อุตสาหกรรมสายรัดกล่องสินค้า เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพราะสายรัดกล่องสินค้า เป็นวัสดุสำคัญที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมในภาคการจัดส่งสินค้า แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสายรัดสินค้าในประเทศคือ เม็ดพลาสติกพอลิพรอพิลีน (PP Scraps) วัตถุดิบเกรด 1 ที่จะนำมาผลิตสายรัดสินค้านั้นมีราคาค่อนข้างแพง ผู้ผลิตจึงหันมาใช้เม็ดพลาสติกเกรดรองลงมาผสมกับสารประกอบอื่นๆ ซึ่งทำให้สายรัดที่ผลิตได้นั้นไม่มีคุณภาพ หรือมักจะเสียหายในระหว่างการผลิต
และปัญหาดังกล่าว ได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้ ผศ.ชวลิต แสงสวัสดิ์ และ อาจารย์วีรศักดิ์ หมู่เจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาวัสดุและโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทำการวิจัยเรื่อง "การพัฒนาสูตรคอมเปานด์สำหรับงานอัดรีดจากเศษพลาสติกพอลิพรอพิลีน" โดยนำเศษวัสดุที่เหลือจากการผลิตถุงปุ๋ยในอุตสาหกรรมสิ่งทอมาหลอมตัดเม็ดใหม่ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสายรัดกล่องสินค้า ซึ่งพบว่าคุณสมบัติของเม็ดพลาสติกที่หลอมใหม่นั้น มีความใกล้เคียงกับวัสดุที่นำมาทำสายรัดกล่องสินค้าพอลิพรอพิลีนมาตรฐาน ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ
ผศ.ชวลิต แสงสวัสดิ์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ดังกล่าว เปิดเผยว่า "งานวิจัยนี้เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ในด้านวิศวกรรมวัสดุและโลหการ คือความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเม็ดพลาสติกพอลิพรอพิลีนที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกเข้ากับเม็ดพลาสติกที่นำมาทอทำถุงปุ๋ยของวิศวกรรมสิ่งทอ ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเม็ดพลาสติกพอลิพรอพิลีนที่นำมาทำสายรัดกล่องสินค้า ซึ่งในการทำการวิจัยนั้น เริ่มต้นจากการทดสอบชนิดและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ผลิตสายรัดกล่องสินค้าก่อน แล้วจึงมาศึกษาเรื่องการนำเศษพลาสติกมาใช้ใหม่ โดยเลือกชนิดของพอลิพรอพิลีนเกรดที่นำมาใช้ผลิตถุงปุ๋ย แล้วจึงนำมาเข้ากระบวนการหลอมตัดเม็ดซ้ำ เพื่อนำมาผลิตสายรัดกล่องสินค้า
และจากการทดสอบสายรัดกล่องสินค้าที่ผลิตได้ โดยทดสอบด้านการทนต่อแรงดึง การยืดตัว ความแข็ง และการต้านทานต่อการขีดข่วน ปรากฏว่ามีคุณสมบัติเป็นที่น่าพอใจ ใกล้เคียงกับสายรัดกล่องสินค้าจากต่างประเทศ และในขณะนี้ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยดังกล่าวได้นำไปใช้ใน บริษัท วรกุลชัย แพ็คเกจซีล บริษัทที่ทำอุตสาหกรรมผลิตสายรัดกล่องสินค้า ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพและลดต้นทุนการผลิตสายรัดกล่องสินค้าได้มาก นอกจากนั้น ผลการวิจัยนี้ ยังช่วยลดปริมาณเศษวัสดุจากอุตสาหกรรมการทอถุงปุ๋ยได้อีกทางหนึ่งด้วย"
ผู้ใดสนใจการวิจัยดังกล่าว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาวัสดุและโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี หมายเลขโทรศัพท์ (02) 549-3491-92 ในวันและเวลาราชการ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
และปัญหาดังกล่าว ได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้ ผศ.ชวลิต แสงสวัสดิ์ และ อาจารย์วีรศักดิ์ หมู่เจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาวัสดุและโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทำการวิจัยเรื่อง "การพัฒนาสูตรคอมเปานด์สำหรับงานอัดรีดจากเศษพลาสติกพอลิพรอพิลีน" โดยนำเศษวัสดุที่เหลือจากการผลิตถุงปุ๋ยในอุตสาหกรรมสิ่งทอมาหลอมตัดเม็ดใหม่ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสายรัดกล่องสินค้า ซึ่งพบว่าคุณสมบัติของเม็ดพลาสติกที่หลอมใหม่นั้น มีความใกล้เคียงกับวัสดุที่นำมาทำสายรัดกล่องสินค้าพอลิพรอพิลีนมาตรฐาน ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ
ผศ.ชวลิต แสงสวัสดิ์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ดังกล่าว เปิดเผยว่า "งานวิจัยนี้เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ในด้านวิศวกรรมวัสดุและโลหการ คือความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเม็ดพลาสติกพอลิพรอพิลีนที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกเข้ากับเม็ดพลาสติกที่นำมาทอทำถุงปุ๋ยของวิศวกรรมสิ่งทอ ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเม็ดพลาสติกพอลิพรอพิลีนที่นำมาทำสายรัดกล่องสินค้า ซึ่งในการทำการวิจัยนั้น เริ่มต้นจากการทดสอบชนิดและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ผลิตสายรัดกล่องสินค้าก่อน แล้วจึงมาศึกษาเรื่องการนำเศษพลาสติกมาใช้ใหม่ โดยเลือกชนิดของพอลิพรอพิลีนเกรดที่นำมาใช้ผลิตถุงปุ๋ย แล้วจึงนำมาเข้ากระบวนการหลอมตัดเม็ดซ้ำ เพื่อนำมาผลิตสายรัดกล่องสินค้า
และจากการทดสอบสายรัดกล่องสินค้าที่ผลิตได้ โดยทดสอบด้านการทนต่อแรงดึง การยืดตัว ความแข็ง และการต้านทานต่อการขีดข่วน ปรากฏว่ามีคุณสมบัติเป็นที่น่าพอใจ ใกล้เคียงกับสายรัดกล่องสินค้าจากต่างประเทศ และในขณะนี้ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยดังกล่าวได้นำไปใช้ใน บริษัท วรกุลชัย แพ็คเกจซีล บริษัทที่ทำอุตสาหกรรมผลิตสายรัดกล่องสินค้า ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพและลดต้นทุนการผลิตสายรัดกล่องสินค้าได้มาก นอกจากนั้น ผลการวิจัยนี้ ยังช่วยลดปริมาณเศษวัสดุจากอุตสาหกรรมการทอถุงปุ๋ยได้อีกทางหนึ่งด้วย"
ผู้ใดสนใจการวิจัยดังกล่าว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาวัสดุและโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี หมายเลขโทรศัพท์ (02) 549-3491-92 ในวันและเวลาราชการ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-