เศรษฐกิจไทย
จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 6.5 เทียบกับร้อยละ 5.8 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 และร้อยละ 5.8 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2545 และหากพิจารณาค่า GDP ที่ปรับตัวดัชนีฤดูกาลในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 ขยายตัวร้อยละ 2.0 ซึ่งสูงกว่าไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อ เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 สาขาอุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 9.0 เทียบกับร้อยละ 11.1 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 และร้อยละ 7.6 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2545 โดยสาขาอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวได้ดีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องจักร เครื่องจักรและอุปกรณ?ไฟฟ?าและยานยนต? นอกจากนั้นอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มยังคงขยายตัวได?ดีต?อเนื่อง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้มีการปรับเพิ่มการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2546 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.8 - 6.2 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2546 มาเป็นร้อยละ 6.3 จากการที่เศรษฐกิจไทยมีการเจริญเติบโตในระดับที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็น อนิสงค์มาจากอุปสงค์ในประเทศไทยมีการขยายตัวสูง อัตราดอกเบี้ยต่ำ และภาวะการก่อสร้างที่เติบโตขึ้นในช่วงหลังของปี และได้พยากรณ์ไว้ว่าอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2547 น่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 7.0 - 8.0
สําหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2545 โดยจะเห็นว่าตัวเลขการใช้กําลังการผลิตเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 7.9 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นนํ้ามันปิโตรเลียม และเมื่อพิจารณาตัวเลขการส่งออก มูลค่าการส่งออกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15.6 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้นๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และยาง
ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนก็มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจําหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนําเข้าสินค้าทุน โดยปริมาณการจําหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค พบว่า เครื่องชี้วัดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ปริมาณการจําหน่ายนํ้ามันเบนซิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม การนําเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และยอดการจําหน่ายรถยนต์
สำหรับทิศทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2547 คงต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังนี้
ปัจจัยบวกสําหรับเศรษฐกิจไทย
1. อัตราดอกเบี้ยตํ่าสนับสนุนการใช้จ่ายและการลงทุน
อัตราดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับตํ่าตลอดช่วงปี 2547 เนื่องจากสภาพคล่องทางการเงินอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยตํ่าเป็นปัจจัยที่เอื้ออํานวยต่อการใช้จ่ายและการลงทุนได้ต่อไปในภาวะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนอยู่ในเกณฑ์ดี
2. มาตรการรัฐบาลเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย
2.1 มาตรการส่งเสริมการส่งออก เช่น
- การจัดทําข้อตกลงทางการค้าทวิภาคีกับประเทศต่าง ๆ อาทิ ประเทศจีน ที่มีผลในทางปฏิบัติแล้วในกลุ่มผัก ผลไม้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 เขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย จะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2547 สินค้าเหล่านี้จะทยอยลดภาษีลงร้อยละ 50 ในปี 2547 ลดลงร้อยละ 75 ในปี 2548 เหลืออัตราร้อยละ 0 ในปี 2549 เป็นต้น
2.2 มาตรการรัฐบาลเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมและการลงทุน
- มาตรการส่งเสริมการลงทุนโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เช่น การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและระเบียบการขอรับส่งเสริมการลงทุนใหม่ จากที่เน้นเป็นเขต 1 ถึงเขต 3 และได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีไปตามโซน เป็นเกณฑ์ใหม่ที่เน้นกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก 5 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมแฟชั่น เกษตร ยานยนต์ ไอซีที และบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น ลอจิสติก โรงเรียนนักออกแบบ ฯลฯ โดยนักลงทุนต่างชาติที่เป็นเป้าหมาย คือ อเมริกาเหนือ สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อาเซียนและอินเดีย
- ข้อตกลงเขตการค้าเสรีของไทยและมาตรการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์แห่งเอเซีย โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่มีการปรับลงในอนาคตรวมทั้งปรับปรุงสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน ที่กําหนดให้ผู้ผลิตรถยนต์ต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนา และการออกแบบ รวมทั้งการจูงใจให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้ามา ลงทุนด้วย เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมยานยนต์
2.3 การสํารองการใช้จ่ายรัฐบาลภายใต้งบกลาง จํานวน 130,000 ล้านบาทจะช่วยเพิ่มการลงทุนภาครัฐและกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ
2.4 การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ที่จะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2547 โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรร่วมมือกับ 4 หน่วยงาน ได้แก่ สํานักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (ส.ป.ก.) กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนในการแปลงสินทรัพย์ที่มีอยู่เป็นหลักประกันในการกู้เงิน เพื่อนําเงินไปขยายกิจการให้เติบโตต่อไปจะมีผลต่อการขยายตัวของกิจการขนาดเล็กและขนาดย่อม
ปัจจัยเสี่ยง
ในปี 2547 ปัจจัยภายนอกมีความไม่แน่นอนอยู่บ้าง ในเรื่องความไม่สมดุลทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่อาจจะส่งผลให้จีนจําเป็นต้องปรับค่าเงินให้สูงขึ้นตามแรงกดดันของสหรัฐฯ โดยจีนมี แนวโน้มที่จะใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อลดความร้อนแรงของการลงทุนในขณะที่สถาบันการเงินในประเทศจีนยังอ่อนแอ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจะต้องมีข้อจํากัดต่อการส่งออกของไทยได้
นอกจากนี้ราคาสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มชะลอตัวอาจเป็นข้อจํากัดต่อการใช้จ่ายของครัวเรือนเกษตรบ้าง จะเห็นว่าราคาสินค้าเกษตรโดยเฉลี่ยเริ่มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคมปีนี้
แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2547
เศรษฐกิจคาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.0-8.0 ไทยมีอุปสงค์ภายในประเทศ เป็นแรงผลักของเศรษฐกิจที่สําคัญ การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นกว่าการบริโภคภาคเอกชนที่มีแนวโน้มปรับตัวเข้าสู่ระดับที่มีเสถียรภาพมากขึ้น การส่งออกยังเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง แต่การนําเข้ามีแนวโน้มขยายตัวเร็วกว่า อัตราเงินเฟ้อแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อย การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการใช้จ่ายจากงบกลาง 130,000 ล้านบาทที่รัฐบาลได้ตั้งไว้
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่าในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 ประมาณร้อยละ 8.4 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2546 มีค่า 124.9 และในปี 2545 มีค่า 115.3 โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545
เมื่อเทียบปี 2546 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2545 โดยเป็นการขยายตัวจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะเห็นได้จากในปี 2546 การส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน สำหรับแนวโน้มปี 2547 คาดว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะยังคงเพิ่มขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจยังมีการ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับแนวโน้มของการลงทุนภาคเอกชน การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภค และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 ประมาณร้อยละ 7.8 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2546 มีค่า 123.3 และในปี 2545 มีค่า 114.4 โดยมี อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545
เมื่อเทียบปี 2546 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากปี 2545 โดยดัชนีการส่งสินค้าจะสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นการขยายตัวจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ สำหรับแนวโน้มปี 2547 คาดว่าดัชนีการส่งสินค้าจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 ประมาณร้อยละ 9.7 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2546 มีค่า 126.9 และในปี 2545 มีค่า 115.7 โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ และอุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545
เมื่อเทียบปี 2546 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ซึ่งแสดงว่าอุตสาหกรรมยังมีการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาดอยู่พอสมควร สำหรับแนวโน้มปี 2547 คาดว่าผู้ประกอบการจะยังคงสำรองสินค้าเอาไว้ส่วนหนึ่ง เนื่องจากความต้องการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศยังคงมีแนวโน้มขยายตัว
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 ประมาณร้อยละ 7.9 ซึ่งอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2546 มีค่า 58.1 และในปี 2545 มีค่า 53.8 โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิต ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545
ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิต ที่จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 ประมาณร้อยละ 11.9 โดยมีการขยายตัวในการใช้กำลังการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
เมื่อพิจารณาอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยรวม ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 65.6 (66.8 หากไม่รวมสุรา) จากระดับร้อยละ 58.6 (59.5 หากไม่รวมสุรา) ในช่วงเดียวกันของปี 2545
เมื่อเทียบปี 2546 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2545 โดยเป็นการขยายตัวจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ จะเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเช่นกัน สำหรับแนวโน้มปี 2547 คาดว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตจะยังคงเพิ่มขึ้น เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวของดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรม ดัชนีการส่งสินค้า การลงทุน ประกอบกับการขยายตัวของการส่งออก
ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจและผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ในช่วงเดือน มกราคม - ตุลาคม 2546 ทั้ง 3 ดัชนี มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2545 สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกรายการในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 นี้ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2546 จากระดับร้อยละ 4.5 - 5.5 เป็นร้อยละ 5.75 - 6.25 การส่งออกของไทยปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรัฐบาลยังคงดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 ประมาณร้อยละ 20.8 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2546 มีค่า 94.7 และ ในปี 2545 มีค่า 78.4 การที่ค่าดัชนีมีค่าต่ำกว่าระดับ 100 แสดงว่าผู้บริโภคมีความเห็นว่าเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่ดี อย่างไรก็ตาม ในเดือนกันยายนและตุลาคม 2546 ดัชนีมีค่าสูงกว่าระดับ 100 แสดงว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้นเป็นลำดับว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทยปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับปกติแล้ว
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2546 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 ประมาณร้อยละ 20.2 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2546 มีค่า 84.5 และในปี 2545 มีค่า 70.3 การที่ดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคยังรู้สึกว่าภาวะการทำงานโดยรวมยังไม่ดี และผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่าโอกาสในการหางานทำยังอยู่ในระดับที่ไม่ดี อย่างไรก็ตาม ในเดือนตุลาคม 2546 ดัชนีมีการปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ 96.1 ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 ประมาณร้อยละ 9.1 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2546 มีค่า 109.2 และในปี 2545 มีค่า 100.1 การที่ค่าดัชนีมีค่าสูงกว่าระดับ 100 แสดงว่าผู้บริโภคมีความเห็นว่ารายได้ในอนาคตจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 ดัชนีปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2545 ประมาณร้อยละ 2.7 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2546 มีค่า 49.7 และในปี 2545 มีค่า 51.1 การที่ดัชนีโดยรวมมีค่าต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี อย่างไรก็ตาม ในเดือนตุลาคม 2546 ดัชนีมีการปรับตัวสูงขึ้น และอยู่ที่ระดับ 50.8 แสดงว่า ผู้ประกอบการมองว่าภาวการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น สำหรับดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2546 คือ ผลประกอบการของบริษัท คำสั่งซื้อ การลงทุนของบริษัท การจ้างงานของบริษัท และการผลิตของบริษัท
เมื่อเทียบปี 2546 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ในทุกๆ ดัชนี แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจจะลดลงเล็กน้อย สำหรับแนวโน้มปี 2547 คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นของ ผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2546 เนื่องจากเกือบทุกดัชนีเริ่มมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแล้ว แสดงว่าผู้บริโภคและภาคธุรกิจมีความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจไทยว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นและต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงนี้ยังไม่มีเหตุผลหรือสัญญาณใดที่จะทำให้ความเชื่อมั่นลดลง
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 ดัชนีเฉลี่ยมีค่า 104.4 (ดัชนีความ เชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเริ่มจัดทำตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2545 เป็นต้นมา) โดยในเดือนตุลาคม 2546 มีค่า 108.7 ซึ่งปรับตัวลดลงจากเดือนกันยายน 2546 ที่มีค่า 112.6 แต่อย่างไรก็ตามค่าดัชนีที่ได้ก็ยังคงอยู่ในระดับที่สูงและค่าดัชนีที่ได้อยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในสภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมอยู่ในระดับที่ดี และปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณค่าดัชนีรวมโดยส่วนใหญ่ก็ยังมีค่าเกินกว่า 100 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ค่อนข้างมีความเชื่อมั่นในสภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมในระดับที่ดี แม้จะปรับตัวลดลงบ้างเมื่อเทียบกับค่าดัชนีในเดือนที่ผ่านมาก็ตาม สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นใน แต่ละปัจจัยของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับเกินกว่า 100 ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นในยอดขายโดยรวมในปัจจุบัน ดัชนีความเชื่อมั่นในยอดคำสั่งซื้อโดยรวมในปัจจุบัน ดัชนีความเชื่อมั่นด้านปริมาณการผลิตในอนาคต ดัชนีความเชื่อมั่นด้านกำไรสุทธิในปัจจุบัน
คาดว่าในปี 2547 ดัชนีความเชื่อมั่นในแต่ละปัจจัยของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังคงมีค่าดัชนีอยู่ในระดับที่เกินกว่า 100 แต่ค่าดัชนีต้นทุนการประกอบการในปัจจุบันที่มีค่าดัชนีต่ำกว่า 100 โดยมีค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 62.6 ในเดือนตุลาคม 2546 คาดว่าในปี 2547 ดัชนีต้นทุนการประกอบการน่าจะปรับตัว เพิ่มขึ้น แต่อาจจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 ระยะหนึ่ง เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงมีความเชื่อมั่นในด้านของต้นทุนการประกอบการอยู่ในระดับที่ต่ำ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าต้นทุนการประกอบการอยู่ในระดับที่สูงอยู่
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนตุลาคม 2546 อยู่ที่ระดับ 132.1 ซึ่งปรับตัวลดลงจากเดือนกันยายน ร้อยละ 0.3 ตามการลดลงของเครื่องชี้ ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบ การส่งออก ณ ราคาคงที่ และปริมาณเงิน M2a ที่แท้จริง
สำหรับดัชนีเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 มีค่า 127.3 ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันในปี 2545 ที่มีค่า 127.6
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนตุลาคม 2546 อยู่ที่ระดับ 123.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ร้อยละ 1.5 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้ ได้แก่ ยอดภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ยอดการนำเข้าสินค้า ณ ราคาคงที่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และปริมาณจำหน่ายรถยนต์รวม
สำหรับ ดัชนีเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 มีค่า 120.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2545 ที่มีค่า 115.9
การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on private consumption) ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 ประมาณร้อยละ 5.3 (ตารางที่ 5)
ทั้งนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ซึ่งเครื่องชี้สำคัญที่เพิ่มขึ้นจากช่วง เดียวกันของปี 2545 คือ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และยอดการจำหน่ายรถยนต์
เมื่อเทียบปี 2546 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากปี 2545 เนื่องจากในปี 2546 เศรษฐกิจปรับตัวในทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับรัฐบาลยังคงดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ภาคเอกชนหันมาใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคมากขึ้น สำหรับ แนวโน้มปี 2547 หากเศรษฐกิจในอนาคตมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ภาคเอกชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคก็จะเพิ่มขึ้น เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำยังคงเป็นปัจจัยเสริมอยู่
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน พบว่า การลงทุนภาคเอกชนในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 ทั้งในยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่าย รถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน
หากแยกตามรายการสินค้าพบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 ประมาณร้อยละ 2.9
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 ประมาณร้อยละ 26.5
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 ประมาณร้อยละ 3.6
เมื่อเทียบปี 2546 การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2545 โดยเฉพาะปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นมาก สำหรับแนวโน้มปี 2547 การลงทุนภาคเอกชนน่าจะกระเตื้องขึ้นอีก เนื่องจากความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจที่น่าจะดีขึ้นของภาคเอกชน ส่งผลให้มีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้น เล็กน้อยประมาณร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันของปี 2545 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2546 มีค่า 106.0 และในปี 2545 มีค่า 104.1 เป็นผลจากการเพิ่มราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาผักและผลไม้ เนื่องจากผลผลิตบางส่วนเสียหายจากการฝนตกและน้ำท่วม และจากการเพิ่มขึ้นของราคาข้าวสารหอมมะลิที่มีความต้องการเพื่อการส่งออกสูงขึ้น
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2546 ปรับตัวสูงขึ้นประมาณร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปี 2545 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2546 มีค่า 128.7 และในปี 2545 มีค่า 123.5 เป็นผลจากการเพิ่มราคาทั้งในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม ซึ่งราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8, 6.6 และ 3.1 ตามลำดับ
เมื่อเทียบปี 2546 ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มขึ้นจากปี 2545 สำหรับแนวโน้มปี 2547 คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2546 เนื่องจากแนวโน้มของการลงทุนและการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคก็เพิ่มขึ้น จึงน่าจะส่งผลต่อราคาสินค้าต่าง ๆ ด้วย
(ยังมีต่อ).../แรงงานใน..