อุตสาหกรรมไม้ยางพารา
ไม้ยางพาราเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ทั้งอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไม้ ชิ้นส่วนเครื่องเรือน เครื่องใช้ในครัวเรือนจากไม้ ของตกแต่งบ้าน ของเด็กเล่นทำด้วยไม้ ไม้ก่อสร้าง ลังสินค้า แท่นวางสินค้า ไม้แผ่นเรียบ ( เช่น Particleboard, MDF board ) ฟืน ขี้เลื่อย นำไปอัดเป็นแท่งเพื่อใช้เพาะเห็ดหอม ผลิตพลังงานไฟฟ้า ฯลฯ
จากอดีตที่เป็นเพียงไม้ที่นำไปเผาถ่านและทำฟืน ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาดและมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งความต้องการใช้ภายในประเทศและการส่งออก ไม้ยางพาราที่ผลิตได้ในประเทศไทยมีการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี การใช้ภายในประเทศจึงมีปัญหาการขาดแคลนในช่วงหน้าฝนที่การตัดโค่นทำได้ลำบาก
พื้นที่สวนยางพารา
พื้นที่ปลูกยางพาราทั่วประเทศมีพื้นที่กว่า 12 ล้านไร่ รายละเอียดตามตารางด้านล่าง พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ ภาคตะวันออกและพื้นที่ปลูกใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปริมาณไม้ยางพาราแปรรูป
ตามข้อมูลของ สกย. ปริมาณไม้ยางพาราที่มีอายุครบ 25 ปี ที่สามารถตัดโค่นได้ปีละ 350,000 ไร่ (2544 - 2549) ซึ่งถ้าสามารถตัดได้ทั้งหมด จะได้ไม้ยางพารา 3,395,000 ลบ.ม. ในปี 2543 (ม.ค. - ส.ค. ) มีผู้ยื่นคำขอตัดโค่น จำนวน 357ล347.22 ไร่ อนุมัติคำขอเพียง 147,923.90 ไร่ ซึ่งจะได้ไม้ยางพาราแปรรูป ประมาณ 1,434,861.83 ลบ.ม. ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการตามที่คาดการไว้ประมาณ 2,461.510 ลบ.ม. ถ้าสามารถตัดโค่นได้ทั้งหมด 357,347.22 ไร่ จะได้ไม้ยางพาราแปรรูป 3,466,268.034 ลบ.ม. ซึ่งจะเพียงพอต่อการใช้ภายในประเทศและมีเหลือส่งออก
ความต้องการใช้ในอุตสาหกรรม
ประมาณการความต้องการใช้ไม้ยางพาราในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์โดยสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนปี 2543 1.6 ล้าน ลบ.ม. นอกจากนั้นใช้ในอุตสาหกรรมที่ผลิตไม้แผ่น MDF Board Particle Board อีกประมาณ 861,510 ลบ.ม. (ตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาไว้ ) ก็จะรวมความต้องการใช้ไม้ยางพาราแปรรูปประมาณ 2,461.510 ลบ.ม. เพื่อให้ความต้องการใช้ไม้ยางพาราภายในประเทศมีใช้อย่างเพียงพอ ต้องโค่นยางพาราประมาณ 254,000 ไร่
ไม้ยางพาราเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ มีปริมาณควมต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอนาคตจะเกิดปัญหาขาดแคลนได้ เนื่องจากในปัจจุบันมีการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปไปต่างประเทศมีอัตราการขยายตัวที่สูงขึ้น
ตามแผนแม่บทป่าไม้ กรมป่าไม้ ได้ประมาณการความต้องการใช้ไม้ท่อนกลมเพื่อกิจกรรมต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ไม้ดังนี้
ราคาจำหน่ายไม้ยางพารา
1. ราคาไม้ยางพาราต่อไร่ ราคาไม้ยางพาราติดเปลือกที่ชาวสวนยางขายได้จะแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนต้นยางพาราต่อไร่ อายุ และขนาดของต้นยาง และความยากง่ายในการนำไม้ยางพาราออกจากสวน จากรายงานของสถาบันวิจัยยางระบุว่าราคาที่ชาวสวนยางขายได้โดยเฉลี่ยต้นละ 400 บาท หรือประมาณ 18,000 บาทต่อไร่ (โดยเฉลี่ยไร่ละ 45 ต้น)
2. ราคาไม้ยางพาราแปรรูป ราคาไม้ยางพาราแปรรูปอัดน้ำยาอบแห้งจะแตกต่างกันขึ้นอยุ่กับขนาดและความหนา ตามรายงานของผู้ประกอบการแปรรูปไม้ยางพาราแจ้งว่าราคาหน้าโรงงานจะอยู่ระหว่าง 150 - 200 บาทต่อลูกบาศก์ฟุต หรือประมาณ 5,297 - 7,063 ลูกบาศก์เมตร ( 1 ลูกบาศก์เมตรเท่ากับ 35.341 ลูกบาศก์ฟุต ) และจากรายงานความคืบหน้าปรากฏว่า ในขณะนี้ราคาขั้นสูงได้เริ่มลดลงมาอยู่ที่ 180 บาทต่อลูกบาศก์ฟุต หรือ ประมาณ 6,357 บาทต่อลูกบาศก์เมตร
3. ราคาส่งออก ราคาส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปอัดน้ำยาอบแป้งในปัจจุบัน โดยเฉลี่ยประมาณ 230 บาทตอลูกบาศก์ฟุต หรือประมาณ 8,122 บาทต่อลูกบาศก์เมตร
ในปัจจุบันมีการส่งออกไม้ยางพาราเป็นจำนวนมาก มีอัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกในช่วง ม.ค. - พ.ค. 2543/2542 ถึงร้อยละ 126.66 โดยส่งออกไปประเทศจีนมากที่สุดและมีอัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกในช่วงเดียวกันถึง ร้อยละ 674.33 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการขนายตัวที่สูง
การส่งออกเครื่องเรือนและผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา
ไม้ยางพาราส่วนใหญ่นำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ของเล่น แผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง ไม้ปาร์เกต์ กรอบรูป เครื่องใช้ในครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ในงานเสาเข็มก่อสร้าง ล้อม้วนสายไฟขนาดใหญ่ ฟืน ถ่าน ทำลัง แท่นวางสินค้า รวมถึงเยื่อกระดาษ
การผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราส่วนใหญ่ผลิตเพื่อการส่งออก เฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพาราที่ผลิตได้ส่งออกร้อยละ 65 จำหน่ายภายในประเทศร้อยละ 35 ส่วนเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนทั้งหมดที่ส่งออกเป็นไม้ยางพาราร้อยละ 60 โดยส่งออกไปประเทศ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป เป็นส่วนใหญ่ จากตารางการส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยในปี 2540 การส่งออกมีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 17.7 ปี 2541 ร้อยละ 17.1 ปี 2542 ร้อยละ 16.1 และ 2543 (ม.ค. - ก.ค. ) การส่งออกมีอัตราการขยายตัว 32.6 จาก ส่วนตลาดส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ปี 2543 ( ม.ค. - ก.ค. ) มีการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นมากเป็นอันดับหนึ่ง มีสัดส่วนร้อยละ 37.5 รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนร้อยละ 30.2 และ สหราชอาณาจักรมีสัดส่วนร้อยละ 4.9 ส่วนอัตราการขยายตัวของการส่งออก การส่งออกไปประเทศมาเลเซียมีอัตราการขยายตัวมากที่สุด ร้อยละ 259.2 รองลงมาคือ ประเทศออสเตรเลีย ร้อยละ 96.5 และประเทศแคนาดา ร้อยละ 67.8
ปัญหาและอุปสรรค
ก. ด้านกฎระเบียบของทางราชการ
1. ปัจจุบันการตั้งโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราต้องขออนุญาตกรมป่าไม้ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งต้องใช้เวลานานในการขออนุญาตและต้องต่อใบอนุญาตเป็นรายปี และต้องเสียค่าธรรมเนียมการตั้งโรงงานทั้งกรมป่าไม้และกรมโรงงานอุตสาหกรรม
2. การจัดทำบัญชีไม้แปรรูปของไม้ยางพาราต้องจัดทำบัญชี 3 เล่ม เป็นเรื่องที่ยุ่งยากเสียเวลา
3. โรงงานที่แปรรูปไม้ยางพาราต้องทำการแปรรูปตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกและต้องเปิดประตูทางเข้า - ออก โรงงานแปรรูปตลอดเวลา
4. การนำเข้าเลื่อยยนต์หรือเลื่อยโซ่ ใช้เวลานานในการขออนุญาตนำเข้า
ข. การขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจาก
1. ขาดแคลนไม้ยางพาราเนื่องจากการลดพื้นที่สงเคราะห์การปลูกทดแทนของ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) และอาจมีปัญหาด้านวงจรการปลูกไม้ยางพาราได้
2. ตลาดต่างประเทศมีความต้องการไม้ยางพาราแปรรูปเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศจีนปิดป่าและประเทศอินโดนีเซียปิดโรงงาน ประเทศที่เป็นคู่แข่งที่สำคัญ เช่น จีน มาเลเซีย และเวียตนาม ต้องการไม้ยางพาราจากไทยไปผลิตเฟอร์นิเจอร์มาแข่งขันกับไทย
3. มีการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปมากขึ้น เนื่องจากได้ราคาดีกว่าจำหน่ายในประเทศและจ่ายเป็นเงินสดปัญหาดังกล่าวทำให้ไทยเสียโอกาสด้านการตลาด เนื่องจากการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ( Value Added)
ค. การตลาดและการกีดกันทางการค้า
ภาวะการแข่งขันของอุตสาหกรรมไม้ยางพาราในตลาดโลกค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากประเทศคู่แข่งในตลาดระดับกลางและตลาดระดับล่าง เช่น มาเลเซีย จีน และเวียตนาม ค่อนข้างได้ปรียบในด้านค่าจ้างแรงงาน และราคาวัตถุดิบ ซึ่งของไทยที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตของไทยไม่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ส่วนในเรื่องการกีดกันทางการค้าของประเทศคู่ค้าดังนี้
ตลาดญี่ปุ่น
- กฎหมาย Product Liability (PL) ประกาศใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2538 ผู้ผลิตต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากความบกพร่องของสินค้าให้กับผู้บริโคภ แม้ว่าความบกพร่องนั้นจะเกิดความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ผลิตสินค้า
- เฟอร์นิเจอร์ไม้ต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพและอบแห้งมีความชื้นในระดับมาตรฐาน และการตัดไม้ต้องควบคุมให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ใน Timber Conversion Process รวมทั้งอุปกรณ์การตัดไม้ต้องเป็นไปตามกฏหมายควบคุมคุณภาพเครื่องมือตัดงานไม้
- สินค้าเฟอร์นิเจอร์ต้องผ่านการตรวจสอบและการรับรองคุณภาพ เช่น "JIS" Mark และ "S" Mark เป็นต้น
ตลาดสหรัฐอเมริกา
- ผู้ผลิตต้องติดฉลาก Product label หรือฉลากที่แสดงประเทศผู้ผลิตสินค้า สำหรับสินค้าที่ผ่ามาตรฐาน UFAC จะมี UFAC Tag สำหรับติดที่สินค้า
- ANSI (The American National Standards Institute) เป็นหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการนำเข้า และผู้ผลิตเกี่ยวกับวัตถุดิบ คุณภาพและมาตฐานการผลิต สำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้ในสหรัฐอเมริกา
- The Association of Bedding and Furniture law ของรัฐต่างๆ ส่วนใหญ่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การซ่อมแซมให้กลับสภาพเดิม การฆ่าเชื้อ การพ่นควันเพื่อฆ่าเชื้อ การติดฉลากและการจำหน่ายเครื่องนอนและเฟอร์นิเจอร์ใหม่และใช้แล้ว
ตลาดยุโรป
- การนำเข้าเฟอร์นิเจอร์เด็ก และเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในห้องนอน จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค Hazardous Products Acts
- เฟอร์นิเจอร์ไม้เมืองร้อนต้องมีใบรับรองว่าใช้ไม้จากป่าที่อนุญาตให้ตัดไม้ได้ถูกต้องตามกฏหมายประเทศนั้นๆ
ช. ปัญหาด้านอื่นๆ
- ช่องทางการจำหน่าย การพัฒนาช่องทางตลาดและการติดต่อประสานงานกับผู้ซื้อในต่างประเทศ ยังไม่เข้มแข็ง
- ผลิตภัณฑ์คุณภาพต่ำ มีของเสียและการสิ้นเปลืองสูง มีต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่าคู่แข่งทำให้ขาดการได้เปรียบในการแข่งขัน
- การผลิตไม่ทันสมัย จาดเทคนิคการผลิตสมัยใหม่ การจัดการ และขาดความสามารถในการแข่งขันและบำรุงรักษาเครื่องจักรใหม่ๆ ให้คุ้มค่า
- รูปแบบผลิตภัณฑ์ ขาดการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก
- บุคลากร แรงงานฝีมือ และบุคลากรเฉพาะด้านที่มีคุณภาพมีไม่พอเพียง โดยเฉพาะนักออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดต่างประเทศระดับสูง ที่มีรูปแบบ การใช้วัสดุและกระบวนการผลิตที่เหมาะสม
- ขาดอุตสาหกรรมสนับสนุนและการรับช่วงการผลิต เช่น ชิ้นส่วนและวัสดุในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ผู้ผลิตรายใหญ่ต้องขยายการผลิตให้ครบวงจร ซึ่งเป็นภาระในการลงทุน และทำให้ขาดประสิทธิภาพ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ไม้ยางพาราเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ทั้งอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไม้ ชิ้นส่วนเครื่องเรือน เครื่องใช้ในครัวเรือนจากไม้ ของตกแต่งบ้าน ของเด็กเล่นทำด้วยไม้ ไม้ก่อสร้าง ลังสินค้า แท่นวางสินค้า ไม้แผ่นเรียบ ( เช่น Particleboard, MDF board ) ฟืน ขี้เลื่อย นำไปอัดเป็นแท่งเพื่อใช้เพาะเห็ดหอม ผลิตพลังงานไฟฟ้า ฯลฯ
จากอดีตที่เป็นเพียงไม้ที่นำไปเผาถ่านและทำฟืน ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาดและมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งความต้องการใช้ภายในประเทศและการส่งออก ไม้ยางพาราที่ผลิตได้ในประเทศไทยมีการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี การใช้ภายในประเทศจึงมีปัญหาการขาดแคลนในช่วงหน้าฝนที่การตัดโค่นทำได้ลำบาก
พื้นที่สวนยางพารา
พื้นที่ปลูกยางพาราทั่วประเทศมีพื้นที่กว่า 12 ล้านไร่ รายละเอียดตามตารางด้านล่าง พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ ภาคตะวันออกและพื้นที่ปลูกใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปริมาณไม้ยางพาราแปรรูป
ตามข้อมูลของ สกย. ปริมาณไม้ยางพาราที่มีอายุครบ 25 ปี ที่สามารถตัดโค่นได้ปีละ 350,000 ไร่ (2544 - 2549) ซึ่งถ้าสามารถตัดได้ทั้งหมด จะได้ไม้ยางพารา 3,395,000 ลบ.ม. ในปี 2543 (ม.ค. - ส.ค. ) มีผู้ยื่นคำขอตัดโค่น จำนวน 357ล347.22 ไร่ อนุมัติคำขอเพียง 147,923.90 ไร่ ซึ่งจะได้ไม้ยางพาราแปรรูป ประมาณ 1,434,861.83 ลบ.ม. ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการตามที่คาดการไว้ประมาณ 2,461.510 ลบ.ม. ถ้าสามารถตัดโค่นได้ทั้งหมด 357,347.22 ไร่ จะได้ไม้ยางพาราแปรรูป 3,466,268.034 ลบ.ม. ซึ่งจะเพียงพอต่อการใช้ภายในประเทศและมีเหลือส่งออก
ความต้องการใช้ในอุตสาหกรรม
ประมาณการความต้องการใช้ไม้ยางพาราในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์โดยสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนปี 2543 1.6 ล้าน ลบ.ม. นอกจากนั้นใช้ในอุตสาหกรรมที่ผลิตไม้แผ่น MDF Board Particle Board อีกประมาณ 861,510 ลบ.ม. (ตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาไว้ ) ก็จะรวมความต้องการใช้ไม้ยางพาราแปรรูปประมาณ 2,461.510 ลบ.ม. เพื่อให้ความต้องการใช้ไม้ยางพาราภายในประเทศมีใช้อย่างเพียงพอ ต้องโค่นยางพาราประมาณ 254,000 ไร่
ไม้ยางพาราเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ มีปริมาณควมต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอนาคตจะเกิดปัญหาขาดแคลนได้ เนื่องจากในปัจจุบันมีการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปไปต่างประเทศมีอัตราการขยายตัวที่สูงขึ้น
ตามแผนแม่บทป่าไม้ กรมป่าไม้ ได้ประมาณการความต้องการใช้ไม้ท่อนกลมเพื่อกิจกรรมต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ไม้ดังนี้
ราคาจำหน่ายไม้ยางพารา
1. ราคาไม้ยางพาราต่อไร่ ราคาไม้ยางพาราติดเปลือกที่ชาวสวนยางขายได้จะแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนต้นยางพาราต่อไร่ อายุ และขนาดของต้นยาง และความยากง่ายในการนำไม้ยางพาราออกจากสวน จากรายงานของสถาบันวิจัยยางระบุว่าราคาที่ชาวสวนยางขายได้โดยเฉลี่ยต้นละ 400 บาท หรือประมาณ 18,000 บาทต่อไร่ (โดยเฉลี่ยไร่ละ 45 ต้น)
2. ราคาไม้ยางพาราแปรรูป ราคาไม้ยางพาราแปรรูปอัดน้ำยาอบแห้งจะแตกต่างกันขึ้นอยุ่กับขนาดและความหนา ตามรายงานของผู้ประกอบการแปรรูปไม้ยางพาราแจ้งว่าราคาหน้าโรงงานจะอยู่ระหว่าง 150 - 200 บาทต่อลูกบาศก์ฟุต หรือประมาณ 5,297 - 7,063 ลูกบาศก์เมตร ( 1 ลูกบาศก์เมตรเท่ากับ 35.341 ลูกบาศก์ฟุต ) และจากรายงานความคืบหน้าปรากฏว่า ในขณะนี้ราคาขั้นสูงได้เริ่มลดลงมาอยู่ที่ 180 บาทต่อลูกบาศก์ฟุต หรือ ประมาณ 6,357 บาทต่อลูกบาศก์เมตร
3. ราคาส่งออก ราคาส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปอัดน้ำยาอบแป้งในปัจจุบัน โดยเฉลี่ยประมาณ 230 บาทตอลูกบาศก์ฟุต หรือประมาณ 8,122 บาทต่อลูกบาศก์เมตร
ในปัจจุบันมีการส่งออกไม้ยางพาราเป็นจำนวนมาก มีอัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกในช่วง ม.ค. - พ.ค. 2543/2542 ถึงร้อยละ 126.66 โดยส่งออกไปประเทศจีนมากที่สุดและมีอัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกในช่วงเดียวกันถึง ร้อยละ 674.33 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการขนายตัวที่สูง
การส่งออกเครื่องเรือนและผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา
ไม้ยางพาราส่วนใหญ่นำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ของเล่น แผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง ไม้ปาร์เกต์ กรอบรูป เครื่องใช้ในครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ในงานเสาเข็มก่อสร้าง ล้อม้วนสายไฟขนาดใหญ่ ฟืน ถ่าน ทำลัง แท่นวางสินค้า รวมถึงเยื่อกระดาษ
การผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราส่วนใหญ่ผลิตเพื่อการส่งออก เฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพาราที่ผลิตได้ส่งออกร้อยละ 65 จำหน่ายภายในประเทศร้อยละ 35 ส่วนเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนทั้งหมดที่ส่งออกเป็นไม้ยางพาราร้อยละ 60 โดยส่งออกไปประเทศ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป เป็นส่วนใหญ่ จากตารางการส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยในปี 2540 การส่งออกมีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 17.7 ปี 2541 ร้อยละ 17.1 ปี 2542 ร้อยละ 16.1 และ 2543 (ม.ค. - ก.ค. ) การส่งออกมีอัตราการขยายตัว 32.6 จาก ส่วนตลาดส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ปี 2543 ( ม.ค. - ก.ค. ) มีการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นมากเป็นอันดับหนึ่ง มีสัดส่วนร้อยละ 37.5 รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนร้อยละ 30.2 และ สหราชอาณาจักรมีสัดส่วนร้อยละ 4.9 ส่วนอัตราการขยายตัวของการส่งออก การส่งออกไปประเทศมาเลเซียมีอัตราการขยายตัวมากที่สุด ร้อยละ 259.2 รองลงมาคือ ประเทศออสเตรเลีย ร้อยละ 96.5 และประเทศแคนาดา ร้อยละ 67.8
ปัญหาและอุปสรรค
ก. ด้านกฎระเบียบของทางราชการ
1. ปัจจุบันการตั้งโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราต้องขออนุญาตกรมป่าไม้ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งต้องใช้เวลานานในการขออนุญาตและต้องต่อใบอนุญาตเป็นรายปี และต้องเสียค่าธรรมเนียมการตั้งโรงงานทั้งกรมป่าไม้และกรมโรงงานอุตสาหกรรม
2. การจัดทำบัญชีไม้แปรรูปของไม้ยางพาราต้องจัดทำบัญชี 3 เล่ม เป็นเรื่องที่ยุ่งยากเสียเวลา
3. โรงงานที่แปรรูปไม้ยางพาราต้องทำการแปรรูปตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกและต้องเปิดประตูทางเข้า - ออก โรงงานแปรรูปตลอดเวลา
4. การนำเข้าเลื่อยยนต์หรือเลื่อยโซ่ ใช้เวลานานในการขออนุญาตนำเข้า
ข. การขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจาก
1. ขาดแคลนไม้ยางพาราเนื่องจากการลดพื้นที่สงเคราะห์การปลูกทดแทนของ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) และอาจมีปัญหาด้านวงจรการปลูกไม้ยางพาราได้
2. ตลาดต่างประเทศมีความต้องการไม้ยางพาราแปรรูปเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศจีนปิดป่าและประเทศอินโดนีเซียปิดโรงงาน ประเทศที่เป็นคู่แข่งที่สำคัญ เช่น จีน มาเลเซีย และเวียตนาม ต้องการไม้ยางพาราจากไทยไปผลิตเฟอร์นิเจอร์มาแข่งขันกับไทย
3. มีการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปมากขึ้น เนื่องจากได้ราคาดีกว่าจำหน่ายในประเทศและจ่ายเป็นเงินสดปัญหาดังกล่าวทำให้ไทยเสียโอกาสด้านการตลาด เนื่องจากการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ( Value Added)
ค. การตลาดและการกีดกันทางการค้า
ภาวะการแข่งขันของอุตสาหกรรมไม้ยางพาราในตลาดโลกค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากประเทศคู่แข่งในตลาดระดับกลางและตลาดระดับล่าง เช่น มาเลเซีย จีน และเวียตนาม ค่อนข้างได้ปรียบในด้านค่าจ้างแรงงาน และราคาวัตถุดิบ ซึ่งของไทยที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตของไทยไม่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ส่วนในเรื่องการกีดกันทางการค้าของประเทศคู่ค้าดังนี้
ตลาดญี่ปุ่น
- กฎหมาย Product Liability (PL) ประกาศใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2538 ผู้ผลิตต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากความบกพร่องของสินค้าให้กับผู้บริโคภ แม้ว่าความบกพร่องนั้นจะเกิดความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ผลิตสินค้า
- เฟอร์นิเจอร์ไม้ต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพและอบแห้งมีความชื้นในระดับมาตรฐาน และการตัดไม้ต้องควบคุมให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ใน Timber Conversion Process รวมทั้งอุปกรณ์การตัดไม้ต้องเป็นไปตามกฏหมายควบคุมคุณภาพเครื่องมือตัดงานไม้
- สินค้าเฟอร์นิเจอร์ต้องผ่านการตรวจสอบและการรับรองคุณภาพ เช่น "JIS" Mark และ "S" Mark เป็นต้น
ตลาดสหรัฐอเมริกา
- ผู้ผลิตต้องติดฉลาก Product label หรือฉลากที่แสดงประเทศผู้ผลิตสินค้า สำหรับสินค้าที่ผ่ามาตรฐาน UFAC จะมี UFAC Tag สำหรับติดที่สินค้า
- ANSI (The American National Standards Institute) เป็นหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการนำเข้า และผู้ผลิตเกี่ยวกับวัตถุดิบ คุณภาพและมาตฐานการผลิต สำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้ในสหรัฐอเมริกา
- The Association of Bedding and Furniture law ของรัฐต่างๆ ส่วนใหญ่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การซ่อมแซมให้กลับสภาพเดิม การฆ่าเชื้อ การพ่นควันเพื่อฆ่าเชื้อ การติดฉลากและการจำหน่ายเครื่องนอนและเฟอร์นิเจอร์ใหม่และใช้แล้ว
ตลาดยุโรป
- การนำเข้าเฟอร์นิเจอร์เด็ก และเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในห้องนอน จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค Hazardous Products Acts
- เฟอร์นิเจอร์ไม้เมืองร้อนต้องมีใบรับรองว่าใช้ไม้จากป่าที่อนุญาตให้ตัดไม้ได้ถูกต้องตามกฏหมายประเทศนั้นๆ
ช. ปัญหาด้านอื่นๆ
- ช่องทางการจำหน่าย การพัฒนาช่องทางตลาดและการติดต่อประสานงานกับผู้ซื้อในต่างประเทศ ยังไม่เข้มแข็ง
- ผลิตภัณฑ์คุณภาพต่ำ มีของเสียและการสิ้นเปลืองสูง มีต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่าคู่แข่งทำให้ขาดการได้เปรียบในการแข่งขัน
- การผลิตไม่ทันสมัย จาดเทคนิคการผลิตสมัยใหม่ การจัดการ และขาดความสามารถในการแข่งขันและบำรุงรักษาเครื่องจักรใหม่ๆ ให้คุ้มค่า
- รูปแบบผลิตภัณฑ์ ขาดการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก
- บุคลากร แรงงานฝีมือ และบุคลากรเฉพาะด้านที่มีคุณภาพมีไม่พอเพียง โดยเฉพาะนักออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดต่างประเทศระดับสูง ที่มีรูปแบบ การใช้วัสดุและกระบวนการผลิตที่เหมาะสม
- ขาดอุตสาหกรรมสนับสนุนและการรับช่วงการผลิต เช่น ชิ้นส่วนและวัสดุในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ผู้ผลิตรายใหญ่ต้องขยายการผลิตให้ครบวงจร ซึ่งเป็นภาระในการลงทุน และทำให้ขาดประสิทธิภาพ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-