(ต่อ 2) การจัดการ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 27, 2004 15:34 —กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

                   บทสรุป "การจัดนิทรรศการเผยแพร่หรือแสดงสินค้า"
ปัจจุบันถือเป็นสูตรหรือกลยุทธ์ ที่ส่งเสริมการขายอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นกระบวนการวิเคราะห์การตลาดได้ชัดเจนและรวดเร็ว ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจติดต่อการค้าการลงทุน อาทิ สินค้าเป็นอย่างไร เป็นที่ต้องการของตลาดมากน้อยแค่ไหน มีจุดบกพร่องต้องแก้ไขในเรื่องใด เช่น ราคา คุณภาพ ขนาด รสชาติ บรรจุภัณฑ์ ตลอดทั้งการบริการ เป็นต้น
นอกจากนี้การจัดนิทรรศการยังสร้างโอกาส ให้คุณได้พบกับลูกค้าที่เหมาะสม หากคุณสามารถวางแผนสร้างนักการขายที่มีความสามารถ มีปฏิภาร ไหวพริบ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รับผิดชอบที่ดี สามารถสร้างบรรยากาศภายในร้านให้มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ไม่ว่าร้านจะว่างหรือไม่มีคนเข้ามาติดต่อก็ตาม ต้องแสดงให้เห็นว่าร้านคุณมีงานตลอดเวลา เช่น การเช็คหรือทำบัญชีสินค้า การจัดเปลี่ยนมุมแสดงสินค้าใหม่ นอกจากนี้การดำเนินการให้บริการด้วยวิธีต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นศรัทธา ให้เกิดกับ สินค้า องค์กร และพนักงานขายในที่สุด การแสดงสินค้าไม่จำเป็นต้องการยอดขายเท่านั้น แต่ต้องการได้คำสั่งซื้อจากลูกค้าหรือเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้า องค์กร ตลอดทั้งเป็นการตรวจสอบสภาวะด้านการตลาดของสินค้าโดยรวม
ธุรกิจการตลาดจะเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์และรวดเร็ว
ต่อเมื่อกรณี
"ผู้ซื้อและผู้ขายได้มีและทราบข่าวสารข้อมูลการค้าซึ่งกันและกันอย่างครบถ้วน"
อาทิ จำนวนและระยะเวลาการผลิต รูปแบบและจุดเด่นของสินค้าราคาขาย ตลอดทั้งเงื่อนไขการค้าต่างๆ เป็นต้น
เพราะฉะนั้น ด้านการตลาดจึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่เน้น "การจัดการ" ด้านข่าวสารข้อมูลที่รวดเร็ว ถูกต้อง ชัดเจน แม่นยำ ด้วยเหตุผลที่ว่า
1. ลูกค้าจะรู้จักสินค้าด้วยวิธีใด
2. ลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าได้อย่างไร
ฉะนั้นจึงควรพิจารณาธุรกิจว่า
- ต้องดำเนินการอย่างไร
- สิ่งใดคือกระบวนการสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจ
- การจัดการเดินข้อมูลข่าวสารอย่างไร
"จึงจะดีที่สุด"
การสรุปการทำงาน
* เพื่อทบทวนให้แนวคิดแก้ไขข้อผิดพลาด หรือจุดอ่อนที่เกิดขึ้น
* สามารถวิเคราะห์ความสามารถของทีมงานให้เหมาะสมรวมถึงการตัดสินใจการปรับเปลี่ยน แผนงาน แผนคน และงบประมาณ
* เป็นการสรุปผลการทำงาน การสั่งงานและการติดตามงาน
เป้าหมายการออกแบบสินค้า
- ปรับปรุงสินค้าที่วางตลาดอยู่อย่างต่อเนื่องยั่งยืน
- เพื่อแสวงหาตลาดใหม่ๆ
- เพื่อชิงความได้เปรียบทางการค้า
"การแสดงสินค้า บรรลุเป้าหมายเพื่อการศึกษาแนวโน้มการตลาดมิได้มุ่งแต่ยอดขายเพียงอย่างเดียว"
เทคนิคการแก้ปัญหาด้วย 5 ร.
1. รอบรู้ ข้อมูล ข้อเท็จจริงของปัญหาที่แท้จริงว่าคืออะไร ที่ไหน เมื่อไร
2. รับฟัง ความคิดเห็น ข้อคิด ข้อเสนอแนะ จากหลายๆ ฝ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งความ
หลากหลายของข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อจะเห็นได้ชัดเจน ลึกและกว้าง
3. รอบคอบ นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณากลั่นกลองด้วยความรอบคอบ เพื่อความถูกต้อง
และชัดเจน ที่มีความเป็นไปได้สูงต่อการวางแผน แก้ไขปัญหา คน เงิน และเวลา
4. รวบรวม รวบรวมข้อมูลที่ได้ทั้งหมด ที่ผ่านการพิจารณา กลั่นกรองมา แล้ว นำมา
ผสมผสานเข้าสู่ทิศทางเดียวกันที่เป็นเอกภาพสู่ความสำเร็จในงาน
5. ริเริ่ม ริเริ่มจัดการด้านแผน คน เงิน งบประมาณ ด้วยหลักการ วิธีการ และ
ปฏิบัติการทันที
ปัจจัยเสริมสร้างการทำงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
1. สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
- สถานที่สะอาด สวยงาม ไม่แออัดอึกทึกอบอ้าว อากาศถ่ายเทได้ดี
- ลักษณะการทำงาน ไม่ซ้ำซากจำเจ จนเกินความเบื่อหน่าย มีการทำงานเป็นทีม ซึ่ง
มาจากความคิดเห็นร่วมกัน
2. สร้างแรงจูงใจ ให้สวัสดิการ ส่งเสริมผลงาน ความก้าวหน้าในอาชีพ สู่ทิศทางที่สูงขึ้น
3. ให้งานตรงกับความสามารถ ด้วยใจรัก
4. อำนวยความสะดวกในการทำงาน มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
5. สร้างให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมหรือเป็นเจ้าของผลงานเช่น รับฟังความคิดเห็นให้เกียรติ มีผลประโยชน์ร่วมมือให้โอกาสลงทุนร่วม เช่น ซื้อหุ้นหรือมอบหมาย อำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ
การช่องชิงผลประโยชน์ทางการค้า
(Competitive Advantage)ประกอบด้วยกลยุทธ์หลักๆ ดังนี้
1. กลยุทธ์การเป็นผู้นำทางด้านต้นทุน (Cost Leadership Strategy) ในกรณีที่ผลิตสินค้าซึ่งไม่แตกต่างกับคู่แข่งขันมากนัก ไม่ว่ารูปแบบ ประโยชน์ใช้สอยหรือการบริการ แต่มีการแข่งขันแย่งตลาดการค้าค่อนข้างสูง หลักการบริหารการผลิตโดยเฉพาะต้นทุน (Cost Management) ของสินค้าได้ต่ำกว่าคู่แข่งขัน คือผลิตอย่างไรให้ประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสามารถเพิ่มยอดขาย และสร้างผลกำไรได้มากกว่าคู่แข่งจึงเป็นสิ่งจำเป็น อาทิ เพิ่มกำลังการผลิตให้มีประสิทธิภาพขึ้นเพื่อลดความสูญเสียในการผลิตให้น้อยลง หรือใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์เต็มที่ เป็นต้น ส่วนมากจะเป็นสินค้าสำหรับกลุ่มผู้บริโภคโดยทั่วๆ ไป เช่นสบู่ ยาสีฟัน แชมพูสระผม เครื่องดื่ม เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ
2. กลยุทธ์สร้างความแตกต่างของสินค้า (Differentration Strategy) สินค้าประเภทนี้ส่วนมากจะมีเครื่องหมายการค้า (Brand Name) หรือเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ทางการค้า(Logo) ที่สามารถสร้างชื่อเสียง ความเชื่อถือ ในสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ หรือองค์กรหรือพนักงานขาย จึงเน้นการขาย โดยสร้างจุดเด่นให้กับตัวสินค้าหรือเทคนิคการบริการ ให้เหนือกว่าคู่แข่ง เน้นการผลิตสินค้าและบริการที่ "คนอื่นทำไม่ได้ หรือไม่อยากทำ" ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูงในการวิจัยด้านการออกแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ ตลอดทั้งเทคนิคการประชาสัมพันธ์ต่างๆ สินค้าประเภทนี้ เช่น แอร์ คอนดิชั่น รถยนต์ ปากกา เครื่องประดับ เครื่องสำอาง ยกตัวอย่าง นมสดตราหมี ของ บริษัทเนสท์เล่(ประเทศไทย) สร้างจุดเด่น คือ วางตำแหน่งสินค้าสูงในสายตากลุ่มลูกค้าเป็นสินค้าสำหรับสุขภาพ เพื่อผู้สูงอายุ ทำให้ได้รับยอดนิยม ซื้อเป็นของฝาก ของเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วย โดยเน้นบรรจุภัณฑ์ด้วยกระป๋องที่หุ้มด้วยกระดาษ ดูแล้วสะอาด กลยุทธ์ลักษณะนี้สามารถจะกำหนด ราคา หรือตัวสินค้าได้เป็นพิเศษ
3. กลยุทธ์เน้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Focs Strategy) กรณีนี้หากสามารถเข้าใจในพฤติกรรมลักษณะของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ จะเห็นว่ามีความแตกต่างในรสนิยม และอำนาจซื้ออย่างหลากหลาย ไม่มีที่สิ้นสุดจึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า "ช่องทางการตลาดนั้นมีอยู่เสมอ" ที่ท่านจะสร้างโอกาสให้กับตัวเองเข้าสู่ธุรกิจการลงทุนและตลาดหน้าใหม่ในอนาคตได้ไม่ยากนักในขั้นแรก ต้องประเมินศักยภาพสินค้าและบริการว่า สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใดได้บ้าง
โดยพิจารณาเพศ อายุ การศึกษา รายได้ รสนิยม และอื่นๆ เป็นตัวประกอบเช่น ความผันแปรทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและรวมเร็วในยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งกลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมายนี้บางบริษัทสามารถสร้างความเป็นเลิศและโอกาสเสริมสร้างธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในการผลิต รูปแบบ ต้นทุน และการตลาด เช่น บริษัทโฟร์โมสต์ ซึ่งมีชื่อเสียงที่ผู้บริโภคยอมรับในอาหารนม เป้าหมายตลาดวัยรุ่น สูงอายุ วัยเด็ก มีการพัฒนาสีสัน รูปแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ แต่งกลิ่นรสชาดใหม่ๆ อาทิ ลิ้นจี่ สัปปะรดหรือผลิตภัณฑ์อาหารพร่องมันเนย สำหรับผู้ใหญ่ ที่ต้องการลดไขมัน รักษาทรวดทรง หรือลดรปริมาณการบรรจุพออิ่มสำหรับเด็กเล็ก(คิตตี้) นอกจากนี้ ยังใช้กลยุทธ์ด้านบริการ สร้างภาพพจน์แจกและบริจาคนมให้กับเด็กผู้ด้อยโอกาสในสถาบันต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
สิ่งที่นักธุรกิจไม่ควรละเลย
1. ตรวจสอบบัญชีของตัวเอง เพื่อให้รู้ถึงสถานะทางการเงินสำหรับการวางแผน
- รายรับ รายจ่าย
- ทรัพย์สิน หนี้สิน
2. ใครคือลูกค้าของคุณ และใครคือผู้มีอำนาจในการซื้ออย่างแท้จริง
- ผู้จัดซื้อ
- ผู้บริโภค (เพศ อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ รสนิยม) เฉพาะผู้ที่ซื้อขั้นสุดท้ายเป็น
- พิเศษ
3. มีความรู้เกี่ยวกับลูกค้า
- เขาต้องการสินค้าหรือบริการอะไร
- เข้าต้องการนำเสนอในรูปแบบไหน ไม่ว่าการตั้งราคา จำนวน หรือปริมาณการ
ผลิต บรรจุภัณฑ์ การส่งมอบให้ถึงมือ อื่นๆ
- จังหวะ ช่วงเวลาต่างๆ ที่ลูกค้าจำเป็นและต้องการ
4. การรักษาลูกค้าให้มีความสุข
มนุษย์ย่อมมีความพอใจที่จะติดต่อบุคคลที่ตัวเองชอบ เช่น
- การให้ผลตอบแทนเป็นรางวัลพิเศษแก่ผู้จัดซื้อ หรือลูกค้า
- ให้ของกำนันที่มีราคาพิเศษและโอกาสพิเศษ
- เชิญรับประทานอาหารในบรรยากาศที่ดีเป็นบางครั้ง
- ที่สำคัญการให้บริการที่ดีมีประสิทธิภาพในการเสนอและสนองตอบด้านบริการสินค้าที่ดี มีคุณภาพตามที่เขาต้องการ ตลอดทั้งปริมาณสั่งซื้อยามที่เขาต้องการมันมากที่สุดเป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้สินค้าหรือบริการพร้อมที่จะขายต้องสามารถทำงานร่วมกันกับนักปฏิบัติการที่ดี
5. สามารถสร้างลูกค้าได้ด้วยตัวเอง
ผู้ซื้อมืออาชีพนั้น ไม่จำเป็นต้องรู้คำตอบไปเสียทุกเรื่องดังนั้น นักการตลาดจึงต้องสามารถเรียนรู้ และประเมินความต้องการของตลาดได้ทุกเรื่องเช่นเดียวกัน
หมายเหตุ เมือสถานะการลูกค้าเริ่มอ่อนแอลง จงช่วยเหลืออย่าให้ลูกค้าถึงกับสูญเสียธุรกิจ เพราะหมายถึงคุณต้องสูญเสียธุรกิจของตนเองด้วย ในวิถีธุรกิจอันตรายย่อมอาจมีได้ทุกเมื่อไม่ว่ากรณีการเสื่อมถอย หรือแนวโน้มทางธุรกิจตกต่ำ หรือมีความรุ่งโรจน์ต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบยิ่งไม่ควรตื่นตระหนก หรือดีใจจนเกินเหตุอย่างมีสติ สัมปชัญญะ
6. รู้จักป้องกันสินค้าของคุณ
เช่น จดทะเบียนการค้าหรือสิทธิบัตรเพื่อไม่ให้ถูกแย่งชิงหรือขโมยไป การป้องกันสมองไหลของบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษ ควรจะมีการเสนอสิ่งเร้าใจ เช่น การให้ตำแหน่งความก้าวหน้าสูงขึ้น แบ่งปันผลประโยชน์จนเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย ไม่เอารัดเอาเปรียบเพื่อให้เขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
7. มีนโยบายการตั้งราคาที่เหมาะสม
การตั้งราคาเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงเพื่อให้ยอดขายต่อเนื่องและแน่นอน บางครั้งการตั้งราคาที่ถูกเกินไป อาจทำให้ลูกค้าเกิดความระแวงสงสัยในตัวสินค้า ซึ่งราคาที่ตั้งอาจมีหลายวิถีทาง ควรพิจารณาวิถีทางที่ทำให้กำไรดีที่สุด เช่น
การตั้งราคาเป็นสิ่งที่ควรคำนึงเพื่อให้ยอดขายต่อเนื่องและแน่นอนบางครั้งการตั้งราคาที่ถูกเกินไป อาจทำให้ลูกค้าเกิดความระแวงสงสัยในตัวสินค้า ซึ่งราคาที่ตั้งอาจมีหลายวิถีทาง ควรพิจารณาวิถีทางที่ทำให้ได้กำไรดีที่สุด เช่น
การตั้งราคาสินค้าหรือบริการเดียวกันกับคู่แข่ง แต่เน้นการสร้างภาพพจน์สินค้าด้านคุณภาพและองค์กร โดยเน้นการบริการตลอดทั้งวิธีการนำเสนอที่ดีกว่า
การตั้งราคาสินค้าหรือบริการสูงกว่าคู่แข่งขัน แต่สามารถชักจูงโน้มน้าวลูกค้า เห็นจุดเด่นของสินค้าว่ามีลักษณะพิเศษแตกต่างอย่างไร
การตั้งราคาสินค้าหรือบริการต่ำกว่าคู่แข่งขัน ขณะเดียวกันก็มีสินค้าราคาสูงกว่าเสนอขายให้เป็นทางเลือก
(ยังมีต่อ).../องค์ประกอบ..

แท็ก นักธุรกิจ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ