กรุงเทพ--29 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เรา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม มาประชุม ณ กรุงเทพมหานครในวันนี้โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้เข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์
เราได้แลกเปลียนข้อมูลและประสบการณ์เกี่ยวกับมาตรการดำเนินการของแต่ละประเทศและพบว่าหลายมาตรการและยุทธศาสตร์ สามารถนำไปปรับใช้เพื่อป้องกันและควบคุมโรคระบาดทุกแห่ง ที่ประชุมได้หารือถึงสถานการณ์ของโรคระบาดในสัตว์ปีกที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การระบาดของโรคไข้หวัดในสัตว์ปีกและผลกระทบของโรคดังกล่าวที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์และเศรษฐกิจ
เราได้รับทราบว่าการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวไม่เพียงส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมสัตว์ปีกเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดภาวะคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์อีกด้วย ดังนั้น การยับยั้งโรคระบาด ดังกล่าวจะต้องอาศัยความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐบาล ชุมชนในสังคม และภาคธุรกิจผ่านทางองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศที่เหมาะสม รวมทั้งการใช้มาตรการที่จำเป็นอื่นๆ ในการยับยั้งโรคระบาดดังกล่าว
เราขอเสนอให้มีการติดตามและตรวจสอบอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชี้อ H5N1 ในมนุษย์ ในขณะนี้ ยังไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ถึงการแพร่ระบาดในมนุษย์ และยังไม่มีข้อพึงระวังในการเดินทาง
เราชื่นชมการดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในประเทศที่มีการระบาด โดยมาตรการเหล่านี้ประกอบด้วยการตรวจสอบและการประเมินที่รวดเร็วและแม่นยำ การทำลายล้างกลุ่มสัตว์ปีกที่มีความเสี่ยงอย่างรวดเร็ว การฉีดวัคซีนในสัตว์ปีก จำกัดพื้นที่ที่มีการระบาด เพิ่มการตรวจตรา ควบคุมการเคลื่อนย้าย และมาตรการสืบค้นทางระบาดวิทยาและการรักษาตัวผู้ป่วย รวมทั้งติดตามดูอาการของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ
โดยคำนึงถึงผลกระทบอย่างร้ายแรงของโรคไข้หวัดในสัตว์ปีกที่อาจจะเกิดต่อการปศุสัตว์ การค้าและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เราจึงเลือกที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้
- มีพันธะร่วมกันที่จะสร้างมาตรการควบคุมที่เข้มงวดและระบบการตอบสนองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปรับปรุงขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนารวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี
- ร่วมมือกันในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับระหว่างประเทศในการจัดการกับการแพร่ระบาด รวมถึงภาวะคุกคามที่คล้ายคลึงกันในอนาคต
- ใช้มาตรการภายในประเทศทุกประการเพื่อควบคุมโรคไข้หวัดดังกล่าว โดยตระหนักถึงคำแนะนำขององค์กรสุขภาพสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE), องค์การอนามัยโลก (WHO) และ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
- ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับ OIE เพื่อเสริมสร้างแนวทางในการรายงาน สถานการณ์และตรวจตราควบคุมโรค
- ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ที่รวดเร็ว โปร่งใส และแม่นยำ เพื่อส่งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าเกี่ยวกับโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้น และพิจารณาสร้างเครือข่ายการตรวจควบคุมโรคในสัตว์โดยเชื่อมโยงเครือข่ายดังกล่าวไปสู่เครือข่ายการควบคุมโรคของมนุษย์ที่มีอยู่แล้ว เช่น คณะทำงานเฉพาะกิจเอเปคด้านสาธารณสุข การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสาธารณสุขที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ และการประชุมผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนที่กรุงเทพฯ
- เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรในภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศในการริเริ่มค้นคว้าวิจัยและพัฒนาร่วมกัน เพื่อลดอันตรายจากโรคระบาดในสัตว์ที่จะ ติดต่อสู่มนุษย์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีที่สุด จัดทำมาตรการต่อต้านโรคระบาด รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือวินิจฉัย วัคซีน และยาต่อต้านเชื้อไวรัสที่มีต้นทุนต่ำ
- เรียกร้องให้มีการช่วยเหลือด้านวิชาการและให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้แก่ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคเพื่อเพิ่มความสามารถทางระบาดวิทยา และการวิจัยในห้องปฏิบัติการ อันจะส่งผลให้การวินิจฉัยและตรวจสอบโรคมีความฉับไวยิ่งขึ้น พร้อมกับควบคุมโรคระบาด
- จัดทำยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์และการเข้าถึงสื่อมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะ และวิธีการระบาดของโรคดังกล่าวแก่สาธารณชน
- แสวงหาแนวทางในการพัฒนาความมั่นคงทางชีวภาพของอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ทั้งในระดับครัวเรือนและระดับธุรกิจ
เราขอขอบคุณคณะผู้แทนจาก OIE, WHO และ FAO พร้อมทั้งนักวิชาการที่มาให้ ข้อแนะนำในการควบคุมโรคระบาดในสัตว์ปีกและการป้องกันด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศและท้าย ที่สุดเราขอขอบคุณรัฐบาลไทยสำหรับการจัดการประชุมในครั้งนี้และการต้อนรับที่อบอุ่น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เรา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม มาประชุม ณ กรุงเทพมหานครในวันนี้โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้เข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์
เราได้แลกเปลียนข้อมูลและประสบการณ์เกี่ยวกับมาตรการดำเนินการของแต่ละประเทศและพบว่าหลายมาตรการและยุทธศาสตร์ สามารถนำไปปรับใช้เพื่อป้องกันและควบคุมโรคระบาดทุกแห่ง ที่ประชุมได้หารือถึงสถานการณ์ของโรคระบาดในสัตว์ปีกที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การระบาดของโรคไข้หวัดในสัตว์ปีกและผลกระทบของโรคดังกล่าวที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์และเศรษฐกิจ
เราได้รับทราบว่าการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวไม่เพียงส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมสัตว์ปีกเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดภาวะคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์อีกด้วย ดังนั้น การยับยั้งโรคระบาด ดังกล่าวจะต้องอาศัยความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐบาล ชุมชนในสังคม และภาคธุรกิจผ่านทางองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศที่เหมาะสม รวมทั้งการใช้มาตรการที่จำเป็นอื่นๆ ในการยับยั้งโรคระบาดดังกล่าว
เราขอเสนอให้มีการติดตามและตรวจสอบอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชี้อ H5N1 ในมนุษย์ ในขณะนี้ ยังไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ถึงการแพร่ระบาดในมนุษย์ และยังไม่มีข้อพึงระวังในการเดินทาง
เราชื่นชมการดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในประเทศที่มีการระบาด โดยมาตรการเหล่านี้ประกอบด้วยการตรวจสอบและการประเมินที่รวดเร็วและแม่นยำ การทำลายล้างกลุ่มสัตว์ปีกที่มีความเสี่ยงอย่างรวดเร็ว การฉีดวัคซีนในสัตว์ปีก จำกัดพื้นที่ที่มีการระบาด เพิ่มการตรวจตรา ควบคุมการเคลื่อนย้าย และมาตรการสืบค้นทางระบาดวิทยาและการรักษาตัวผู้ป่วย รวมทั้งติดตามดูอาการของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ
โดยคำนึงถึงผลกระทบอย่างร้ายแรงของโรคไข้หวัดในสัตว์ปีกที่อาจจะเกิดต่อการปศุสัตว์ การค้าและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เราจึงเลือกที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้
- มีพันธะร่วมกันที่จะสร้างมาตรการควบคุมที่เข้มงวดและระบบการตอบสนองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปรับปรุงขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนารวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี
- ร่วมมือกันในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับระหว่างประเทศในการจัดการกับการแพร่ระบาด รวมถึงภาวะคุกคามที่คล้ายคลึงกันในอนาคต
- ใช้มาตรการภายในประเทศทุกประการเพื่อควบคุมโรคไข้หวัดดังกล่าว โดยตระหนักถึงคำแนะนำขององค์กรสุขภาพสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE), องค์การอนามัยโลก (WHO) และ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
- ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับ OIE เพื่อเสริมสร้างแนวทางในการรายงาน สถานการณ์และตรวจตราควบคุมโรค
- ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ที่รวดเร็ว โปร่งใส และแม่นยำ เพื่อส่งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าเกี่ยวกับโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้น และพิจารณาสร้างเครือข่ายการตรวจควบคุมโรคในสัตว์โดยเชื่อมโยงเครือข่ายดังกล่าวไปสู่เครือข่ายการควบคุมโรคของมนุษย์ที่มีอยู่แล้ว เช่น คณะทำงานเฉพาะกิจเอเปคด้านสาธารณสุข การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสาธารณสุขที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ และการประชุมผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนที่กรุงเทพฯ
- เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรในภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศในการริเริ่มค้นคว้าวิจัยและพัฒนาร่วมกัน เพื่อลดอันตรายจากโรคระบาดในสัตว์ที่จะ ติดต่อสู่มนุษย์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีที่สุด จัดทำมาตรการต่อต้านโรคระบาด รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือวินิจฉัย วัคซีน และยาต่อต้านเชื้อไวรัสที่มีต้นทุนต่ำ
- เรียกร้องให้มีการช่วยเหลือด้านวิชาการและให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้แก่ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคเพื่อเพิ่มความสามารถทางระบาดวิทยา และการวิจัยในห้องปฏิบัติการ อันจะส่งผลให้การวินิจฉัยและตรวจสอบโรคมีความฉับไวยิ่งขึ้น พร้อมกับควบคุมโรคระบาด
- จัดทำยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์และการเข้าถึงสื่อมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะ และวิธีการระบาดของโรคดังกล่าวแก่สาธารณชน
- แสวงหาแนวทางในการพัฒนาความมั่นคงทางชีวภาพของอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ทั้งในระดับครัวเรือนและระดับธุรกิจ
เราขอขอบคุณคณะผู้แทนจาก OIE, WHO และ FAO พร้อมทั้งนักวิชาการที่มาให้ ข้อแนะนำในการควบคุมโรคระบาดในสัตว์ปีกและการป้องกันด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศและท้าย ที่สุดเราขอขอบคุณรัฐบาลไทยสำหรับการจัดการประชุมในครั้งนี้และการต้อนรับที่อบอุ่น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-