ความต้องการของตลาดในปัจจุบันและอนาคต
อุตสาหกรรมพลาสติกมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทย เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกหรืออุตสาหกรรมต่อเนื่องหลากหลายประเภท อาทิ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อาหารแปรรูป ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องแต่งกาย เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้าง ฯลฯ ที่ต้องใชัพลาสติกเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้า โดยอุตสาหกรรมพลาสติกของไทยมีการจ้างงานโดยตรงกว่า 130,000 คน และมีมูลค่าการส่งออกติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศ ด้วยมูลค่า 112,380 ล้านบาท ในปี 2544
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์พลาสติกได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเราทุกคนเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือนเช่นถ้วย จาน กะละมัง ถังน้ำ ขันน้ำ เครื่องใช้ภายในบ้านเช่น โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์สำนักงาน ของเด็กเล่น ถุงพลาสติก ขวดพลาสติกบรรจุน้ำ บรรจุนม ประกอบกับผลิตภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้เมื่อมีการแตกหักชำรุดหรือบางอย่างที่ใช้แล้วทิ้ง จึงก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งนับวันจะมีมากขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภคและความเจริญของภูมิภาคของประเทศ
ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ง่ายโดยธรรมชาติเมื่อไม่สามารถทำลายได้ ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและเกิดความสิ้นเปลืองในการใช้วัตถุดิบ ดังนั้นการนำวัสดุจากพลาสติกที่เหลือใช้หรือใช้แล้วนำกลับมาแปรสภาพแล้วนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตใหม่จึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดและสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์พลาสติกอีกทางหนึ่งด้วย และปัจจุบันได้มีโรงงานผลิตภัณฑ์เครื่องใช้พลาสติกจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลเป็นจำนวนมากเพื่อลดต้นทุนและจำหน่ายสินค้าได้ในราคาถูกและโรงงานเหล่านั้นส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล แต่ปัญหาของโรงงานเหล่านั้นส่วนใหญ่อยู่ก็คือ ค่าแรง วัตถุดิบและการขนส่ง ซึ่งทำให้ผู้บริโภคในชนบทอันห่างไกลต้องบริโภคผลิตภัณฑ์พลาสติกในราคาสูงเกินความจำเป็น
กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกและ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก โดยที่อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกจะผลิตเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ อาทิ PE, PP, PS, PVC, และABS (ซึ่งมีทั้งผลิตจากสารเคมีและจากการรีไซเคิลพลาสติก) เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก ซึ่งจะผลิตสินค้าพลาสติกหลายประเภท เช่น ถุงและกระสอบพลาสติก เครื่องใช้พลาสติก แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และเทป สิ่งประกอบเครื่องแต่งกาย กล่องพลาสติก หลอดและท่อพลาสติก พลาสติกปูพื้นและผนัง สำหรับผู้บริโภคโดยตรง หรือเพื่อป้อนอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ที่ใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นส่วนประกอบของสินค้า จากลักษณะโครงสร้างดังกล่าว อุตสาหกรรมพลาสติกจึงมีความเชื่อมโยงอย่างมากกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งการเชื่อมโยงไปข้างหลัง (Backward Linkage) กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานทำเม็ดพลาสติก และเชื่อมโยงไปข้างหน้า (Forward Linkage) กับอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคขั้นปลาย
เพราะฉะนั้นจังหวัดในเขตศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 มีศักยภาพที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมด้านนี้ได้ โดยเฉพาะปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนทั้งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ รวมทั้งแรงงานและวัตถุดิบซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากต้นทุนที่ต่ำเกือบทุกด้านทำให้สินค้าที่ผลิตสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งมาก ซึ่งนอกจากจะจำหน่ายภายในท้องถิ่นแล้วยังมีลู่ทางที่จะส่งออกสู่ตลาดอินโดจีนได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกทางหนึ่งด้วยและเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการขยายอุตสาหกรรมสู่ภูมิภาค เพื่อเป็นการสร้างงานและสร้างรายได้และเพื่อเป็นการบรรเทาการอพยพเคลื่อนย้ายของคนงานเข้าสู่เมืองหลวงอีกทางหนึ่ง ดังนั้นจึงควรศึกษารายละเอียดทางด้านการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการประกอบกิจการ รวมทั้งนโยบายรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาในการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล ดังต่อไปนี้
จำนวนผู้ผลิตและผู้นำเข้า
ผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานภายในประเทศไทยในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล มีจำนวนทั้งสิ้น 8 ราย แบ่งผู้ประกอบการขนาดกลางจำนวน 3 ราย และผู้ประกอบการขนาดเล็กจำนวน 5 ราย (ข้อมูลจากกรมโรงงาน ณ. เดือนมีนาคม 2545)
ผู้ประกอบการที่สำคัญในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลดังนี้ สยามพลาสติกผลิตภัณฑ์, บจก. ทุนจดทะเบียน 50,000,000.00 บาท บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด ทุนจดทะเบียน 33,000,000.00 บาท บริษัท สยามโพลี โปรเกรส จำกัด ทุนจดทะเบียน 31,220,000.00 บาท บริษัท แบล็ค แบค แพค รีไซเคิล จำกัด ทุนจดทะเบียน 4,500,000.00 บาท บริษัท เค.เอ็ม.พลาสเทค จำกัด ทุนจดทะเบียน 1,800,000.00 บาท พัชรี สุวรรณภูษาภรณ์ ทุนจดทะเบียน 1,650,000.00 บาท เจริญชัย ทุนจดทะเบียน 1,400,000.00 บาท และ บ. ศรีสะเกษพลาสติก ทุนจดทะเบียน 600,000.00 บาท รายละเอียดผู้ประกอบการที่สำคัญดังต่อไปนี้
ตารางแสดงรายชื่อผู้ประกอบการที่สำคัญในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล
รายชื่อผู้ประกอบการ ทุนจดทะเบียน(บาท)
สยามพลาสติกผลิตภัณฑ์,บจก. 50,000,000.00
บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด 33,000,000.00
บริษัท สยามโพลี โปรเกรส จำกัด 31,220,000.00
บริษัท แบล็ค แบค แพค รีไซเคิล จำกัด 4,500,000.00
บริษัท เค.เอ็ม.พลาสเทค จำกัด 1,800,000.00
นางพัชรี สุวรรณภูษาภรณ์ 1,650,000.00
หจก.เจริญชัย 1,400,000.00
บ.ศรีสะเกษพลาสติก 600,000.00
ที่มา : กรมทะเบียนโรงงาน, 2545
ภาวะตลาดในประเทศและการส่งออกนำเข้า
ตลาดผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นตลาดที่มีแนวโน้มขยายตัวค่อนข้างสูงเนื่องจากปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติเริ่มลดน้อยลง ดังนั้นการนำพลาสติกมาใช้ทำภาชนะในการบรรจุสิ่งของต่างๆได้เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากความคงทน อายุการใช้งาน ราคา และความสะดวกรวดเร็ว ซึ่งการผลิตพลาสติกเหล่านี้จากพลาสติกที่ใช้แล้วนำมาแปรรูปเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่รองรับความต้องการของตลาดนั้นเป็นการประหยัดและช่วยลดมลภาวะเป็นพิษที่จะเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมจากการที่พลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลโดยทั่วไปจะแบ่งประเภทตามการผลิตได้เป็น 2 ประเภท คือ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลแบบที่ใช้เครื่องฉีดและแบบที่ใช้เครื่องเป่า โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้เครื่องฉีดนั้นจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็ก ส่วนผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้เครื่องเป่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ ตลาดภายในประเทศของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงระดับล่างในสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่น เครื่องครัว เครื่องใช้ภายในบ้านและอื่นๆเป็นต้น เนื่องจากสินค้าพลาสติกรีไซเคิลนั้นเป็นลักษณะสินค้าที่มีคุณภาพที่อาจจะไม่เทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกแท้ แต่จะได้เปรียบทางด้านของราคาซึ่งมีราคาที่ถูกกว่า และเหมาะสมกับสภาวะของเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีกำลังซื้อต่ำและมีความรอบคอบในการตัดสินใจในการบริโภคสินค้า ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับตลาดผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้น้อย
ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลนั้นเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในครัวเรือนซึ่งมี ผู้ประกอบการมากรายและอยู่ในภาวะการแข่งขันที่สูง ดังนั้นการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญในการแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล โดยช่องทางการจำหน่ายทั่วไปของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลภายในประเทศนั้น ส่วนใหญ่มีลักษณะดังนี้
1.บริษัทเป็นผู้จำหน่ายเองโดยใช้พนักงานขายออกไปติดต่อกับพ่อค้าคนกลางหรือร้านค้า
2.ผู้ประกอบการผลิตจำหน่ายผ่านพ่อค้ารายย่อยต่างๆ ซึ่งจะมีการนำทรัพย์สินมาเป็นหลักทรัพย์ ค้ำประกัน และพ่อค้าเหล่านั้นก็จะทำการหาตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นั้นๆตามความสามารถของตน เช่น ตามตลาดนัดทั่วไปหรือห้างสรรพสินค้าต่างๆ เป็นต้น โดยมีระดับราคาที่ไม่สูงมากซึ่งสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่มีปัญหาอยู่ในขณะนี้
ภาวะตลาดต่างประเทศ
เนื่องจากยังไม่มีการแบ่งรหัสฮาร์โมไนซ์ของผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลแยกออกมา ดังนั้นจะเป็นการศึกษามูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกซึ่งผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลเป็นส่วนหนึ่งในผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ส่งออกไปยังตลาดโลกโดยคิดเป็นมูลค่า 11,031.40 และ 11,994.30 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2543 และ 2544 อัตราการขยายตัวในการส่งออกของปี พ.ศ. 2543และ 2544 เท่ากับ 24.78 และ 8.73 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกที่สำคัญของประเทศไทย ดังต่อไปนี้
ประเทศญี่ปุ่นโดยมีมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกจากประเทศไทยไปประเทศญี่ปุ่นเท่ากับ 3,231.60 และ 3,724.70 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 29.29 และ 31.05 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
สหรัฐอเมริกาโดยมีมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริกาเท่ากับ 1,760.40 และ 1,875.90 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 15.96 และ 15.64 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
- ฟิลิปปินส์โดยมีมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกจากประเทศไทยไป ฟิลิปปินส์เท่ากับ 525.90 และ 754.00 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 4.77 และ 6.29 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
- มาเลเซียโดยมีมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกจากประเทศไทยไปมาเลเซียเท่ากับ 528.40 และ 570.30 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 4.79 และ 4.75 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
- สิงคโปร์โดยมีมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกจากประเทศไทยไปประเทศสิงคโปร์เท่ากับ 381.60 และ 398.20 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 3.46 และ 3.32 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกของประเทศไทยในปีพ.ศ. 2543 และ 2544 ตามลำดับ
แนวโน้มของตลาดในอนาคต
จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพลาสติกรีไซเคิลนั้น สรุปได้ดังนี้ ตลาดผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลภายในประเทศยังมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตเมื่อเทียบกับหลายๆอุตสาหกรรม แต่ปัญหาที่น่ากังวลของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลนั้นก็คือการเข้ามาตีตลาดผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลของประเทศจีน ที่ค่อยๆเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดภายในประเทศ เนื่องจากไม่มีการคุ้มกันการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลจากต่างประเทศซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลจากประเทศจีนที่มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำและราคาสินค้าถูกกว่าสินค้าภายในประเทศเข้ามาตีตลาด ผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลของไทย เนื่องจากการลงทุนในเครื่องจักรสูงประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี และขาดเงินลงทุนในส่วนพัฒนารูปแบบสินค้าทำให้ราคาและรูปแบบของผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลแข่งขันกับประเทศอื่นๆลำบาก จึงมีแนวโน้มที่ประเทศจีนจะเข้ามาแข่งขันกับผู้ประกอบการภายในประเทศสูง
สำหรับแนวโน้มการส่งออกผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลของประเทศไทยคาดว่ายังคงมีแนวโน้มที่ดีเช่นกัน เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวการส่งออกผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลของไทยในปีพ.ศ. 2543 และ2544 เท่ากับร้อยละ 24.78 และ 8.73 ตามลำดับ ซึ่งเห็นได้ว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในอนาคตคาดว่าตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลของไทยจึงมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตสำหรับผู้ที่สนใจในเขตศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ที่จะทำการลงทุนในผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล และตลาดต่างประเทศใน สินค้าผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลที่กำลังมีแนวโน้มที่ดีคือตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลียเป็นต้น
ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดที่ควรระมัดระวัง
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งในด้านการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม และการจ้างงาน อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมพลาสติกยังมีปัญหาในหลายด้านที่ต้องแก้ไข ปรับปรุง ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิตและเทคโนโลยี ด้านบุคลากร ด้านการตลาด และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงสร้างอุตสาหกรรมทั้งระบบที่การเชื่อมโยงยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนี้
1) การพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล ยังมีไม่เพียงพอ และการใช้เครื่องจักรยังไม่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาเครื่องจักรทำให้ยังต้องพึ่งพิงเครื่องจักรอุปกรณ์จากต่างประเทศ และยังขาดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เชิงพาณิชย์
2) การพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน เช่นอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการทำ แม่พิมพ์ ยังมีไม่เพียงพอ
3) ปัญหาการกำจัดมลภาวะจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล ที่ก่อให้เกิดวัสดุเหลือใช้และเศษเหลือจากการผลิตที่มีผลต่อสภาพแวดล้อม
4) คุณภาพและผลิตภาพของแรงงานยังไม่สูงพอ ขาดแคลนบุคลากรทางเทคนิคที่มีคุณภาพในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิศวกรที่มีความสามารถในการประยุกต์เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตแม่พิมพ์ ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้เชื่อมโยง เช่นปัจจุบันผู้ออกแบบและผลิตแม่พิมพ์มักขาดความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พลาสติก ในขณะที่บุคลากรที่ออกแบบสินค้าและขึ้นรูปในการผลิตสินค้าพลาสติกมักขาดความรู้เกี่ยวกับแม่พิมพ์
5) ด้านการตลาด ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ยังขาดกลยุทธ์การส่งออก เนื่องจากเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิต จึงมักไม่มีการทำตลาดในเชิงรุก
6) ปัญหาระบบโครงสร้างอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลที่ยังขาดการเชื่อมโยงที่ดีกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ทำให้ไม่สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลทั้งระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะ
การปรับปรุงแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆที่อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลประสบอยู่นับเป็นสิ่งจำเป็นในการที่จะเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมนี้ มีรายละเอียดดังนี้
1. เร่งปรับปรุงศักยภาพของอุตสาหกรรม
1.1 ประเทศไทยมีความโดดเด่นในภูมิภาคอาเซียนในด้านการออกแบบ ผลิต และส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์เมลามีน แผ่นหรือฟิล์มพลาสติก ทั้งนี้ด้วยการมีภาพลักษณ์ของสินค้าไทยในระดับระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามสินค้าไทยที่มี Brand Name ดังกล่าวยังจำกัดอยู่กับผลิตภัณฑ์พลาสติกบางประเภทและกับผู้ประกอบการบางราย เนื่องจากยังมีผู้ประกอบการอีกเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (SMEs) ที่ยังต้องการการส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐ ในด้านการออกแบบและเทคโนโลยีการผลิต ทั้งในส่วนของแม่พิมพ์และในส่วนของการผลิตสินค้าพลาสติกสำเร็จรูป ตลอดจนการส่งเสริมด้านการตลาด ทั้งในการหาช่องทางหาตลาดใหม่ๆ และการผลิตสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของตลาดต่างๆ ที่มีรสนิยมแตกต่างกันไป
ดังนั้น การจัดตั้งสถาบันสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกโดยเฉพาะ เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูล รวมทั้งการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ การฝึกอบรมบุคลากร (โดยเฉพาะวิศวกรและช่างเทคนิค) ตลอดจนการทดสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ จะเสริมสร้างประสิทธิภาพให้กับอุตสาหกรรมพลาสติก
1.2 การเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคให้เพียงพอ รวมทั้งการปรับค่าสาธารณูปโภคเช่นค่าไฟฟ้า ก็จะช่วยลดภาระต้นทุนให้ผู้ประกอบการและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก นอกจากนี้การให้ข้อมูลความรู้และการประสานงานกับผู้ประกอบการในเรื่องปัญหามลพิษ ก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพราะอุตสาหกรรมพลาสติกจะมีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมหากการไม่มีการควบคุมดูแล ดังนั้นความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อช่วยลดมลภาวะ อีกทั้งลดความสูญเสียในกระบวนการ ผลิตจะช่วยทำให้การผลิตพลาสติกของไทยได้มาตรฐานมากขึ้นและแข่งขันในตลาดโลกได้ดีขึ้น
1.3 ในด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลดังนั้นการปรับปรุงแก้ไขด้านภาษีและการปรับปรุงระเบียบพิธีการนำเข้าส่งออกของภาครัฐให้มีความคล่องตัวขึ้น จะส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของสินค้าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลไทยในตลาดโลก โดยเฉพาะควรปรับปรุงการเร่งรัดคืนภาษีแก่ผู้ส่งออก และการลดภาษีอะไหล่เครื่องจักรเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งการใช้โครงสร้างภาษีนำเข้าเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ
2. การปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมในการพัฒนาการเชื่อมโยงให้มีประสิทธิภาพ จะต้องมีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมนี้ทั้งระบบ ทั้งนี้ การกำหนดนโยบายและกลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติก จึงจำเป็นต้องมองภาพรวมทั้งหมด รวมทั้งควรมีการจัดตั้งหน่วยงานกลางขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลาสติกครบวงจร
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
อุตสาหกรรมพลาสติกมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทย เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกหรืออุตสาหกรรมต่อเนื่องหลากหลายประเภท อาทิ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อาหารแปรรูป ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องแต่งกาย เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้าง ฯลฯ ที่ต้องใชัพลาสติกเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้า โดยอุตสาหกรรมพลาสติกของไทยมีการจ้างงานโดยตรงกว่า 130,000 คน และมีมูลค่าการส่งออกติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศ ด้วยมูลค่า 112,380 ล้านบาท ในปี 2544
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์พลาสติกได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเราทุกคนเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือนเช่นถ้วย จาน กะละมัง ถังน้ำ ขันน้ำ เครื่องใช้ภายในบ้านเช่น โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์สำนักงาน ของเด็กเล่น ถุงพลาสติก ขวดพลาสติกบรรจุน้ำ บรรจุนม ประกอบกับผลิตภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้เมื่อมีการแตกหักชำรุดหรือบางอย่างที่ใช้แล้วทิ้ง จึงก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งนับวันจะมีมากขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภคและความเจริญของภูมิภาคของประเทศ
ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ง่ายโดยธรรมชาติเมื่อไม่สามารถทำลายได้ ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและเกิดความสิ้นเปลืองในการใช้วัตถุดิบ ดังนั้นการนำวัสดุจากพลาสติกที่เหลือใช้หรือใช้แล้วนำกลับมาแปรสภาพแล้วนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตใหม่จึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดและสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์พลาสติกอีกทางหนึ่งด้วย และปัจจุบันได้มีโรงงานผลิตภัณฑ์เครื่องใช้พลาสติกจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลเป็นจำนวนมากเพื่อลดต้นทุนและจำหน่ายสินค้าได้ในราคาถูกและโรงงานเหล่านั้นส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล แต่ปัญหาของโรงงานเหล่านั้นส่วนใหญ่อยู่ก็คือ ค่าแรง วัตถุดิบและการขนส่ง ซึ่งทำให้ผู้บริโภคในชนบทอันห่างไกลต้องบริโภคผลิตภัณฑ์พลาสติกในราคาสูงเกินความจำเป็น
กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกและ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก โดยที่อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกจะผลิตเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ อาทิ PE, PP, PS, PVC, และABS (ซึ่งมีทั้งผลิตจากสารเคมีและจากการรีไซเคิลพลาสติก) เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก ซึ่งจะผลิตสินค้าพลาสติกหลายประเภท เช่น ถุงและกระสอบพลาสติก เครื่องใช้พลาสติก แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และเทป สิ่งประกอบเครื่องแต่งกาย กล่องพลาสติก หลอดและท่อพลาสติก พลาสติกปูพื้นและผนัง สำหรับผู้บริโภคโดยตรง หรือเพื่อป้อนอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ที่ใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นส่วนประกอบของสินค้า จากลักษณะโครงสร้างดังกล่าว อุตสาหกรรมพลาสติกจึงมีความเชื่อมโยงอย่างมากกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งการเชื่อมโยงไปข้างหลัง (Backward Linkage) กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานทำเม็ดพลาสติก และเชื่อมโยงไปข้างหน้า (Forward Linkage) กับอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคขั้นปลาย
เพราะฉะนั้นจังหวัดในเขตศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 มีศักยภาพที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมด้านนี้ได้ โดยเฉพาะปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนทั้งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ รวมทั้งแรงงานและวัตถุดิบซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากต้นทุนที่ต่ำเกือบทุกด้านทำให้สินค้าที่ผลิตสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งมาก ซึ่งนอกจากจะจำหน่ายภายในท้องถิ่นแล้วยังมีลู่ทางที่จะส่งออกสู่ตลาดอินโดจีนได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกทางหนึ่งด้วยและเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการขยายอุตสาหกรรมสู่ภูมิภาค เพื่อเป็นการสร้างงานและสร้างรายได้และเพื่อเป็นการบรรเทาการอพยพเคลื่อนย้ายของคนงานเข้าสู่เมืองหลวงอีกทางหนึ่ง ดังนั้นจึงควรศึกษารายละเอียดทางด้านการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการประกอบกิจการ รวมทั้งนโยบายรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาในการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล ดังต่อไปนี้
จำนวนผู้ผลิตและผู้นำเข้า
ผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานภายในประเทศไทยในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล มีจำนวนทั้งสิ้น 8 ราย แบ่งผู้ประกอบการขนาดกลางจำนวน 3 ราย และผู้ประกอบการขนาดเล็กจำนวน 5 ราย (ข้อมูลจากกรมโรงงาน ณ. เดือนมีนาคม 2545)
ผู้ประกอบการที่สำคัญในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลดังนี้ สยามพลาสติกผลิตภัณฑ์, บจก. ทุนจดทะเบียน 50,000,000.00 บาท บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด ทุนจดทะเบียน 33,000,000.00 บาท บริษัท สยามโพลี โปรเกรส จำกัด ทุนจดทะเบียน 31,220,000.00 บาท บริษัท แบล็ค แบค แพค รีไซเคิล จำกัด ทุนจดทะเบียน 4,500,000.00 บาท บริษัท เค.เอ็ม.พลาสเทค จำกัด ทุนจดทะเบียน 1,800,000.00 บาท พัชรี สุวรรณภูษาภรณ์ ทุนจดทะเบียน 1,650,000.00 บาท เจริญชัย ทุนจดทะเบียน 1,400,000.00 บาท และ บ. ศรีสะเกษพลาสติก ทุนจดทะเบียน 600,000.00 บาท รายละเอียดผู้ประกอบการที่สำคัญดังต่อไปนี้
ตารางแสดงรายชื่อผู้ประกอบการที่สำคัญในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล
รายชื่อผู้ประกอบการ ทุนจดทะเบียน(บาท)
สยามพลาสติกผลิตภัณฑ์,บจก. 50,000,000.00
บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด 33,000,000.00
บริษัท สยามโพลี โปรเกรส จำกัด 31,220,000.00
บริษัท แบล็ค แบค แพค รีไซเคิล จำกัด 4,500,000.00
บริษัท เค.เอ็ม.พลาสเทค จำกัด 1,800,000.00
นางพัชรี สุวรรณภูษาภรณ์ 1,650,000.00
หจก.เจริญชัย 1,400,000.00
บ.ศรีสะเกษพลาสติก 600,000.00
ที่มา : กรมทะเบียนโรงงาน, 2545
ภาวะตลาดในประเทศและการส่งออกนำเข้า
ตลาดผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นตลาดที่มีแนวโน้มขยายตัวค่อนข้างสูงเนื่องจากปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติเริ่มลดน้อยลง ดังนั้นการนำพลาสติกมาใช้ทำภาชนะในการบรรจุสิ่งของต่างๆได้เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากความคงทน อายุการใช้งาน ราคา และความสะดวกรวดเร็ว ซึ่งการผลิตพลาสติกเหล่านี้จากพลาสติกที่ใช้แล้วนำมาแปรรูปเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่รองรับความต้องการของตลาดนั้นเป็นการประหยัดและช่วยลดมลภาวะเป็นพิษที่จะเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมจากการที่พลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลโดยทั่วไปจะแบ่งประเภทตามการผลิตได้เป็น 2 ประเภท คือ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลแบบที่ใช้เครื่องฉีดและแบบที่ใช้เครื่องเป่า โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้เครื่องฉีดนั้นจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็ก ส่วนผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้เครื่องเป่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ ตลาดภายในประเทศของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงระดับล่างในสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่น เครื่องครัว เครื่องใช้ภายในบ้านและอื่นๆเป็นต้น เนื่องจากสินค้าพลาสติกรีไซเคิลนั้นเป็นลักษณะสินค้าที่มีคุณภาพที่อาจจะไม่เทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกแท้ แต่จะได้เปรียบทางด้านของราคาซึ่งมีราคาที่ถูกกว่า และเหมาะสมกับสภาวะของเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีกำลังซื้อต่ำและมีความรอบคอบในการตัดสินใจในการบริโภคสินค้า ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับตลาดผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้น้อย
ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลนั้นเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในครัวเรือนซึ่งมี ผู้ประกอบการมากรายและอยู่ในภาวะการแข่งขันที่สูง ดังนั้นการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญในการแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล โดยช่องทางการจำหน่ายทั่วไปของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลภายในประเทศนั้น ส่วนใหญ่มีลักษณะดังนี้
1.บริษัทเป็นผู้จำหน่ายเองโดยใช้พนักงานขายออกไปติดต่อกับพ่อค้าคนกลางหรือร้านค้า
2.ผู้ประกอบการผลิตจำหน่ายผ่านพ่อค้ารายย่อยต่างๆ ซึ่งจะมีการนำทรัพย์สินมาเป็นหลักทรัพย์ ค้ำประกัน และพ่อค้าเหล่านั้นก็จะทำการหาตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นั้นๆตามความสามารถของตน เช่น ตามตลาดนัดทั่วไปหรือห้างสรรพสินค้าต่างๆ เป็นต้น โดยมีระดับราคาที่ไม่สูงมากซึ่งสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่มีปัญหาอยู่ในขณะนี้
ภาวะตลาดต่างประเทศ
เนื่องจากยังไม่มีการแบ่งรหัสฮาร์โมไนซ์ของผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลแยกออกมา ดังนั้นจะเป็นการศึกษามูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกซึ่งผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลเป็นส่วนหนึ่งในผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ส่งออกไปยังตลาดโลกโดยคิดเป็นมูลค่า 11,031.40 และ 11,994.30 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2543 และ 2544 อัตราการขยายตัวในการส่งออกของปี พ.ศ. 2543และ 2544 เท่ากับ 24.78 และ 8.73 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกที่สำคัญของประเทศไทย ดังต่อไปนี้
ประเทศญี่ปุ่นโดยมีมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกจากประเทศไทยไปประเทศญี่ปุ่นเท่ากับ 3,231.60 และ 3,724.70 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 29.29 และ 31.05 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
สหรัฐอเมริกาโดยมีมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริกาเท่ากับ 1,760.40 และ 1,875.90 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 15.96 และ 15.64 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
- ฟิลิปปินส์โดยมีมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกจากประเทศไทยไป ฟิลิปปินส์เท่ากับ 525.90 และ 754.00 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 4.77 และ 6.29 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
- มาเลเซียโดยมีมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกจากประเทศไทยไปมาเลเซียเท่ากับ 528.40 และ 570.30 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 4.79 และ 4.75 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
- สิงคโปร์โดยมีมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกจากประเทศไทยไปประเทศสิงคโปร์เท่ากับ 381.60 และ 398.20 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 3.46 และ 3.32 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกของประเทศไทยในปีพ.ศ. 2543 และ 2544 ตามลำดับ
แนวโน้มของตลาดในอนาคต
จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพลาสติกรีไซเคิลนั้น สรุปได้ดังนี้ ตลาดผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลภายในประเทศยังมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตเมื่อเทียบกับหลายๆอุตสาหกรรม แต่ปัญหาที่น่ากังวลของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลนั้นก็คือการเข้ามาตีตลาดผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลของประเทศจีน ที่ค่อยๆเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดภายในประเทศ เนื่องจากไม่มีการคุ้มกันการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลจากต่างประเทศซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลจากประเทศจีนที่มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำและราคาสินค้าถูกกว่าสินค้าภายในประเทศเข้ามาตีตลาด ผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลของไทย เนื่องจากการลงทุนในเครื่องจักรสูงประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี และขาดเงินลงทุนในส่วนพัฒนารูปแบบสินค้าทำให้ราคาและรูปแบบของผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลแข่งขันกับประเทศอื่นๆลำบาก จึงมีแนวโน้มที่ประเทศจีนจะเข้ามาแข่งขันกับผู้ประกอบการภายในประเทศสูง
สำหรับแนวโน้มการส่งออกผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลของประเทศไทยคาดว่ายังคงมีแนวโน้มที่ดีเช่นกัน เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวการส่งออกผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลของไทยในปีพ.ศ. 2543 และ2544 เท่ากับร้อยละ 24.78 และ 8.73 ตามลำดับ ซึ่งเห็นได้ว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในอนาคตคาดว่าตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลของไทยจึงมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตสำหรับผู้ที่สนใจในเขตศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ที่จะทำการลงทุนในผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล และตลาดต่างประเทศใน สินค้าผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลที่กำลังมีแนวโน้มที่ดีคือตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลียเป็นต้น
ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดที่ควรระมัดระวัง
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งในด้านการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม และการจ้างงาน อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมพลาสติกยังมีปัญหาในหลายด้านที่ต้องแก้ไข ปรับปรุง ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิตและเทคโนโลยี ด้านบุคลากร ด้านการตลาด และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงสร้างอุตสาหกรรมทั้งระบบที่การเชื่อมโยงยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนี้
1) การพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล ยังมีไม่เพียงพอ และการใช้เครื่องจักรยังไม่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาเครื่องจักรทำให้ยังต้องพึ่งพิงเครื่องจักรอุปกรณ์จากต่างประเทศ และยังขาดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เชิงพาณิชย์
2) การพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน เช่นอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการทำ แม่พิมพ์ ยังมีไม่เพียงพอ
3) ปัญหาการกำจัดมลภาวะจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล ที่ก่อให้เกิดวัสดุเหลือใช้และเศษเหลือจากการผลิตที่มีผลต่อสภาพแวดล้อม
4) คุณภาพและผลิตภาพของแรงงานยังไม่สูงพอ ขาดแคลนบุคลากรทางเทคนิคที่มีคุณภาพในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิศวกรที่มีความสามารถในการประยุกต์เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตแม่พิมพ์ ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้เชื่อมโยง เช่นปัจจุบันผู้ออกแบบและผลิตแม่พิมพ์มักขาดความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พลาสติก ในขณะที่บุคลากรที่ออกแบบสินค้าและขึ้นรูปในการผลิตสินค้าพลาสติกมักขาดความรู้เกี่ยวกับแม่พิมพ์
5) ด้านการตลาด ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ยังขาดกลยุทธ์การส่งออก เนื่องจากเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิต จึงมักไม่มีการทำตลาดในเชิงรุก
6) ปัญหาระบบโครงสร้างอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลที่ยังขาดการเชื่อมโยงที่ดีกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ทำให้ไม่สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลทั้งระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะ
การปรับปรุงแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆที่อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลประสบอยู่นับเป็นสิ่งจำเป็นในการที่จะเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมนี้ มีรายละเอียดดังนี้
1. เร่งปรับปรุงศักยภาพของอุตสาหกรรม
1.1 ประเทศไทยมีความโดดเด่นในภูมิภาคอาเซียนในด้านการออกแบบ ผลิต และส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์เมลามีน แผ่นหรือฟิล์มพลาสติก ทั้งนี้ด้วยการมีภาพลักษณ์ของสินค้าไทยในระดับระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามสินค้าไทยที่มี Brand Name ดังกล่าวยังจำกัดอยู่กับผลิตภัณฑ์พลาสติกบางประเภทและกับผู้ประกอบการบางราย เนื่องจากยังมีผู้ประกอบการอีกเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (SMEs) ที่ยังต้องการการส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐ ในด้านการออกแบบและเทคโนโลยีการผลิต ทั้งในส่วนของแม่พิมพ์และในส่วนของการผลิตสินค้าพลาสติกสำเร็จรูป ตลอดจนการส่งเสริมด้านการตลาด ทั้งในการหาช่องทางหาตลาดใหม่ๆ และการผลิตสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของตลาดต่างๆ ที่มีรสนิยมแตกต่างกันไป
ดังนั้น การจัดตั้งสถาบันสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกโดยเฉพาะ เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูล รวมทั้งการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ การฝึกอบรมบุคลากร (โดยเฉพาะวิศวกรและช่างเทคนิค) ตลอดจนการทดสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ จะเสริมสร้างประสิทธิภาพให้กับอุตสาหกรรมพลาสติก
1.2 การเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคให้เพียงพอ รวมทั้งการปรับค่าสาธารณูปโภคเช่นค่าไฟฟ้า ก็จะช่วยลดภาระต้นทุนให้ผู้ประกอบการและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก นอกจากนี้การให้ข้อมูลความรู้และการประสานงานกับผู้ประกอบการในเรื่องปัญหามลพิษ ก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพราะอุตสาหกรรมพลาสติกจะมีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมหากการไม่มีการควบคุมดูแล ดังนั้นความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อช่วยลดมลภาวะ อีกทั้งลดความสูญเสียในกระบวนการ ผลิตจะช่วยทำให้การผลิตพลาสติกของไทยได้มาตรฐานมากขึ้นและแข่งขันในตลาดโลกได้ดีขึ้น
1.3 ในด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลดังนั้นการปรับปรุงแก้ไขด้านภาษีและการปรับปรุงระเบียบพิธีการนำเข้าส่งออกของภาครัฐให้มีความคล่องตัวขึ้น จะส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของสินค้าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลไทยในตลาดโลก โดยเฉพาะควรปรับปรุงการเร่งรัดคืนภาษีแก่ผู้ส่งออก และการลดภาษีอะไหล่เครื่องจักรเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งการใช้โครงสร้างภาษีนำเข้าเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ
2. การปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมในการพัฒนาการเชื่อมโยงให้มีประสิทธิภาพ จะต้องมีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมนี้ทั้งระบบ ทั้งนี้ การกำหนดนโยบายและกลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติก จึงจำเป็นต้องมองภาพรวมทั้งหมด รวมทั้งควรมีการจัดตั้งหน่วยงานกลางขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลาสติกครบวงจร
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-