กรุงเทพ--29 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ) คำกล่าวเปิดการประชุม ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในการเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของโรคในสัตว์ปีก 28 มกราคม 2547 ที่ กรุงเทพฯ
ฯพณฯ
ผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมประชุม
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ก่อนอื่น ผมขอขอบคุณทุกท่าน ตลอดจนรัฐบาลและองค์กรของท่านที่ตอบรับคำเชิญของประเทศไทยในระยะเวลาอันกระชั้นชิด เพื่อมาร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของโรคในสัตว์ปีกในปัจจุบัน ณ ที่ประชุมแห่งนี้ เราได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีสาธารณสุขรัฐมนตรีเกษตรและเจ้าหน้าที่อาวุโสจาก 13 เขตเศรษฐกิจซึ่งเป็นผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสัตว์ปีกรายใหญ่ ตลอดจนผู้แทนอาวุโสจากองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ องค์การอนามัยโลก องค์การอาหารและเกษตร และองค์การเพื่อสุขอนามัยสัตว์แห่งโลก การมีผู้แทนเข้าร่วมประชุมที่ครอบคลุมกว้างขวาง เช่นนี้ เป็นหลักประกันว่าความพยายามของพวกเราในการยับยั้งและป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในครั้งนี้จะมีความละเอียดถี่ถ้วน มีประสิทธิภาพและเกิดขึ้นในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสม
เมื่อปีที่แล้ว ประเทศไทยโชคดีที่รอดพ้นจากวิกฤติการณ์โรคซาร์ส โดยไม่มีการระบาดของโรคภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ผมได้กล่าวในครั้งนั้นว่า ซาร์สเป็นโรคระบาดข้ามพรมแดนและเป็นความหวาดกลัวในระดับระหว่างประเทศ เฉกเช่นเดียวกับอาชญากรรมข้ามชาติ ซาร์สจึงเป็นด้านที่ดำมืดของโลกาภิวัตน์
จากนั้นมา ยังไม่ถึง 1 ปี เรากำลังเผชิญด้านที่ดำมืดของโลกาภิวัตน์อีกครั้งหนึ่งครั้งนี้คือการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไข้หวัดนก ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นภัยคุกคามด้านเศรษฐกิจอย่างร้ายแรงที่ทำให้ต้องกำจัดไก่นับล้าน ๆ ตัว แต่ยังเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนด้วย ในประเทศไทย เรายืนยันกรณีผู้ป่วยด้วยไข้หวัดนกรายแรกเมื่อวันที่ 23 มกราคม และขณะนี้ มีผู้ป่วยด้วยไข้หวัดนกที่ได้รับการยืนยันแล้วจำนวน 3 ราย และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย จนถึงเช้าวันนี้ จากการสำรวจสุ่มตัวอย่างพื้นที่ทั้งหมด 60,000 จุด รัฐบาลได้ประกาศพื้นที่เสี่ยง 134 จุด ทั้งนี้ แต่ละจุดครอบคลุมในรัศมี 5 กิโลเมตร
โชคดีที่ วิกฤติการณ์โรคซาร์ส ได้กระตุ้นให้เราเอาใจใส่เป็นพิเศษต่อระบบสาธารณสุขของประเทศและนับตั้งแต่นั้นมา เราได้จัดตั้งระบบการเฝ้าระวัง ระบบการดูแล และรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สามารถปรับให้รับมือกับการระบาดของโรคติดต่อใด ๆ ก็ได้
เราไม่ควรลืมบทเรียนที่ได้รับจากโรคซารส์ จากประสบการณ์ที่ได้รับจากโรคซาร์ส การระบาดในระดับท้องถิ่นสามารถขยายผลไปสู่ระดับภูมิภาค และแม้แต่กลายเป็นวิกฤตการณ์ระดับโลกหากมิได้รับการจัดการโดยฉับพลันในทำนองเดียวกับโรคซาร์ส ความหวาดกลัวไข้หวัดนกอาจจะเลวร้ายกว่าตัวไข้หวัดนกเอง
ในกรณีของประเทศไทย สถานการณ์ปัจจุบันเตือนเราว่า แม้ว่าเราจะตระหนักถึงบทเรียนที่ได้รับจากอดีต แต่ความผิดพลาดและความพลั้งเผลอของมนุษย์ยังคงเป็นไปได้ ดังนั้น การตระหนักอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เราต้องมั่นใจตลอดเวลาว่า ถ้าเราจะยับยั้งวิกฤติตั้งแต่เริ่มต้น เราจะต้องนำหน้าปัญหาตลอดเวลา ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม นั่นคือสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ประเด็นที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญสูงสุดในขณะนี้ คือการควบคุมสถานการณ์ให้ได้
เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัส ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องตอบสนองโดยฉับพลัน ดำเนินการด้วยความโปร่งใส ได้รับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน นั่นคือสิ่งที่ผมได้สั่งการให้รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติ และก็เป็นวัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้ด้วย เราจำเป็นต้องประสานความเพียรพยายาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูล เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาที่มากหรือน้อยเกินไป ที่เราต้องการมากที่สุด คือ ข้อเท็จจริงและความโปร่งใส มิใช่การคาดคะเนและการกล่าวเกินความเป็นจริง
ศัตรูที่เรากำลังเผชิญอยู่มิได้รุนแรงน้อยกว่าโรคซาร์ส ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ไวรัสเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ยากต่อการป้องกัน ยิ่งไปกว่านั้น ไวรัสเหล่านี้ยังสามารถผสมหน่วยพันธุกรรมกับไวรัสชนิดอื่น ซึ่งจะก่อให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่า โดยนัยทางวิทยาศาสตร์เช่นนี้ สภาพการณ์แห่งความหายนะจะต้องได้รับการป้องกันโดยทุกวิถีทาง
ด้วยการประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลในการประชุมครั้งนี้ เราต้องตอบโต้ก่อนที่จะสายเกินแก้ ดังนั้น ปฏิบัติการที่รวดเร็วและเด็ดขาดที่จะยับยั้งไข้หวัดนกจึงมีความสำคัญยิ่ง ที่เราจะต้องป้องกันโรคที่ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบถึงนกเท่านั้น หากยังส่งผลกระทบถึงมนุษย์ด้วย
เราตระหนักว่าจนกระทั่งขณะนี้ ยังไม่ปรากฏการติดต่อของโรคจากมนุษย์สู่มนุษย์ แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่น่าพอใจ สาธารณชนจำเป็นที่จะต้องได้รับรู้และตระหนักถึงความจริง ในขณะเดียวกัน สาธารณชนจำเป็นต้องได้รับการแนะนำอย่างถูกต้องว่าจะรับมือกับการแพร่ของโรคระบาดนี้เพื่อที่จะสามารถป้องกันตัวเอง และยับยั้งเชื้อโรคได้ ความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลเป็นเรื่องจำเป็นที่จะนำความเชื่อมั่นกลับคืนมา ผมหวังว่า การประชุมครั้งนี้จะเป็นความพยายามครั้งสำคัญไปสู่วัตถุประสงค์นั้น
การเกิดขึ้นของโรคไข้หวัดนกเป็นปัญหาข้ามชาติที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนหลายประเทศ ณ ที่นี้ มีความเจริญก้าวหน้าสูงในด้านเทคโนโลยี ความสามารถในด้านวิจัยและการพัฒนาบุคลากร และอุปกรณ์ แต่อีกหลายประเทศ ณ ที่นี้ ยังไม่มีความเจริญก้าวหน้าถึงขั้นนั้น เราควรจะพิจารณาว่าจะให้ความช่วยเหลือประเทศที่เจริญน้อยกว่า ที่ต้องพึ่งพาการทำฟาร์มสัตว์ปีกขนาดเล็กเพื่อความอยู่รอดได้อย่างไร เช่น ด้วยการสร้างขีดความสามารถ และให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ ได้อย่างไร เชื้อไวรัสนี้ไม่มีพรมแดน ความร่วมมือของเราจึงต้องไม่มีพรมแดนเช่นกัน
จากประสบการณ์ของเราเกี่ยวกับโรคซาร์สที่ว่า การป่าวประกาศไม่อาจจะฟื้นความเชื่อถือของสาธารณชนได้ หากเราไม่สามารถดำเนินการที่เป็นรูปธรรม การมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ ดังนั้น ในเรื่องที่มีความสำคัญและมีความเสี่ยงที่สูงเช่นนี้ ผมจึงเรียกร้องท่านให้ใช้โอกาสนี้อย่างเต็มที่ในการคิดร่วมกันและสร้างเครือข่ายที่แน่นหนาและมีประสิทธิภาพ เพื่อผนึกกำลังกันต่อต้านภัยคุกคามต่อมนุษยชาติครั้งนี้
ขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ) คำกล่าวเปิดการประชุม ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในการเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของโรคในสัตว์ปีก 28 มกราคม 2547 ที่ กรุงเทพฯ
ฯพณฯ
ผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมประชุม
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ก่อนอื่น ผมขอขอบคุณทุกท่าน ตลอดจนรัฐบาลและองค์กรของท่านที่ตอบรับคำเชิญของประเทศไทยในระยะเวลาอันกระชั้นชิด เพื่อมาร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของโรคในสัตว์ปีกในปัจจุบัน ณ ที่ประชุมแห่งนี้ เราได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีสาธารณสุขรัฐมนตรีเกษตรและเจ้าหน้าที่อาวุโสจาก 13 เขตเศรษฐกิจซึ่งเป็นผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสัตว์ปีกรายใหญ่ ตลอดจนผู้แทนอาวุโสจากองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ องค์การอนามัยโลก องค์การอาหารและเกษตร และองค์การเพื่อสุขอนามัยสัตว์แห่งโลก การมีผู้แทนเข้าร่วมประชุมที่ครอบคลุมกว้างขวาง เช่นนี้ เป็นหลักประกันว่าความพยายามของพวกเราในการยับยั้งและป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในครั้งนี้จะมีความละเอียดถี่ถ้วน มีประสิทธิภาพและเกิดขึ้นในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสม
เมื่อปีที่แล้ว ประเทศไทยโชคดีที่รอดพ้นจากวิกฤติการณ์โรคซาร์ส โดยไม่มีการระบาดของโรคภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ผมได้กล่าวในครั้งนั้นว่า ซาร์สเป็นโรคระบาดข้ามพรมแดนและเป็นความหวาดกลัวในระดับระหว่างประเทศ เฉกเช่นเดียวกับอาชญากรรมข้ามชาติ ซาร์สจึงเป็นด้านที่ดำมืดของโลกาภิวัตน์
จากนั้นมา ยังไม่ถึง 1 ปี เรากำลังเผชิญด้านที่ดำมืดของโลกาภิวัตน์อีกครั้งหนึ่งครั้งนี้คือการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไข้หวัดนก ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นภัยคุกคามด้านเศรษฐกิจอย่างร้ายแรงที่ทำให้ต้องกำจัดไก่นับล้าน ๆ ตัว แต่ยังเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนด้วย ในประเทศไทย เรายืนยันกรณีผู้ป่วยด้วยไข้หวัดนกรายแรกเมื่อวันที่ 23 มกราคม และขณะนี้ มีผู้ป่วยด้วยไข้หวัดนกที่ได้รับการยืนยันแล้วจำนวน 3 ราย และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย จนถึงเช้าวันนี้ จากการสำรวจสุ่มตัวอย่างพื้นที่ทั้งหมด 60,000 จุด รัฐบาลได้ประกาศพื้นที่เสี่ยง 134 จุด ทั้งนี้ แต่ละจุดครอบคลุมในรัศมี 5 กิโลเมตร
โชคดีที่ วิกฤติการณ์โรคซาร์ส ได้กระตุ้นให้เราเอาใจใส่เป็นพิเศษต่อระบบสาธารณสุขของประเทศและนับตั้งแต่นั้นมา เราได้จัดตั้งระบบการเฝ้าระวัง ระบบการดูแล และรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สามารถปรับให้รับมือกับการระบาดของโรคติดต่อใด ๆ ก็ได้
เราไม่ควรลืมบทเรียนที่ได้รับจากโรคซารส์ จากประสบการณ์ที่ได้รับจากโรคซาร์ส การระบาดในระดับท้องถิ่นสามารถขยายผลไปสู่ระดับภูมิภาค และแม้แต่กลายเป็นวิกฤตการณ์ระดับโลกหากมิได้รับการจัดการโดยฉับพลันในทำนองเดียวกับโรคซาร์ส ความหวาดกลัวไข้หวัดนกอาจจะเลวร้ายกว่าตัวไข้หวัดนกเอง
ในกรณีของประเทศไทย สถานการณ์ปัจจุบันเตือนเราว่า แม้ว่าเราจะตระหนักถึงบทเรียนที่ได้รับจากอดีต แต่ความผิดพลาดและความพลั้งเผลอของมนุษย์ยังคงเป็นไปได้ ดังนั้น การตระหนักอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เราต้องมั่นใจตลอดเวลาว่า ถ้าเราจะยับยั้งวิกฤติตั้งแต่เริ่มต้น เราจะต้องนำหน้าปัญหาตลอดเวลา ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม นั่นคือสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ประเด็นที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญสูงสุดในขณะนี้ คือการควบคุมสถานการณ์ให้ได้
เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัส ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องตอบสนองโดยฉับพลัน ดำเนินการด้วยความโปร่งใส ได้รับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน นั่นคือสิ่งที่ผมได้สั่งการให้รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติ และก็เป็นวัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้ด้วย เราจำเป็นต้องประสานความเพียรพยายาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูล เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาที่มากหรือน้อยเกินไป ที่เราต้องการมากที่สุด คือ ข้อเท็จจริงและความโปร่งใส มิใช่การคาดคะเนและการกล่าวเกินความเป็นจริง
ศัตรูที่เรากำลังเผชิญอยู่มิได้รุนแรงน้อยกว่าโรคซาร์ส ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ไวรัสเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ยากต่อการป้องกัน ยิ่งไปกว่านั้น ไวรัสเหล่านี้ยังสามารถผสมหน่วยพันธุกรรมกับไวรัสชนิดอื่น ซึ่งจะก่อให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่า โดยนัยทางวิทยาศาสตร์เช่นนี้ สภาพการณ์แห่งความหายนะจะต้องได้รับการป้องกันโดยทุกวิถีทาง
ด้วยการประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลในการประชุมครั้งนี้ เราต้องตอบโต้ก่อนที่จะสายเกินแก้ ดังนั้น ปฏิบัติการที่รวดเร็วและเด็ดขาดที่จะยับยั้งไข้หวัดนกจึงมีความสำคัญยิ่ง ที่เราจะต้องป้องกันโรคที่ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบถึงนกเท่านั้น หากยังส่งผลกระทบถึงมนุษย์ด้วย
เราตระหนักว่าจนกระทั่งขณะนี้ ยังไม่ปรากฏการติดต่อของโรคจากมนุษย์สู่มนุษย์ แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่น่าพอใจ สาธารณชนจำเป็นที่จะต้องได้รับรู้และตระหนักถึงความจริง ในขณะเดียวกัน สาธารณชนจำเป็นต้องได้รับการแนะนำอย่างถูกต้องว่าจะรับมือกับการแพร่ของโรคระบาดนี้เพื่อที่จะสามารถป้องกันตัวเอง และยับยั้งเชื้อโรคได้ ความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลเป็นเรื่องจำเป็นที่จะนำความเชื่อมั่นกลับคืนมา ผมหวังว่า การประชุมครั้งนี้จะเป็นความพยายามครั้งสำคัญไปสู่วัตถุประสงค์นั้น
การเกิดขึ้นของโรคไข้หวัดนกเป็นปัญหาข้ามชาติที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนหลายประเทศ ณ ที่นี้ มีความเจริญก้าวหน้าสูงในด้านเทคโนโลยี ความสามารถในด้านวิจัยและการพัฒนาบุคลากร และอุปกรณ์ แต่อีกหลายประเทศ ณ ที่นี้ ยังไม่มีความเจริญก้าวหน้าถึงขั้นนั้น เราควรจะพิจารณาว่าจะให้ความช่วยเหลือประเทศที่เจริญน้อยกว่า ที่ต้องพึ่งพาการทำฟาร์มสัตว์ปีกขนาดเล็กเพื่อความอยู่รอดได้อย่างไร เช่น ด้วยการสร้างขีดความสามารถ และให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ ได้อย่างไร เชื้อไวรัสนี้ไม่มีพรมแดน ความร่วมมือของเราจึงต้องไม่มีพรมแดนเช่นกัน
จากประสบการณ์ของเราเกี่ยวกับโรคซาร์สที่ว่า การป่าวประกาศไม่อาจจะฟื้นความเชื่อถือของสาธารณชนได้ หากเราไม่สามารถดำเนินการที่เป็นรูปธรรม การมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ ดังนั้น ในเรื่องที่มีความสำคัญและมีความเสี่ยงที่สูงเช่นนี้ ผมจึงเรียกร้องท่านให้ใช้โอกาสนี้อย่างเต็มที่ในการคิดร่วมกันและสร้างเครือข่ายที่แน่นหนาและมีประสิทธิภาพ เพื่อผนึกกำลังกันต่อต้านภัยคุกคามต่อมนุษยชาติครั้งนี้
ขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-