นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเบื้องต้นประจำเดือนธันวาคม 2546 และในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2547 สรุปได้ ดังนี้
1. เดือนธันวาคม 2546 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 116,648 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 46,630 ล้านบาท หรือร้อยละ 66.6 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 44,886 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.5 โดยเป็นรายได้สุทธิ 108,417 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 45,198 ล้านบาท หรือร้อยละ 71.5 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 43,031 ล้านบาท หรือร้อยละ 65.8
ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงดังกล่าวข้างต้น เป็นผลมาจากรายได้นำส่งคลังจากหน่วยงานอื่น และการจัดเก็บภาษีฐานรายได้ และฐานการบริโภคที่เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วในอัตราที่สูง ถึงร้อยละ 637.8 33.7 และ 28.6 ตามลำดับ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1.1 รายได้จากหน่วยงานอื่น
- รายได้จากส่วนราชการอื่นจัดเก็บได้ 28,295 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 25,378 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 870.0 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 781.2 สาเหตุสำคัญเนื่องจากได้รับรายได้พิเศษจากการขายหุ้นรัฐวิสาหกิจให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินจำนวน 25,075 ล้านบาท
- รายได้จากกรมธนารักษ์จัดเก็บได้ 568 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 288 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 102.9 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 451.5 เนื่องจาก กรมธนารักษ์มีรายได้ค่าเช่าที่ราชพัสดุจากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จำนวน 540 ล้านบาท
- รายได้นำส่งคลังจากรัฐวิสาหกิจจำนวน 1,861 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,410 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 312.6 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 118.9 เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้นำส่งรายได้จากจากการจัดสรรกำไรสุทธิปี 2546 จำนวน 1,000 ล้านบาท ก่อนกำหนด
1.2 ภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ 10,052 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,453 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.3 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 37.7
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ 10,439 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,026 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.1 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 25.0
1.3 ภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค
- ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 26,884 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 6,451 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.6 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.1
- ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 25,991 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการเอกสารงบประมาณ 6,211 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.4 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 28.0
2. ในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - ธันวาคม 2546)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 281,779 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณจำนวน 72,636 ล้านบาท หรือร้อยละ 34.7 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 57,086 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.4 โดยเป็นรายได้สุทธิทั้งสิ้นจำนวน 257,480 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 71,851 ล้านบาท หรือร้อยละ 38.7 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 54,878 ล้านบาท หรือร้อยละ 27.1
ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้ดังกล่าวข้างต้นเป็นการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมในสังกัดกระทรวงการคลัง (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) รวมทั้งสิ้น 238,281 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 40,936 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.6) โดยสรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 141,623 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 30,799 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27.8 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.8 เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 41.9 24.4 และ 18.3 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 28.8 20.0 และ 20.5 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 68,714 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 11,192 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.5 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.9 เป็นผลมาจากการจัดเก็บภาษีเบียร์ ภาษีรถยนต์ ภาษีสุรา และภาษีน้ำมันฯ ที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 38.1 24.3 22.3 และ 10.8 ตามลำดับ
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 27,994 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,055 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.6 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.1 โดยอากรขาเข้า จัดเก็บได้ 27,405 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 924 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.3 และต่ำกว่าช่วงเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 0.2
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 43,498 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 31,700 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 268.7 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 97.1 ประกอบด้วย
- ส่วนราชการอื่นมีรายได้นำส่งคลัง 38,099 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 28,330 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 290.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 225.3)
- กรมธนารักษ์นำส่งรายได้ 894 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 212 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.1 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 41.9)
- รัฐวิสาหกิจมีรายได้นำส่งคลัง 4,505 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,158 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 234.4 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 48.9) โดยมีรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ที่สำคัญๆ ดังนี้
- สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 2,193 ล้านบาท
- บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,112 ล้านบาท
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 1,000 ล้านบาท
3. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล
จากแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2546 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.4 และในปี 2547 ที่คาดว่าจะขยายตัวขั้นต่ำประมาณร้อยละ 7.5 และเมื่อรวมผลกระทบจากงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2547 (135,500 ล้านบาท) และสถานการณ์เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักที่มี แนวโน้มดีขึ้นแล้ว คาดว่าจะขายตัวประมาณร้อยละ 8.3 ผนวกกับนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล คาดว่าจะทำให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 2547 จะยังคงสามารถจัดเก็บได้เกินเป้าหมาย และมีผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 1,209,245 ล้านบาท โดยคิดเป็นรายได้สุทธิประมาณ 1,063,600 ล้านบาท (หลังหักการจัดสรรให้ อปท. ตาม พรบ. กำหนดแผนฯ ประมาณ 43,100 ล้านบาทแล้ว) สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณเป็นจำนวนสูงถึง 135,500 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.6
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 6/2547 27 มกราคม 2547--
-รก-
1. เดือนธันวาคม 2546 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 116,648 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 46,630 ล้านบาท หรือร้อยละ 66.6 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 44,886 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.5 โดยเป็นรายได้สุทธิ 108,417 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 45,198 ล้านบาท หรือร้อยละ 71.5 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 43,031 ล้านบาท หรือร้อยละ 65.8
ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงดังกล่าวข้างต้น เป็นผลมาจากรายได้นำส่งคลังจากหน่วยงานอื่น และการจัดเก็บภาษีฐานรายได้ และฐานการบริโภคที่เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วในอัตราที่สูง ถึงร้อยละ 637.8 33.7 และ 28.6 ตามลำดับ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1.1 รายได้จากหน่วยงานอื่น
- รายได้จากส่วนราชการอื่นจัดเก็บได้ 28,295 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 25,378 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 870.0 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 781.2 สาเหตุสำคัญเนื่องจากได้รับรายได้พิเศษจากการขายหุ้นรัฐวิสาหกิจให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินจำนวน 25,075 ล้านบาท
- รายได้จากกรมธนารักษ์จัดเก็บได้ 568 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 288 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 102.9 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 451.5 เนื่องจาก กรมธนารักษ์มีรายได้ค่าเช่าที่ราชพัสดุจากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จำนวน 540 ล้านบาท
- รายได้นำส่งคลังจากรัฐวิสาหกิจจำนวน 1,861 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,410 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 312.6 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 118.9 เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้นำส่งรายได้จากจากการจัดสรรกำไรสุทธิปี 2546 จำนวน 1,000 ล้านบาท ก่อนกำหนด
1.2 ภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ 10,052 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,453 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.3 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 37.7
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ 10,439 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,026 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.1 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 25.0
1.3 ภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค
- ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 26,884 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 6,451 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.6 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.1
- ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 25,991 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการเอกสารงบประมาณ 6,211 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.4 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 28.0
2. ในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - ธันวาคม 2546)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 281,779 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณจำนวน 72,636 ล้านบาท หรือร้อยละ 34.7 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 57,086 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.4 โดยเป็นรายได้สุทธิทั้งสิ้นจำนวน 257,480 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 71,851 ล้านบาท หรือร้อยละ 38.7 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 54,878 ล้านบาท หรือร้อยละ 27.1
ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้ดังกล่าวข้างต้นเป็นการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมในสังกัดกระทรวงการคลัง (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) รวมทั้งสิ้น 238,281 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 40,936 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.6) โดยสรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 141,623 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 30,799 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27.8 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.8 เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 41.9 24.4 และ 18.3 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 28.8 20.0 และ 20.5 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 68,714 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 11,192 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.5 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.9 เป็นผลมาจากการจัดเก็บภาษีเบียร์ ภาษีรถยนต์ ภาษีสุรา และภาษีน้ำมันฯ ที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 38.1 24.3 22.3 และ 10.8 ตามลำดับ
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 27,994 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,055 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.6 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.1 โดยอากรขาเข้า จัดเก็บได้ 27,405 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 924 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.3 และต่ำกว่าช่วงเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 0.2
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 43,498 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 31,700 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 268.7 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 97.1 ประกอบด้วย
- ส่วนราชการอื่นมีรายได้นำส่งคลัง 38,099 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 28,330 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 290.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 225.3)
- กรมธนารักษ์นำส่งรายได้ 894 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 212 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.1 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 41.9)
- รัฐวิสาหกิจมีรายได้นำส่งคลัง 4,505 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,158 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 234.4 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 48.9) โดยมีรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ที่สำคัญๆ ดังนี้
- สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 2,193 ล้านบาท
- บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,112 ล้านบาท
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 1,000 ล้านบาท
3. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล
จากแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2546 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.4 และในปี 2547 ที่คาดว่าจะขยายตัวขั้นต่ำประมาณร้อยละ 7.5 และเมื่อรวมผลกระทบจากงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2547 (135,500 ล้านบาท) และสถานการณ์เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักที่มี แนวโน้มดีขึ้นแล้ว คาดว่าจะขายตัวประมาณร้อยละ 8.3 ผนวกกับนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล คาดว่าจะทำให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 2547 จะยังคงสามารถจัดเก็บได้เกินเป้าหมาย และมีผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 1,209,245 ล้านบาท โดยคิดเป็นรายได้สุทธิประมาณ 1,063,600 ล้านบาท (หลังหักการจัดสรรให้ อปท. ตาม พรบ. กำหนดแผนฯ ประมาณ 43,100 ล้านบาทแล้ว) สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณเป็นจำนวนสูงถึง 135,500 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.6
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 6/2547 27 มกราคม 2547--
-รก-