นายชนะ คณารัตนดิลก ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านนโยบายและแผน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ผู้แทนฝ่ายไทย เปิดเผยถึงการเตรียมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า BIMST-EC ครั้งที่ 5 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547 ณ เลอ เมอริเดียน บีช รีสอร์ท จังหวัด ภูเก็ต ว่า การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบความก้าวหน้าและให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานของสาขาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน นอกจากนั้น ยังจะมีการพิจารณาร่างกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMST-EC ซึ่งเป็นผลจากการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า BIMST-EC ครั้งที่ 4 ณ กรุงโคลัมโบ ที่เห็นชอบให้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อจัดทำร่างกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMST-EC เพื่อเสนอต่อที่ประชุมระดับผู้นำ
นายชนะ กล่าวต่อว่า เมื่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า มีมติเห็นชอบร่างกรอบความตกลงดังกล่าวแล้ว จะมีการลงนามในกรอบความตกลงฯโดยมีนายกรัฐมนตรีของไทย (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) ร่วมเป็นสักขีพยาน ก่อนงานเลี้ยงอาหารค่ำ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 ณ เลอ เมอริเดียน บีช รีสอร์ท โดยหลังการลงนามความตกลงแล้วคณะกรรมการเจรจาการค้าสามารถดำเนินการเพื่อเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี BIMST-EC ได้ทันที ทั้งนี้ ร่างกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMST-EC ครอบคลุมทั้งเรื่องการลดภาษีสินค้า ซึ่งมีทั้งสินค้าเร่งลดภาษี (Fast Track) และสินค้าลดภาษีปกติ (Normal Track) การเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุน โดยด้านบริการจะครอบคลุมเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือด้านบริการ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและการแข่งขัน ด้านการลงทุนจะครอบคลุมเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน รวมทั้ง ให้มีการเจรจาเพื่อให้กฎระเบียบด้านการลงทุนเสรีมากขึ้นโดยใช้ positive list Approach
นายชนะกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ในการประชุมครั้งนี้ ยังจะมีการเจรจาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เช่น การเสริมสร้างขีดความสามารถ (capacity building) การให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ รวมทั้งการปรับมาตรฐานด้านสุขอนามัยและมาตรฐานสินค้าให้ใกล้เคียงกันมากขึ้น สำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) จะได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างในด้านต่างๆ เช่น การลดภาษีที่ใช้ระยะเวลายาวกว่า เป็นต้น สำหรับประเด็นที่ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้าจะต้องพิจารณาเป็นพิเศษว่าสมควรจะให้มีหรือไม่ คือเรื่องการสูญเสียรายได้ที่อาจเกิดขึ้นจากการลดภาษีสินค้าของประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs)
ทางด้านนางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมถึงมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับประเทศสมาชิก BIMST-EC ใน 11 เดือนแรกของปี 2546 ว่า มีมูลค่าการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าชึ่งมีมูลค่า 2,847 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 2,994 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการส่งออกมูลค่า 1,391 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้ามูลค่า 1,602 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งไทยขาดดุลการค้าลดลง สินค้าส่งออกของไทย ได้แก่ เม็ดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผ้าผืน ด้ายเคมีภัณฑ์ เหล็ก น้ำมันจากพืชและสัตว์ น้ำตาล ปูนซิเมเมนต์ ส่วนสินค้าที่ไทยมีการนำเข้า ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เหล็ก สินแร่โลหะ เศษโลหะ เคมีภัณฑ์ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและไม้อื่นๆ กุ้งสด แช่เย็นแช่แข็ง เป็นต้น
อนึ่ง ความร่วมมือในกรอบ BIMST-EC จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีและให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศสมาชิก 5 ประเทศ คือ บังกลาเทศ อินเดีย สหภาพพม่า ศรีลังกาและไทย ปัจจุบัน (ธค. 2546) มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 2 ประเทศ คือเนปาล และภูฎาน
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775--จบ--
-พห-
นายชนะ กล่าวต่อว่า เมื่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า มีมติเห็นชอบร่างกรอบความตกลงดังกล่าวแล้ว จะมีการลงนามในกรอบความตกลงฯโดยมีนายกรัฐมนตรีของไทย (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) ร่วมเป็นสักขีพยาน ก่อนงานเลี้ยงอาหารค่ำ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 ณ เลอ เมอริเดียน บีช รีสอร์ท โดยหลังการลงนามความตกลงแล้วคณะกรรมการเจรจาการค้าสามารถดำเนินการเพื่อเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี BIMST-EC ได้ทันที ทั้งนี้ ร่างกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMST-EC ครอบคลุมทั้งเรื่องการลดภาษีสินค้า ซึ่งมีทั้งสินค้าเร่งลดภาษี (Fast Track) และสินค้าลดภาษีปกติ (Normal Track) การเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุน โดยด้านบริการจะครอบคลุมเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือด้านบริการ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและการแข่งขัน ด้านการลงทุนจะครอบคลุมเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน รวมทั้ง ให้มีการเจรจาเพื่อให้กฎระเบียบด้านการลงทุนเสรีมากขึ้นโดยใช้ positive list Approach
นายชนะกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ในการประชุมครั้งนี้ ยังจะมีการเจรจาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เช่น การเสริมสร้างขีดความสามารถ (capacity building) การให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ รวมทั้งการปรับมาตรฐานด้านสุขอนามัยและมาตรฐานสินค้าให้ใกล้เคียงกันมากขึ้น สำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) จะได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างในด้านต่างๆ เช่น การลดภาษีที่ใช้ระยะเวลายาวกว่า เป็นต้น สำหรับประเด็นที่ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้าจะต้องพิจารณาเป็นพิเศษว่าสมควรจะให้มีหรือไม่ คือเรื่องการสูญเสียรายได้ที่อาจเกิดขึ้นจากการลดภาษีสินค้าของประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs)
ทางด้านนางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมถึงมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับประเทศสมาชิก BIMST-EC ใน 11 เดือนแรกของปี 2546 ว่า มีมูลค่าการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าชึ่งมีมูลค่า 2,847 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 2,994 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการส่งออกมูลค่า 1,391 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้ามูลค่า 1,602 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งไทยขาดดุลการค้าลดลง สินค้าส่งออกของไทย ได้แก่ เม็ดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผ้าผืน ด้ายเคมีภัณฑ์ เหล็ก น้ำมันจากพืชและสัตว์ น้ำตาล ปูนซิเมเมนต์ ส่วนสินค้าที่ไทยมีการนำเข้า ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เหล็ก สินแร่โลหะ เศษโลหะ เคมีภัณฑ์ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและไม้อื่นๆ กุ้งสด แช่เย็นแช่แข็ง เป็นต้น
อนึ่ง ความร่วมมือในกรอบ BIMST-EC จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีและให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศสมาชิก 5 ประเทศ คือ บังกลาเทศ อินเดีย สหภาพพม่า ศรีลังกาและไทย ปัจจุบัน (ธค. 2546) มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 2 ประเทศ คือเนปาล และภูฎาน
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775--จบ--
-พห-