ยานยนต์—การแปรรูปและถนอมสัตว์น้ำ—สิ่งทอ ดันดัชนีอุตฯขึ้น ชี้ผู้ประกอบการเร่งปั้มสินค้าป้อนตลาด
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรม ประจำเดือนพฤษภาคม 2548 จากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) เดือนพฤษภาคม อยู่ที่ระดับ 136.32 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.30 จากเดือนก่อนที่ระดับ 125.88 และยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากระดับ 132.19 ทั้งนี้เกือบทุกดัชนีมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น
ดัชนีอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 143.17 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.80 จากระดับ 131.59 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 140.01 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.92 จากระดับ 129.73 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 173.71 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.17 จากระดับ 153.50 ดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 106.23 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.82 จากระดับ 99.45 และ อัตราการใช้กำลัง การผลิต อยู่ที่ 67.48 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ที่ใช้กำลังการผลิต 62.01
ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่มีการปรับระดับลดลงจากเดือนก่อน ประกอบด้วยดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 143.86 ลดลงร้อยละ 11.31 จากระดับ 162.21 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 153.75 ลดลงร้อยละ 0.96 จากระดับ 155.23
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤษภาคมปรับเพิ่มขึ้นมีหลายด้าน ที่สำคัญคือ การผลิตยานยนต์ เนื่องจากผู้ประกอบการได้เร่งผลิตตามภาวะความต้องการของตลาด ที่เพิ่มขึ้นโดยมีคำสั่งซื้อรถมายังโรงงานผู้ผลิต ทั้งจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ อีกทั้งวันทำงานที่มีมากกว่าเดือนเมษายน จึงมีผลต่อการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนพฤษภาคม
การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่หนุนให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีการผลิตปลาทูน่า และอาหารทะเลแช่แข็ง ทั้งปลา ปลาหมึก และเนื้อปลา เพิ่มขึ้น โดยผู้ผลิตได้รับคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเดือนพฤษภาคมเป็นฤดูที่ราคาวัตถุดิบอยู่ในเกณฑ์ปกติ และหาได้ง่าย จึงส่งผลให้มีการเร่งผลิตเพื่อเตรียมส่งมอบให้สำหรับลูกค้าในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า ส่วนภาวะการจำหน่ายก็มีทิศทางเพิ่มขึ้น โดยมีสัญญาณที่ดีในตลาดส่งออกไปประเทศ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี และยุโรป ที่ส่งคำสั่งซื้อสินค้าของประเทศไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศคู่แข่งที่สำคัญ คือ เอกวาดอร์ เวียดนาม มาเลเซีย และจีน ถูกประเทศสหรัฐอเมริกากีดกันทางการค้า เช่นเดียวกันกับ การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมทั้งการทอสิ่งทอ มีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของโรงงาน ซึ่งเป็นไปตามภาวะของตลาด
นอกจากนี้ นางชุตาภรณ์ ยังได้กล่าวอีกว่า ปัจจัยที่มีผลทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม ปรับตัวลดลงที่สำคัญคือ การผลิตน้ำตาล ซึ่งนับจากปิดหีบตามฤดูกาล (มี.ค.) ยังมีการผลิตน้ำตาลทรายขาว และขาวบริสุทธิ์ โดยนำน้ำตาลทรายดิบที่เก็บไว้มาผลิต แต่เพียงเล็กน้อย ส่วนการจำหน่ายโดยรวมลดลง ร้อยละ 2.3 จากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกที่มียอดส่งมอบลดลง โดยปริมาณการส่งออกรวมลดลงร้อยละ 4.77 จากเดือนก่อน ส่วนการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรม ประจำเดือนพฤษภาคม 2548 จากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) เดือนพฤษภาคม อยู่ที่ระดับ 136.32 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.30 จากเดือนก่อนที่ระดับ 125.88 และยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากระดับ 132.19 ทั้งนี้เกือบทุกดัชนีมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น
ดัชนีอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 143.17 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.80 จากระดับ 131.59 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 140.01 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.92 จากระดับ 129.73 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 173.71 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.17 จากระดับ 153.50 ดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 106.23 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.82 จากระดับ 99.45 และ อัตราการใช้กำลัง การผลิต อยู่ที่ 67.48 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ที่ใช้กำลังการผลิต 62.01
ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่มีการปรับระดับลดลงจากเดือนก่อน ประกอบด้วยดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 143.86 ลดลงร้อยละ 11.31 จากระดับ 162.21 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 153.75 ลดลงร้อยละ 0.96 จากระดับ 155.23
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤษภาคมปรับเพิ่มขึ้นมีหลายด้าน ที่สำคัญคือ การผลิตยานยนต์ เนื่องจากผู้ประกอบการได้เร่งผลิตตามภาวะความต้องการของตลาด ที่เพิ่มขึ้นโดยมีคำสั่งซื้อรถมายังโรงงานผู้ผลิต ทั้งจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ อีกทั้งวันทำงานที่มีมากกว่าเดือนเมษายน จึงมีผลต่อการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนพฤษภาคม
การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่หนุนให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีการผลิตปลาทูน่า และอาหารทะเลแช่แข็ง ทั้งปลา ปลาหมึก และเนื้อปลา เพิ่มขึ้น โดยผู้ผลิตได้รับคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเดือนพฤษภาคมเป็นฤดูที่ราคาวัตถุดิบอยู่ในเกณฑ์ปกติ และหาได้ง่าย จึงส่งผลให้มีการเร่งผลิตเพื่อเตรียมส่งมอบให้สำหรับลูกค้าในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า ส่วนภาวะการจำหน่ายก็มีทิศทางเพิ่มขึ้น โดยมีสัญญาณที่ดีในตลาดส่งออกไปประเทศ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี และยุโรป ที่ส่งคำสั่งซื้อสินค้าของประเทศไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศคู่แข่งที่สำคัญ คือ เอกวาดอร์ เวียดนาม มาเลเซีย และจีน ถูกประเทศสหรัฐอเมริกากีดกันทางการค้า เช่นเดียวกันกับ การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมทั้งการทอสิ่งทอ มีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของโรงงาน ซึ่งเป็นไปตามภาวะของตลาด
นอกจากนี้ นางชุตาภรณ์ ยังได้กล่าวอีกว่า ปัจจัยที่มีผลทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม ปรับตัวลดลงที่สำคัญคือ การผลิตน้ำตาล ซึ่งนับจากปิดหีบตามฤดูกาล (มี.ค.) ยังมีการผลิตน้ำตาลทรายขาว และขาวบริสุทธิ์ โดยนำน้ำตาลทรายดิบที่เก็บไว้มาผลิต แต่เพียงเล็กน้อย ส่วนการจำหน่ายโดยรวมลดลง ร้อยละ 2.3 จากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกที่มียอดส่งมอบลดลง โดยปริมาณการส่งออกรวมลดลงร้อยละ 4.77 จากเดือนก่อน ส่วนการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-