สาร ส.ส.ฉบับที่ ๕๖ วันที่ ๒๖ มกราคม - ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗

ข่าวการเมือง Monday January 26, 2004 09:01 —รัฐสภา

=   เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรวางพวงมาลา
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
พร้อมด้วยข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นำพวงมาลาถวายราชสักการะสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในนาม
"สภาผู้แทนราษฎร" ณ พระบรมราชานุสรณ์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
= ประธานคณะกรรมการบริการข้อมูลข่าวสาราชการฯ ศึกษาดูงาน
วันอังคารที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นางอุมาสีว์ สอาดเอี่ยม
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประธานคณะกรรมการบริการข้อมูลข่าวสารของราชการในสำนักงาน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และเจ้าหน้าที่กลุ่มงานข้อมูลข่าวสารของราชการ ศึกษาดูงานและฟังบรรยายพิเศษ
เรื่อง "บทบาทหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และการดำเนินงานของศูนย์สารสนเทศตลาดทุน"
ณ ห้องประชุมสมภพ โตระกิตย์ ชั้น ๔ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
= มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ส.ส. ผู้ปฏิบัติหน้าที่ดีเด่น
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร มีดำริให้มีพิธี
มอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ปฏิบัติหน้าที่ดีเด่นในฐานะสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรผู้เข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรทุกครั้ง โดยไม่เคยขาดหรือลาการประชุม ในการประชุม
สภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญทั่วไป สมัยวิสามัญ และสมัยสามัญนิติบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๔๖ ในวันพุธที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑ โดยมีสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรที่เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณทั้งสิ้น ๑๖๔ คน
๑. นางกอบกุล นพอมรบดี ๒๓. นายชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม
๒. นางกันตวรรณ กุลจรรยาวิวัฒน์ ๒๔. นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์
๓. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ๒๕. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
๔. นายก่ำชุง ประภากรแก้วรัตน์ ๒๖. นายไชยา พรหมา
๕. นายกิตติ สมทรัพย์ ๒๗. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๖. พันจ่าอากาศโท กิตติคุณ นาคะบุตร ๒๘. นาวาโท เดชา สุขารมณ์
๗. นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ ๒๙. นายถวิล ฤกษ์หร่าย
๘. นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท ๓๐. นายถาวร ตรีรัตน์ณรงค์
๙. นายโกเมศ ขวัญเมือง ๓๑. นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย
๑๐. นายคงกฤช หงษ์วิไล ๓๒. นายทรงศักดิ์ ทองศรี
๑๑. นางคมคาย พลบุตร ๓๓. นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์
๑๒. นายคำรณ ณ ลำพูน ๓๔. นายทองดี มนิสสาร
๑๓. นายจตุพร เจริญเชื้อ ๓๕. นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ
๑๔. นายจองชัย เที่ยงธรรม ๓๖. นายธวัชชัย อนามพงษ์
๑๕. นายจักริน พัฒน์ดำรงจิตร ๓๗. นายนคร มาฉิม
๑๖. นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ๓๘. นายนพคุณ รัฐผไท
๑๗. นายจำนงค์ โพธิสาโร ๓๙. นายนริศ ขำนุรักษ์
๑๘. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ๔๐. นายนริศร ทองธิราช
๑๙. นายชลน่าน ศรีแก้ว ๔๑. นายนิทัศน์ ศรีนนท์
๒๐. นายชวลิต มหาจันทร์ ๔๒. นายนิมิตร นนทพันธาวาทย์
๒๑. นายชัยวัฒน์ กุลศักดิ์วิมล ๔๓. นายนิสิต สินธุไพร
๒๒. นายชาญชัย ปทุมารักษ์ ๔๔. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์
๔๕. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ๗๕. นายไพศาล จันทวารา
๔๖. นายบุญพันธ์ แขวัฒนะ ๗๖. นางฟาริดา สุไลมาน
๔๗. นายบุญถึง ผลพานิชย์ ๗๗. นายภิญโญ นิโรจน์
๔๘. นางบุญรื่น ศรีธเรศ ๗๘. นายภิมุข สิมะโรจน์
๔๙. นายบุญลือ ประเสริฐโสภา ๗๙. นายมงคล กิมสูนจันทร์
๕๐. นายบุญส่ง ไข่เกษ ๘๐. นางมยุรา มนะสิการ
๕๑. นายปกิต พัฒนกุล ๘๑. นายมานพ จรัสดำรงนิตย์
๕๒. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๘๒. นายมานิตย์ สังข์พุ่ม
๕๓. นายประจวบ อึ๊งภากรณ์ ๘๓. นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์
๕๔. นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ๘๔. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล
๕๕. นายประทวน เขียวฤทธิ์ ๘๕. นายรณฤทธิชัย คานเขต
๕๖. นายประทีป กรีฑาเวช ๘๖. นาวาอากาศโท รวยลาภ เอี่ยมทอง
๕๗. นางประไพพรรณ เส็งประเสริฐ ๘๗. นายระวี หิรัญโชติ
๕๘. พันตำรวจเอก ปรีดี เจริญศิลป์ ๘๘. นางสาวรังสิมา รอดรัศมี
๕๙. นายประวิช นิลวัชรมณี ๘๙. พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร
๖๐. นายประศาสตร์ ทองปากน้ำ ๙๐. นางสาวเรวดี รัศมิทัต
๖๑. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ ๙๑. นายเรวัต สิรินุกุล
๖๒. นายประสานต์ บุญมี ๙๒. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ
๖๓. นายประสิทธิ์ จันทาทอง ๙๓. นางลาวัณย์ ตันติกุลพงศ์
๖๔. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ๙๔. นายวรวุฒิ ภุมมะกาญจนะ
๖๕. นายประเสริฐ บุญเรือง ๙๕. นายวัชรา ณ วังขนาย
๖๖. นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ ๙๖. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๖๗. นายพงศกร อรรณนพพร ๙๗. นายวัลลภ สุปริยศิลป์
๖๘. ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย ๙๘. นายวิชาญ มีนชัยนันท์
๖๙. นายพงษ์พิช รุ่งเป้า ๙๙. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล
๗๐. นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ ๑๐๐. นายวิทยา ทรงคำ
๗๑. นายพ้อง ชีวานันท์ ๑๐๑. นายวิทยา บุรณศิริ
๗๒. นางพิชญ์สินี มุ่งฝากกลาง กิตติรักษกุล ๑๐๒. นายวินัย เสนเนียม
๗๓. นายพิชาญ พิบูลย์วัฒนวงษ์ ๑๐๓. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๗๔. นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร ๑๐๔. นายวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์
๑๐๕. นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา ๑๓๕. นายสุชน ชามพูนท
๑๐๖. นายวิสันต์ เดชเสน ๑๓๖. นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์
๑๐๗. นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ๑๓๗. นายสุชาติ บรรดาศักดิ์
๑๐๘. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ๑๓๘. นายสุชาย ศรีสุรพล
๑๐๙. พลตรี ศรชัย มนตริวัต ๑๓๙. นายสุทิน คลังแสง
๑๑๐. นายศิริ หวังบุญเกิด ๑๔๐. นายสุธา ชันแสง
๑๑๑. นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย ๑๔๑. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์
๑๑๒. นายศุภรักษ์ ควรหา ๑๔๒. นายสุพล ฟองงาม
๑๑๓. นายสงกรานต์ คำพิไสย์ ๑๔๓. ว่าที่ร้อยตรี สุเมธ ฤทธาคนี
๑๑๔. นายสงวน พงษ์มณี ๑๔๔. นายสุรชัย เบ้าจรรยา
๑๑๕. นายสถาพร มณีรัตน์ ๑๔๕. นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์
๑๑๖. นายสนั่น สบายเมือง ๑๔๖. นายสุรศักดิ์ นาคดี
๑๑๗. นายสมควร โอบอ้อม ๑๔๗. นายสุวรรณ กู้สุจริต
๑๑๘. นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ ๑๔๘. นายสุวโรช พะลัง
๑๑๙. พันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ ๑๔๙. นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ
๑๒๐. นายสมชาย สหชัยรุ่งเรือง ๑๕๐. นายสฤต สันติเมทนีดล
๑๒๑. นายสมบัติ รัตโน ๑๕๑. พันตำรวจโท อดุลย์ บุญเสรฐ
๑๒๒. นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์ ๑๕๒. นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน
๑๒๓. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ๑๕๓. จ่าสิบเอก อนันต์ สุขสันต์
๑๒๔. นายสมศักดิ์ วรคามิน ๑๕๔. นางสาวอรดี สุทธศรี
๑๒๕. นางสลิลทิพย์ ชัยสดมภ์ ๑๕๕. นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์
๑๒๖. นายสัญชัย วงษ์สุนทร ๑๕๖. นายอำนวย คลังผา
๑๒๗. นายสันทัด จีนาภักดิ์ ๑๕๗. นายอิทธิ ศิริลัทธยากร
๑๒๘. นายสากล ม่วงศิริ ๑๕๘. นายอิทธิเดช แก้วหลวง
๑๒๙. นายสาธิต ปิตุเตชะ ๑๕๙. นายอิทธิพล คุณปลื้ม
๑๓๐. นายสานิต ว่องสัธนพงษ์ ๑๖๐. นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์
๑๓๑. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๖๑. นายเอกธนัช อินทร์รอด
๑๓๒. นายสิน กุมภะ ๑๖๒. นายเอกพจน์ ปานแย้ม
๑๓๓. นายสินิตย์ เลิศไกร ๑๖๓. นายเอนก ทับสุวรรณ
๑๓๔. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ๑๖๔. นายเอนก หุตังคบดี
= ประธานวุฒิสภาลาออก
พลตรีมนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา มีหนังสือกราบบังคมทูลขอลาออกจากตำแหน่งประธานวุฒิสภา
ตั้งแต่วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป เป็นเหตุให้พ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๕๒ วรรคสอง (๒) ซึ่งประธานวุฒิสภาได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ดำรงตำแหน่งตามความในมาตรา ๑๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ตั้งแต่
วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๔ รวมเวลาในการดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา เป็นระยะเวลา ๒ ปี ๙ เดือน ๔ วัน
ตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาและการบริหารงานสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
ได้สร้างผลงานไว้มากมาย อาทิ การวิจัยเรื่อง อุดมการณ์ประชาธิปไตยของสมาชิก
รัฐสภา ซึ่งเป็นผลการวิจัยที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทาง
การเมืองการปกครอง การบริหาร การวางแผนพัฒนาบุคลากร องค์กร และระบบทางการเมืองของ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สำหรับผลงานด้านการบริหารได้เคยแสดงวิสัยทัศน์ไว้ว่า
สำนักงานประธานวุฒิสภา เป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
ที่ปฏิบัติงานด้านเลขานุการ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้กับประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา
ตามโครงสร้างใหม่ ข้าราชการในสำนักงาน ประธานวุฒิสภาเป็นกลไกหลักสำคัญในการรองรับภารกิจ
ต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งการดำเนินการนั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายใน
สำนักงานประธานวุฒิสภา เพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งการปฏิบัติภารกิจให้บรรลุ
วัตถุประสงค์และเป็นไปอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องมีการพัฒนา เพิ่มพูน
ความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ทุกระดับ รวมทั้งจะต้องมีการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีศักยภาพและมี
ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการตอบรับกับภารกิจของวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ดังนั้น การที่จะทำให้ภารกิจดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์จะต้องประกอบด้วย
ประการที่หนึ่ง ข้าราชการในสำนักงาน ประธานวุฒิสภา จะต้องรู้ถึงบทบาท
หน้าที่เกี่ยวกับงานด้านเลขานุการเป็นอย่างดี และต้องมีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นระบบ
ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว
ประการที่สอง ข้าราชการในสำนักงาน ประธานวุฒิสภา จะต้องตระหนักและ
เข้าใจถึงภาระหน้าที่งานการให้บริการในรูปแบบต่าง ๆ อีกทั้งต้องเข้าใจนโยบายและความมุ่งหมายของหน่วยงาน
เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ประการที่สาม ข้าราชการในสำนักงาน ประธานวุฒิสภา จะต้องเป็นผู้ที่มีความ
แม่นยำในหลักการที่เกี่ยวกับงานที่ต้องปฏิบัติ มีความคิดริเริ่ม และวิสัยทัศน์ในการทำงาน มีการทำงานเป็นทีม
เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน อันนำไปสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะปฏิบัติงาน
ภายหลังจากตำแหน่ง "ประธานวุฒิสภา" ว่างลง ทางวุฒิสภาจะมีการเลือกประธาน
วุฒิสภาคนใหม่ เมื่อมีการเปิดสมัยประชุมครั้งต่อไป ซึ่งสมัยประชุมครั้งต่อไปจะเป็นสมัยสามัญทั่วไป
โดยจะมีขึ้นระหว่างวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ - ๕ มิถุนายน ๒๕๔๗
= กรรมาธิการการแรงงานยืนยันแรงงานต่างด้าวไม่เกิน ๕ แสนคน
ที่รัฐสภา เวลา ๑๔.๑๕ นาฬิกา วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๗ ภายหลังจากการประชุม
เรื่องการติดตามมติที่ประชุมใหญ่รัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ ๒๔ นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ ประธาน
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้แถลงถึงผลการประชุมดังกล่าวว่า ที่ประชุมได้
มอบหมายให้คณะกรรมาธิการการแรงงานติดตามการทำงานทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติงาน
โดยสรุปมติที่ประชุมได้ดังนี้
๑. กำหนดจำนวนแรงงานต่างด้าวระหว่างปี ๒๕๔๗ -๒๕๕๐ ไม่เกินปีละ ๕ แสนคน
เพื่อให้การคุ้มครองแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเป็นไปตามอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศและ
กฎหมายคุ้มครองแรงงานของไทย ซึ่งปัจจุบันมีการจดทะเบียนอยู่ ๒.๘ แสนคน ดังนั้น จะเพิ่มได้ไม่เกิน
๒ แสนคน
๒. ให้กระทรวงแรงงานเสนอคณะรัฐมนตรีจัดทำแผนคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าว
โดยมอบให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพในการดูแล เพื่อไม่ให้ประเทศไทยถูก
กล่าวหาและประณาม ตลอดจนการกีดกันการค้าทางด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิด้านแรงงาน
๓. เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาแรงงานต่างด้าวและหนีเข้าเมืองในปลายประเทศ อาทิ
บังคลาเทศ อินเดีย แอฟริกาบางประเทศ และยุโรปตะวันออกบางประเทศ คณะกรรมาธิการจึงได้มีมติ
ให้กระทรวงแรงงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจัดเตรียมข้อมูล เพื่อมาชี้แจงต่อ
คณะกรรมาธิการในคราวหน้า
ทั้งนี้ ผลสรุปของการศึกษาและแนวทางการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย
เป็นอย่างไรนั้น คณะกรรมาธิการจะนำเสนอประธานรัฐสภาเพื่อรายงานต่อที่ประชุมรัฐสภาอาเซียน
ครั้งที่ ๒๕ ในกลางปี ๒๕๔๗ ต่อไป
= กรรมาธิการการพลังงานจัดคอนเสิร์ตฟรี
นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร
เปิดเผยถึงการจัดโครงการ "พลังไทย ร่วมใจประหยัดพลังงาน กรรมาธิการการพลังงานพบประชาชน"
ได้เห็นว่าในสภาวะปัจจุบันการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันของประชาชนมีราคาสูงและแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาก
เป็นผลจากการเพิ่มของจำนวนประชากรและความเจริญทางเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดพฤติกรรม
การใช้พลังงานเกินความจำเป็นไร้ขีดจำกัด เพื่อสนองตอบความต้องการ ทำให้สูญเสียเงินมหาศาลและ
ประชาชนต้องซื้อหาพลังงานในราคาสูง คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร จึงอนุมัติ
โครงการฯ เพื่อรณรงค์ให้ข้อมูลข่าวสารความรู้ที่ถูกต้องด้านการประหยัดพลังงานกับประชาชน รวมทั้ง
การสร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์พลังงานของชาติแก่ประชาชนอย่างจริงจัง
ผ่านกิจกรรมและสื่อการแสดงที่สนุกสนาน สามารถเข้าถึงประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
ครอบคลุมทั้ง ๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ โดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ที่มีนโยบายในการสนับสนุนการประหยัดพลังงานเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการฯ อันเป็นประโยชน์
ต่อประชาชนคนไทยทั้งประเทศ โดยจะมีพิธีเปิดมหกรรมฟรีคอนเสิร์ต "พลังไทยร่วมใจประหยัดพลังงาน"
ครั้งที่ ๑ ณ ลานเอนกประสงค์ศูนย์เยาวชนสะพานพระราม ๘ (ฝั่งธนบุรี) ในวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๗
โดย ฯพณฯ อุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธี และศิลปินที่ทำการแสดง
คือ จินตหรา พูนลาภ พร้อมทั้งดารานักร้อง นักแสดง และวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญที่จะให้ข้อมูลด้าน
การประหยัดพลังงานตลอดการแสดง นอกจากนี้ยังมีการจัดพิมพ์หนังสือครอบครัวประหยัดพลังงาน
แจกจ่ายประชาชนฟรีและโครงการนี้จะสัญจรไปจังหวัดต่าง ๆ ทั้ง ๗๖ จังหวัด จึงขอเชิญพี่น้องประชาชน
มารับชมฟรีและรับแจกหนังสือประหยัดพลังงานเพื่อไปเป็นแนวทางในการประหยัดพลังงานในชีวิต
ประจำวันต่อไป และขอเชิญหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่จะร่วมสนับสนุนโครงการติดต่อได้ที่
ศูนย์ประสานงานโครงการฯ โทร. ๐ ๒๕๐๙ ๐๖๑๙
= สำนักงานฯ เตรียมพร้อมเข้าโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด
สำนักงานเลขานุการ ก.ร. ได้รับทราบมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคน
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยมาตรการดังกล่าวเป็นผลมาจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๖
เพื่อสนองต่อนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาระบบราชการ จึงได้มีการกำหนดให้มีมาตรการ ตามลักษณะ
ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๓ ข้อด้วยกัน ได้แก่
มาตรการที่ ๑ : มาตรการสนับสนุนผู้ประสงค์จะเริ่มอาชีพใหม่นอกระบบราชการ
มาตรการที่ ๒ : มาตรการสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับระบบราชการ
มาตรการที่ ๓ : มาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อออกนอกระบบราชการ
(ร้อยละ ๕ ของจำนวนข้าราชการทั้งหมดในส่วนราชการ)
ในส่วนของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา นั้น สำนักงานเลขานุการ ก.ร. ได้เตรียมให้ผู้ที่สนใจ
สามารถเข้าร่วมในโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ตามมาตรการที่ ๑ เท่านั้น โดยรายละเอียด
ของมาตรการที่ ๑ มีดังนี้ คือ
เป็นมาตรการสนับสนุนผู้ประสงค์จะเริ่มอาชีพใหม่นอกระบบราชการ
หรือมาตรการชีวิตเริ่มต้นเมื่ออายุ ๕๐ ปี ซึ่งมาตรการนี้เป็นมาตรการจูงใจสำหรับผู้ที่มีอายุ ๕๐ ปีขึ้นไป
(อายุ ๔๕ ปีขึ้นไปสำหรับข้าราชการทหาร) หรือผู้ที่มีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบ ๒๕ ปี
(ไม่รวมเวลาราชการทวีคูณ) และมีเวลาราชการเหลือไม่น้อยกว่า ๑ ปี โดยมีเป้าหมายเน้นการบริหาร
กลุ่มนักบริหารระดับสูง ระดับกลาง กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ความรู้ด้านวิชาชีพ และกลุ่ม
ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้สมรรถนะทางกาย เช่น กลุ่มงานธุรการหรือบริการทั่วไป ที่สมัครใจจะออกไป
เริ่มต้นประกอบอาชีพใหม่ด้วยความมั่นใจอย่างมั่นคง ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ จะได้มีการนำมาเสนอต่อไป
= สำรวจความพึงพอใจในเวลาการปฏิบัติงานของข้าราชการ
ตามประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและ
วันหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งประกาศไว้ ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙
ได้กำหนดเวลาทำงานของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา โดยให้เริ่มทำงานตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ นาฬิกา
ทั้งนี้ หากประธานรัฐสภาเห็นสมควรให้กำหนดเวลาทำงานหรือวันหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
เป็นอย่างอื่น เพื่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานของรัฐสภาหรือให้สอดคล้องกับกำหนดเวลาทำงานหรือ
วันหยุดราชการของทางราชการทั่วไป ก็สามารถสั่งแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ โดยต้องรายงานให้
คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา หรือ ก.ร. ทราบ นั้น
ในการนี้ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้มีความประสงค์ให้ปรับปรุงการบริหารจัดการ
องค์กรในเรื่องเวลาการปฏิบัติงาน เพื่อให้ข้าราชการและลูกจ้างเกิดความพึงพอใจและได้รับความสะดวกสบาย
ในการเดินทางมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
โดยทางสำนักพัฒนาบุคลากรได้จัดทำแบบสอบถามสำรวจความพึงพอใจในเวลาการปฏิบัติงานของ
ข้าราชการและลูกจ้าง พร้อมกับให้ข้าราชการได้เลือกเวลาการปฏิบัติงานในช่วงเวลาที่สะดวกอีกด้วย
ทั้งนี้ สำนักพัฒนาบุคลากรจะได้นำผลสรุปของการสำรวจดังกล่าวรายงานต่อเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎรเพื่อรับทราบและนำเสนอต่อประธานรัฐสภาเพื่อพิจารณาต่อไป
= แต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๖ พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ ได้รับพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามคำแนะนำของวุฒิสภา
ซึ่งที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ที่ผ่านมา โดยพลตำรวจโท วิเชียรโชติ
สุกโชติรัตน์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน พลโท สวัสดิ์ ออรุ่งโรจน์ ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง
เนื่องจากครบวาระ
พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ จบการศึกษา :-
- ปริญญาตรีรัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- ปริญญาโท (กระบวนการยุติธรรม) สหรัฐอเมริกา
- ปริญญา (อาชญาวิทยา) สหรัฐอเมริกา
- ประกาศนียบัตรบริหารชั้นสูงระหว่างประเทศ ออสเตรเลีย
- ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๓๘
และก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ ปปช. เคยดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงยุติธรรม
หน้าที่ของคณะกรรมการ ปปช. คือตรวจสอบการทุจริตและประพฤติมิชอบของ
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการประจำ และตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดให้
คณะกรรมการ ปปช. เป็นองค์กรอิสระประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการ ๑ คน และกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก ๘ คน ซึ่งแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของวุฒิสภา มีวาระในการดำรง
ตำแหน่ง ๙ ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวเท่านั้น
= การฝึกเตรียมความพร้อมสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยกรณีเกิดเหตุ
ไฟไหม้
รัฐสภาเป็นศูนย์รวมการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนปวงชนชาวไทย อีกทั้งยังเป็นที่ประชุม
ของบุคคลสำคัญและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถของประเทศ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้การดูแล
และป้องกันไม่ให้มีอันตรายเกิดขึ้น ซึ่งสำนักรักษาความปลอดภัยนับเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
โดยตรงและมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการรักษาความปลอดภัย ทั้งนี้ผู้ที่จะสามารถปฏิบัติงาน
ในด้านรักษาความปลอดภัยได้นั้น จำเป็นจะต้องมีความรู้ในหลักวิชาการและต้องฝึกฝน เพื่อสร้าง
ความชำนาญให้เกิดขึ้นในหน้าที่ตลอดจนต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็ง สมบูรณ์ มีสติ
และรู้ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น
ดังนั้น สำนักพัฒนาบุคลากร จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร "การฝึกเตรียม
ความพร้อมสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยกรณีเกิดเหตุไฟไหม้" ให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านรักษาความปลอดภัย
ในวันอังคารที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๗ เวลา ๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุม
คณะกรรมาธิการหมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒ และมีการฝึกปฏิบัติจำลองเหตุการณ์
ไฟไหม้ ณ ห้องประชุมรัฐสภา อาคารรัฐสภา ๑ โดยนายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมดังกล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ