แท็ก
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
กรมส่งเสริมการส่งออก
ธนาคารนครหลวงไทย
ธนาคารกรุงไทย
Trade
นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการส่งออกและธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ ธสน. ธนาคารกรุงไทย ธนาคารนครหลวงไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เพื่อให้การสนับสนุนทางการเงินแก่นักธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ Intertrader ของกระทรวงพาณิชย์
กรรมการผู้จัดการ ธสน. เปิดเผยว่าโครงการ Intertrader เป็นโครงการใหม่ที่กระทรวงพาณิชย์ริเริ่มขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2546 เพื่อสร้างนักธุรกิจส่งออกรายใหม่และสนับสนุนให้ผู้ส่งออกขยายปริมาณการค้าในตลาดเก่าและขยายตลาดการค้าไปยังตลาดใหม่ๆ ภายใต้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ อาทิ การจัดฝึกอบรมและสัมมนาเพื่อเสริมสร้างกลยุทธ์ การสนับสนุนข้อมูลการค้าระหว่างประเทศในเชิงลึก การประชาสัมพันธ์โครงการทั้งในและต่างประเทศ การจัดให้ผู้ส่งออกได้พบและเจรจากับผู้ผลิตโดยตรง รวมทั้งการส่งเสริมการขยาายตลาดต่างประเทศด้วยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและร่วมกับคณะรัฐบาลในการเดินทางไปเจรจาการค้า เป็นต้น โดยในส่วนของ ธสน. จะทำหน้าที่ดูแลและวิเคราะห์สินเชื่อเพื่อให้การสนับสนุนทางด้านการเงินและเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการที่เข้า ร่วมโครงการ ศึกษาวิธีวิธีการใหม่ๆ เงื่อนไขและแนวทางที่จะอำนวยประโยชน์แก่นักธุรกิจ Intertrader อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนอกจากนี้ ธสน. ยังจะร่วมมือกับกรมส่งเสริมการส่งออกในการพัฒนาระบบเครือข่ายและข้อมูลทางการค้าทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการทำธุรกิจระหว่างประเทศแก่ผู้ที่เข้าร่วมโครงการนี้ เพื่อให้สมดังเจตนารมณ์ของกระทรวงพาณิชย์ในการดำเดินนโยบายเชิงรุกเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยอาศัยความได้เปรียบด้านประสิทธิภาพทางการผลิต (Productivity) และการสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการ (Defferentiation) แทนการแข่งขันด้วยทรัพยากรซึ่งนับวันจะมีข้อจำกัดมากขึ้น
สำหรับในเบื้องต้นกลุ่มสินค้าที่กระทรวงพาณิชย์จะเร่งให้การส่งเสริม ได้แก่ กลุ่มสินค้าอาหารและเกษตร กลุ่มสินค้าของใช้ตกแต่งบ้าน กลุ่มสินค้าแฟชั่นและเครื่องประดับ และกลุ่มสินค้าส่งออกอื่นๆ ที่ปัจจุบันผู้นำเข้ายังไม่ค่อยสนใจนัก
ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ Intertrader และสนใจใช้บริการทางการเงินของ ธสน. สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักพัฒนาบริการลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 0 2271 3700 หรือ 0 2617 2111 ต่อ 1541-4
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2547--
-นท/พห-
กรรมการผู้จัดการ ธสน. เปิดเผยว่าโครงการ Intertrader เป็นโครงการใหม่ที่กระทรวงพาณิชย์ริเริ่มขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2546 เพื่อสร้างนักธุรกิจส่งออกรายใหม่และสนับสนุนให้ผู้ส่งออกขยายปริมาณการค้าในตลาดเก่าและขยายตลาดการค้าไปยังตลาดใหม่ๆ ภายใต้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ อาทิ การจัดฝึกอบรมและสัมมนาเพื่อเสริมสร้างกลยุทธ์ การสนับสนุนข้อมูลการค้าระหว่างประเทศในเชิงลึก การประชาสัมพันธ์โครงการทั้งในและต่างประเทศ การจัดให้ผู้ส่งออกได้พบและเจรจากับผู้ผลิตโดยตรง รวมทั้งการส่งเสริมการขยาายตลาดต่างประเทศด้วยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและร่วมกับคณะรัฐบาลในการเดินทางไปเจรจาการค้า เป็นต้น โดยในส่วนของ ธสน. จะทำหน้าที่ดูแลและวิเคราะห์สินเชื่อเพื่อให้การสนับสนุนทางด้านการเงินและเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการที่เข้า ร่วมโครงการ ศึกษาวิธีวิธีการใหม่ๆ เงื่อนไขและแนวทางที่จะอำนวยประโยชน์แก่นักธุรกิจ Intertrader อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนอกจากนี้ ธสน. ยังจะร่วมมือกับกรมส่งเสริมการส่งออกในการพัฒนาระบบเครือข่ายและข้อมูลทางการค้าทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการทำธุรกิจระหว่างประเทศแก่ผู้ที่เข้าร่วมโครงการนี้ เพื่อให้สมดังเจตนารมณ์ของกระทรวงพาณิชย์ในการดำเดินนโยบายเชิงรุกเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยอาศัยความได้เปรียบด้านประสิทธิภาพทางการผลิต (Productivity) และการสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการ (Defferentiation) แทนการแข่งขันด้วยทรัพยากรซึ่งนับวันจะมีข้อจำกัดมากขึ้น
สำหรับในเบื้องต้นกลุ่มสินค้าที่กระทรวงพาณิชย์จะเร่งให้การส่งเสริม ได้แก่ กลุ่มสินค้าอาหารและเกษตร กลุ่มสินค้าของใช้ตกแต่งบ้าน กลุ่มสินค้าแฟชั่นและเครื่องประดับ และกลุ่มสินค้าส่งออกอื่นๆ ที่ปัจจุบันผู้นำเข้ายังไม่ค่อยสนใจนัก
ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ Intertrader และสนใจใช้บริการทางการเงินของ ธสน. สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักพัฒนาบริการลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 0 2271 3700 หรือ 0 2617 2111 ต่อ 1541-4
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2547--
-นท/พห-