นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง สรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐประจำเดือนธันวาคม 2546 และไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม - ธันวาคม 2546) พร้อมทั้งสถานะหนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2546 ดังนี้
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
1.1 ในเดือนธันวาคม 2546 :
(1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการชำระคืนเงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) ก่อนครบกำหนดจำนวน 26,678 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 9,837 ล้านบาท (อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.96) ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 9,837 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 1,695 ล้านบาท
(2) กระทรวงการคลัง ได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการตามแผนการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) ที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2546 จำนวน 50,000 ล้านบาท โดยในเดือนธันวาคม 2546 ได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตร 7,050 ล้านบาท และได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระคืนหนี้เงินกู้ระยะสั้น ซึ่งได้กู้มาตามแผนการปรับโครงสร้างหนี้ FIDF1 ในครั้งนี้เรียบร้อยแล้ว
(3) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2546 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier1) ก่อนกำหนดโดยได้รับเงินจากการขายหุ้นบุริมสิทธิ์ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ให้กับกองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 25,075 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ 25,075 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 6,305 ล้านบาท
1.2 สำหรับผลการดำเนินงานจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2546 หรือในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2547 :
(1) รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ เป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 21,739 ล้านบาท เป็นการชำระคืนก่อนกำหนด14,871 ล้านบาท การ Refinance ในวงเงิน 2,875 ล้านบาท และการ Roll Over 3,993 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 14,871 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ 4,328 ล้านบาท
(2) กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตร FIDF1 วงเงิน 50,000 ล้านบาท โดยการ Roll Over ด้วยการออกพันธบัตรระยะยาว 30,000 ล้านบาท และออกตั๋วปรับโครงสร้างหนี้ 20,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตราสารหนี้ระยะ 3-6 เดือน และจะ Roll Over ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อสร้างความคล่องตัวในการชำระคืนหนี้ดังกล่าว นอกจากนั้นได้ไถ่ถอนพันธบัตร Tier 1 ก่อนครบกำหนดเป็นเงิน 25,075 ล้านบาท ตามนัยที่กล่าวข้างต้น ส่วนรัฐวิสาหกิจ (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย)ได้ Roll over เงินกู้ในประเทศจำนวน 1,700 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
ในเดือนธันวาคม 2546 รัฐวิสาหกิจ (องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ) กู้เงินโดยการออกพันธบัตรเพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมัน 1,884 ล้านบาท
สำหรับไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2547 กระทรวงการคลังยังไม่มีการกู้เงินเพิ่ม ส่วนรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศไปแล้วทั้งสิ้น 1,920 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ของรัฐบาล
ในเดือนธันวาคม 2546 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 10,160 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 931 ล้านบาท และดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 9,229 ล้านบาท
สำหรับไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2547 กระทรวงการคลังได้ชำระหนี้จากงบประมาณรวมทั้งสิ้น 24,952 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 2,704 ล้านบาท และดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 22,248 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2546
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2546 มีจำนวน 2,892,732 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 48.99 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,634,149 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 859,828 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 398,755 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ในประเทศ 2,182,195 ล้านบาท หรือร้อยละ 75.44 และหนี้ต่างประเทศ 710,537 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.56 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,359,447 ล้านบาท หรือร้อยละ 81.56 และหนี้ระยะสั้น533,285 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 18.44 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง รายละเอียดตามตารางที่แนบ
เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะลดลง 25,323 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลง 5,494 ล้านบาท และหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 8,779 ล้านบาท ส่วนหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 28,608 ล้านบาท
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 3/2547 14 มกราคม 2547--
-รก-
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
1.1 ในเดือนธันวาคม 2546 :
(1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการชำระคืนเงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) ก่อนครบกำหนดจำนวน 26,678 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 9,837 ล้านบาท (อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.96) ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 9,837 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 1,695 ล้านบาท
(2) กระทรวงการคลัง ได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการตามแผนการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) ที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2546 จำนวน 50,000 ล้านบาท โดยในเดือนธันวาคม 2546 ได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตร 7,050 ล้านบาท และได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระคืนหนี้เงินกู้ระยะสั้น ซึ่งได้กู้มาตามแผนการปรับโครงสร้างหนี้ FIDF1 ในครั้งนี้เรียบร้อยแล้ว
(3) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2546 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier1) ก่อนกำหนดโดยได้รับเงินจากการขายหุ้นบุริมสิทธิ์ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ให้กับกองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 25,075 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ 25,075 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 6,305 ล้านบาท
1.2 สำหรับผลการดำเนินงานจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2546 หรือในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2547 :
(1) รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ เป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 21,739 ล้านบาท เป็นการชำระคืนก่อนกำหนด14,871 ล้านบาท การ Refinance ในวงเงิน 2,875 ล้านบาท และการ Roll Over 3,993 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 14,871 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ 4,328 ล้านบาท
(2) กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตร FIDF1 วงเงิน 50,000 ล้านบาท โดยการ Roll Over ด้วยการออกพันธบัตรระยะยาว 30,000 ล้านบาท และออกตั๋วปรับโครงสร้างหนี้ 20,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตราสารหนี้ระยะ 3-6 เดือน และจะ Roll Over ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อสร้างความคล่องตัวในการชำระคืนหนี้ดังกล่าว นอกจากนั้นได้ไถ่ถอนพันธบัตร Tier 1 ก่อนครบกำหนดเป็นเงิน 25,075 ล้านบาท ตามนัยที่กล่าวข้างต้น ส่วนรัฐวิสาหกิจ (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย)ได้ Roll over เงินกู้ในประเทศจำนวน 1,700 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
ในเดือนธันวาคม 2546 รัฐวิสาหกิจ (องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ) กู้เงินโดยการออกพันธบัตรเพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมัน 1,884 ล้านบาท
สำหรับไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2547 กระทรวงการคลังยังไม่มีการกู้เงินเพิ่ม ส่วนรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศไปแล้วทั้งสิ้น 1,920 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ของรัฐบาล
ในเดือนธันวาคม 2546 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 10,160 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 931 ล้านบาท และดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 9,229 ล้านบาท
สำหรับไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2547 กระทรวงการคลังได้ชำระหนี้จากงบประมาณรวมทั้งสิ้น 24,952 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 2,704 ล้านบาท และดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 22,248 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2546
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2546 มีจำนวน 2,892,732 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 48.99 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,634,149 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 859,828 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 398,755 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ในประเทศ 2,182,195 ล้านบาท หรือร้อยละ 75.44 และหนี้ต่างประเทศ 710,537 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.56 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,359,447 ล้านบาท หรือร้อยละ 81.56 และหนี้ระยะสั้น533,285 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 18.44 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง รายละเอียดตามตารางที่แนบ
เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะลดลง 25,323 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลง 5,494 ล้านบาท และหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 8,779 ล้านบาท ส่วนหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 28,608 ล้านบาท
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 3/2547 14 มกราคม 2547--
-รก-