การทำงานของฝ่ายค้านในปีหน้ามีการเตรียมการอะไรบ้าง
เราก็ต้องทำหน้าที่ เพราะว่าหน้าที่ของฝ่ายค้านก็มีความชัดเจนอยู่แล้วว่าจะต้องมีหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลและหน้าที่ในการตรวจสอบรัฐบาล เราก็คงจะต้องเน้นทั้งในส่วนของในเรื่องการตรวจสอบการทำหน้าที่ของรัฐบาล ซึ่งอันนี้เป็นหน้าที่และเราจะต้องทำให้เต็มที่เท่าที่จะทำได้ แม้ว่าจะมีข้อจำกัดอยู่บางประการเหมือนกัน แต่ว่าเราจะพยายามทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ทั้งตรวจสอบในเรื่องของนโยบาย ตรวจสอบในเรื่องของการทุจริตและก็การใช้อำนาจรัฐ
มองแนวโน้มการเมืองในปีหน้าว่าจะเป็นยังไง ในเรื่องของรัฐบาล
ผมคิดว่าปีหน้ารัฐบาลก็จะพยายามเดินหน้าไปสู่การตั้งเป้าหมายที่จะทำอย่างไรให้ได้ 400 เสียง เพื่อที่จะได้การใช้อำนาจรัฐต่อไป ซึ่งอันนี้ก็ถือว่าเป็นสิทธิ แต่ว่าการที่รัฐบาลจะเดินหน้าจะต้องเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรมและต้องมีความชอบธรรม ไม่ควรไปใช้วิธีการอะไรที่ละเมิดจริยธรรมในทางการเมือง ผมคิดว่าในปีหน้า
ประการที่ 1 คงจะมีการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมากขึ้น
ประการที่ 2 จะมีการใช้การตลาดทุกรูปแบบเข้มข้นขึ้น ซึ่งเป็นการตลาดฝ่ายเดียว
ประการที่ 3 เชื่อว่าจะมีการอาศัยอำนาจรัฐทุจริตเชิงนโยบายมากขึ้น เช่น มีการกำหนดนโยบายบางประการ ขณะเดียวกันก็นโยบายดังกล่าวนั้น ดูผิวเผินก็เสมือนหนึ่งว่าทำประโยชน์ให้กับประชาชน แต่เบื้องลึกจริงๆก็คือการเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของคนในแวดวงรัฐบาล ผมคิดว่าจะมากขึ้นเป็นลำดับ
จับตาในเรื่องไหนเป็นพิเศษในปีหน้า
ก็ติดตามอยู่หลายเรื่อง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ก็เป็นหน้าที่และบางเรื่องยังเปิดเผยไม่ได้ก็เพราะว่าข้อมูลอาจจะยังไม่ครบถ้วน 100%
พอจะยกตัวอย่างบางเรื่องได้ไหม
มันก็มีทั้งเรื่องเก่าเรื่องใหม่ เรื่องเก่าก็สนามกอล์ฟอัลไพท์ อันนี้ผมคิดว่าก็ติดตัวรัฐบาลมาจนเดี๋ยวนี้ยังไม่คืนกลับให้วัด ทั้งที่มันก็ผิดกฎหมาย ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ แต่ว่ารัฐบาลมีอำนาจก็เลยถือว่าไม่สนใจ เพราะฉะนั้นมันก็ยังค้างอยู่ กรณีของการใช้อำนาจรัฐในการแก้ไขสัญญากับหน่วยงานของรัฐเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของคนในแวดวงรัฐบาล การใช้กลไกของรัฐบาลกลไกเพื่อประโยชน์หลายกรณี การแก้ไขสัญญาสัมปทานที่คนในแวดวงรัฐบาลเข้าไปถือหุ้นใหญ่ อาศัยอำนาจรัฐในการแก้ไขสัญญาสัมปทานเพื่อประโยชน์ให้กับคนที่ทำธุรกิจนั้นๆ ซึ่งอยู่ในแวดวงรัฐบาล อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องติดตาม เพราะทั้งหมดนี้คือการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน เพราะถ้าคนเหล่านี้ทำสำเร็จก็แปลว่าเขาก็ได้ประโยชน์ประเทศก็เสียหาย แทนที่จะได้ค่าสัมปทาน 100 บาทก็อาจจะเหลือ 20 บาทหรือ 30 บาท ที่สุดประชาชนก็ขาดทุน 70 บาทอย่างนี้ เป็นต้น
ตัวอย่างนี้จะใช้เป็นประเด็นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
เป็นเรื่องที่เราติดตาม ส่วนเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจก็เป็นหน้าที่ที่เราจะต้องติดตาม ถ้ามีข้อมูลถึงขั้นที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจอันนั้นก็จะมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง คราวที่แล้วรัฐบาลก็พูดอย่างนี้ ตอนอภิปรายเรื่องทุจริตข้าวอียู รัฐบาลก็บอกมีแต่เรื่องเดิมๆแต่พออภิปรายจริงๆรัฐบาลก็ตอบไม่ได้ รวมทั้งการแก้ไขสัญญาของบริษัทมือถือกับองค์การโทรศัพท์ ทำให้องค์การโทรศัพท์เสียหายเป็นหมื่นล้าน แล้วก็บริษัทโทรศัพท์มือถือได้ประโยชน์ทันที 8 พันกว่าล้าน อันนั้นรัฐบาลก็ตอบไม่ได้แต่อาศัยความมีเสียงมาก มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดก็ทำเป็นไม่สนใจเวลาผ่านไปคนก็ลืม แต่ประเทศก็ขาดทุนไปแล้ว
ทางฝ่ายค้านจะมีการปรับกระบวนการการทำงานให้มีผลมากกว่าที่ผ่านมาหรือไม่
ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งก็คือเราจะต้องสื่อสารโดยตรงกับประชาชน เพราะโอกาสที่จะใช้สื่อของรัฐในการสื่อสารข้อมูลข้อเท็จจริงไปถึงประชาชนยากขึ้นทุกวัน เพราะรัฐบาลก็ใช้สื่อของรัฐในการประชาสัมพันธ์ฝ่ายเดียว โอกาสที่ฝ่ายค้านจะไปใช้สื่อของรัฐในการที่จะพูดถึงสิ่งที่ฝ่ายค้านได้ทำไป ซึ่งเป็นประโยชน์กับประชาชนยากขึ้นทุกวันครับ เพราะฉะนั้นเราต้องใช้วิธีสื่อสารโดยตรงกับประชาชน เช่นการที่เราออกไปพบปะกับประชาชน ปราศรัยในต่างจังหวัด เหมือนกับที่ทำในภาคเหนือ 10 กว่าเขต ในช่วงเดือน ธ.ค. นี้ อันนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องทำต่อไปในภาคอื่นๆ
หมายถึงว่าจะมีการเดินสายปราศรัยในปีหน้า
ก็จะทำด้วยครับ ในการที่จะสื่อสารข้อมูลโดยตรงกับประชาชน แม้ว่าจะทำได้ทีละเล็ก จะได้ประชาชนครั้งละหมื่นสองหมื่นก็ไม่เป็นไร ก็จะทำครับ อย่างน้อยก็ช่วยให้คนเหล่านั้นทราบข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งที่ยังไม่ทราบ
ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่จะใช้ในการเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้งหรือไม่
ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่เป้าหมายก็ไม่ใช่เพื่อการเลือกตั้ง เป้าหมายหลักคือต้องการให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่ง ซึ่งประชาชนยังไม่ทราบ
ในแง่ของการตรวจสอบภายใต้ภาวะการที่พรรค ปชป.เสียเปรียบทุกรูปแบบ จะมีมาตรการเชิงรุกยังไงที่มีผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
สิ่งที่ทำอยู่นี่ก็เป็นเรื่องหนึ่งนะครับ ประการที่สองคือการทำหน้าที่ของเราเหมือนกับที่ผมเรียน ในเรื่องอื่นๆก็คือการเตรียมการสำหรับการเลือกตั้ง ซึ่งจะมีขึ้นเมื่อไหร่ไม่ทราบ ถ้าเป็นไปตามที่นายกฯพูดก็ต้นปี 2548 ก็ในเรื่องของการเตรียมผู้สมัคร ซึ่งตอนนี้ผมคิดว่า 70 - 80% ก็น่าจะได้นะครับ ภาคใต้นี่ก็เกือบจะเรียกได้ว่าครบ 100% และหลายภาคที่ไปได้ 70 80%แล้ว
ในการที่จะสื่อสารกับประชาชนโดยตรงจะมีการรวบรวมความบกพร่องหรือความผิดพลาดของรัฐบาลเป็นหนังสือแจกหรือไม่
ในส่วนเอกสารก็จะทำเป็นระยะครับ จะเป็นเรื่องๆไปด้วย อันนั้นเราก็ได้เตรียมการกันอยู่
ปีหน้านโยบายใหม่ๆของพรรคประชาธิปัตย์จะทยอยประกาศออกมาหรือเปล่า
ผมคิดว่าคงต้องใกล้เลือกตั้งครับ เพราะว่าขณะนี้ที่จะเน้นที่สุดก็คือการทำหน้าที่ในการตรวจสอบรัฐบาลในสภา กับการบอกข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้ทราบ ส่วนเรื่องนโยบายนั้นคณะทำงานด้านนโยบายก็ดำเนินการอยู่และคิดว่าก็คงจะประกาศเป็นทางการก็จะเป็นในช่วงที่มีการเลือกตั้ง คิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพราะไม่เช่นนั้นพูดอะไรออกไปรัฐบาลถือสื่อของรัฐ ผมไม่ได้พูดถึงสื่อเอกชนนะครับ สื่อของรัฐอยู่ในมือ รัฐบาลก็ใช้สื่อในการที่จะทำให้นโยบายของพรรคไม่ได้รับการนำเสนอเท่าที่ควร
ตอนนี้คณะทำงานก็ยังดูอยู่นะครับ ในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ว่าประเด็นหลักก็มีประเด็นเดียวในขณะนี้ก็คือเรื่องของการแก้ไขคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ ซึ่งจะตัดตัวแทนพรรคการเมืองออกไปนะครับ และคิดว่าเปิดสมัยประชุมหน้าก็คงดำเนินการได้
การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องระบุมาตราที่ชัดเจนนะครับ ว่าจะแก้มาตราในประเด็นไหนอย่างไร การแก้อะไรถ้าเป็นไปในลักษณะที่เป็นเรื่องส่วนตัว เพื่อประโยชน์ส่วนตัวผมคิดว่าประชาชนก็ไม่ยอมรับหรอกครับ
ตอนนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้มีการสำรวจหรือไม่ว่า เราจุดประเด็นเรื่องแก้รัฐธรรมนูญแล้วจะมีแนวร่วมที่จะสนับสนุนในประเด็นนี้มากน้อนแค่ไหน
ก็คิดว่าประชาธิปัตย์จะเป็นทางสุดท้ายถ้าหากว่าไม่มีเจ้าภาพพรรคก็จะเป็นเจ้าภาพ ในประเด็นที่ผมเรียนนะครับ แต่ถ้ามทีท่านอื่นเป็นเจ้าภาพก็ยินดีที่จะเข้าไปร่วมในประเด็นกรรมการสารรหาองค์กรอิสระ
ได้มีการสอบถามทาง ส.ว.หรือว่าอะไรบ้างไหมคะว่า มีกลุ่มไหนที่เขาเห็นด้วยกับพรรคประชาธิปัตย์และก็จะมาร่วมด้วย
เท่าที่ถามไม่เป็นทางการ ส่วนตัวผมๆไม่อยากไปอ้างคนอื่น ส่วนตัวก็ได้สอบถามอยู่บ้าง ผู้ที่สนใจก็มีอยู่เหมือนกันครับ แต่ที่สุดแล้วการยื่นมันก็มี 2 ทาง จะยื่นในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือยื่นในฐานะสมาชิกรัฐสภา ถ้ายื่นในฐานะสมาชิกรัฐสภาคงจะต้องมีวุฒิสมาชิกร่วมด้วย สุดแล้วแต่ทางไหนจะเหมาะสมหรือเป็นไปได้ แต่เราก็ถือว่าเราได้ทำหน้าที่ของเราครับ เพราะว่าที่สุดผลมันจะออกมาอย่างไรอันนั้นก็เป็นเรื่องที่มันต้องขึ้นอยู่กับสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดนะครับ
มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูเรื่องนี้ไหม
ก็ฝ่ายกฎหมายดูอยู่
นอกจากประเด็นเรื่องที่ตัวแทนพรรคการเมืองที่จะเข้าไปเป็นกรรมการสรรหานั้น ยังมีประเด็นอื่นอีกไหมคะ
ผมยังตอบล่วงหน้าไม่ได้เพราะฝ่ายกฎหมายต้องดูให้จบเสียก่อน
ถ้าในปีแห่งการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์จำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการภายในพรรคใหม่เพื่อที่จะให้พรรคมีคะแนนเสียงตีตื้นขึ้นมา คือว่าปีหน้าเป็นปีแห่งการเลือกตั้ง รณรงค์การเลือกตั้ง แต่ดูเหมือนว่าพรรคประชาธิปัตย์ตอนนี้กระแสพรรคชักจะแผ่วทั่วทุกพื้นที่ พรรคไทยรักไทยก็ไปตีตื้นเกือบหมดแล้ว ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จะมีการปรับปรุงยุทธศาสตร์หรือมีการปรับปรุงตรงไหนบ้างมั้ย ที่รู้ว่าเป็นจุดอ่อนทำให้พรรคมีคะแนนถูกตีตื้นขึ้นมาได้
จุดอ่อนอันหนึ่งที่มองเห็นก็คือการสื่อสารข้อมูลกับประชาชน ก็เหมือนกับที่ที่ผมเรียนเราก็เลยต้องใช้วิธีการที่จะต้องไปสื่อสารโดยตรงกับประชาชนอันนั้นก็คือประการที่หนึ่งนะครับ ที่เห็นได้ชัดเจน ส่วนเรื่องอื่นก็เป็นเรื่องที่กำลังทำกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเตรียมตัวผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งอันนี้ก็เป็นเรื่องที่ทำกันอยู่ครับ แต่บางเรื่องก็คงพูดกับสาธารณะไม่ได้นะครับ มันก็เป็นเรื่องภายในของพรรค ซึ่งจะบอกถูกเรื่องก็ต้องขออภัยด้วยเพราะว่าบางเรื่องมันก็เป็นเรื่องภายในที่เราก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเราจะทำอะไร บ้าง 1 2 3 แต่ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ถูกต้องทำนองครองธรรม มันคงไม่มีคิดไปทำอะไรที่มันไม่ถูกต้อง แต่ว่าบางเรื่องก็ต้องเป็นความลับภายใน
เห็นผู้ใหญ่ของพรรคบางคนออกมายอมรับว่าสมัยหน้า คงต้องยอมรับว่าต้องเป็นฝ่ายค้านต่อไป เป็นห่วงไหม ว่า ส.ส.ในพื้นที่ จะย้ายพรรค
เรื่องการย้ายพรรคมันก็มีทุกสมัย ก็มีทั้งเข้าทั้งออกอันนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดา ตนคิดว่าก็ยังด่วนสรุปอะไรไม่ได้ว่าใครจะเป็นฝ่ายค้าน ใครจะเป็นรับบาล ระยะเวลาก็ยังมีอยู่ ถ้าท่านนายกฯบอกว่าจะมีการเลือกตั้งปี 2548 จริงๆ เวลาก็ยังมีอยู่ ปีเศษๆ อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอในทางการเมือง ใครจะคิดว่าอยู่ๆรัฐบาลจะสะดุดขาตัวเองเรื่องกฎหมาย 2-3 ฉบับ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นติดต่อกัน หรือว่าเรื่องอื่นๆ ซึ่งตนเชื่อว่าปีหน้า ความล้มเหลวหลายเรื่องของรัฐบาล ก็จะปรากฎเด่นชัดขึ้น และเราก็ยังไม่ทราบว่าจะเกิดเหตุอะไรขึ้น อย่างไร ถ้ารัฐบาลยังบริหารราชการแผ่นดินด้วยวิธีการเดิมๆ ด้วยการใช้อำนาจเสร็จเด็ดขาดในลักษณะอย่างนี้ และมีการหาประโยชน์ทำไปกินไปอยู่ในลักษณะนี้ ดังนั้นตนจึงยังไม่อยากให้ด่วนสรุปว่าเที่ยวหน้าใครจะได้กี่เสียงใครจะแพ้ ใครจะชนะ แล้วก็ในระบบรัฐสภานั้น การตั้งรัฐบาลขึ้นอยู่กับการรวมเสียงข้างมาก เมื่อพรรคไทยรักไทยประกาศว่าจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ก็แปลว่าจะไม่เอาพรรคการเมืองอื่นมาเป็นมิตร ก็แปลว่า ก็ต้องรอดูผลต่อไป
ที่ผ่านมาพรรคประมวลจุดอ่อนของพรรคหรือไม่ว่ามีอะไรบ้าง 123..
ก็ประมวล เราก็ดูทั้งจุดอ่อน และ จุดแข็งและบางเรื่องก็เป็นเรื่องภายใน ที่เราก็ต้องมาแก้ไข พรรคก็ไม่หยุดนิ่ง และช่วงนี้สำคัญที่สุดคือมีการประชุมคณะผู้บริหารพรรคทุกสัปดาห์ เพื่อให้การดำเนินการต่างเป็นไปในเชิงรุกมากขึ้น แล้วก็ทันในสถานการณ์ ในการที่จะมีเหตุการณ์ใหม่ๆเกิดขึ้น และเพื่อการแก้ปัญหาที่รวดเร็วขึ้น อันนี้ก็ถือว่าเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ผมยังไม่ได้เรียน ซึ่งก็ถือว่าเป็นการทำงานเชิงลึก แต่ว่าบางเรื่องเราก็เปิดเผยทุกเรื่องไม่ได้ อันนี้ก็ต้องเป็นเรื่องขอความเห็นใจ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1/02/47--จบ--
-สส-
เราก็ต้องทำหน้าที่ เพราะว่าหน้าที่ของฝ่ายค้านก็มีความชัดเจนอยู่แล้วว่าจะต้องมีหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลและหน้าที่ในการตรวจสอบรัฐบาล เราก็คงจะต้องเน้นทั้งในส่วนของในเรื่องการตรวจสอบการทำหน้าที่ของรัฐบาล ซึ่งอันนี้เป็นหน้าที่และเราจะต้องทำให้เต็มที่เท่าที่จะทำได้ แม้ว่าจะมีข้อจำกัดอยู่บางประการเหมือนกัน แต่ว่าเราจะพยายามทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ทั้งตรวจสอบในเรื่องของนโยบาย ตรวจสอบในเรื่องของการทุจริตและก็การใช้อำนาจรัฐ
มองแนวโน้มการเมืองในปีหน้าว่าจะเป็นยังไง ในเรื่องของรัฐบาล
ผมคิดว่าปีหน้ารัฐบาลก็จะพยายามเดินหน้าไปสู่การตั้งเป้าหมายที่จะทำอย่างไรให้ได้ 400 เสียง เพื่อที่จะได้การใช้อำนาจรัฐต่อไป ซึ่งอันนี้ก็ถือว่าเป็นสิทธิ แต่ว่าการที่รัฐบาลจะเดินหน้าจะต้องเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรมและต้องมีความชอบธรรม ไม่ควรไปใช้วิธีการอะไรที่ละเมิดจริยธรรมในทางการเมือง ผมคิดว่าในปีหน้า
ประการที่ 1 คงจะมีการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมากขึ้น
ประการที่ 2 จะมีการใช้การตลาดทุกรูปแบบเข้มข้นขึ้น ซึ่งเป็นการตลาดฝ่ายเดียว
ประการที่ 3 เชื่อว่าจะมีการอาศัยอำนาจรัฐทุจริตเชิงนโยบายมากขึ้น เช่น มีการกำหนดนโยบายบางประการ ขณะเดียวกันก็นโยบายดังกล่าวนั้น ดูผิวเผินก็เสมือนหนึ่งว่าทำประโยชน์ให้กับประชาชน แต่เบื้องลึกจริงๆก็คือการเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของคนในแวดวงรัฐบาล ผมคิดว่าจะมากขึ้นเป็นลำดับ
จับตาในเรื่องไหนเป็นพิเศษในปีหน้า
ก็ติดตามอยู่หลายเรื่อง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ก็เป็นหน้าที่และบางเรื่องยังเปิดเผยไม่ได้ก็เพราะว่าข้อมูลอาจจะยังไม่ครบถ้วน 100%
พอจะยกตัวอย่างบางเรื่องได้ไหม
มันก็มีทั้งเรื่องเก่าเรื่องใหม่ เรื่องเก่าก็สนามกอล์ฟอัลไพท์ อันนี้ผมคิดว่าก็ติดตัวรัฐบาลมาจนเดี๋ยวนี้ยังไม่คืนกลับให้วัด ทั้งที่มันก็ผิดกฎหมาย ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ แต่ว่ารัฐบาลมีอำนาจก็เลยถือว่าไม่สนใจ เพราะฉะนั้นมันก็ยังค้างอยู่ กรณีของการใช้อำนาจรัฐในการแก้ไขสัญญากับหน่วยงานของรัฐเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของคนในแวดวงรัฐบาล การใช้กลไกของรัฐบาลกลไกเพื่อประโยชน์หลายกรณี การแก้ไขสัญญาสัมปทานที่คนในแวดวงรัฐบาลเข้าไปถือหุ้นใหญ่ อาศัยอำนาจรัฐในการแก้ไขสัญญาสัมปทานเพื่อประโยชน์ให้กับคนที่ทำธุรกิจนั้นๆ ซึ่งอยู่ในแวดวงรัฐบาล อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องติดตาม เพราะทั้งหมดนี้คือการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน เพราะถ้าคนเหล่านี้ทำสำเร็จก็แปลว่าเขาก็ได้ประโยชน์ประเทศก็เสียหาย แทนที่จะได้ค่าสัมปทาน 100 บาทก็อาจจะเหลือ 20 บาทหรือ 30 บาท ที่สุดประชาชนก็ขาดทุน 70 บาทอย่างนี้ เป็นต้น
ตัวอย่างนี้จะใช้เป็นประเด็นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
เป็นเรื่องที่เราติดตาม ส่วนเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจก็เป็นหน้าที่ที่เราจะต้องติดตาม ถ้ามีข้อมูลถึงขั้นที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจอันนั้นก็จะมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง คราวที่แล้วรัฐบาลก็พูดอย่างนี้ ตอนอภิปรายเรื่องทุจริตข้าวอียู รัฐบาลก็บอกมีแต่เรื่องเดิมๆแต่พออภิปรายจริงๆรัฐบาลก็ตอบไม่ได้ รวมทั้งการแก้ไขสัญญาของบริษัทมือถือกับองค์การโทรศัพท์ ทำให้องค์การโทรศัพท์เสียหายเป็นหมื่นล้าน แล้วก็บริษัทโทรศัพท์มือถือได้ประโยชน์ทันที 8 พันกว่าล้าน อันนั้นรัฐบาลก็ตอบไม่ได้แต่อาศัยความมีเสียงมาก มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดก็ทำเป็นไม่สนใจเวลาผ่านไปคนก็ลืม แต่ประเทศก็ขาดทุนไปแล้ว
ทางฝ่ายค้านจะมีการปรับกระบวนการการทำงานให้มีผลมากกว่าที่ผ่านมาหรือไม่
ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งก็คือเราจะต้องสื่อสารโดยตรงกับประชาชน เพราะโอกาสที่จะใช้สื่อของรัฐในการสื่อสารข้อมูลข้อเท็จจริงไปถึงประชาชนยากขึ้นทุกวัน เพราะรัฐบาลก็ใช้สื่อของรัฐในการประชาสัมพันธ์ฝ่ายเดียว โอกาสที่ฝ่ายค้านจะไปใช้สื่อของรัฐในการที่จะพูดถึงสิ่งที่ฝ่ายค้านได้ทำไป ซึ่งเป็นประโยชน์กับประชาชนยากขึ้นทุกวันครับ เพราะฉะนั้นเราต้องใช้วิธีสื่อสารโดยตรงกับประชาชน เช่นการที่เราออกไปพบปะกับประชาชน ปราศรัยในต่างจังหวัด เหมือนกับที่ทำในภาคเหนือ 10 กว่าเขต ในช่วงเดือน ธ.ค. นี้ อันนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องทำต่อไปในภาคอื่นๆ
หมายถึงว่าจะมีการเดินสายปราศรัยในปีหน้า
ก็จะทำด้วยครับ ในการที่จะสื่อสารข้อมูลโดยตรงกับประชาชน แม้ว่าจะทำได้ทีละเล็ก จะได้ประชาชนครั้งละหมื่นสองหมื่นก็ไม่เป็นไร ก็จะทำครับ อย่างน้อยก็ช่วยให้คนเหล่านั้นทราบข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งที่ยังไม่ทราบ
ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่จะใช้ในการเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้งหรือไม่
ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่เป้าหมายก็ไม่ใช่เพื่อการเลือกตั้ง เป้าหมายหลักคือต้องการให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่ง ซึ่งประชาชนยังไม่ทราบ
ในแง่ของการตรวจสอบภายใต้ภาวะการที่พรรค ปชป.เสียเปรียบทุกรูปแบบ จะมีมาตรการเชิงรุกยังไงที่มีผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
สิ่งที่ทำอยู่นี่ก็เป็นเรื่องหนึ่งนะครับ ประการที่สองคือการทำหน้าที่ของเราเหมือนกับที่ผมเรียน ในเรื่องอื่นๆก็คือการเตรียมการสำหรับการเลือกตั้ง ซึ่งจะมีขึ้นเมื่อไหร่ไม่ทราบ ถ้าเป็นไปตามที่นายกฯพูดก็ต้นปี 2548 ก็ในเรื่องของการเตรียมผู้สมัคร ซึ่งตอนนี้ผมคิดว่า 70 - 80% ก็น่าจะได้นะครับ ภาคใต้นี่ก็เกือบจะเรียกได้ว่าครบ 100% และหลายภาคที่ไปได้ 70 80%แล้ว
ในการที่จะสื่อสารกับประชาชนโดยตรงจะมีการรวบรวมความบกพร่องหรือความผิดพลาดของรัฐบาลเป็นหนังสือแจกหรือไม่
ในส่วนเอกสารก็จะทำเป็นระยะครับ จะเป็นเรื่องๆไปด้วย อันนั้นเราก็ได้เตรียมการกันอยู่
ปีหน้านโยบายใหม่ๆของพรรคประชาธิปัตย์จะทยอยประกาศออกมาหรือเปล่า
ผมคิดว่าคงต้องใกล้เลือกตั้งครับ เพราะว่าขณะนี้ที่จะเน้นที่สุดก็คือการทำหน้าที่ในการตรวจสอบรัฐบาลในสภา กับการบอกข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้ทราบ ส่วนเรื่องนโยบายนั้นคณะทำงานด้านนโยบายก็ดำเนินการอยู่และคิดว่าก็คงจะประกาศเป็นทางการก็จะเป็นในช่วงที่มีการเลือกตั้ง คิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพราะไม่เช่นนั้นพูดอะไรออกไปรัฐบาลถือสื่อของรัฐ ผมไม่ได้พูดถึงสื่อเอกชนนะครับ สื่อของรัฐอยู่ในมือ รัฐบาลก็ใช้สื่อในการที่จะทำให้นโยบายของพรรคไม่ได้รับการนำเสนอเท่าที่ควร
ตอนนี้คณะทำงานก็ยังดูอยู่นะครับ ในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ว่าประเด็นหลักก็มีประเด็นเดียวในขณะนี้ก็คือเรื่องของการแก้ไขคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ ซึ่งจะตัดตัวแทนพรรคการเมืองออกไปนะครับ และคิดว่าเปิดสมัยประชุมหน้าก็คงดำเนินการได้
การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องระบุมาตราที่ชัดเจนนะครับ ว่าจะแก้มาตราในประเด็นไหนอย่างไร การแก้อะไรถ้าเป็นไปในลักษณะที่เป็นเรื่องส่วนตัว เพื่อประโยชน์ส่วนตัวผมคิดว่าประชาชนก็ไม่ยอมรับหรอกครับ
ตอนนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้มีการสำรวจหรือไม่ว่า เราจุดประเด็นเรื่องแก้รัฐธรรมนูญแล้วจะมีแนวร่วมที่จะสนับสนุนในประเด็นนี้มากน้อนแค่ไหน
ก็คิดว่าประชาธิปัตย์จะเป็นทางสุดท้ายถ้าหากว่าไม่มีเจ้าภาพพรรคก็จะเป็นเจ้าภาพ ในประเด็นที่ผมเรียนนะครับ แต่ถ้ามทีท่านอื่นเป็นเจ้าภาพก็ยินดีที่จะเข้าไปร่วมในประเด็นกรรมการสารรหาองค์กรอิสระ
ได้มีการสอบถามทาง ส.ว.หรือว่าอะไรบ้างไหมคะว่า มีกลุ่มไหนที่เขาเห็นด้วยกับพรรคประชาธิปัตย์และก็จะมาร่วมด้วย
เท่าที่ถามไม่เป็นทางการ ส่วนตัวผมๆไม่อยากไปอ้างคนอื่น ส่วนตัวก็ได้สอบถามอยู่บ้าง ผู้ที่สนใจก็มีอยู่เหมือนกันครับ แต่ที่สุดแล้วการยื่นมันก็มี 2 ทาง จะยื่นในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือยื่นในฐานะสมาชิกรัฐสภา ถ้ายื่นในฐานะสมาชิกรัฐสภาคงจะต้องมีวุฒิสมาชิกร่วมด้วย สุดแล้วแต่ทางไหนจะเหมาะสมหรือเป็นไปได้ แต่เราก็ถือว่าเราได้ทำหน้าที่ของเราครับ เพราะว่าที่สุดผลมันจะออกมาอย่างไรอันนั้นก็เป็นเรื่องที่มันต้องขึ้นอยู่กับสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดนะครับ
มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูเรื่องนี้ไหม
ก็ฝ่ายกฎหมายดูอยู่
นอกจากประเด็นเรื่องที่ตัวแทนพรรคการเมืองที่จะเข้าไปเป็นกรรมการสรรหานั้น ยังมีประเด็นอื่นอีกไหมคะ
ผมยังตอบล่วงหน้าไม่ได้เพราะฝ่ายกฎหมายต้องดูให้จบเสียก่อน
ถ้าในปีแห่งการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์จำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการภายในพรรคใหม่เพื่อที่จะให้พรรคมีคะแนนเสียงตีตื้นขึ้นมา คือว่าปีหน้าเป็นปีแห่งการเลือกตั้ง รณรงค์การเลือกตั้ง แต่ดูเหมือนว่าพรรคประชาธิปัตย์ตอนนี้กระแสพรรคชักจะแผ่วทั่วทุกพื้นที่ พรรคไทยรักไทยก็ไปตีตื้นเกือบหมดแล้ว ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จะมีการปรับปรุงยุทธศาสตร์หรือมีการปรับปรุงตรงไหนบ้างมั้ย ที่รู้ว่าเป็นจุดอ่อนทำให้พรรคมีคะแนนถูกตีตื้นขึ้นมาได้
จุดอ่อนอันหนึ่งที่มองเห็นก็คือการสื่อสารข้อมูลกับประชาชน ก็เหมือนกับที่ที่ผมเรียนเราก็เลยต้องใช้วิธีการที่จะต้องไปสื่อสารโดยตรงกับประชาชนอันนั้นก็คือประการที่หนึ่งนะครับ ที่เห็นได้ชัดเจน ส่วนเรื่องอื่นก็เป็นเรื่องที่กำลังทำกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเตรียมตัวผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งอันนี้ก็เป็นเรื่องที่ทำกันอยู่ครับ แต่บางเรื่องก็คงพูดกับสาธารณะไม่ได้นะครับ มันก็เป็นเรื่องภายในของพรรค ซึ่งจะบอกถูกเรื่องก็ต้องขออภัยด้วยเพราะว่าบางเรื่องมันก็เป็นเรื่องภายในที่เราก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเราจะทำอะไร บ้าง 1 2 3 แต่ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ถูกต้องทำนองครองธรรม มันคงไม่มีคิดไปทำอะไรที่มันไม่ถูกต้อง แต่ว่าบางเรื่องก็ต้องเป็นความลับภายใน
เห็นผู้ใหญ่ของพรรคบางคนออกมายอมรับว่าสมัยหน้า คงต้องยอมรับว่าต้องเป็นฝ่ายค้านต่อไป เป็นห่วงไหม ว่า ส.ส.ในพื้นที่ จะย้ายพรรค
เรื่องการย้ายพรรคมันก็มีทุกสมัย ก็มีทั้งเข้าทั้งออกอันนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดา ตนคิดว่าก็ยังด่วนสรุปอะไรไม่ได้ว่าใครจะเป็นฝ่ายค้าน ใครจะเป็นรับบาล ระยะเวลาก็ยังมีอยู่ ถ้าท่านนายกฯบอกว่าจะมีการเลือกตั้งปี 2548 จริงๆ เวลาก็ยังมีอยู่ ปีเศษๆ อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอในทางการเมือง ใครจะคิดว่าอยู่ๆรัฐบาลจะสะดุดขาตัวเองเรื่องกฎหมาย 2-3 ฉบับ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นติดต่อกัน หรือว่าเรื่องอื่นๆ ซึ่งตนเชื่อว่าปีหน้า ความล้มเหลวหลายเรื่องของรัฐบาล ก็จะปรากฎเด่นชัดขึ้น และเราก็ยังไม่ทราบว่าจะเกิดเหตุอะไรขึ้น อย่างไร ถ้ารัฐบาลยังบริหารราชการแผ่นดินด้วยวิธีการเดิมๆ ด้วยการใช้อำนาจเสร็จเด็ดขาดในลักษณะอย่างนี้ และมีการหาประโยชน์ทำไปกินไปอยู่ในลักษณะนี้ ดังนั้นตนจึงยังไม่อยากให้ด่วนสรุปว่าเที่ยวหน้าใครจะได้กี่เสียงใครจะแพ้ ใครจะชนะ แล้วก็ในระบบรัฐสภานั้น การตั้งรัฐบาลขึ้นอยู่กับการรวมเสียงข้างมาก เมื่อพรรคไทยรักไทยประกาศว่าจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ก็แปลว่าจะไม่เอาพรรคการเมืองอื่นมาเป็นมิตร ก็แปลว่า ก็ต้องรอดูผลต่อไป
ที่ผ่านมาพรรคประมวลจุดอ่อนของพรรคหรือไม่ว่ามีอะไรบ้าง 123..
ก็ประมวล เราก็ดูทั้งจุดอ่อน และ จุดแข็งและบางเรื่องก็เป็นเรื่องภายใน ที่เราก็ต้องมาแก้ไข พรรคก็ไม่หยุดนิ่ง และช่วงนี้สำคัญที่สุดคือมีการประชุมคณะผู้บริหารพรรคทุกสัปดาห์ เพื่อให้การดำเนินการต่างเป็นไปในเชิงรุกมากขึ้น แล้วก็ทันในสถานการณ์ ในการที่จะมีเหตุการณ์ใหม่ๆเกิดขึ้น และเพื่อการแก้ปัญหาที่รวดเร็วขึ้น อันนี้ก็ถือว่าเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ผมยังไม่ได้เรียน ซึ่งก็ถือว่าเป็นการทำงานเชิงลึก แต่ว่าบางเรื่องเราก็เปิดเผยทุกเรื่องไม่ได้ อันนี้ก็ต้องเป็นเรื่องขอความเห็นใจ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1/02/47--จบ--
-สส-