อุตสาหกรรมยานยนต์
สภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2546
ในปี 2546 อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีการขยายตัวทั้งในด้านการผลิต และการจำหน่ายอันเนื่องมาจากการเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศ สภาพคล่องทางการเงินที่เอื้ออำนวย และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของค่ายยานยนต์ ทำให้สภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2546 มีการ ผลิตรถยนต์รวมทุกประเภทประมาณ 750,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 28.22 มีการจำหน่ายประมาณ 520,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 27.03 โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่งร้อยละ 33 เป็นการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ร้อยละ 58 ที่เหลืออีกร้อยละ 9 เป็นการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และมีการส่งออกรถยนต์ประมาณ 230,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 26.74 สำหรับรถจักรยานยนต์มีการผลิตประมาณ 2,400,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 21.39 มีการจำหน่ายประมาณ 1,750,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 31.43 โดยเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวถึงร้อยละ 99 ที่เหลืออีกร้อยละ 1 เป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบ สปอร์ต และมีการส่งออกรถจักรยานยนต์(CBU&CKD)ประมาณ 600,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.51
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2547
ในปี 2547 อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะยังคงมีแนวโน้มที่ดี ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และการส่งออก เนื่องจากเศรษฐกิจในภาพรวมที่กำลังขยายตัว ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างต่อเนื่อง ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ และการแข่งขันในการส่งเสริมการจำหน่ายของค่ายยานยนต์ต่างๆ ตลอดจนมีหลายบริษัทที่มีการส่งออกยานยนต์จากฐาน การผลิตในประเทศไทยไปยังตลาดทั่วโลก จึงเป็นไปได้ว่าในปี 2547 นี้ จะมีการผลิตรถยนต์ 880,000 คัน มีการจำหน่ายในประเทศ 600,000 คัน และส่งออก 280,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ร้อยละ 17 , 15 และ 22 ตามลำดับ ในส่วนรถจักรยานยนต์จะมีการผลิต 2,600,000 คัน และมีการจำหน่ายในประเทศ 2,000,000 คัน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ร้อยละ 8 และ 19 โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ในปี 2547 คาดว่าจะมีจำนวนที่ใกล้เคียงกับปี 2546 คือประมาณ 600,000 คัน สำหรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับภาวะของอุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จึงเป็นที่คาดได้ว่าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในปี 2547 จะมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางเดียวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ และรถจักรยานยนต์
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
สภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2546
ในปี 2546 อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีการขยายตัวทั้งในด้านการผลิต และการจำหน่ายอันเนื่องมาจากการเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศ สภาพคล่องทางการเงินที่เอื้ออำนวย และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของค่ายยานยนต์ ทำให้สภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2546 มีการ ผลิตรถยนต์รวมทุกประเภทประมาณ 750,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 28.22 มีการจำหน่ายประมาณ 520,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 27.03 โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่งร้อยละ 33 เป็นการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ร้อยละ 58 ที่เหลืออีกร้อยละ 9 เป็นการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และมีการส่งออกรถยนต์ประมาณ 230,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 26.74 สำหรับรถจักรยานยนต์มีการผลิตประมาณ 2,400,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 21.39 มีการจำหน่ายประมาณ 1,750,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 31.43 โดยเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวถึงร้อยละ 99 ที่เหลืออีกร้อยละ 1 เป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบ สปอร์ต และมีการส่งออกรถจักรยานยนต์(CBU&CKD)ประมาณ 600,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.51
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2547
ในปี 2547 อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะยังคงมีแนวโน้มที่ดี ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และการส่งออก เนื่องจากเศรษฐกิจในภาพรวมที่กำลังขยายตัว ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างต่อเนื่อง ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ และการแข่งขันในการส่งเสริมการจำหน่ายของค่ายยานยนต์ต่างๆ ตลอดจนมีหลายบริษัทที่มีการส่งออกยานยนต์จากฐาน การผลิตในประเทศไทยไปยังตลาดทั่วโลก จึงเป็นไปได้ว่าในปี 2547 นี้ จะมีการผลิตรถยนต์ 880,000 คัน มีการจำหน่ายในประเทศ 600,000 คัน และส่งออก 280,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ร้อยละ 17 , 15 และ 22 ตามลำดับ ในส่วนรถจักรยานยนต์จะมีการผลิต 2,600,000 คัน และมีการจำหน่ายในประเทศ 2,000,000 คัน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ร้อยละ 8 และ 19 โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ในปี 2547 คาดว่าจะมีจำนวนที่ใกล้เคียงกับปี 2546 คือประมาณ 600,000 คัน สำหรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับภาวะของอุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จึงเป็นที่คาดได้ว่าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในปี 2547 จะมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางเดียวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ และรถจักรยานยนต์
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-