อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศในฐานะที่เป็นปัจจัยหลักพื้นฐานที่สำคัญของอุตสาหกรรมก่อสร้าง รวมทั้งยังเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่สะท้อนภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศได้เป็นอย่างดี ในอดีตความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเคยสูงถึง 36 ล้านตัน แต่เนื่องจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจ ในปี 2540 ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างซบเซาลงมาก ทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศหดตัวลงและ มีกำลังการผลิตส่วนเกิน ( Over Supply ) จนกระทั่งในปี 2544 - 2546 รัฐบาลได้กำหนดมาตรการต่างๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้ ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างเริ่มฟื้นตัว ทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากจำนวน 21 ล้านตัน ในปี 2544 เป็น 25 ล้านตัน และ 26.82 ล้านตัน ในปี 2545 และ ปี 2546 ตามลำดับ ในขณะที่ระดับราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น
โครงสร้างอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ผู้ประกอบการ
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย ประกอบด้วยผู้ผลิต 8 ราย จำแนกเป็น ผู้ผลิตรายใหญ่ 5 ราย ได้แก่ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด บริษัท ชลประทานซีเมนต์ จำกัด บริษัท พีทีไอ โพลีน จำกัด และบริษัท ปูนซีเมนต์เอเซีย จำกัด ส่วนผู้ผลิตรายเล็ก จำนวน 3 ราย ได้แก่ บริษัท ไทยสถาปนา จำกัด บริษัท เซเม็กซ์ ( ประเทศไทย ) จำกัด และบริษัท สามัคคีซีเมนต์ จำกัด โดยมีการร่วมทุนจากบริษัทข้ามชาติอยู่ 3 บริษัท คือ Holcim Italcementi และ Cemex ที่เข้าลงทุนในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ
ต้นทุนการผลิต
โครงสร้างต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศประกอบด้วยต้นทุน 2 ส่วนที่สำคัญ คือ ต้นทุนด้านการผลิตและต้นทุนด้านการใช้จ่ายและบริหาร ต้นทุนดังกล่าวมีสัดส่วนอยู่ที่ 67 : 33 และในต้นทุนการผลิตจะมีสัดส่วนค่าพลังงานสูงถึงร้อยละ 45 ดังนั้น ถ้าราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้นจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์ ในปัจจุบันผู้ผลิตบางรายได้ปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดต้นทุน โดยการปรับเปลี่ยนพลังงาน ทดแทนโดยนำกากอุตสาหกรรมมาใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงมากขึ้น
ภาวะอุตสาหกรรมปี 2546
การผลิต
ปี 2546 การผลิตปูนซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ดในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมีการผลิตประมาณ 34.52 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.04 ทั้งนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจการก่อสร้างขยายตัว อันเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับที่ต่ำและนโยบายรัฐบาลที่มุ่งฟื้นฟูภาคอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตามในส่วนของการผลิตปูนเม็ดซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกมีประมาณ 33.23 ล้านตันลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.62 เนื่องจากผู้ผลิตให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศมากกว่า
ตาราง 1 : ปริมาณการผลิต หน่วย : ล้านตัน อัตราการขยายตัว : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ 2544 2545 2546* % 2545 เทียบกับ 2544 % 2546 เทียบกับ 2545
ปูนเม็ด 33.09 38.03 33.23 14.93 -12.62
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 30 33.50 34.52 11.67 3.04
รวม 63.09 71.53 67.75 13.38 -5.28
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2546 เป็นตัวเลขประมาณการ
การตลาด
ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในปี 2546 มีปริมาณ 26.82 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีปริมาณ 25.19 ล้านตัน คิดเป็น ร้อยละ 6.47 โดยแบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด)มีปริมาณ 26.61 ล้านตัน เพิ่มขึ้น จาก 24.83 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 7.17 การจำหน่ายปูนเม็ด 0.21 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน คือ 0.36 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 41.67 การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐทั้งมาตรการทางการเงิน ภาษี รวมถึงความพยายามของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ
ตาราง 2 : การจำหน่ายในประเทศ หน่วย : ล้านตัน อัตราการขยายตัว : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ 2544 2545 2546* % 2545 เทียบกับ 2544 % 2546 เทียบกับ 2545
ปูนเม็ด 0.27 0.36 0.21 33.33 -41.67
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 20.61 24.83 26.61 20.48 7.17
รวม 20.88 25.19 26.82 20.64 6.47
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
* ข้อมูลในปี 2546 เป็นข้อมูลเบื้องต้น
ตลาดต่างประเทศ
การส่งออกปูนซีเมนต์ในปี 2546 จำนวน 11.81 ล้านตัน มีมูลค่าประมาณ 12,090 ล้านบาท ลดลงจาก ปี 2545 ร้อยละ 32.1 และ 17.99 ตามลำดับ โดยปี 2546 การส่งออกปูนเม็ดมีปริมาณ 7.04 ล้านตัน มูลค่า 5,980 และปูนซีเมนต์ผสม,ปูนปอร์ตแลนด์และปูนซีเมนต์ชนิดอื่น ๆ มีปริมาณรวม 4.78 ล้านตัน มูลค่า 6,110 ล้านบาท เนื่องจากปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมากทำให้ค่าขนส่งสูง การส่งออกมีกำไรต่ำ ประกอบความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัว ผู้ประกอบการจึงหันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น โดยตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 39 ของมูลค่าการส่งออก รองลงมาคือ เวียดนาม กัมพูชา และบังคลาเทศ
การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ ปี 2546 มีปริมาณ 4,120 ตัน โดยมีการนำเข้าปูนเม็ดมีปริมาณ 34.9 ตัน และปูนซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 4,165 ตัน คิดเป็นมูลค่า 450,000 บาท และ78.82 ล้านบาท ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศ เกาหลีใต้
ตารางที่ 3 :ปริมาณการส่งออก หน่วย : ล้านตัน อัตราการขยายตัว : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ 2544 2545 2546* % 2545 เทียบกับ 2544 % 2546 เทียบกับ 2545
ปูนเม็ด(ล้านตัน) 9.98 9.27 7.04 -7.21 -24.01
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด(ล้านตัน) 7.69 6.97 4.77 -9.39 -31.43
รวม 17.67 16.24 11.81 -8.16 -32.10
ปูนเม็ด(ล้านบาท) 6,876 7,005 5,980 1.88 -14.63
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด(ล้านบาท)8,402 7,737 6,110 -7.91 -21.03
รวม 15,278 14,742 12,090 -3.51 -17.99
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
* ข้อมูลในปี 2546 เป็นข้อมูลเบื้องต้น
ตารางที่ 4 :ปริมาณการนำเข้า หน่วย : ตัน อัตราการขยายตัว : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ 2544 2545 2546* % 2545 เทียบกับ 2544 % 2546 เทียบกับ 2545
ปูนเม็ด(ตัน) 13.5 3,029 34.9 22,337.04 -98.85
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด(ตัน) 3,054 3,456 4,165 13.16 20.52
รวม 3,067.5 6,485 4,199.9 111.41 -35.24
ปูนเม็ด(ล้านบาท) 0.19 9.3 0.45 4,794.74 -95.16
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด(บาท) 64.95 67.97 78.37 4.65 15.30
รวม 65.14 77.27 78.82 18.62 2.01
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
* ข้อมูลในปี 2546 เป็นข้อมูลเบื้องต้น
นโยบายและมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้อง
ในปี 2546 ไม่มีมาตรการหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ แต่มีนโยบายทางอ้อมในเรื่องของการแก้ไขปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยประกอบด้วยมาตรการภาษีกรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มาตรการภาษีปรับปรุงโครงสร้างองค์กร มาตรการลดภาษีธุรกิจเฉพาะที่เรียกเก็บจากการขายอสังหาริมทรัพย์ในอัตราร้อยละ 3.3 ลงเหลือร้อยละ 0.11 เพื่อสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และ ยกเว้นภาษีที่ให้กับประชาชนที่ขายบ้านหลังเก่าซื้อบ้านหลังใหม่ ซึ่ง มาตรการลดภาษีธุรกิจเฉพาะจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2546 ขณะที่ในส่วนของค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ นิติกรรม และค่าธรรมเนียม จดจำนองยังไม่ชัดเจนว่าจะขยายต่อไปหรือไม่
สรุปภาวะอุตสาหกรรม ปี 2546 และแนวโน้มปี 2547
เนื่องจากในปี 2546 รัฐบาลได้มีนโยบายกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยกำหนดให้มีมาตรการต่างๆ เช่นมาตรการทางด้านภาษีของภาครัฐเพื่อให้เป็นแรงจูงใจให้กับประชาชนในการเข้าซื้อบ้านและที่อยู่อาศัย รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่มีการปรับลดให้ต่ำลงและธนาคารพาณิชย์ก็แข่งขันกันปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ทำให้ปริมาณความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ขยายตัวตามไปด้วย
สำหรับปี 2547 ภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีแนวโน้มขยายตัวต่อไปตามภาวะธุรกิจก่อสร้างโดยเฉพาะโครงการก่อสร้างภาครัฐ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ และระบบคมนาคมขนส่ง นอกจากนี้โครงการก่อสร้างของภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวเช่นกัน ขณะที่ในส่วนของมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รัฐบาลจะไม่มีการต่ออายุในส่วนของ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และในส่วนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ นิติกรรม และค่าธรรมเนียมจดจำนอง ที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะขยายต่อไปหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะเป็นแรงผลักให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวต่อไป สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์อาจจะมีแนวโน้มลดลงต่อไป เนื่องมาจากปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมากทำให้ค่าขนส่งสูง การส่งออกมีกำไรต่ำ ประกอบความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัว ผู้ประกอบการจึงหันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น
ปัญหา
1. ปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากค่าพลังงานเชื้อเพลิง โดยเฉพาะต้นทุนอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร ( FT ) มีราคาสูง
2. การแข่งขันด้านราคาสินค้าปูนซีเมนต์ตลาดในประเทศ มีการแข่งขันค่อนข้างสูง
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศในฐานะที่เป็นปัจจัยหลักพื้นฐานที่สำคัญของอุตสาหกรรมก่อสร้าง รวมทั้งยังเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่สะท้อนภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศได้เป็นอย่างดี ในอดีตความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเคยสูงถึง 36 ล้านตัน แต่เนื่องจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจ ในปี 2540 ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างซบเซาลงมาก ทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศหดตัวลงและ มีกำลังการผลิตส่วนเกิน ( Over Supply ) จนกระทั่งในปี 2544 - 2546 รัฐบาลได้กำหนดมาตรการต่างๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้ ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างเริ่มฟื้นตัว ทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากจำนวน 21 ล้านตัน ในปี 2544 เป็น 25 ล้านตัน และ 26.82 ล้านตัน ในปี 2545 และ ปี 2546 ตามลำดับ ในขณะที่ระดับราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น
โครงสร้างอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ผู้ประกอบการ
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย ประกอบด้วยผู้ผลิต 8 ราย จำแนกเป็น ผู้ผลิตรายใหญ่ 5 ราย ได้แก่ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด บริษัท ชลประทานซีเมนต์ จำกัด บริษัท พีทีไอ โพลีน จำกัด และบริษัท ปูนซีเมนต์เอเซีย จำกัด ส่วนผู้ผลิตรายเล็ก จำนวน 3 ราย ได้แก่ บริษัท ไทยสถาปนา จำกัด บริษัท เซเม็กซ์ ( ประเทศไทย ) จำกัด และบริษัท สามัคคีซีเมนต์ จำกัด โดยมีการร่วมทุนจากบริษัทข้ามชาติอยู่ 3 บริษัท คือ Holcim Italcementi และ Cemex ที่เข้าลงทุนในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ
ต้นทุนการผลิต
โครงสร้างต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศประกอบด้วยต้นทุน 2 ส่วนที่สำคัญ คือ ต้นทุนด้านการผลิตและต้นทุนด้านการใช้จ่ายและบริหาร ต้นทุนดังกล่าวมีสัดส่วนอยู่ที่ 67 : 33 และในต้นทุนการผลิตจะมีสัดส่วนค่าพลังงานสูงถึงร้อยละ 45 ดังนั้น ถ้าราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้นจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์ ในปัจจุบันผู้ผลิตบางรายได้ปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดต้นทุน โดยการปรับเปลี่ยนพลังงาน ทดแทนโดยนำกากอุตสาหกรรมมาใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงมากขึ้น
ภาวะอุตสาหกรรมปี 2546
การผลิต
ปี 2546 การผลิตปูนซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ดในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมีการผลิตประมาณ 34.52 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.04 ทั้งนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจการก่อสร้างขยายตัว อันเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับที่ต่ำและนโยบายรัฐบาลที่มุ่งฟื้นฟูภาคอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตามในส่วนของการผลิตปูนเม็ดซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกมีประมาณ 33.23 ล้านตันลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.62 เนื่องจากผู้ผลิตให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศมากกว่า
ตาราง 1 : ปริมาณการผลิต หน่วย : ล้านตัน อัตราการขยายตัว : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ 2544 2545 2546* % 2545 เทียบกับ 2544 % 2546 เทียบกับ 2545
ปูนเม็ด 33.09 38.03 33.23 14.93 -12.62
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 30 33.50 34.52 11.67 3.04
รวม 63.09 71.53 67.75 13.38 -5.28
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2546 เป็นตัวเลขประมาณการ
การตลาด
ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในปี 2546 มีปริมาณ 26.82 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีปริมาณ 25.19 ล้านตัน คิดเป็น ร้อยละ 6.47 โดยแบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด)มีปริมาณ 26.61 ล้านตัน เพิ่มขึ้น จาก 24.83 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 7.17 การจำหน่ายปูนเม็ด 0.21 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน คือ 0.36 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 41.67 การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐทั้งมาตรการทางการเงิน ภาษี รวมถึงความพยายามของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ
ตาราง 2 : การจำหน่ายในประเทศ หน่วย : ล้านตัน อัตราการขยายตัว : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ 2544 2545 2546* % 2545 เทียบกับ 2544 % 2546 เทียบกับ 2545
ปูนเม็ด 0.27 0.36 0.21 33.33 -41.67
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 20.61 24.83 26.61 20.48 7.17
รวม 20.88 25.19 26.82 20.64 6.47
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
* ข้อมูลในปี 2546 เป็นข้อมูลเบื้องต้น
ตลาดต่างประเทศ
การส่งออกปูนซีเมนต์ในปี 2546 จำนวน 11.81 ล้านตัน มีมูลค่าประมาณ 12,090 ล้านบาท ลดลงจาก ปี 2545 ร้อยละ 32.1 และ 17.99 ตามลำดับ โดยปี 2546 การส่งออกปูนเม็ดมีปริมาณ 7.04 ล้านตัน มูลค่า 5,980 และปูนซีเมนต์ผสม,ปูนปอร์ตแลนด์และปูนซีเมนต์ชนิดอื่น ๆ มีปริมาณรวม 4.78 ล้านตัน มูลค่า 6,110 ล้านบาท เนื่องจากปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมากทำให้ค่าขนส่งสูง การส่งออกมีกำไรต่ำ ประกอบความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัว ผู้ประกอบการจึงหันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น โดยตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 39 ของมูลค่าการส่งออก รองลงมาคือ เวียดนาม กัมพูชา และบังคลาเทศ
การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ ปี 2546 มีปริมาณ 4,120 ตัน โดยมีการนำเข้าปูนเม็ดมีปริมาณ 34.9 ตัน และปูนซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 4,165 ตัน คิดเป็นมูลค่า 450,000 บาท และ78.82 ล้านบาท ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศ เกาหลีใต้
ตารางที่ 3 :ปริมาณการส่งออก หน่วย : ล้านตัน อัตราการขยายตัว : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ 2544 2545 2546* % 2545 เทียบกับ 2544 % 2546 เทียบกับ 2545
ปูนเม็ด(ล้านตัน) 9.98 9.27 7.04 -7.21 -24.01
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด(ล้านตัน) 7.69 6.97 4.77 -9.39 -31.43
รวม 17.67 16.24 11.81 -8.16 -32.10
ปูนเม็ด(ล้านบาท) 6,876 7,005 5,980 1.88 -14.63
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด(ล้านบาท)8,402 7,737 6,110 -7.91 -21.03
รวม 15,278 14,742 12,090 -3.51 -17.99
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
* ข้อมูลในปี 2546 เป็นข้อมูลเบื้องต้น
ตารางที่ 4 :ปริมาณการนำเข้า หน่วย : ตัน อัตราการขยายตัว : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ 2544 2545 2546* % 2545 เทียบกับ 2544 % 2546 เทียบกับ 2545
ปูนเม็ด(ตัน) 13.5 3,029 34.9 22,337.04 -98.85
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด(ตัน) 3,054 3,456 4,165 13.16 20.52
รวม 3,067.5 6,485 4,199.9 111.41 -35.24
ปูนเม็ด(ล้านบาท) 0.19 9.3 0.45 4,794.74 -95.16
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด(บาท) 64.95 67.97 78.37 4.65 15.30
รวม 65.14 77.27 78.82 18.62 2.01
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
* ข้อมูลในปี 2546 เป็นข้อมูลเบื้องต้น
นโยบายและมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้อง
ในปี 2546 ไม่มีมาตรการหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ แต่มีนโยบายทางอ้อมในเรื่องของการแก้ไขปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยประกอบด้วยมาตรการภาษีกรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มาตรการภาษีปรับปรุงโครงสร้างองค์กร มาตรการลดภาษีธุรกิจเฉพาะที่เรียกเก็บจากการขายอสังหาริมทรัพย์ในอัตราร้อยละ 3.3 ลงเหลือร้อยละ 0.11 เพื่อสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และ ยกเว้นภาษีที่ให้กับประชาชนที่ขายบ้านหลังเก่าซื้อบ้านหลังใหม่ ซึ่ง มาตรการลดภาษีธุรกิจเฉพาะจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2546 ขณะที่ในส่วนของค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ นิติกรรม และค่าธรรมเนียม จดจำนองยังไม่ชัดเจนว่าจะขยายต่อไปหรือไม่
สรุปภาวะอุตสาหกรรม ปี 2546 และแนวโน้มปี 2547
เนื่องจากในปี 2546 รัฐบาลได้มีนโยบายกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยกำหนดให้มีมาตรการต่างๆ เช่นมาตรการทางด้านภาษีของภาครัฐเพื่อให้เป็นแรงจูงใจให้กับประชาชนในการเข้าซื้อบ้านและที่อยู่อาศัย รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่มีการปรับลดให้ต่ำลงและธนาคารพาณิชย์ก็แข่งขันกันปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ทำให้ปริมาณความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ขยายตัวตามไปด้วย
สำหรับปี 2547 ภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีแนวโน้มขยายตัวต่อไปตามภาวะธุรกิจก่อสร้างโดยเฉพาะโครงการก่อสร้างภาครัฐ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ และระบบคมนาคมขนส่ง นอกจากนี้โครงการก่อสร้างของภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวเช่นกัน ขณะที่ในส่วนของมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รัฐบาลจะไม่มีการต่ออายุในส่วนของ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และในส่วนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ นิติกรรม และค่าธรรมเนียมจดจำนอง ที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะขยายต่อไปหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะเป็นแรงผลักให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวต่อไป สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์อาจจะมีแนวโน้มลดลงต่อไป เนื่องมาจากปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมากทำให้ค่าขนส่งสูง การส่งออกมีกำไรต่ำ ประกอบความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัว ผู้ประกอบการจึงหันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น
ปัญหา
1. ปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากค่าพลังงานเชื้อเพลิง โดยเฉพาะต้นทุนอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร ( FT ) มีราคาสูง
2. การแข่งขันด้านราคาสินค้าปูนซีเมนต์ตลาดในประเทศ มีการแข่งขันค่อนข้างสูง
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-