แท็ก
บริษัทมหาชน
รูปแบบองค์กรธุรกิจ
|
เป็นนิติบุคคล ไม่เป็นนิติบุคคล
| |
(จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย) (อาจต้องจดทะเบียนตามพรบ. ทะเบียนพาณิชย์)
| |
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน กิจการร้านค้าเจ้าของคนเดียว
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
| |
บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ
|
บริษัทมหาชนจำกัด
|
องค์การธุรกิจจัดตั้ง หรือจด
ทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ
รูปแบบของการดำเนินธุรกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน และบริษัทจำกัด เพื่อความเข้าใจถึงความแตกต่างของทั้ง 3 รูปแบบ ดังนั้น จะอธิบายถึงแต่ละรูปแบบและข้อได้เปรียบและเสียเปรียบของแต่ละรูปแบบ สำหรับกิจการที่เริ่มจะเติบโตกิจการบริษัทจำกัดก็เริ่มที่จะมีข้อได้เปรียบมากขึ้น จึงส่งผลให้กิจการขนาดใหญ่ส่วนมากดำเนินกิจการในรูปแบบของบริษัทจำกัด
กิจการเจ้าของคนเดียว
กิจการเจ้าของคนเดียว คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของ เจ้าของกิจการเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมดของกิจการ และจะต้องรับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดของกิจการอย่างไม่จำกัดเพียงคนเดียวอีกด้วย สำหรับผลการดำเนินของกิจการ หากกิจการมีกำไร กำไรก็เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว และในทำนองเดียวกันกับการขาดทุน หากกิจการขาดทุน เจ้าของก็จะต้องรับผิดชอบผลขาดทุนนั้นเพียงผู้เดียวเช่นกัน รูปแบบการดำเนินธุรกิจประเภทกิจการเจ้าของคนเดียวนี้ เหมาะสำหรับกิจการที่เริ่มต้นดำเนินธุรกิจ เนื่องจากว่าไม่มีข้อบังคับของกฎหมายใด ๆ ในการก่อตั้งกิจการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดำเนินกิจการโดยใช้ชื่อของเจ้าของเอง แต่หากจะใช้ชื่อเฉพาะ เช่น "เจริญยิ่ง ดีพาร์ทเมนท์สโตร์" ก็จะต้องตรวจสอบกับกรมทะเบียนการค้าเสียก่อนว่ามีบุคคลอื่นใช้ชื่อเฉพาะนี้หรือไม่ หากมีบุคคลอื่นใช้ชื่อนี้แล้วก็ไม่สามารถใช้ชื่อเฉพาะซ้ำกันได้ แต่หากยังไม่มีชื่อเฉพาะนี้ที่กรมทะเบียนการค้า โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพียงเล็กน้อย การเลิกกิจการของกิจการเจ้าของคนเดียวจะเกิดขึ้นในกรณีที่เจ้าของกิจการเสียชีวิต หรือเจ้าของกิจการยกเลิกกิจการ กล่าวโดยสรุปได้ว่า กิจการเจ้าของคนเดียวเป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ในทางปฏิบัติแล้วแทบจะไม่มีโครงสร้างทางกฎหมายเลย
ห้างหุ้นส่วน
ความแตกต่างขั้นต้นของกิจการเจ้าของคนเดียวกับห้างหุ้นส่วนก็คือ ห้างหุ้นส่วนมีเจ้าของมากกว่าหนึ่งคน ห้างหุ้นส่วน คือ องค์การที่คนตั้งแต่สองคนขึ้นไปมาร่วมกันก่อตั้งดำเนินธุรกิจเพื่อหวังผลกำไร
1. ประเภทของห้างหุ้นส่วน แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
สำหรับห้างหุ้นส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนจะต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินของห้างหุ้นส่วนที่เกิดขึ้นอย่างไม่จำกัด ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนจะอยู่ในข้อตกลงของห้างหุ้นส่วนซึ่งจะตกลงกันด้วยวาจาหรืออาจจะเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาลงทุน และเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน เรียกว่า "หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด" ซึ่งจะต้องรับผิดชอบในหนี้สินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจอย่างไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญนี้จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ก็ได้ หากไม่ได้มีการจดทะเบียนจะมีลักษณะของธุรกิจที่เป็นคณะบุคคลที่มีลักษณะเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา
2. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาลงทุน และเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน เรียกว่า "หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด" ซึ่งจะต้องรับผิดชอบในหนี้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจอย่างไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญนี้จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญจะต้องมีรายการดังนี้
1. ชื่อห้างหุ้นส่วน
2. วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
3. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสาขา
4. ชื่อและที่สำนักกับทั้งอาชีพของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
5. ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ
6. ข้อจำกัดอำนาจของห้างหุ้นส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี)
7. ตราซึ่งใช้เป็นสำคัญของห้างหุ้นส่วน
3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
สำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัดจะแตกต่างกับห้างหุ้นส่วนสามัญตรงที่ว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้เป็นหุ้นส่วนหนึ่งคนหรือมากกว่าจะรับผิดชอบต่อหนี้สินที่เกิดขึ้นของห้างหุ้นส่วนโดยจำกัดจำนวน คือ ไม่เกินจำนวนเงินที่หุ้นส่วนคนนั้น ๆ ลงทุนในห้างหุ้นส่วน นอกจากนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดยังมีเงื่อนไขอีกบางประการ คือ ประการที่หนึ่ง ต้องมีหุ้นส่วนที่เป็นหุ้นส่วนสามัญ คือ รับผิดชอบในวงเงินไม่จำกัดอย่างน้อยหนึ่งคน ประการที่สอง ชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัดจะเป็นชื่อเดียวกับชื่อกิจการหรือไม่ก็ได้ หากผิดเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเสียสิทธิที่จะรับผิดชอบอันจำกัดต้องรับผิดชอบในวงเงินไม่จำกัด
การที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 จำพวก จำพวกที่ต้องรับผิดในหนี้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจอย่างไม่จำกัดจำนวน เรียกว่า "หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด" และอีกจำพวกหนึ่งซึ่งรับผิดในหนี้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวนเงินที่ตกลงจะร่วมลงทุนด้วย เรียกว่า "หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด" ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องมีรายการดังนี้
1. ชื่อห้างหุ้นส่วน
2. ข้อแถลงและวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
3. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสาขา
4. ชื่อ ยี่ห้อ สำนัก และอาชีพของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำนวนเงินที่ได้ลงหุ้น ในห้างหุ้นส่วน
5. ชื่อ ยี่ห้อ สำนัก และอาชีพของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด
6. ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ
7. อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการอันจะผูกพันห้างหุ้นส่วน (ถ้ามี)
2. ควบห้างหุ้นส่วน
หากห้างหุ้นส่วนมีความประสงค์ที่จะควบเข้ากับระหว่างห้างหุ้นส่วนด้วยกัน ห้างหุ้นส่วนใหญ่ที่เกิดจากการควบเข้ากันมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี จัดทำ และส่งงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนประจำปีต่อสำนักงานกำกับดูแลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้าหรือสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดแล้วแต่กรณี ภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี แม้ว่าจะยังไม่ได้ประกอบกิจการก็ตาม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ การควบห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเข้ากันจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1073 -- 1076 ดังนี้
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหนึ่งจะควบเข้าเป็นอันเดียวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนอีกห้างหนึ่งได้ โดยความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
2. เมื่อห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างใดตกลงจะควบเข้ากันกับห้างอื่น ห้างหุ้นส่วนนั้นต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่นั้น 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย และส่งคำบอกกล่าวความประสงค์ที่จะควบเข้ากันนั้นแก่บรรดาผู้ซึ่งห้างหุ้นส่วนเป็นเจ้าหนี้ และขอให้เจ้าหนี้ผู้มีข้อคัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดในการที่จะทำนั้นส่งคำคัดค้านไปภายใน 3 เดือนนับแต่วันบอกกล่าว ถ้าไม่มีใครคัดค้านภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าไม่มีคัดค้าน ในกรณีที่มีการคัดค้านห้ามห้างหุ้นส่วนควบเข้ากัน เว้นแต่จะชำระหนี้ที่เรียกร้องหรือให้ประกันเพื่อหนี้นั้นแล้ว
3. เมื่อห้างได้ควบเข้ากันแล้ว ต่างห้างก็ต่างมีหน้าที่จะต้องความนั้นไปจดลงทะเบียนว่า ได้ควบเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่
4. ห้างหุ้นส่วนใหม่ย่อมได้ไปทั้งสิทธิทั้งต้องอยู่ในความรับผิดชอบของห้างหุ้นส่วนเดิมที่ได้ควบเข้ากันนั้นทั้งสิ้น
เมื่อห้างหุ้นส่วนได้มีการควบเข้ากันแล้วจะมีผลดังนี้
1. ห้างหุ้นส่วนเดิมสิ้นสภาพโดยมิใช่เป็นการเลิกห้างตามปกติ
2. ไม่ต้องจดทะเบียนเลิก หรือเสร็จการชำระบัญชี
3. ห้างหุ้นส่วนที่ควบเข้ากันมีสภาพเป็นห้างหุ้นส่วนใหม่
4. ห้างหุ้นส่วนใหม่ได้มาซึ่งสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดของห้างหุ้นส่วนเดิมที่ควบทั้งหมด
5. การควบห้างหุ้นส่วนจะมีผลตามกฎหมายเมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการควบห้างหุ้นส่วนนั้นแล้ว
3. เลิกห้างหุ้นส่วน
เมื่อห้างหุ้นส่วนมีความประสงค์ที่จะเลิกกิจการจะต้องให้มีการชำระบัญชี ซึ่งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติดังนี้
1. สะสางการงานของห้างให้เสร็จสิ้นไป
2. ประกาศหนังสือพิมพ์ และบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ภายใน 24 วันนับแต่วันเลิกห้าง
3. ยื่นจดทะเบียนเลิกห้างและชื่อผู้ชำระบัญชีภายใน 14 วัน ณ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ หรือสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจำกัดจังหวัด ที่ซึ่งสำนักงานแห่งใหญ่ของห้างตั้งอยู่ก่อนเลิกห้าง
4. จัดทำงบดุลและส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ
5. จัดให้มีการประชุมผู้เป็นหุ้นส่วนเพื่ออนุมัติงบดุล
6. ยื่นรายงานการชำระบัญชีทุก 3 เดือน
7. ทำการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินตลอดจนชำระหนี้สิน
8. ร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลออกคำสั่งว่าห้างหุ้นส่วนล้มละลาย ในกรณีที่ผู้ชำระบัญชีเห็นว่าเมื่อเงินทุนหรือเงินค่าหุ้นได้ใช้เสร็จแล้ว สินทรัพย์ไม่พอกับหนี้สิน
9. เรียกประชุมใหญ่ผู้เป็นหุ้นส่วนเพื่อเสนอรายงานการชำระบัญชี
10. ยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายใน 14 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมอนุมัติ
ในการปฏิบัติการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนนั้นผู้ชำระบัญชีจะต้องระมัดระวังเรื่องดังต่อไปนี้
1. ผู้ชำระบัญชีต้องประกาศหนังสือพิมพ์และบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ภายใน 14 วันนับแต่วันเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด
2. ผู้ชำระบัญชีต้องยื่นจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดภายใน 14 วันนับแต่วันเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด
3. ผู้ชำระบัญชีต้องส่งรายงานการชำระบัญชีทุกระยะ 3 เดือนครั้งหนึ่งนับแต่วันเลิก
4. ผู้ชำระบัญชีต้องยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายใน 14 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมอนุมัติเสร็จการชำระบัญชี
บริษัทจำกัด
บริษัทจำกัดเป็นรูปแบบของการดำเนินธุรกิจที่ตัวกิจการสามารถแยกออกจากตัวเจ้าของกิจการในทางกฎหมายได้โดยสิ้นเชิง บริษัทจำกัดสามารถที่จะฟ้องหรือจะถูกฟ้อง จัดซื้อหรือขายสินค้าได้ด้วยตัวเอง หรือมีทรัพย์สินเป็นของตนเอง อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าในทางกฎหมายจะแบ่งแยกอย่างนั้น แต่บริษัทจำกัดก็ยังประกอบด้วยเจ้าของซึ่งเป็นผู้ชี้นำและกำหนดนโยบาย เจ้าของบริษัทเลือกคณะกรรมการการบริหารและคณะกรรมการบริหารบริษัทก็เป็นผู้คัดเลือกพนักงานมาทำหน้าที่ต่าง ๆ ในบริษัท ไม่ว่าจะเป็นกรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ เลขานุการ หรือแม้แต่ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน ความเป็นเจ้าของกิจการจะถูกแสดงโดยใบหุ้นสามัญ ความเป็นเจ้าของบริษัทจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถือ แต่เนื่องจากหุ้นสามัญเป็นสิ่งที่เปลี่ยนมือได้ ดังนั้น ความเป็นเจ้าของบริษัทก็สามารถที่จะเปลี่ยนจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้เช่นกัน ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นต่อหนี้สินของบริษัทจะไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นลงทุนในบริษัทเท่านั้น เจ้าหนี้ของบริษัทไม่มีสิทธิที่จะไปเรียกร้องในทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นได้อีก นี่คือข้อได้เปรียบที่สำคัญของกิจการที่เป็นบริษัทจำกัด เรื่องสุดท้ายคือ เรื่องของอายุของบริษัท อายุของบริษัทไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานภาพของผู้ถือหุ้น การตายหรือการถอนหุ้นของผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งไม่มีผลกระทบต่อบริษัทแต่อย่างใด ฝ่ายบริษัทของบริษัทยังคงสามารถบริหารให้บริษัทดำรงอยู่ได้
การเลือกประเภทของการจัดตั้งองค์กรประกอบธุรกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารกิจการ ความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจและประโยชน์ทางภาษีอากร โดยทั่วไปแล้วนักธุรกิจส่วนใหญ่จะจัดตั้งรูปแบบของการประกอบธุรกิจในรูปของ "บริษัทจำกัด" ซึ่งบริษัทจำกัดเป็นบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นโดยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ ซึ่งการจัดตั้งบริษัทจำกัดขึ้นมานั้นจะต้องประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัท จำกัด โดยการเข้าชื่อกันทำเป็นหนังสือบริคณฑ์สนธิซึ่งมักจะมีรายการดังต่อไปนี้
1. ชื่อบริษัทอันคิดจะตั้งขึ้น ซึ่งต้องมีคำว่า "จำกัด" ไว้ปลายชื่อนั้นด้วย
2. ที่สำนักงานของบริษัทซึ่งบอกทะเบียนนั้นจะตั้งอยู่ ณ ที่ใด
3. วัตถุประสงค์ทั้งหลายของบริษัท
4. ถ้อยคำสำแดงว่า ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นจะมีจำกัด
5. จำนวนทุนเรือนหุ้นซึ่งบริษัทคิดกำหนดจะจดทะเบียนแบ่งออกเป็นหุ้นมีมูลค่ากำหนดหุ้นละเท่าไร
6. ชื่อ สำนัก อาชีวะ และลายมือชื่อของบรรดาผู้เริ่มก่อการทั้งจำนวนหุ้นซึ่งต่างคนต่างเข้าชื่อซื้อไว้คนละเท่าใด
ในหนังสือบริคณฑ์สนธิจะทำเป็นต้นฉบับไว้ไม่น้อยกว่า 2 ฉบับ ให้ลงลายมือชื่อของผู้เริ่มก่อการและลายมือชื่อนั้นจะต้องมีพยานลงชื่อรับรองด้วย 2 คน ในกรณีของผู้เริ่มก่อการทุกคนต้องลงชื่อซื้อหุ้น ๆ หนึ่งเป็นอย่างน้อย
1. หุ้นและผู้ถือหุ้น
มูลค่าหุ้นหนึ่งของบริษัทจำกัดมิให้ต่ำกว่า 5 บาท ซึ่งหุ้นของบริษัทจะแบ่งแยกกันไม่ได้ ในกรณีที่มีบุคคลที่มีจำนวนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปถือหุ้นเดียวร่วมกัน ให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะเป็นผู้ถือหุ้น ให้บริษัททำใบหุ้นซึ่งใบสำคัญหุ้นใบหนึ่งหรือหลายใบมอบให้เป็นคู่มือแก่ผู้ถือหุ้นทุกคน ในใบหุ้นทุกใบให้กรรมการลงลายมือชื่อ 1 คนเป็นอย่างน้อยและประทับตราของบริษัทเป็นสำคัญ ใบหุ้นของบริษัทจำกัดจะต้องมีข้อความดังนี้
1. ชื่อบริษัท
2. เลขหมายหุ้นที่กล่าวถึงในใบหุ้นนั้น
3. มูลค่าหุ้นหนึ่งเป็นเงินเท่าใด
4. ถ้าและเป็นหุ้นที่ยังไม่ได้ใช้เงินเสร็จ ให้จดลงว่าได้ใช้เงินค่าหุ้นแล้วหุ้นละเท่าใด
5. ชื่อผู้ถือหุ้น หรือ คำแถลงว่าได้ออกใบหุ้นนั้นให้แก่ผู้ถือ
2. การจัดการบริษัทจำกัด
ในการจัดการบริษัทจำกัด เมื่อได้มีการตั้งข้อบังคับของบริษัทจำกัดขึ้นมาแล้ว หากต้องการจัดทำใหม่หรือเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ หรือข้อความในหนังสือบริคณฑ์สนธิ จะต้องได้มีการลงมติพิเศษจึงจะสามารถกระทำได้ ในการจัดการบริษัทจะให้ผู้เป็นกรรมการของบริษัทจำกัดเป็นผู้ดำเนินงานซึ่งกรรมการจะมีจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับที่ประชุมใหญ่เป็นผู้กำหนด กรรมการจะต้องออกจากตำแหน่งในปีแรกและปีที่สอง ภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้น แต่กรรมการผู้ออกไปนั้นจะเลือกเข้ารับตำแหน่งอีกก็ได้ ในการตั้งกรรมการขึ้นมาใหม่นั้น ให้จะต้องจดทะเบียนภายใน 14 วันนับแต่วันที่ตั้ง อำนาจของกรรมการจะกำหนดไว้ในข้อกำหนดของบริษัท อำนาจของกรรมการมีดังนี้
1. ในจำนวนกรรมการนั้นแม้ตำแหน่งจะว่างไปบ้างกรรมการที่มีตัวอยู่ ก็ย่อมทำกิจการได้ แต่ถ้าในเวลาใดจำนวนกรรมการลดน้อยลงกว่าจำนวนอันจำเป็นที่จะเป็นองค์ประชุมได้ ตลอดเวลากรรมการที่มีตัวอยู่ย่อมทำกิจการได้ เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะเพิ่มกรรมการขึ้นให้ครบจำนวน หรือนัดเรียกประชุมใหญ่ของบริษัทเท่านั้น จะกระทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้
2. กรรมการจะวางกำหนดไว้ก็ได้ว่าจำนวนกรรมการที่เข้าประชุมกี่คนจึงจะเป็นองค์ประชุมทำกิจการได้ ถ้าและมิได้กำหนดไว้ (เมื่อจำนวนกรรมการเกินกว่า 3 คน) ท่านว่าจะต้องมีกรรมการเข้าประชุม 3 คนจึงจะเป็นองค์ประชุมได้
3. ข้อปรึกษาซึ่งเกิดเป็นปัญหาในการประชุมกรรมการนั้นให้ชี้ขาดตัดสินให้เสียงข้างมากเป็นใหญ่ ถ้าและคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ผู้เป็นประธานเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด
4. กรรมการคนหนึ่งคนใด จะนัดเรียกให้ประชุมกรรรมการเมื่อใดก็ได้
5. กรรมการจะเลือกกรรมการคนหนึ่งขึ้นเป็นประธานที่ประชุม และจะกำหนดว่าให้อยู่ในตำแหน่งเพียงใดก็ได้ แต่ถ้าหากมิได้เลือกกันไว้เช่นนั้นหรือผู้เป็นประธานไม่มาประชุมตามกำหนดเวลาที่ได้นัดหมายไว้ กรรมการที่มาประชุมนั้นจะเลือกคนหนึ่งขึ้นเป็นประธานในการประชุมเช่นนั้นก็ได้
6. กรรมการจะมอบอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใดของตนให้แก่ผู้จัดการหรือให้แก่อนุกรรมการซึ่งตั้งขึ้นจากผู้เป็นกรรมการด้วยกันก็ได้ในการใช้อำนาจซึ่งได้มอบหมายเช่นนั้น ผู้จัดการทุกคนหรืออนุกรรรมการทุกคนจะต้องทำตามคำสั่งหรือข้อบังคับ ซึ่งกรรมการทั้งหลายได้กำหนดให้ทุกอย่างทุกประการ
(ยังมีต่อ).../3. เงินปันผล..
|
เป็นนิติบุคคล ไม่เป็นนิติบุคคล
| |
(จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย) (อาจต้องจดทะเบียนตามพรบ. ทะเบียนพาณิชย์)
| |
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน กิจการร้านค้าเจ้าของคนเดียว
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
| |
บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ
|
บริษัทมหาชนจำกัด
|
องค์การธุรกิจจัดตั้ง หรือจด
ทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ
รูปแบบของการดำเนินธุรกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน และบริษัทจำกัด เพื่อความเข้าใจถึงความแตกต่างของทั้ง 3 รูปแบบ ดังนั้น จะอธิบายถึงแต่ละรูปแบบและข้อได้เปรียบและเสียเปรียบของแต่ละรูปแบบ สำหรับกิจการที่เริ่มจะเติบโตกิจการบริษัทจำกัดก็เริ่มที่จะมีข้อได้เปรียบมากขึ้น จึงส่งผลให้กิจการขนาดใหญ่ส่วนมากดำเนินกิจการในรูปแบบของบริษัทจำกัด
กิจการเจ้าของคนเดียว
กิจการเจ้าของคนเดียว คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของ เจ้าของกิจการเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมดของกิจการ และจะต้องรับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดของกิจการอย่างไม่จำกัดเพียงคนเดียวอีกด้วย สำหรับผลการดำเนินของกิจการ หากกิจการมีกำไร กำไรก็เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว และในทำนองเดียวกันกับการขาดทุน หากกิจการขาดทุน เจ้าของก็จะต้องรับผิดชอบผลขาดทุนนั้นเพียงผู้เดียวเช่นกัน รูปแบบการดำเนินธุรกิจประเภทกิจการเจ้าของคนเดียวนี้ เหมาะสำหรับกิจการที่เริ่มต้นดำเนินธุรกิจ เนื่องจากว่าไม่มีข้อบังคับของกฎหมายใด ๆ ในการก่อตั้งกิจการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดำเนินกิจการโดยใช้ชื่อของเจ้าของเอง แต่หากจะใช้ชื่อเฉพาะ เช่น "เจริญยิ่ง ดีพาร์ทเมนท์สโตร์" ก็จะต้องตรวจสอบกับกรมทะเบียนการค้าเสียก่อนว่ามีบุคคลอื่นใช้ชื่อเฉพาะนี้หรือไม่ หากมีบุคคลอื่นใช้ชื่อนี้แล้วก็ไม่สามารถใช้ชื่อเฉพาะซ้ำกันได้ แต่หากยังไม่มีชื่อเฉพาะนี้ที่กรมทะเบียนการค้า โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพียงเล็กน้อย การเลิกกิจการของกิจการเจ้าของคนเดียวจะเกิดขึ้นในกรณีที่เจ้าของกิจการเสียชีวิต หรือเจ้าของกิจการยกเลิกกิจการ กล่าวโดยสรุปได้ว่า กิจการเจ้าของคนเดียวเป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ในทางปฏิบัติแล้วแทบจะไม่มีโครงสร้างทางกฎหมายเลย
ห้างหุ้นส่วน
ความแตกต่างขั้นต้นของกิจการเจ้าของคนเดียวกับห้างหุ้นส่วนก็คือ ห้างหุ้นส่วนมีเจ้าของมากกว่าหนึ่งคน ห้างหุ้นส่วน คือ องค์การที่คนตั้งแต่สองคนขึ้นไปมาร่วมกันก่อตั้งดำเนินธุรกิจเพื่อหวังผลกำไร
1. ประเภทของห้างหุ้นส่วน แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
สำหรับห้างหุ้นส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนจะต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินของห้างหุ้นส่วนที่เกิดขึ้นอย่างไม่จำกัด ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนจะอยู่ในข้อตกลงของห้างหุ้นส่วนซึ่งจะตกลงกันด้วยวาจาหรืออาจจะเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาลงทุน และเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน เรียกว่า "หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด" ซึ่งจะต้องรับผิดชอบในหนี้สินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจอย่างไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญนี้จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ก็ได้ หากไม่ได้มีการจดทะเบียนจะมีลักษณะของธุรกิจที่เป็นคณะบุคคลที่มีลักษณะเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา
2. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาลงทุน และเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน เรียกว่า "หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด" ซึ่งจะต้องรับผิดชอบในหนี้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจอย่างไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญนี้จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญจะต้องมีรายการดังนี้
1. ชื่อห้างหุ้นส่วน
2. วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
3. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสาขา
4. ชื่อและที่สำนักกับทั้งอาชีพของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
5. ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ
6. ข้อจำกัดอำนาจของห้างหุ้นส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี)
7. ตราซึ่งใช้เป็นสำคัญของห้างหุ้นส่วน
3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
สำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัดจะแตกต่างกับห้างหุ้นส่วนสามัญตรงที่ว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้เป็นหุ้นส่วนหนึ่งคนหรือมากกว่าจะรับผิดชอบต่อหนี้สินที่เกิดขึ้นของห้างหุ้นส่วนโดยจำกัดจำนวน คือ ไม่เกินจำนวนเงินที่หุ้นส่วนคนนั้น ๆ ลงทุนในห้างหุ้นส่วน นอกจากนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดยังมีเงื่อนไขอีกบางประการ คือ ประการที่หนึ่ง ต้องมีหุ้นส่วนที่เป็นหุ้นส่วนสามัญ คือ รับผิดชอบในวงเงินไม่จำกัดอย่างน้อยหนึ่งคน ประการที่สอง ชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัดจะเป็นชื่อเดียวกับชื่อกิจการหรือไม่ก็ได้ หากผิดเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเสียสิทธิที่จะรับผิดชอบอันจำกัดต้องรับผิดชอบในวงเงินไม่จำกัด
การที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 จำพวก จำพวกที่ต้องรับผิดในหนี้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจอย่างไม่จำกัดจำนวน เรียกว่า "หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด" และอีกจำพวกหนึ่งซึ่งรับผิดในหนี้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวนเงินที่ตกลงจะร่วมลงทุนด้วย เรียกว่า "หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด" ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องมีรายการดังนี้
1. ชื่อห้างหุ้นส่วน
2. ข้อแถลงและวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
3. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสาขา
4. ชื่อ ยี่ห้อ สำนัก และอาชีพของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำนวนเงินที่ได้ลงหุ้น ในห้างหุ้นส่วน
5. ชื่อ ยี่ห้อ สำนัก และอาชีพของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด
6. ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ
7. อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการอันจะผูกพันห้างหุ้นส่วน (ถ้ามี)
2. ควบห้างหุ้นส่วน
หากห้างหุ้นส่วนมีความประสงค์ที่จะควบเข้ากับระหว่างห้างหุ้นส่วนด้วยกัน ห้างหุ้นส่วนใหญ่ที่เกิดจากการควบเข้ากันมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี จัดทำ และส่งงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนประจำปีต่อสำนักงานกำกับดูแลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้าหรือสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดแล้วแต่กรณี ภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี แม้ว่าจะยังไม่ได้ประกอบกิจการก็ตาม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ การควบห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเข้ากันจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1073 -- 1076 ดังนี้
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหนึ่งจะควบเข้าเป็นอันเดียวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนอีกห้างหนึ่งได้ โดยความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
2. เมื่อห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างใดตกลงจะควบเข้ากันกับห้างอื่น ห้างหุ้นส่วนนั้นต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่นั้น 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย และส่งคำบอกกล่าวความประสงค์ที่จะควบเข้ากันนั้นแก่บรรดาผู้ซึ่งห้างหุ้นส่วนเป็นเจ้าหนี้ และขอให้เจ้าหนี้ผู้มีข้อคัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดในการที่จะทำนั้นส่งคำคัดค้านไปภายใน 3 เดือนนับแต่วันบอกกล่าว ถ้าไม่มีใครคัดค้านภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าไม่มีคัดค้าน ในกรณีที่มีการคัดค้านห้ามห้างหุ้นส่วนควบเข้ากัน เว้นแต่จะชำระหนี้ที่เรียกร้องหรือให้ประกันเพื่อหนี้นั้นแล้ว
3. เมื่อห้างได้ควบเข้ากันแล้ว ต่างห้างก็ต่างมีหน้าที่จะต้องความนั้นไปจดลงทะเบียนว่า ได้ควบเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่
4. ห้างหุ้นส่วนใหม่ย่อมได้ไปทั้งสิทธิทั้งต้องอยู่ในความรับผิดชอบของห้างหุ้นส่วนเดิมที่ได้ควบเข้ากันนั้นทั้งสิ้น
เมื่อห้างหุ้นส่วนได้มีการควบเข้ากันแล้วจะมีผลดังนี้
1. ห้างหุ้นส่วนเดิมสิ้นสภาพโดยมิใช่เป็นการเลิกห้างตามปกติ
2. ไม่ต้องจดทะเบียนเลิก หรือเสร็จการชำระบัญชี
3. ห้างหุ้นส่วนที่ควบเข้ากันมีสภาพเป็นห้างหุ้นส่วนใหม่
4. ห้างหุ้นส่วนใหม่ได้มาซึ่งสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดของห้างหุ้นส่วนเดิมที่ควบทั้งหมด
5. การควบห้างหุ้นส่วนจะมีผลตามกฎหมายเมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการควบห้างหุ้นส่วนนั้นแล้ว
3. เลิกห้างหุ้นส่วน
เมื่อห้างหุ้นส่วนมีความประสงค์ที่จะเลิกกิจการจะต้องให้มีการชำระบัญชี ซึ่งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติดังนี้
1. สะสางการงานของห้างให้เสร็จสิ้นไป
2. ประกาศหนังสือพิมพ์ และบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ภายใน 24 วันนับแต่วันเลิกห้าง
3. ยื่นจดทะเบียนเลิกห้างและชื่อผู้ชำระบัญชีภายใน 14 วัน ณ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ หรือสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจำกัดจังหวัด ที่ซึ่งสำนักงานแห่งใหญ่ของห้างตั้งอยู่ก่อนเลิกห้าง
4. จัดทำงบดุลและส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ
5. จัดให้มีการประชุมผู้เป็นหุ้นส่วนเพื่ออนุมัติงบดุล
6. ยื่นรายงานการชำระบัญชีทุก 3 เดือน
7. ทำการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินตลอดจนชำระหนี้สิน
8. ร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลออกคำสั่งว่าห้างหุ้นส่วนล้มละลาย ในกรณีที่ผู้ชำระบัญชีเห็นว่าเมื่อเงินทุนหรือเงินค่าหุ้นได้ใช้เสร็จแล้ว สินทรัพย์ไม่พอกับหนี้สิน
9. เรียกประชุมใหญ่ผู้เป็นหุ้นส่วนเพื่อเสนอรายงานการชำระบัญชี
10. ยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายใน 14 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมอนุมัติ
ในการปฏิบัติการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนนั้นผู้ชำระบัญชีจะต้องระมัดระวังเรื่องดังต่อไปนี้
1. ผู้ชำระบัญชีต้องประกาศหนังสือพิมพ์และบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ภายใน 14 วันนับแต่วันเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด
2. ผู้ชำระบัญชีต้องยื่นจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดภายใน 14 วันนับแต่วันเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด
3. ผู้ชำระบัญชีต้องส่งรายงานการชำระบัญชีทุกระยะ 3 เดือนครั้งหนึ่งนับแต่วันเลิก
4. ผู้ชำระบัญชีต้องยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายใน 14 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมอนุมัติเสร็จการชำระบัญชี
บริษัทจำกัด
บริษัทจำกัดเป็นรูปแบบของการดำเนินธุรกิจที่ตัวกิจการสามารถแยกออกจากตัวเจ้าของกิจการในทางกฎหมายได้โดยสิ้นเชิง บริษัทจำกัดสามารถที่จะฟ้องหรือจะถูกฟ้อง จัดซื้อหรือขายสินค้าได้ด้วยตัวเอง หรือมีทรัพย์สินเป็นของตนเอง อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าในทางกฎหมายจะแบ่งแยกอย่างนั้น แต่บริษัทจำกัดก็ยังประกอบด้วยเจ้าของซึ่งเป็นผู้ชี้นำและกำหนดนโยบาย เจ้าของบริษัทเลือกคณะกรรมการการบริหารและคณะกรรมการบริหารบริษัทก็เป็นผู้คัดเลือกพนักงานมาทำหน้าที่ต่าง ๆ ในบริษัท ไม่ว่าจะเป็นกรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ เลขานุการ หรือแม้แต่ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน ความเป็นเจ้าของกิจการจะถูกแสดงโดยใบหุ้นสามัญ ความเป็นเจ้าของบริษัทจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถือ แต่เนื่องจากหุ้นสามัญเป็นสิ่งที่เปลี่ยนมือได้ ดังนั้น ความเป็นเจ้าของบริษัทก็สามารถที่จะเปลี่ยนจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้เช่นกัน ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นต่อหนี้สินของบริษัทจะไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นลงทุนในบริษัทเท่านั้น เจ้าหนี้ของบริษัทไม่มีสิทธิที่จะไปเรียกร้องในทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นได้อีก นี่คือข้อได้เปรียบที่สำคัญของกิจการที่เป็นบริษัทจำกัด เรื่องสุดท้ายคือ เรื่องของอายุของบริษัท อายุของบริษัทไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานภาพของผู้ถือหุ้น การตายหรือการถอนหุ้นของผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งไม่มีผลกระทบต่อบริษัทแต่อย่างใด ฝ่ายบริษัทของบริษัทยังคงสามารถบริหารให้บริษัทดำรงอยู่ได้
การเลือกประเภทของการจัดตั้งองค์กรประกอบธุรกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารกิจการ ความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจและประโยชน์ทางภาษีอากร โดยทั่วไปแล้วนักธุรกิจส่วนใหญ่จะจัดตั้งรูปแบบของการประกอบธุรกิจในรูปของ "บริษัทจำกัด" ซึ่งบริษัทจำกัดเป็นบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นโดยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ ซึ่งการจัดตั้งบริษัทจำกัดขึ้นมานั้นจะต้องประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัท จำกัด โดยการเข้าชื่อกันทำเป็นหนังสือบริคณฑ์สนธิซึ่งมักจะมีรายการดังต่อไปนี้
1. ชื่อบริษัทอันคิดจะตั้งขึ้น ซึ่งต้องมีคำว่า "จำกัด" ไว้ปลายชื่อนั้นด้วย
2. ที่สำนักงานของบริษัทซึ่งบอกทะเบียนนั้นจะตั้งอยู่ ณ ที่ใด
3. วัตถุประสงค์ทั้งหลายของบริษัท
4. ถ้อยคำสำแดงว่า ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นจะมีจำกัด
5. จำนวนทุนเรือนหุ้นซึ่งบริษัทคิดกำหนดจะจดทะเบียนแบ่งออกเป็นหุ้นมีมูลค่ากำหนดหุ้นละเท่าไร
6. ชื่อ สำนัก อาชีวะ และลายมือชื่อของบรรดาผู้เริ่มก่อการทั้งจำนวนหุ้นซึ่งต่างคนต่างเข้าชื่อซื้อไว้คนละเท่าใด
ในหนังสือบริคณฑ์สนธิจะทำเป็นต้นฉบับไว้ไม่น้อยกว่า 2 ฉบับ ให้ลงลายมือชื่อของผู้เริ่มก่อการและลายมือชื่อนั้นจะต้องมีพยานลงชื่อรับรองด้วย 2 คน ในกรณีของผู้เริ่มก่อการทุกคนต้องลงชื่อซื้อหุ้น ๆ หนึ่งเป็นอย่างน้อย
1. หุ้นและผู้ถือหุ้น
มูลค่าหุ้นหนึ่งของบริษัทจำกัดมิให้ต่ำกว่า 5 บาท ซึ่งหุ้นของบริษัทจะแบ่งแยกกันไม่ได้ ในกรณีที่มีบุคคลที่มีจำนวนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปถือหุ้นเดียวร่วมกัน ให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะเป็นผู้ถือหุ้น ให้บริษัททำใบหุ้นซึ่งใบสำคัญหุ้นใบหนึ่งหรือหลายใบมอบให้เป็นคู่มือแก่ผู้ถือหุ้นทุกคน ในใบหุ้นทุกใบให้กรรมการลงลายมือชื่อ 1 คนเป็นอย่างน้อยและประทับตราของบริษัทเป็นสำคัญ ใบหุ้นของบริษัทจำกัดจะต้องมีข้อความดังนี้
1. ชื่อบริษัท
2. เลขหมายหุ้นที่กล่าวถึงในใบหุ้นนั้น
3. มูลค่าหุ้นหนึ่งเป็นเงินเท่าใด
4. ถ้าและเป็นหุ้นที่ยังไม่ได้ใช้เงินเสร็จ ให้จดลงว่าได้ใช้เงินค่าหุ้นแล้วหุ้นละเท่าใด
5. ชื่อผู้ถือหุ้น หรือ คำแถลงว่าได้ออกใบหุ้นนั้นให้แก่ผู้ถือ
2. การจัดการบริษัทจำกัด
ในการจัดการบริษัทจำกัด เมื่อได้มีการตั้งข้อบังคับของบริษัทจำกัดขึ้นมาแล้ว หากต้องการจัดทำใหม่หรือเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ หรือข้อความในหนังสือบริคณฑ์สนธิ จะต้องได้มีการลงมติพิเศษจึงจะสามารถกระทำได้ ในการจัดการบริษัทจะให้ผู้เป็นกรรมการของบริษัทจำกัดเป็นผู้ดำเนินงานซึ่งกรรมการจะมีจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับที่ประชุมใหญ่เป็นผู้กำหนด กรรมการจะต้องออกจากตำแหน่งในปีแรกและปีที่สอง ภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้น แต่กรรมการผู้ออกไปนั้นจะเลือกเข้ารับตำแหน่งอีกก็ได้ ในการตั้งกรรมการขึ้นมาใหม่นั้น ให้จะต้องจดทะเบียนภายใน 14 วันนับแต่วันที่ตั้ง อำนาจของกรรมการจะกำหนดไว้ในข้อกำหนดของบริษัท อำนาจของกรรมการมีดังนี้
1. ในจำนวนกรรมการนั้นแม้ตำแหน่งจะว่างไปบ้างกรรมการที่มีตัวอยู่ ก็ย่อมทำกิจการได้ แต่ถ้าในเวลาใดจำนวนกรรมการลดน้อยลงกว่าจำนวนอันจำเป็นที่จะเป็นองค์ประชุมได้ ตลอดเวลากรรมการที่มีตัวอยู่ย่อมทำกิจการได้ เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะเพิ่มกรรมการขึ้นให้ครบจำนวน หรือนัดเรียกประชุมใหญ่ของบริษัทเท่านั้น จะกระทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้
2. กรรมการจะวางกำหนดไว้ก็ได้ว่าจำนวนกรรมการที่เข้าประชุมกี่คนจึงจะเป็นองค์ประชุมทำกิจการได้ ถ้าและมิได้กำหนดไว้ (เมื่อจำนวนกรรมการเกินกว่า 3 คน) ท่านว่าจะต้องมีกรรมการเข้าประชุม 3 คนจึงจะเป็นองค์ประชุมได้
3. ข้อปรึกษาซึ่งเกิดเป็นปัญหาในการประชุมกรรมการนั้นให้ชี้ขาดตัดสินให้เสียงข้างมากเป็นใหญ่ ถ้าและคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ผู้เป็นประธานเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด
4. กรรมการคนหนึ่งคนใด จะนัดเรียกให้ประชุมกรรรมการเมื่อใดก็ได้
5. กรรมการจะเลือกกรรมการคนหนึ่งขึ้นเป็นประธานที่ประชุม และจะกำหนดว่าให้อยู่ในตำแหน่งเพียงใดก็ได้ แต่ถ้าหากมิได้เลือกกันไว้เช่นนั้นหรือผู้เป็นประธานไม่มาประชุมตามกำหนดเวลาที่ได้นัดหมายไว้ กรรมการที่มาประชุมนั้นจะเลือกคนหนึ่งขึ้นเป็นประธานในการประชุมเช่นนั้นก็ได้
6. กรรมการจะมอบอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใดของตนให้แก่ผู้จัดการหรือให้แก่อนุกรรมการซึ่งตั้งขึ้นจากผู้เป็นกรรมการด้วยกันก็ได้ในการใช้อำนาจซึ่งได้มอบหมายเช่นนั้น ผู้จัดการทุกคนหรืออนุกรรรมการทุกคนจะต้องทำตามคำสั่งหรือข้อบังคับ ซึ่งกรรมการทั้งหลายได้กำหนดให้ทุกอย่างทุกประการ
(ยังมีต่อ).../3. เงินปันผล..