ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ครม. เห็นชอบแผนการควบรวมกิจการระหว่างไอเอฟซีที-ทหารไทย-ไทยทนุ รมว.คลัง
เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุน
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) พ.ศ.2502 ตามที่ ก.คลังเสนอ ซึ่งเป็นขั้นตอนในการแปลง
สภาพไอเอฟซีทีเป็น ธพ. เพื่อโอกาสให้ไอเอฟซีทีควบรวมกับ ธ.ทหารไทยและ ธ.ดีบีเอสไทยทนุ ซึ่งการ
ควบรวมกิจการของสถาบันการเงินทั้ง 3 แห่งจะทำให้เกิดเป็นธนาคารที่มีความแข็งแกร่ง มีสินทรัพย์ที่มั่นคง
กว่า 6.9 แสน ล.บาท โดย ก.คลังจะเป็นแกนนำในการควบรวม ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน
จะเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, บ้าน
เมือง, เดลินิวส์, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. สศช. เตรียมจัดทำรายงานภาวะสังคมควบคู่กับการรายงานภาวะเศรษฐกิจเริ่มต้น มี.ค. 47
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช. จะจัดทำรายงาน
ภาวะสังคมเพื่อประเมินสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลาและใช้เป็นเครื่องมือสะท้อนภาวะการเปลี่ยนแปลงของ
สังคมที่มีผลต่อชีวิตและสภาพแวดล้อม ตลอดจนเป็นการส่งสัญญาณเตือนภัยเพื่อการนำไปสู่การเฝ้าระวังปัญหา
สังคม โดยจะเริ่มจัดทำตั้งแต่เดือน มี.ค. 47 ซึ่งจะครอบคลุม 4 มิติ คือ 1) คุณภาพคนในสังคม 2) ความ
มั่นคงทางสังคม 3) ความเป็นอยู่และพฤติกรรมของคนในสังคม และ 4) สิ่งแวดล้อม (ไทยโพสต์)
3. วีซ่าระบุการเพิ่มมาตรการของ ธปท. ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมบัตรเครดิตแน่นอน
ผู้จัดการ บ.วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำประเทศไทยและอินโดจีน เปิดเผยถึงกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) แสดงความเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มมาตรฐานรายได้ของผู้ถือบัตรเครดิตจากรายได้ 15,000 บาท/
เดือนเป็น 20,000-25,000 บาท/เดือนนั้นจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมบัตรเครดิตแน่นอน เนื่องจากจะทำ
ให้สินเชื่อกระจุกตัวอยู่ในวงจำกัด และจะทำให้ ธปท. ได้รับข้อมูลที่ไม่ได้เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งจากข้อมูล
ปัจจุบันพบว่าสถาบันการเงินไทยมีการปล่อยสินเชื่อบัตรเครดิตเพียง 20-30% และมีหนี้เสียเพียง 0.3% ซึ่งถือ
ว่าน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค โดยประเทศที่พัฒนาแล้วจะให้ความสำคัญกับการบริหารหนี้ที่เกิดขึ้น
มากกว่าการให้ความสำคัญกับจำนวนบัตร แต่ยอมรับว่าภาวะสังคมไทยอาจมีปัญหาบ้างในเรื่องการใช้จ่ายผ่าน
บัตร ซึ่งในเรื่องนี้ต้องศึกษาข้อมูลทุกบัตรรวมกันไม่ว่าจะเป็นบัตรเดบิต บัตรเครดิต บัตรวีซ่าอิเล็กตรอน
อย่างไรก็ตาม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.บัตรเครดิตกรุงไทย จำกัด (เคทีซี) กล่าวว่า มาตรการของ
ธปท. ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจมากนัก เนื่องจากพฤติกรรมของผู้ใช้บัตรเครดิตในปีที่ผ่านมายัง
ไม่เปลี่ยนแปลง โดยจะมีการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันผ่านซูเปอร์มาร์เก็ต ผ่านห้างสรรพสินค้า
3) ใช้เติมน้ำมัน และใช้ในโรงพยาบาลเป็นหลัก รวมทั้งปัจจุบันมีการติดตามตรวจสอบหนี้ในระบบเครดิต
บูโรแล้ว และยังมียอดชำระเต็มวงเงินสูงถึง 70% (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
4. ก.คลังสรุปงบประมาณปี 48 แบบสมดุลเบื้องต้นกำหนดไว้ 1.17 ล้านล้านบาท รมช.คลัง (
นายวราเทพ รัตนากร) เปิดเผยว่า ที่ประชุมร่วมระหว่างสำนักงบประมาณ สศช. และธนาคารแห่งประเทศ
ไทยได้สรุปการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 48 ไว้เบื้องต้นที่ 1.17 ล้านล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี
47 ที่ตั้งไว้ 1.028 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 14% โดยรัฐบาลจะดำเนินการจัดทำงบประมาณแบบสมดุลในปี
48 และจะเน้นการชำระหนี้ต่างประเทศเป็นยุทธศาสตร์หลัก (ไทยโพสต์, สยามรัฐ, ข่าวสด, ไทยรัฐ)
5. กฎหมายเช่าซื้อของ ก.พาณิชย์ดูแล 10 กลุ่มสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน
อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยถึงความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ. เช่าซื้อ ว่า หลังจากการหารือร่วมกับหน่วย
งานที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า ก.พาณิชย์ควรจะกำกับดูแลเฉพาะสินค้าที่ไม่ได้ซื้อเพื่อนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ แต่
เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ส่วนสินค้าในเชิงพาณิชย์ซึ่งเป็นสินค้าขนาดใหญ่ใช้เทคโนโลยีสูงควรอยู่ภาย
ใต้การดูแลของกฎหมายลีสซิ่ง ซึ่งขณะนี้ ก.คลังกำลังอยู่ระหว่างจัดทำร่างเช่นกัน โดยสินค้าที่อยู่ในกลุ่ม
กฎหมายเช่าซื้อ ได้แก่ 1) เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 2) ผลิตภัณฑ์จักรเย็บผ้าในครัวเรือน 3) เครื่องตกแต่ง
บ้าน 4) เครื่องใช้สำนักงาน 5) อุปกรณ์ประดับยนต์ 6) เครื่องดนตรี 7) เครื่องกีฬา 8) โทรศัพท์มือถือ 9)
รถยนต์ และ 10) รถจักรยานยนต์ และสินค้าที่คาดว่าจะอยู่ในข่าย พ.ร.บ.ลีสซิ่ง ได้แก่ 1) เครื่องจักรที่
ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต 2) รถตู้ รถหัวลาก รถบรรทุก 3) เครื่องจักรกลหนัก เช่น รถขุด และ 4)
เครื่องใช้สำนักงานที่มีเทคโนโลยีสูง (ข่าวสด, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าในปี 47 เศรษฐกิจสรอ.จะเติบโตนำหน้าประเทศในกลุ่มG7 รายงานจาก ลอนดอน
เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 47 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ประมาณ 160 คนในช่วงระหว่างวันที่
12 — 19 ม.ค. ชี้ว่าการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการผลิตและการว่างงานที่ลดลงในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม
ชั้นนำ 7 ประเทศ (G7) ส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่การที่ค่าเงินไม่เสถียรภาพและการขาดดุลงปม.
อาจจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจของสรอ. จะเติบโตอย่างรวดเร็วมากกว่า
เศรษฐกิจของกลุ่ม G7 คาดว่าในปี 47สรอ.ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกเศรษฐกิจ จะขยาย
ตัวถึงร้อยละ 4.7 จากเดิมที่คาดไว้เพียงร้อยละ 4.2 และจากผลการสำรวจครั้งก่อนเมื่อปลายเดือนต.ค. 46
คาดว่าเศรษฐกิจสรอ. จะขยายตัวเพียงร้อยละ 3.9 เท่านั้น นักเศรษฐศาสตร์จาก TSB ในลอนดอนกล่าวว่า
นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวนำโดยเศรษฐกิจของ สรอ. อย่างไรก็ตามการขาดดุลงปม.ก็ยัง
เป็นที่วิตก โดยในปีนี้สรอ.ขาดดุลงปม.ถึงประมาณร้อยละ 4 ของ GDP และคาดว่าจะลดลงเพียงเล็กน้อยในปี
หน้า นอกจากนั้นแคนาดาซึ่งได้ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจลง เนื่องจากการส่งออกได้รับผล
กระทบจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์แคนาดา โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจแคนาดาจะ
ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.9 จากประมาณการไว้เดิมร้อยละ 3.0 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) อย่างไรก็ตาม
แคนาดาซึ่งมีเศรษฐกิจที่เล็กที่สุดในกลุ่ม G7 เศรษฐกิจก็ยังคงเติบโตมากกว่าประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป
(รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน ธ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบต่อปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 20 ม.ค.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ เปิด
เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน ธ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ
1.3 เทียบต่อปี ซึ่งต่ำกว่าที่ ธ.กลางอังกฤษกำหนดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 ขณะที่ตลาดคาดว่าจะลดลง
ร้อยละ 1.2 ซึ่งนักวิเคราะห์เห็นว่าจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยรัฐบาลอังกฤษจำหน่าย
พันธบัตรได้เพียงจำนวน 1.81 ดอลลาร์ สรอ. และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในอนาคตคาดว่าจะลดลงอย่างรวด
เร็ว ขณะที่ผู้ประกอบการกลับเชื่อมั่นอย่างมากว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มสูงขึ้นที่ร้อยละ 4.0 ในเดือนถัดไป
ทั้งนี้ จำนวนพันธบัตร และอัตราดอกเบี้ยจะลดลงอีกครั้งหลังจากที่ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษประกาศให้ต้นทุน
การกู้ยืมสูงขึ้น โดยในเดือน พ.ย.46 ธ.กลางอังกฤษประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากระดับ 3.5 ซึ่งเป็น
ระดับต่ำสุดในรอบ 48 ปี และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะปรับขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เนื่อง
จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้น ประกอบกับผู้ดำเนินนโยบายการเงินการคลังของภาครัฐพยายามจะให้ราคา
บ้านในอังกฤษและภาวะหนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับที่เหมาะสม (รอยเตอร์)
3. รอยเตอร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคสิงคโปร์ในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบต่อ
เดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบต่อปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 20 ม.ค.47 ผลสำรวจรอยเตอร์
คาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ธ.ค.46จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบ
จากเดือนก่อน และหากเทียบต่อเดือนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6
ทั้งนี้ เนื่องจากอุปสงค์ที่สูงขึ้นในช่วงคริสต์มาสและราคาสินค้าที่สูงขึ้นจากการจัดเก็บภาษีผู้บริโภค รวมทั้ง
ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อค่าขนส่งต้องสูงขึ้นตาม อันเป็นผลกระทบต่อเนื่องไปสู่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ส่วน
ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน พ.ย.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบต่อปี เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่มากขึ้นส่งผลให้ราคาอาหารและอื่น ๆ สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ธ.กลางสิงคโปร์ คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์จะชะลอตัวลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.5
ในปี 46 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในปีนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้น ทั้งนี้ตัวเลขที่เป็นทางการ สำนัก
งานสถิติจะประกาศในวันจันทร์ที่ 26 ม.ค.47 (รอยเตอร์)
4. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของจีนในปี 46 ขยายตัวสูงกว่าความคาดหมาย และมีแนวโน้มเติบโตต่อ
เนื่อง รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 20 ม.ค.46 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP)
ของจีนในไตรมาสที่ 4 ปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เทียบต่อปี สำหรับ GDP ทั้งปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1
เพิ่มขึ้นสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 8.5 และเพิ่มขึ้นสูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่า
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 และเป็นอัตราการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 40 ที่เติบโตร้อยละ 8.8 ทั้งนี้ แม้
ว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 46 การใช้จ่ายของผู้บริโภค การลงทุนจากต่างประเทศ และผลผลิต
อุตสาหกรรมของจีนจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคซาร์สก็ตาม แต่เศรษฐกิจโดยรวมในปี 46 ก็
มีการเติบโต โดยเห็นได้จากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 และยอดขายปลีกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
10.9 ในเดือน ธ.ค.46 รวมถึงการลงทุนและการใช้จ่ายในประเทศที่แข็งแกร่ง ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์เชื่อมั่นว่า
ในปี 47 เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21/1/47 20/1/47 31/12/46 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.068 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.8705/39.1589 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.2500 - 1.2800 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 771.88/28.02 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,550/7,650 7,500/7,600 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 29.73 29.45 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 17.29*/14.39 ปตท.
ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ครม. เห็นชอบแผนการควบรวมกิจการระหว่างไอเอฟซีที-ทหารไทย-ไทยทนุ รมว.คลัง
เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุน
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) พ.ศ.2502 ตามที่ ก.คลังเสนอ ซึ่งเป็นขั้นตอนในการแปลง
สภาพไอเอฟซีทีเป็น ธพ. เพื่อโอกาสให้ไอเอฟซีทีควบรวมกับ ธ.ทหารไทยและ ธ.ดีบีเอสไทยทนุ ซึ่งการ
ควบรวมกิจการของสถาบันการเงินทั้ง 3 แห่งจะทำให้เกิดเป็นธนาคารที่มีความแข็งแกร่ง มีสินทรัพย์ที่มั่นคง
กว่า 6.9 แสน ล.บาท โดย ก.คลังจะเป็นแกนนำในการควบรวม ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน
จะเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, บ้าน
เมือง, เดลินิวส์, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. สศช. เตรียมจัดทำรายงานภาวะสังคมควบคู่กับการรายงานภาวะเศรษฐกิจเริ่มต้น มี.ค. 47
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช. จะจัดทำรายงาน
ภาวะสังคมเพื่อประเมินสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลาและใช้เป็นเครื่องมือสะท้อนภาวะการเปลี่ยนแปลงของ
สังคมที่มีผลต่อชีวิตและสภาพแวดล้อม ตลอดจนเป็นการส่งสัญญาณเตือนภัยเพื่อการนำไปสู่การเฝ้าระวังปัญหา
สังคม โดยจะเริ่มจัดทำตั้งแต่เดือน มี.ค. 47 ซึ่งจะครอบคลุม 4 มิติ คือ 1) คุณภาพคนในสังคม 2) ความ
มั่นคงทางสังคม 3) ความเป็นอยู่และพฤติกรรมของคนในสังคม และ 4) สิ่งแวดล้อม (ไทยโพสต์)
3. วีซ่าระบุการเพิ่มมาตรการของ ธปท. ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมบัตรเครดิตแน่นอน
ผู้จัดการ บ.วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำประเทศไทยและอินโดจีน เปิดเผยถึงกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) แสดงความเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มมาตรฐานรายได้ของผู้ถือบัตรเครดิตจากรายได้ 15,000 บาท/
เดือนเป็น 20,000-25,000 บาท/เดือนนั้นจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมบัตรเครดิตแน่นอน เนื่องจากจะทำ
ให้สินเชื่อกระจุกตัวอยู่ในวงจำกัด และจะทำให้ ธปท. ได้รับข้อมูลที่ไม่ได้เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งจากข้อมูล
ปัจจุบันพบว่าสถาบันการเงินไทยมีการปล่อยสินเชื่อบัตรเครดิตเพียง 20-30% และมีหนี้เสียเพียง 0.3% ซึ่งถือ
ว่าน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค โดยประเทศที่พัฒนาแล้วจะให้ความสำคัญกับการบริหารหนี้ที่เกิดขึ้น
มากกว่าการให้ความสำคัญกับจำนวนบัตร แต่ยอมรับว่าภาวะสังคมไทยอาจมีปัญหาบ้างในเรื่องการใช้จ่ายผ่าน
บัตร ซึ่งในเรื่องนี้ต้องศึกษาข้อมูลทุกบัตรรวมกันไม่ว่าจะเป็นบัตรเดบิต บัตรเครดิต บัตรวีซ่าอิเล็กตรอน
อย่างไรก็ตาม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.บัตรเครดิตกรุงไทย จำกัด (เคทีซี) กล่าวว่า มาตรการของ
ธปท. ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจมากนัก เนื่องจากพฤติกรรมของผู้ใช้บัตรเครดิตในปีที่ผ่านมายัง
ไม่เปลี่ยนแปลง โดยจะมีการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันผ่านซูเปอร์มาร์เก็ต ผ่านห้างสรรพสินค้า
3) ใช้เติมน้ำมัน และใช้ในโรงพยาบาลเป็นหลัก รวมทั้งปัจจุบันมีการติดตามตรวจสอบหนี้ในระบบเครดิต
บูโรแล้ว และยังมียอดชำระเต็มวงเงินสูงถึง 70% (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
4. ก.คลังสรุปงบประมาณปี 48 แบบสมดุลเบื้องต้นกำหนดไว้ 1.17 ล้านล้านบาท รมช.คลัง (
นายวราเทพ รัตนากร) เปิดเผยว่า ที่ประชุมร่วมระหว่างสำนักงบประมาณ สศช. และธนาคารแห่งประเทศ
ไทยได้สรุปการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 48 ไว้เบื้องต้นที่ 1.17 ล้านล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี
47 ที่ตั้งไว้ 1.028 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 14% โดยรัฐบาลจะดำเนินการจัดทำงบประมาณแบบสมดุลในปี
48 และจะเน้นการชำระหนี้ต่างประเทศเป็นยุทธศาสตร์หลัก (ไทยโพสต์, สยามรัฐ, ข่าวสด, ไทยรัฐ)
5. กฎหมายเช่าซื้อของ ก.พาณิชย์ดูแล 10 กลุ่มสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน
อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยถึงความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ. เช่าซื้อ ว่า หลังจากการหารือร่วมกับหน่วย
งานที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า ก.พาณิชย์ควรจะกำกับดูแลเฉพาะสินค้าที่ไม่ได้ซื้อเพื่อนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ แต่
เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ส่วนสินค้าในเชิงพาณิชย์ซึ่งเป็นสินค้าขนาดใหญ่ใช้เทคโนโลยีสูงควรอยู่ภาย
ใต้การดูแลของกฎหมายลีสซิ่ง ซึ่งขณะนี้ ก.คลังกำลังอยู่ระหว่างจัดทำร่างเช่นกัน โดยสินค้าที่อยู่ในกลุ่ม
กฎหมายเช่าซื้อ ได้แก่ 1) เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 2) ผลิตภัณฑ์จักรเย็บผ้าในครัวเรือน 3) เครื่องตกแต่ง
บ้าน 4) เครื่องใช้สำนักงาน 5) อุปกรณ์ประดับยนต์ 6) เครื่องดนตรี 7) เครื่องกีฬา 8) โทรศัพท์มือถือ 9)
รถยนต์ และ 10) รถจักรยานยนต์ และสินค้าที่คาดว่าจะอยู่ในข่าย พ.ร.บ.ลีสซิ่ง ได้แก่ 1) เครื่องจักรที่
ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต 2) รถตู้ รถหัวลาก รถบรรทุก 3) เครื่องจักรกลหนัก เช่น รถขุด และ 4)
เครื่องใช้สำนักงานที่มีเทคโนโลยีสูง (ข่าวสด, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าในปี 47 เศรษฐกิจสรอ.จะเติบโตนำหน้าประเทศในกลุ่มG7 รายงานจาก ลอนดอน
เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 47 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ประมาณ 160 คนในช่วงระหว่างวันที่
12 — 19 ม.ค. ชี้ว่าการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการผลิตและการว่างงานที่ลดลงในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม
ชั้นนำ 7 ประเทศ (G7) ส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่การที่ค่าเงินไม่เสถียรภาพและการขาดดุลงปม.
อาจจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจของสรอ. จะเติบโตอย่างรวดเร็วมากกว่า
เศรษฐกิจของกลุ่ม G7 คาดว่าในปี 47สรอ.ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกเศรษฐกิจ จะขยาย
ตัวถึงร้อยละ 4.7 จากเดิมที่คาดไว้เพียงร้อยละ 4.2 และจากผลการสำรวจครั้งก่อนเมื่อปลายเดือนต.ค. 46
คาดว่าเศรษฐกิจสรอ. จะขยายตัวเพียงร้อยละ 3.9 เท่านั้น นักเศรษฐศาสตร์จาก TSB ในลอนดอนกล่าวว่า
นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวนำโดยเศรษฐกิจของ สรอ. อย่างไรก็ตามการขาดดุลงปม.ก็ยัง
เป็นที่วิตก โดยในปีนี้สรอ.ขาดดุลงปม.ถึงประมาณร้อยละ 4 ของ GDP และคาดว่าจะลดลงเพียงเล็กน้อยในปี
หน้า นอกจากนั้นแคนาดาซึ่งได้ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจลง เนื่องจากการส่งออกได้รับผล
กระทบจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์แคนาดา โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจแคนาดาจะ
ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.9 จากประมาณการไว้เดิมร้อยละ 3.0 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) อย่างไรก็ตาม
แคนาดาซึ่งมีเศรษฐกิจที่เล็กที่สุดในกลุ่ม G7 เศรษฐกิจก็ยังคงเติบโตมากกว่าประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป
(รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน ธ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบต่อปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 20 ม.ค.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ เปิด
เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน ธ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ
1.3 เทียบต่อปี ซึ่งต่ำกว่าที่ ธ.กลางอังกฤษกำหนดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 ขณะที่ตลาดคาดว่าจะลดลง
ร้อยละ 1.2 ซึ่งนักวิเคราะห์เห็นว่าจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยรัฐบาลอังกฤษจำหน่าย
พันธบัตรได้เพียงจำนวน 1.81 ดอลลาร์ สรอ. และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในอนาคตคาดว่าจะลดลงอย่างรวด
เร็ว ขณะที่ผู้ประกอบการกลับเชื่อมั่นอย่างมากว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มสูงขึ้นที่ร้อยละ 4.0 ในเดือนถัดไป
ทั้งนี้ จำนวนพันธบัตร และอัตราดอกเบี้ยจะลดลงอีกครั้งหลังจากที่ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษประกาศให้ต้นทุน
การกู้ยืมสูงขึ้น โดยในเดือน พ.ย.46 ธ.กลางอังกฤษประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากระดับ 3.5 ซึ่งเป็น
ระดับต่ำสุดในรอบ 48 ปี และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะปรับขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เนื่อง
จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้น ประกอบกับผู้ดำเนินนโยบายการเงินการคลังของภาครัฐพยายามจะให้ราคา
บ้านในอังกฤษและภาวะหนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับที่เหมาะสม (รอยเตอร์)
3. รอยเตอร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคสิงคโปร์ในเดือน ธ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบต่อ
เดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบต่อปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 20 ม.ค.47 ผลสำรวจรอยเตอร์
คาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ธ.ค.46จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบ
จากเดือนก่อน และหากเทียบต่อเดือนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6
ทั้งนี้ เนื่องจากอุปสงค์ที่สูงขึ้นในช่วงคริสต์มาสและราคาสินค้าที่สูงขึ้นจากการจัดเก็บภาษีผู้บริโภค รวมทั้ง
ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อค่าขนส่งต้องสูงขึ้นตาม อันเป็นผลกระทบต่อเนื่องไปสู่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ส่วน
ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน พ.ย.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบต่อปี เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่มากขึ้นส่งผลให้ราคาอาหารและอื่น ๆ สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ธ.กลางสิงคโปร์ คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์จะชะลอตัวลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.5
ในปี 46 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในปีนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้น ทั้งนี้ตัวเลขที่เป็นทางการ สำนัก
งานสถิติจะประกาศในวันจันทร์ที่ 26 ม.ค.47 (รอยเตอร์)
4. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของจีนในปี 46 ขยายตัวสูงกว่าความคาดหมาย และมีแนวโน้มเติบโตต่อ
เนื่อง รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 20 ม.ค.46 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP)
ของจีนในไตรมาสที่ 4 ปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เทียบต่อปี สำหรับ GDP ทั้งปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1
เพิ่มขึ้นสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 8.5 และเพิ่มขึ้นสูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่า
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 และเป็นอัตราการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 40 ที่เติบโตร้อยละ 8.8 ทั้งนี้ แม้
ว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 46 การใช้จ่ายของผู้บริโภค การลงทุนจากต่างประเทศ และผลผลิต
อุตสาหกรรมของจีนจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคซาร์สก็ตาม แต่เศรษฐกิจโดยรวมในปี 46 ก็
มีการเติบโต โดยเห็นได้จากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 และยอดขายปลีกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
10.9 ในเดือน ธ.ค.46 รวมถึงการลงทุนและการใช้จ่ายในประเทศที่แข็งแกร่ง ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์เชื่อมั่นว่า
ในปี 47 เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21/1/47 20/1/47 31/12/46 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.068 39.622 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.8705/39.1589 39.4435/39.7378 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.2500 - 1.2800 1.2800 - 1.3000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 771.88/28.02 772.15/41.74 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,550/7,650 7,500/7,600 7,700/7,800 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 29.73 29.45 28.66 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 17.29*/14.39 ปตท.
ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-