อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
1. การผลิต
กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า: ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีทั้งปรับตัวดีขึ้น และลดลง ตามสินค้าในแต่ละกลุ่ม ดังนี้
(ISIC 2919) เครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0
(ISIC 2930) พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4
(ISIC 3230) เครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุฯ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงร้อยละ 6.5
กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์: ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวดีขึ้นมาก
(ISIC 3210) หลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9
2. ตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก
กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า: ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศ (ผลิตภัณฑ์เครื่องรับโทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลม เครื่องซักผ้าและหม้อหุงข้าว) มีการขยายตัวดีขึ้นประมาณร้อยละ 5 ส่วนการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าระยะ 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค.) ของปี 2546 มีมูลค่า 333,772.9 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการขยายตัวดีขึ้นร้อยละ 11.5 และคาดว่าการส่งออกตลอดปี 2546 นี้น่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย
กลุ่มอิเลกทรอนิกส์: การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ระยะ 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค.) ของปี 2546 มีมูลค่า 601,799.6 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการขยายตัวดีขึ้นร้อยละ 6.8 คาดว่าการส่งออกตลอดปี 2546 น่าจะมีมูลค่ามากกว่าปี 2545
แนวโน้มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปี 2547
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมในปี 2547 คาดว่าจะทรงตัวหรือขยายตัวเพิ่มได้อีกเล็กน้อยโดยพิจารณาจากปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจในปี 2547 ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น การทำ FTA กับประเทศต่างๆ และภาวะอิเล็กทรอนิกส์โลกที่เริ่มมีสัญญานที่ดีขึ้นส่วนด้านปัจจัยลบในประเทศ คือ การปรับอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตที่ยังแก้ไขไม่แล้วเสร็จโดยเฉพาะปัญหาภาษีนำเข้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สำหรับปัจจัยลบในต่างประเทศได้แก่ การตัด GSP เครื่องใช้ไฟฟ้าของไทย (เครื่องรับโทรทัศน์) จากกลุ่มประเทศสมาชิก EU และการถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเพิ่มประเทศสมาชิกในกลุ่ม EU เป็น 25 ประเทศกฏระเบียบ WEEE เริ่มมีผลบังคับใช้ประมาณเดือน ส.ค. 2547 และการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นของสินค้าจากจีนที่มีราคาถูกกว่า ฯลฯ
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
1. การผลิต
กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า: ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีทั้งปรับตัวดีขึ้น และลดลง ตามสินค้าในแต่ละกลุ่ม ดังนี้
(ISIC 2919) เครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0
(ISIC 2930) พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4
(ISIC 3230) เครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุฯ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงร้อยละ 6.5
กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์: ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวดีขึ้นมาก
(ISIC 3210) หลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9
2. ตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก
กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า: ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศ (ผลิตภัณฑ์เครื่องรับโทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลม เครื่องซักผ้าและหม้อหุงข้าว) มีการขยายตัวดีขึ้นประมาณร้อยละ 5 ส่วนการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าระยะ 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค.) ของปี 2546 มีมูลค่า 333,772.9 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการขยายตัวดีขึ้นร้อยละ 11.5 และคาดว่าการส่งออกตลอดปี 2546 นี้น่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย
กลุ่มอิเลกทรอนิกส์: การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ระยะ 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค.) ของปี 2546 มีมูลค่า 601,799.6 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการขยายตัวดีขึ้นร้อยละ 6.8 คาดว่าการส่งออกตลอดปี 2546 น่าจะมีมูลค่ามากกว่าปี 2545
แนวโน้มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปี 2547
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมในปี 2547 คาดว่าจะทรงตัวหรือขยายตัวเพิ่มได้อีกเล็กน้อยโดยพิจารณาจากปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจในปี 2547 ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น การทำ FTA กับประเทศต่างๆ และภาวะอิเล็กทรอนิกส์โลกที่เริ่มมีสัญญานที่ดีขึ้นส่วนด้านปัจจัยลบในประเทศ คือ การปรับอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตที่ยังแก้ไขไม่แล้วเสร็จโดยเฉพาะปัญหาภาษีนำเข้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สำหรับปัจจัยลบในต่างประเทศได้แก่ การตัด GSP เครื่องใช้ไฟฟ้าของไทย (เครื่องรับโทรทัศน์) จากกลุ่มประเทศสมาชิก EU และการถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเพิ่มประเทศสมาชิกในกลุ่ม EU เป็น 25 ประเทศกฏระเบียบ WEEE เริ่มมีผลบังคับใช้ประมาณเดือน ส.ค. 2547 และการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นของสินค้าจากจีนที่มีราคาถูกกว่า ฯลฯ
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-