระเงิน
โทร. 0-2283-5636
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ในเดือนเมษายน 2548 ดุลการค้าขาดดุลต่อเนื่องกัน เป็นเดือนที่ 4 โดยขาดดุล 1,763 ล้านดอลลาร์ สรอ. จาก มูลค่าการนำเข้าที่ยังคงขยายตัวในอัตราสูงที่ร้อยละ 33.0 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่า 9,919 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้านำเข้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ น้ำมันดิบเหล็ก เครื่องจักรกลและชิ้นส่วน และเคมีภัณฑ์ รวมทั้ง มีการนำเข้าเครื่องบินพาณิชย์ 2 ลำ มูลค่า 243 ล้านดอลลาร์ สำคัญ ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และ สินค้าเกษตรส่งออกยังคงลดลงเนื่องจากปัญหาภัยแล้ง
ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 154 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 491 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากในเดือนนี้มีการจ่ายเงินปันผลของ ขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ยอดการส่งกลับกำไรและเงินปันผลในเดือนนี้เพิ่มขึ้นมาก ทำให้ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุลลดลงเหลือเพียง 154 ล้านดอลลาร์ สรอ. จำนวนนักท่องเที่ยวซึ่งลดลงร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ระเบิดที่สนามบินหาดใหญ่เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2548
ดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุล 1,609 ล้านดอลลาร์ จากดุลการค้าที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นมาก ส่วนดุลการชำระเงิน เกินดุล 442 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ขาดดุล 413 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน
เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ เดือนมีนาคม 2548 เกินดุล 493 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ที่ขาดดุล 145 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเงินทุนไหลเข้า ส่วนใหญ่มาจากการได้รับสินเชื่อการค้าของบริษัทน้ำมัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ภาคเอกชน เกินดุล 680 ล้านดอลลาร์ สรอ.โดยภาคธนาคารขาดดุล 47 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนหนี้ของกิจการวิเทศธนกิจ ขณะที่ภาคธนาคารพาณิชย์ เกินดุลเล็กน้อย ส่วนภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร เกินดุล 727 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการได้รับสินเชื่อการค้าของบริษัท น้ำมัน เป็นสำคัญ นอกจากนี้ ยังมีเงินทุนไหลเข้าในส่วน ของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และเงินทุนไหลเข้าผ่านรายการบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
ภาคทางการ ขาดดุล 187 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยภาครัฐขาดดุล 237 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนหนี้ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ และการซื้อคืนตราสารหนี้ของภาครัฐที่ออกในต่างประเทศโดยธนาคารพาณิชย์ในไทย
ทีมวิเคราะห์ดุลการชำระเงิน
โทร. 0-2283-5636
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--