ที่รัฐสภา วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา
ได้ออกแถลงการณ์เรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาการตราพระราชบัญญัติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏว่า สมควรให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เนื่องจากถือว่าเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพัน
ต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่น ๆ ของรัฐสภา
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา แถลงถึงการแก้ไขปัญหาการตราร่าง
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. …. ว่า การแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าวหลายฝ่ายไม่ว่า
จะเป็นรัฐบาล ฝ่ายค้าน รัฐสภา หรือนักวิชาการต่าง ๆ ล้วนแต่มีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไป
ซึ่งการที่ประธานรัฐสภาจะตัดสินใจโดยไม่ปรึกษาหารือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาร่างกฎหมาย
ดังกล่าวน่าจะไม่เหมาะสม เพราะการตัดสินใจของประธานรัฐสภาย่อมต้องมีผู้ไม่เห็นด้วยและคัดค้าน
และไม่อาจถือเป็นที่สิ้นสุดได้ โดยในฐานะประธานรัฐสภาพิจารณาแล้วเห็นว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหา
ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา และนายกรัฐมนตรี อีกทั้งเป็นปัญหาความขัดแย้งที่จำเป็นต้องชี้ขาดว่าจะนำร่าง
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลง
พระปรมาภิไธยประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายตามความในมาตรา ๙๓ ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย โดยที่ข้อความบางส่วนมีความขัดแย้งกันหรือหากรัฐสภาจะนำร่างกฎหมาย
ดังกล่าวกลับมาแก้ไขจะดำเนินการได้เพียงใดหรือไม่ ดังนั้นสมควรที่จะให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ย่อมเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมี
คำวินิจฉัยประการใดแล้วจะได้นำมาเป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป
-------------------------------------------------------
ได้ออกแถลงการณ์เรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาการตราพระราชบัญญัติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏว่า สมควรให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เนื่องจากถือว่าเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพัน
ต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่น ๆ ของรัฐสภา
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา แถลงถึงการแก้ไขปัญหาการตราร่าง
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. …. ว่า การแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าวหลายฝ่ายไม่ว่า
จะเป็นรัฐบาล ฝ่ายค้าน รัฐสภา หรือนักวิชาการต่าง ๆ ล้วนแต่มีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไป
ซึ่งการที่ประธานรัฐสภาจะตัดสินใจโดยไม่ปรึกษาหารือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาร่างกฎหมาย
ดังกล่าวน่าจะไม่เหมาะสม เพราะการตัดสินใจของประธานรัฐสภาย่อมต้องมีผู้ไม่เห็นด้วยและคัดค้าน
และไม่อาจถือเป็นที่สิ้นสุดได้ โดยในฐานะประธานรัฐสภาพิจารณาแล้วเห็นว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหา
ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา และนายกรัฐมนตรี อีกทั้งเป็นปัญหาความขัดแย้งที่จำเป็นต้องชี้ขาดว่าจะนำร่าง
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลง
พระปรมาภิไธยประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายตามความในมาตรา ๙๓ ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย โดยที่ข้อความบางส่วนมีความขัดแย้งกันหรือหากรัฐสภาจะนำร่างกฎหมาย
ดังกล่าวกลับมาแก้ไขจะดำเนินการได้เพียงใดหรือไม่ ดังนั้นสมควรที่จะให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ย่อมเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมี
คำวินิจฉัยประการใดแล้วจะได้นำมาเป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป
-------------------------------------------------------