นายบัณฑิต นิจถาวร ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงถึงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันนี้ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มในระยะต่อไป เพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
1. คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาข้อมูลล่าสุดของภาวะเศรษฐกิจไทย และมีความเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2546 ขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ทั้งจากด้านอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนและดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นที่ปรับตัวดีขึ้น รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นทั้งจากราคาและผลผลิต มูลค่าการส่งออกอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวเข้าสู่ภาวะขยายตัวตามปกติ
2. เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ฐานะหนี้ต่างประเทศยังคงปรับลดลง และเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง
3. เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ ในเดือนธันวาคมอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานกลับมาอยู่ที่ร้อยละ 0.0 ต่อปี อีกครั้ง เนื่องจากค่าเช่าบ้านที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ในปี 2546 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.8 เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงานที่เร่งตัวขึ้นเป็นสำคัญ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 0.2 และเมื่อพิจารณาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมค่าเช่าบ้าน พบว่าเฉลี่ยร้อยละ 0.6 ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากที่เฉลี่ยร้อยละ 0.5 ในปี 2545
4. คณะกรรมการฯ ประเมินว่า เศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนทั้งจากการใช้จ่ายในประเทศและการส่งออก ในขณะที่ความเสี่ยงด้านต่างประเทศลดลงจากการที่เศรษฐกิจโลกขยายตัว แต่ความผันผวนของค่าเงินสกุลหลักเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมากขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อในประเทศคาดว่าจะยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และยังไม่เป็นแรงกดดันต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ เห็นว่าในช่วงที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวต่อเนื่องนี้ ควรจับตามองการปรับตัวของดุลบัญชีเดินสะพัด รวมทั้งความไม่สมดุลที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับตัวในระยะต่อไปของราคาสินทรัพย์ และฐานะการเงินของภาคครัวเรือน
คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ไว้ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาข้อมูลล่าสุดของภาวะเศรษฐกิจไทย และมีความเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2546 ขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ทั้งจากด้านอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนและดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นที่ปรับตัวดีขึ้น รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นทั้งจากราคาและผลผลิต มูลค่าการส่งออกอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวเข้าสู่ภาวะขยายตัวตามปกติ
2. เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ฐานะหนี้ต่างประเทศยังคงปรับลดลง และเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง
3. เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ ในเดือนธันวาคมอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานกลับมาอยู่ที่ร้อยละ 0.0 ต่อปี อีกครั้ง เนื่องจากค่าเช่าบ้านที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ในปี 2546 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.8 เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงานที่เร่งตัวขึ้นเป็นสำคัญ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 0.2 และเมื่อพิจารณาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมค่าเช่าบ้าน พบว่าเฉลี่ยร้อยละ 0.6 ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากที่เฉลี่ยร้อยละ 0.5 ในปี 2545
4. คณะกรรมการฯ ประเมินว่า เศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนทั้งจากการใช้จ่ายในประเทศและการส่งออก ในขณะที่ความเสี่ยงด้านต่างประเทศลดลงจากการที่เศรษฐกิจโลกขยายตัว แต่ความผันผวนของค่าเงินสกุลหลักเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมากขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อในประเทศคาดว่าจะยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และยังไม่เป็นแรงกดดันต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ เห็นว่าในช่วงที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวต่อเนื่องนี้ ควรจับตามองการปรับตัวของดุลบัญชีเดินสะพัด รวมทั้งความไม่สมดุลที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับตัวในระยะต่อไปของราคาสินทรัพย์ และฐานะการเงินของภาคครัวเรือน
คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ไว้ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-