นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (Informal ASEAN Economic Ministers Meeting) และการหารือทวิภาคีไทย-เวียดนาม เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2547 ณ เมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ในการประชุมครั้งนี้ อาเซียนได้หารือกันในประเด็นสำคัญ ๆ ได้แก่
1. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) : ที่ประชุมได้ตกลงจะจัดทำแผนการดำเนินงาน (Roadmap) ในการดำเนินมาตรการเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายในปี ค.ศ. 2020 (2563) ตามมติของผู้นำ
2. มาตรการเร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการหลัก 11 สาขา : ในการดำเนินการสู่ AEC อาเซียนได้มีมาตรการเร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา ได้แก่ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ไม้ ยางพารา สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ท่องเที่ยว และการบิน ซึ่งไทยได้รับมอบหมายให้เป็นแกนนำในสาขาท่องเที่ยวและการบิน
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการสาขาต่าง ๆ และตกลงที่จะจัดทำ Roadmap สำหรับการดำเนินงานในแต่ละสาขาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยเร็ว ทั้งนี้ ในสาขาการบินที่ไทยรับผิดชอบ ไทยและสิงคโปร์จะเป็นประเทศนำร่องลงนามความตกลงเปิดเสรีเที่ยวบินขนส่งเฉพาะสินค้า (Cargo Open Skies Agreement) ระหว่างกันในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ซึ่งจะทำให้การขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างสองประเทศสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นสนใจ ก็สามารถขอร่วมความตกลงดังกล่าวได้ในภายหลัง
3. การจัดตั้งกลไกระงับข้อพิพาทและหน่วยงานกำกับดูแลแก้ไขปัญหา
การค้าการลงทุนของอาเซียน : รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนเห็นชอบขอบเขตอำนาจหน้าที่ (TOR) ของหน่วยงานแก้ปัญหาการค้า การลงทุนของอาเซียน (ASEAN Consultation to Solve Trade and Investment Issues : ACT) ซึ่งจะเป็นหน่วยงานกลางที่แต่ละประเทศจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ประสานและให้คำปรึกษาแก่ภาคเอกชนและภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการค้าภายในอาเซียนและเห็นชอบให้หน่วยงานดังกล่าว เริ่มปฏิบัติการและประเมินผลการดำเนินงานโดยเร็วที่สุดภายใน 1 ปี นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียนดำเนินการแก้ไขร่างความตกลงเกี่ยวกับกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียนโดยเร็ว เพื่อเสนอรัฐมนตรีลงนามในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 36 ในเดือนกันยายน 2547 ณ ประเทศอินโดนีเซีย
การหารือทวิภาคีไทย-เวียดนาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) ได้หารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีการค้าเวียดนาม (Mr. Truong Dinh Tuyen) สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. การฟ้องทุ่มตลาดกุ้งของสหรัฐฯ : ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างใกล้ชิด ในกรณีที่สหรัฐฯ ฟ้องทุ่มตลาดกุ้งไทยและเวียดนาม ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งว่า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบในเรื่องนี้ พร้อมกันนี้ ฝ่ายไทยได้หารือกับภาคเอกชนในเรื่องนี้แล้ว และพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าวกับเวียดนาม
2. โครงการ Economic Cooperation Strategy (ECS) : เวียดนามได้สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ ECS ซึ่งฝ่ายไทยได้ชี้แจงว่า เป็นโครงการเพื่อช่วยยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว พม่า และกัมพูชา เนื่องจากเห็นว่า การพัฒนาของประเทศเหล่านี้ จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทั้งของไทยและอาเซียน และไทยก็ยินดีหากเวียดนามมีความประสงค์จะร่วมมือกับไทย ในการให้ความช่วยเหลือกับประเทศเหล่านี้
3. การประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-เวียดนาม : ฝ่ายเวียดนามได้แจ้งถึงหัวข้อที่สนใจหารือในการประชุมความร่วมไทย-เวียดนาม ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ได้แก่ การส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับเวียดนาม และโครงการพัฒนาความร่วมมือใน ลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ซึ่งฝ่ายไทยเห็นชอบกับหัวข้อดังกล่าวและแจ้งว่า จะมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานกับฝ่ายเวียดนามต่อไป
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775--จบ--
-พห-
การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ในการประชุมครั้งนี้ อาเซียนได้หารือกันในประเด็นสำคัญ ๆ ได้แก่
1. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) : ที่ประชุมได้ตกลงจะจัดทำแผนการดำเนินงาน (Roadmap) ในการดำเนินมาตรการเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายในปี ค.ศ. 2020 (2563) ตามมติของผู้นำ
2. มาตรการเร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการหลัก 11 สาขา : ในการดำเนินการสู่ AEC อาเซียนได้มีมาตรการเร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา ได้แก่ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ไม้ ยางพารา สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ท่องเที่ยว และการบิน ซึ่งไทยได้รับมอบหมายให้เป็นแกนนำในสาขาท่องเที่ยวและการบิน
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการสาขาต่าง ๆ และตกลงที่จะจัดทำ Roadmap สำหรับการดำเนินงานในแต่ละสาขาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยเร็ว ทั้งนี้ ในสาขาการบินที่ไทยรับผิดชอบ ไทยและสิงคโปร์จะเป็นประเทศนำร่องลงนามความตกลงเปิดเสรีเที่ยวบินขนส่งเฉพาะสินค้า (Cargo Open Skies Agreement) ระหว่างกันในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ซึ่งจะทำให้การขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างสองประเทศสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นสนใจ ก็สามารถขอร่วมความตกลงดังกล่าวได้ในภายหลัง
3. การจัดตั้งกลไกระงับข้อพิพาทและหน่วยงานกำกับดูแลแก้ไขปัญหา
การค้าการลงทุนของอาเซียน : รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนเห็นชอบขอบเขตอำนาจหน้าที่ (TOR) ของหน่วยงานแก้ปัญหาการค้า การลงทุนของอาเซียน (ASEAN Consultation to Solve Trade and Investment Issues : ACT) ซึ่งจะเป็นหน่วยงานกลางที่แต่ละประเทศจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ประสานและให้คำปรึกษาแก่ภาคเอกชนและภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการค้าภายในอาเซียนและเห็นชอบให้หน่วยงานดังกล่าว เริ่มปฏิบัติการและประเมินผลการดำเนินงานโดยเร็วที่สุดภายใน 1 ปี นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียนดำเนินการแก้ไขร่างความตกลงเกี่ยวกับกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียนโดยเร็ว เพื่อเสนอรัฐมนตรีลงนามในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 36 ในเดือนกันยายน 2547 ณ ประเทศอินโดนีเซีย
การหารือทวิภาคีไทย-เวียดนาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) ได้หารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีการค้าเวียดนาม (Mr. Truong Dinh Tuyen) สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. การฟ้องทุ่มตลาดกุ้งของสหรัฐฯ : ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างใกล้ชิด ในกรณีที่สหรัฐฯ ฟ้องทุ่มตลาดกุ้งไทยและเวียดนาม ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งว่า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบในเรื่องนี้ พร้อมกันนี้ ฝ่ายไทยได้หารือกับภาคเอกชนในเรื่องนี้แล้ว และพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าวกับเวียดนาม
2. โครงการ Economic Cooperation Strategy (ECS) : เวียดนามได้สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ ECS ซึ่งฝ่ายไทยได้ชี้แจงว่า เป็นโครงการเพื่อช่วยยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว พม่า และกัมพูชา เนื่องจากเห็นว่า การพัฒนาของประเทศเหล่านี้ จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทั้งของไทยและอาเซียน และไทยก็ยินดีหากเวียดนามมีความประสงค์จะร่วมมือกับไทย ในการให้ความช่วยเหลือกับประเทศเหล่านี้
3. การประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-เวียดนาม : ฝ่ายเวียดนามได้แจ้งถึงหัวข้อที่สนใจหารือในการประชุมความร่วมไทย-เวียดนาม ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ได้แก่ การส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับเวียดนาม และโครงการพัฒนาความร่วมมือใน ลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ซึ่งฝ่ายไทยเห็นชอบกับหัวข้อดังกล่าวและแจ้งว่า จะมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานกับฝ่ายเวียดนามต่อไป
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775--จบ--
-พห-