บุคลิกภาพของ CEO ระดับโลก

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 30, 2004 14:18 —กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

        บุคลิกภาพของ CEO ระดับโลก 
CEO เป็นบุคคลที่พิเศษของแต่ละองค์กร และจากผลสำรวจของประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า CEO ได้รับค่าจ้างโดยประมาณ 25 ถึง 100 เท่าของค่าจ้างเฉลี่ยระดับพนักงานในองค์กร
เหตุผลที่แต่ละองค์กรจ่ายค่าจ้าง CEO ด้วยอัตราที่สูงก็เพื่อซื้อ 2 สิ่งที่มีค่ามหาศาลในบุคคลพิเศษที่จะสามารถดำรงตำแหน่ง CEO ได้คือ
1. ความคิด
2. บุคลิกภาพ
บุคลิกภาพของ CEO หรือผู้นำองค์กรระดับโลก ประกอบไปด้วย 9 ประการด้วยกัน ตามผลการวิจัยของนิตยสาร FORBES และ FORTUNE
1. มีความมั่นใจในตนเองสูงในระดับเหมาะสม
ความมั่นใจในที่นี้มิได้หมายถึง Self Confidence แต่หมายถึง ASSERTIVENESS ของ CEO เป็นความมั่นใจในการกล้าแสดงความคิดเห็น การยืนยันสิทธิของตน ยืนหยัดในความถูกต้อง ในขณะที่มีความยืดหยุ่น หรือ FLEXIBILITY ในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และพร้อมจะเปลี่ยนแปลงยอมรับความถูกต้อง หากความคิดของผู้อื่นมีเหตุมีผล และพร้อมที่จะเปลี่ยนความคิดและความเชื่อส่วนตนไปตามเหตุและผลนั้น ๆ
CEO ระดับโลกแต่ละคนมีความมั่นใจสูง แต่ไม่สูงจนเกินไป ตรงกันข้ามกับผู้ที่ขาดความเป็นผู้นำอย่างแท้จริง จะมีความมั่นใจในตนเองและความคิดของตนเองสูงมาก ซึ่งปิดกั้นโอกาสของการเรียนรู้ และปิดกั้นโอกาสในการได้รับฟังความคิดเห็นที่ดีอื่น ๆ การจะได้มาซึ่งความมั่นใจที่แท้จริงนั้น CEO ต้องกระทำสิ่งเหล่านี้ผ่านกาลเวลา
- สั่งสมความรู้ ทักษะ และ เรียนรู้อย่างไม่หยุด
- มีความมุมานะ บากบั่นในการทำงานจนประสบความสำเร็จ
- วางแผนระยะยาว เดินหน้าสู่จุดหมาย โดยไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคและนำอุปสรรคหรือข้อผิดพลาดใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างทาง เป็นบทเรียน
- หมั่นฝึกฝนอยู่เสมอ (Sharpen the Saws)
2. มีความสามารถในการควบคุมสติอารมณ์ หรือ EMOTIONAL CONTROL
CEO ต้องเอาชนะใจและอารมณ์ของตนเองตลอดเวลา ต้อง "อยู่กับปัจจุบัน" ไม่เก็บสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตมา "ทิ่มแทงตัวเองซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ด้วยปลายมีดของผู้อื่น"
CEO ไม่หวนคิด พูดซ้ำในเรื่องเดิมที่ไม่สบอารมณ์และไม่ตกอยู่ในกรงขังแห่งอารมณ์ด้วยเรื่องที่ผ่าน พ้นไปแล้ว ไม่กักความคิดของตนเองอยู่กับความผิดพลาดของตนเองหรือผู้อื่น ไม่ตอกย้ำ ทิ่มแทงอารมณ์และความคิดของตัวเองเพราะความผิดพลาดในงานหรือในเรื่องใด ๆ ของตนเองและผู้อื่น
CEO จัดการกับความผิดพลาดในงาน หรือเรื่องใด ๆ นั้น ณ ความเป็นปัจจุบันขอเรื่องนั้น ๆ เพียงครั้งเดียว และพร้อมจะปิดลิ้นชักเรื่องนั้น ๆ ในทันที
CEO ต้องพร้อมที่จะเปิดลิ้นชักใหม่ สำหรับเรื่องใหม่ที่เป็นปัจจุบันในทุกขณะ ซึ่งเป็นหลักการของการจัดลำดับความสำคัญของ PSDM ตามหลัก S-U-G นั่นเอง ปัจจุบันต้องอยู่รอด อดีตผ่านพ้นไปแล้วเปล่าประโยชน์ที่จะเก็บไว้ในอารมณ์ (แต่จงเก็บบทเรียนไว้สำหรับพัฒนาปัจจุบันเพื่ออนาคต)อนาคตต้องคำนึงถึงแต่ต้องมีปัจจุบันเสียก่อน
"เป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีเรื่องราวต่าง ๆ มากมายเกิดขึ้น ที่ไม่เป็นที่พึงประสงค์ไม่ได้อย่างที่คิด ไม่ใช่อย่างที่ควร ไม่ยุติธรรมในความรู้สึกหรืออารมณ์ (แต่เป็นสิ่งที่สมควรที่สุด ณ สถานการณ์นั้น ๆ) แต่สิ่งเหล่านั้นได้เกิดขึ้นแล้ว และไม่มีประโยชน์ใด ๆ ที่จะยึดถือสิ่งเหล่านั้นไว้ให้เป็นมีดที่กรีดแทงอารมณ์ของเรา CEO ต้องปล่อยวางลงได้ ปล่อยจิตให้ว่าง ...พร้อมที่จะรับเรื่องใหม่ อันเป็นปัจจุบัน และอยู่กับปัจจุบันตลอดเวลา"
....ทำจิตและอารมณ์ให้ว่าง เหมือนแก้วน้ำที่ปราศจากน้ำและพร้อมที่จะเติมน้ำลงไปได้ แก้วน้ำที่เต็มแล้ว ไม่สามารถใส่อะไรลงไปได้อีก มีแต่จะล้นและไร้ประโยชน์
...ปล่อยวางจิตและอารมณ์ให้เหมือน มือที่ไม่กำ ไม่ถือสิ่งใดไว้ เมื่อไม่กำมือ มือก็จะว่างและพร้อมที่จะรับ สิ่งใหม่ ไม่จับไม่กำเรื่องใดหรือสิ่งใดไว้ตลอดไป ทุกเรื่อง จะกลายเป็นอดีต เหลือไว้แต่ประสบการณ์และการเรียนรู้เท่านั้น แบมือที่กำออก แล้วรับสิ่งใหม่ที่เป็นปัจจุบัน
...ลบไฟล์ในฮาร์ดดิสก์ออกเสียบ้าง เพื่อจะได้มี Space เพียงพอสำหรับข้อมูลใหม่ ล้างจิตและชำระอารมณ์ ด้วยการถอนเรื่องที่ผ่านไปแล้วทิ้งไป มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน
CEO ต้องเลือกที่จะเป็นระหว่าง NICE BOSS กับ NASTY BOSS โดยเมื่อเดินไปข้างหน้าแล้วหันหลังกลับมา ต้องพบว่ามีเพื่อนพนักงานเดินตามมาด้วยเสมอด้วยการสร้างบารมี ผ่านการชนะใจและอารมณ์ของตนเองเพราะการที่ CEO แสดงอารมณ์เพียงครั้งเดียวผ่านการสื่อสารใด ๆ ก็ตาม หรือคำพูดเพียงคำเดียว CEO นั้นได้สูญเสียบารมีไปแล้ว เพราะพฤติกรรมการสื่อสารที่แสดงออกมาไม่สามารถเรียกคืนได้ และการรับรู้ของพนักงานได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถลบล้างได้หมดไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงใดก็ตาม
CEO ต้อง "ใจเย็น" มีสติ เป็นปัจจุบัน และรู้จักอารมณ์ตนเองและควบคุมได้ตลอดเวลา
3. มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจ หรือ CREDIBILITY
CEO ต้องมี "สัจจะวาจา" พูดคำไหนต้องเป็นคำนั้นพูดจริง ทำจริง พูดให้น้อยลง พูดให้ช้าลง ทำให้มากและคิดให้เร็ว
CEO ต้องคงไว้ซึ่งความยุติธรรม ปฏิบัติในเรื่องเดียวกันต้องเหมือนกันกับคนทุกคน ไม่ว่าจะคิดอย่างไรก็ตาม แต่ต้องปฏิบัติอย่างเท่าเทียม เพราะความยุติธรรมมิได้เกิดจากการคิด แต่เกิดจากการรับรู้ของพนักงานว่า "ยุติธรรม"
CEO ต้องพูดความจริง แต่ไม่จำเป็นต้องพูดความจริงทั้งหมดในคราวเดียว ต้องไม่โกหก แต่ต้องมีจังหวะในการให้ข้อมูล ต้องรู้จักการเปิดไพ่ทีละใบในจังหวะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งนี่เป็นเทคนิคของการเจรจาต่อรอง (Negotiation Skills)
CEO ต้องสร้าง Good Governance ให้เกิดในองค์กรของตนเอง กล่าวคือ ต้องตรวจสอบได้ทั้งภายนอกและภายใน
4. คิดก่อนพูด
สมองต้องนำคำพูด พูดช้า เสียหายแค่พูดช้า แต่ชนะที่ ได้คิดทบทวนอย่างรอบคอบก่อนพูด พูดเร็ว สักแต่ ว่าได้ตอบโต้ อาจเสียหายถึงภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และคำพูดของ CEO เมื่อหลุดออกไป แล้วคือคำมั่นสัญญา ฟังอย่างตั้งใจ จับประเด็น และ คิดอย่างรอบคอบก่อนแล้วจึงตอบที่ประเด็นของเรื่องมิใช่โต้กลับสิ่งที่มากระทบอารมณ์ RESPOND, DON'T REACT!
คำพูดของ CEO คือนโยบาย
จึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนไปมาได้ ดังนั้นก่อนการพูดในแต่ละครั้ง ต้องผ่านกระบวนการคิดวางแผนและจัดเรียงลำดับความคิดและเรื่องที่จะพูดอย่างเหมาะสม และมีแผนการ ไม่ว่าจะเป็นการพูดที่เป็นทางการ เช่น การให้โอวาท การกล่าวสุนทรพจน์ การให้สัมภาษณ์ หรือการพูดในการทำงานแต่ละวันก็ตาม
CEO ต้องมี AGENDA
ในการพูดเสมอ และพูดตามหัวข้อ ให้เสร็จสิ้นทีละประเด็น ไม่พูดกลับไปกลับมา ไม่ว่าจะพูดกับพนักงานธรรมดาหรือกับสื่อมวลชน หรือกับที่ประชุมสิ่งที่พูดคือสิ่งที่กระทำได้ และต้องกระทำ พูดเรื่องเดียวกันต้องเหมือนกัน
CEO ไม่พูดโดยไม่มีสคริปต์
และไม่พูดโดยไม่สัมพันธ์กับกลยุทธ์สื่อสารองค์กร
CEO ต้อง "นิ่ง" เป็น ต้องรู้จักการอยู่เฉย ๆ เหมือนไม่ได้ทำอะไร แต่ "คิด" วางแผน "ทำจิตให้ว่าง" และเรียบเรียงความคิด
CEO ต้องชะลอการพูดไว้ ฉลาดฟังอย่างตั้งใจ ต้องสงบนิ่ง เก็บข้อมูล ถามคำถามเพื่อจุดประกายความคิด เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประมวลผลในสมองอย่างรวดเร็ว วางแผนการสื่อสารอย่างเป็นขั้นตอน เลือกจังหวะการให้ข้อมูล และตัดสินใจเลือกวิธีการสื่อสารที่ให้ผลสัมฤทธิ์สูงสุด
CEO ต้อง "ปล่อยวาง" เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ต้องงดเว้นรายละเอียด แต่ต้อง "จับ" งานใหญ่ คือ การ "คิด วางแผน กำหนดกลยุทธ์ นโยบาย และทิศทางองค์กร"
CEO ต้องมี "สัมมาวาจา" ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ พูดจาเป็นสิริมงคลทุกขณะละวางการกล่าวตำหนิติติง เพราะ CEO มีหน้าที่สร้างแรงจูงใจให้เกิดกับพนักงานผ่านการสื่อสารที่มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าเสมอ
หากจำเป็นต้องวิจารณ์ ต้องวิจารณ์ที่ประเด็นของชิ้นงาน โดยยึดเป้าหมายของงานมิใช่วิจารณ์ที่ตัวหรือพฤติกรรมของบุคคล ต้องวิจารณ์อย่างเจาะจงประเด็นชี้เฉพาะ และมีวิธีการอันปฏิบัติ วัดผลได้และมีผู้รับผิดชอบ
"...จงระวังความคิด เพราะความคิด จะกลายเป็นการกระทำ
จงระวังการกระทำ เพราะการกระทำ จะกลายเป็นนิสัย
จงระวังนิสัย เพราะนิสัย จะกลายเป็นสันดาน
จงระวังสันดาน เพราะสันดาน จะกลายเป็นชะตากรรม..."
ฝรั่งก็มีเขียนไว้ใกล้เคียงกันดังนี้
Watch your thoughts; they become words.
Watch your words; they become actions.
Watch your actions, they become habits.
Watch your habits; they become character.
Watch your character; it becomes your destiny.
5. มีความโดดเด่นที่ไม่ซ้ำใคร หรือ BRANDING
CEO ต้องมี STYLE หรือ ORIGINALITY เป็นของตนเอง มีความเป็นตัวของตัวเอง ต้องค้นหาตนเองให้พบเพื่อสร้าง BRAND ให้กับตัวเอง เช่น การแต่งกาย การพูดจาเป็นต้น ตัวอย่างของ CEO BRAND
- Leader
- Communicator
- Negotiator
- Strategist
- Professor
- Motivator
(ยังมีต่อ).../6.ช่างซัก ช่างถาม..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ