นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจว่า ในปี 2547 มีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
แผนที่ 1 แผนการบริหารรัฐวิสาหกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
- มติ ครม. 29 พฤศจิกายน 2546 มีข้อสังเกตให้กระทรวงการคลังดำเนินงานด้านรัฐวิสาหกิจอย่างจริงจังและเป็นระบบ
- สคร. ได้เตรียมแผนการดำเนินงานเพื่อสอดรับกับมติ ครม. โดยแบ่งรัฐวิสาหกิจออกเป็น 4 กลุ่ม และกำหนดนโยบายการบริหารให้มีความเหมาะสมกับรัฐวิสาหกิจแต่ละกลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่ 1 รัฐวิสาหกิจที่มีผลกำไร และต้องแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน เพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
- กลุ่มที่ 2 รัฐวิสาหกิจที่มีผลขาดทุน และต้องปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดทุน
- กลุ่มที่ 3 รัฐวิสาหกิจที่มีผลขาดทุน และ/หรือต้องดำเนินการให้พ้นสภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจ
- กลุ่มที่ 4 รัฐวิสาหกิจที่คงสถานะเดิม
แผนที่ 2 แผนการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชน และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
- ภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาลปัจจุบัน ได้ประสบผลสำเร็จจากการผลักดันให้นำหุ้นรัฐวิสาหกิจจำนวน 6 แห่ง จำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์
- ในปี 2547 - 2549 สคร. มีเป้าหมายในการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชน และระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 12 แห่ง รายละเอียดดังนี้
เป้าหมายดำเนินงาน จำนวนรัฐวิสาหกิจ (แห่ง)
ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
1. การแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน 6 3 -
2. การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 4 6 2
แผนที่ 3 แผนการพลิกฟื้นฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจที่ประสบผลขาดทุน
- สคร. จะดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างการดำเนินงาน และฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจ และร่วมกับรัฐวิสาหกิจจัดทำแผนปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อพลิกฟื้นฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจที่ประสบผลขาดทุนจำนวน 12 แห่งภายในปี 2547 เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อรัฐวิสาหกิจจะนำไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
แผนที่ 4 แผนการยกระดับมาตรฐานการบริหารงานรัฐวิสาหกิจให้มีความเป็นมืออาชีพ
- สคร. มีแผนงานยกระดับมาตรฐานการบริหารงานรัฐวิสาหกิจ โดยการจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และศักยภาพในกับบุคลากรของ สคร. และรัฐวิสาหกิจ
- การฝึกอบรมบุคลากรของ สคร. เพื่อพัฒนาบุคลากรของ สคร. ให้มีความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงาน
- การฝึกอบรมบุคลากรของรัฐวิสาหกิจ โดยแยกการฝึกอบรมและจัดหลักสูตรให้เหมาะสมกับบุคลากรในระดับต่างๆ แยกเป็น
- หลักสูตรสำหรับกรรมการรัฐวิสาหกิจ
- หลักสูตรผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ (CEO)
- หลักสูตรหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน (CFO)
- หลักสูตรพนักงานในระดับปฏิบัติการ
- ในปลายปี 2546 สคร. ได้ดำเนินงานต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้
- จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบและผู้ตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจเสร็จสมบูรณ์ และเผยแพร่ให้รัฐวิสาหกิจนำไปใช้ พร้อมทั้งจัดการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรของรัฐวิสาหกิจ
- ฝึกอบรมหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน (CFO) ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 41 แห่ง
- ในปี 2547 สคร. มีแผนการจัดฝึกอบรมต่างๆ ดังนี้
- ร่วมกับ กพร. ในการจัดฝึกอบรมการพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้กับผู้บริหาร รัฐวิสาหกิจ (CEO) โดยคาดว่าจะจัดฝึกอบรมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2547
- ฝึกอบรมหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน (CFO) ของรัฐวิสาหกิจ รุ่นที่ 2 โดยคาดว่าจะจัดฝึกอบรมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2547
- ฝึกอบรมกรรมการผู้แทนกระทรวงการคลัง โดยคาดว่าจะจัดฝึกอบรมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2547
- ฝึกอบรมแนวทางการจัดทำแผนวิสาหกิจ แผนกลยุทธ์และการวิเคราะห์งบการเงินของ รัฐวิสาหกิจ โดยคาดว่าจะจัดฝึกอบรมในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2547
แผนที่ 5 แผนการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ
- ระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ เป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่ สคร. ใช้ในการกำกับและติดตามการดำเนินงานและผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจพัฒนาประสิทธิภาพทั้งในด้าน การเงิน กายภาพ การให้บริการ การบริหารพัฒนาองค์กร และการกำกับดูแลที่ดี
- สคร. ได้ทยอยนำรัฐวิสาหกิจเข้าสู่ระบบประเมินผลฯ ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงปี 2546 มี รัฐวิสาหกิจเข้าอยู่ในระบบประเมินผลฯ ทั้งหมด 34 แห่ง และในปี 2547 ได้เพิ่มจำนวนรัฐวิสาหกิจเข้าอยู่ในระบบประเมินผลเป็น 40 แห่ง และมีเป้าหมายเพิ่มเป็น 50 แห่งในปี 2548 และ 60 แห่งในปี 2549
- สำหรับในปี 2547 สคร. ได้ปรับปรุงระบบประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนารัฐวิสาหกิจในเชิงรุก โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลงาน ที่เน้นการตั้งเป้าหมายเพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพื่อเทียบเคียงกับมาตรฐานของกลุ่มธุรกิจสาขาต่างๆ และปรับปรุงการดำเนินงานให้เข้าสู่มาตรฐานสากล
แผนที่ 6 แผนการยกระดับมาตรฐานการเงินการบัญชีของรัฐวิสาหกิจ
- สคร. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งจัดทำงบการเงินเป็นรายได้ไตรมาส โดยต้องได้รับการสอบทานจากผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต เพื่อเป็นการปฏิบัติเช่นเดียวกับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และ สคร. จะเป็นผู้รวบรวมและประมวลผลข้อมูลด้านการเงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย ของรัฐบาล
- สคร. อยู่ระหว่างการกำหนดหลักเกณฑ์การให้เงินอุดหนุนแก่รัฐวิสาหกิจที่ดำเนินกิจการเชิงสังคม (Public Service Obligaiton: PSO) โดยให้รัฐวิสาหกิจจัดทำระบบบัญชีแยกรายได้ และค่าใช้จ่ายที่เป็นบริการเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมออกจากกัน รวมทั้งจะต้องมีระบบบัญชีต้นทุน เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนต่อหน่วยสำหรับใช้ประกอบการขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลภายใต้ระบบ PSO โดยกลุ่มรัฐวิสาหกิจที่ต้องเร่งจัดทำระบบบัญชีแยกรายได้ และค่าใช้จ่ายที่เป็นบริการเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมออกจากกัน มี 4 แห่ง ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ การประปาส่วนภูมิภาค และการเคหะแห่งชาติ
แผนที่ 7 แผนการแก้ไขพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- สคร. อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงาน รัฐวิสาหกิจ โดยมีหลักการในการแก้ไขเพื่อให้วิธีการสรรหาผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจมีความคล่องตัวรวดเร็วขึ้น และได้ผู้บริหารมืออาชีพ โดยกำหนดให้ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ดำเนินการสรรหาผู้ที่มีความเหมาะสมมาดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- รายชื่อรัฐวิสาหกิจที่ต้องแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน เพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
รัฐวิสาหกิจ แผนแปลงสภาพ แผนระดมทุน
จดทะเบียนเป็น บมจ.
1. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแล้ว ปี 2547
รวมบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด
2. บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแล้ว ปี 2548
3. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแล้ว ปี 2548
4. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปี 2547 ปี 2547
5. การไฟฟ้านครหลวง ปี 2547 ปี 2547
6. องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ปี 2547 ปี 2547
7. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ปี 2547 ปี 2548
8. การประปานครหลวง ปี 2547 ปี 2548
9. องค์การเภสัชกรรม ปี 2547 ปี 2548
10. การประปาส่วนภูมิภาค ปี 2548 ปี 2548
11. การท่าเรือแห่งประเทศไทย ปี 2548 ปี 2549
12. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ปี 2548 ปี 2549
รัฐวิสาหกิจที่มีผลขาดทุน และต้องปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดทุน
1. การรถไฟแห่งประเทศไทย
2. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
3. บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
4. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
5. บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
6. การเคหะแห่งชาติ
7. สถาบันการบินพลเรือน
8. องค์การคลังสินค้า
9. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
10. องค์การสวนสัตว์
11. องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
12. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (รวมบริษัท ไม้อัดไทย จำกัด (ซึ่งเป็นบริษัทลูก)
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 5/2547 22 มกราคม 2547--
-นห-
แผนที่ 1 แผนการบริหารรัฐวิสาหกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
- มติ ครม. 29 พฤศจิกายน 2546 มีข้อสังเกตให้กระทรวงการคลังดำเนินงานด้านรัฐวิสาหกิจอย่างจริงจังและเป็นระบบ
- สคร. ได้เตรียมแผนการดำเนินงานเพื่อสอดรับกับมติ ครม. โดยแบ่งรัฐวิสาหกิจออกเป็น 4 กลุ่ม และกำหนดนโยบายการบริหารให้มีความเหมาะสมกับรัฐวิสาหกิจแต่ละกลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่ 1 รัฐวิสาหกิจที่มีผลกำไร และต้องแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน เพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
- กลุ่มที่ 2 รัฐวิสาหกิจที่มีผลขาดทุน และต้องปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดทุน
- กลุ่มที่ 3 รัฐวิสาหกิจที่มีผลขาดทุน และ/หรือต้องดำเนินการให้พ้นสภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจ
- กลุ่มที่ 4 รัฐวิสาหกิจที่คงสถานะเดิม
แผนที่ 2 แผนการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชน และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
- ภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาลปัจจุบัน ได้ประสบผลสำเร็จจากการผลักดันให้นำหุ้นรัฐวิสาหกิจจำนวน 6 แห่ง จำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์
- ในปี 2547 - 2549 สคร. มีเป้าหมายในการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชน และระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 12 แห่ง รายละเอียดดังนี้
เป้าหมายดำเนินงาน จำนวนรัฐวิสาหกิจ (แห่ง)
ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
1. การแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน 6 3 -
2. การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 4 6 2
แผนที่ 3 แผนการพลิกฟื้นฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจที่ประสบผลขาดทุน
- สคร. จะดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างการดำเนินงาน และฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจ และร่วมกับรัฐวิสาหกิจจัดทำแผนปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อพลิกฟื้นฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจที่ประสบผลขาดทุนจำนวน 12 แห่งภายในปี 2547 เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อรัฐวิสาหกิจจะนำไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
แผนที่ 4 แผนการยกระดับมาตรฐานการบริหารงานรัฐวิสาหกิจให้มีความเป็นมืออาชีพ
- สคร. มีแผนงานยกระดับมาตรฐานการบริหารงานรัฐวิสาหกิจ โดยการจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และศักยภาพในกับบุคลากรของ สคร. และรัฐวิสาหกิจ
- การฝึกอบรมบุคลากรของ สคร. เพื่อพัฒนาบุคลากรของ สคร. ให้มีความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงาน
- การฝึกอบรมบุคลากรของรัฐวิสาหกิจ โดยแยกการฝึกอบรมและจัดหลักสูตรให้เหมาะสมกับบุคลากรในระดับต่างๆ แยกเป็น
- หลักสูตรสำหรับกรรมการรัฐวิสาหกิจ
- หลักสูตรผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ (CEO)
- หลักสูตรหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน (CFO)
- หลักสูตรพนักงานในระดับปฏิบัติการ
- ในปลายปี 2546 สคร. ได้ดำเนินงานต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้
- จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบและผู้ตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจเสร็จสมบูรณ์ และเผยแพร่ให้รัฐวิสาหกิจนำไปใช้ พร้อมทั้งจัดการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรของรัฐวิสาหกิจ
- ฝึกอบรมหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน (CFO) ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 41 แห่ง
- ในปี 2547 สคร. มีแผนการจัดฝึกอบรมต่างๆ ดังนี้
- ร่วมกับ กพร. ในการจัดฝึกอบรมการพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้กับผู้บริหาร รัฐวิสาหกิจ (CEO) โดยคาดว่าจะจัดฝึกอบรมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2547
- ฝึกอบรมหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน (CFO) ของรัฐวิสาหกิจ รุ่นที่ 2 โดยคาดว่าจะจัดฝึกอบรมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2547
- ฝึกอบรมกรรมการผู้แทนกระทรวงการคลัง โดยคาดว่าจะจัดฝึกอบรมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2547
- ฝึกอบรมแนวทางการจัดทำแผนวิสาหกิจ แผนกลยุทธ์และการวิเคราะห์งบการเงินของ รัฐวิสาหกิจ โดยคาดว่าจะจัดฝึกอบรมในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2547
แผนที่ 5 แผนการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ
- ระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ เป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่ สคร. ใช้ในการกำกับและติดตามการดำเนินงานและผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจพัฒนาประสิทธิภาพทั้งในด้าน การเงิน กายภาพ การให้บริการ การบริหารพัฒนาองค์กร และการกำกับดูแลที่ดี
- สคร. ได้ทยอยนำรัฐวิสาหกิจเข้าสู่ระบบประเมินผลฯ ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงปี 2546 มี รัฐวิสาหกิจเข้าอยู่ในระบบประเมินผลฯ ทั้งหมด 34 แห่ง และในปี 2547 ได้เพิ่มจำนวนรัฐวิสาหกิจเข้าอยู่ในระบบประเมินผลเป็น 40 แห่ง และมีเป้าหมายเพิ่มเป็น 50 แห่งในปี 2548 และ 60 แห่งในปี 2549
- สำหรับในปี 2547 สคร. ได้ปรับปรุงระบบประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนารัฐวิสาหกิจในเชิงรุก โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลงาน ที่เน้นการตั้งเป้าหมายเพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพื่อเทียบเคียงกับมาตรฐานของกลุ่มธุรกิจสาขาต่างๆ และปรับปรุงการดำเนินงานให้เข้าสู่มาตรฐานสากล
แผนที่ 6 แผนการยกระดับมาตรฐานการเงินการบัญชีของรัฐวิสาหกิจ
- สคร. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งจัดทำงบการเงินเป็นรายได้ไตรมาส โดยต้องได้รับการสอบทานจากผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต เพื่อเป็นการปฏิบัติเช่นเดียวกับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และ สคร. จะเป็นผู้รวบรวมและประมวลผลข้อมูลด้านการเงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย ของรัฐบาล
- สคร. อยู่ระหว่างการกำหนดหลักเกณฑ์การให้เงินอุดหนุนแก่รัฐวิสาหกิจที่ดำเนินกิจการเชิงสังคม (Public Service Obligaiton: PSO) โดยให้รัฐวิสาหกิจจัดทำระบบบัญชีแยกรายได้ และค่าใช้จ่ายที่เป็นบริการเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมออกจากกัน รวมทั้งจะต้องมีระบบบัญชีต้นทุน เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนต่อหน่วยสำหรับใช้ประกอบการขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลภายใต้ระบบ PSO โดยกลุ่มรัฐวิสาหกิจที่ต้องเร่งจัดทำระบบบัญชีแยกรายได้ และค่าใช้จ่ายที่เป็นบริการเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมออกจากกัน มี 4 แห่ง ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ การประปาส่วนภูมิภาค และการเคหะแห่งชาติ
แผนที่ 7 แผนการแก้ไขพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- สคร. อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงาน รัฐวิสาหกิจ โดยมีหลักการในการแก้ไขเพื่อให้วิธีการสรรหาผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจมีความคล่องตัวรวดเร็วขึ้น และได้ผู้บริหารมืออาชีพ โดยกำหนดให้ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ดำเนินการสรรหาผู้ที่มีความเหมาะสมมาดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- รายชื่อรัฐวิสาหกิจที่ต้องแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน เพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
รัฐวิสาหกิจ แผนแปลงสภาพ แผนระดมทุน
จดทะเบียนเป็น บมจ.
1. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแล้ว ปี 2547
รวมบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด
2. บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแล้ว ปี 2548
3. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแล้ว ปี 2548
4. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปี 2547 ปี 2547
5. การไฟฟ้านครหลวง ปี 2547 ปี 2547
6. องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ปี 2547 ปี 2547
7. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ปี 2547 ปี 2548
8. การประปานครหลวง ปี 2547 ปี 2548
9. องค์การเภสัชกรรม ปี 2547 ปี 2548
10. การประปาส่วนภูมิภาค ปี 2548 ปี 2548
11. การท่าเรือแห่งประเทศไทย ปี 2548 ปี 2549
12. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ปี 2548 ปี 2549
รัฐวิสาหกิจที่มีผลขาดทุน และต้องปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดทุน
1. การรถไฟแห่งประเทศไทย
2. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
3. บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
4. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
5. บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
6. การเคหะแห่งชาติ
7. สถาบันการบินพลเรือน
8. องค์การคลังสินค้า
9. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
10. องค์การสวนสัตว์
11. องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
12. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (รวมบริษัท ไม้อัดไทย จำกัด (ซึ่งเป็นบริษัทลูก)
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 5/2547 22 มกราคม 2547--
-นห-