กรุงเทพ--2 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2547 นางสาววิมล คิดชอบ รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวในการแถลงข่าวการจัดการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BIMST-EC หรือ บีมสเทค (Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) ว่า การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบความก้าวหน้าและให้ข้อเสนอ แนะแนวทางในการดำเนินงานของสาขาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนของประเทศสมาชิกทั้ง 7 ประเทศคือ บังกลาเทศ ภูฏาณ อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย โดยในการประชุมครั้งนี้จะประกอบไปด้วย การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 7 การประชุม รัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 5 และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งที่ 6 นอกจากนี้ ยังจะมีการพิจารณาร่างกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMST-EC ซึ่งเป็นผลจากการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า BIMST-EC ครั้งที่ 4 ณ กรุงโคลัมโบ
นายชนะ คณารัตนดิลก ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านนโยบายและแผน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า หากที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า มีมติ เห็นชอบร่างกรอบความตกลงเขตการค้าเสรีแล้ว จะมีการลงนามในกรอบความตกลงฯ โดยมี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยภายหลังการลงนามความตกลงแล้ว คณะกรรมการเจรจาการค้าสามารถดำเนินการเพื่อเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี BIMST-EC ได้ทันที ทั้งนี้ ร่างกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMST-EC ครอบคลุมทั้งเรื่องการลดภาษี สินค้า ซึ่งมีทั้งสินค้าเร่งลดภาษี (Fast Track) และสินค้าลดภาษีปกติ (Normal Track) การเปิด เสรีการค้า บริการ และการลงทุน โดยด้านบริการจะครอบคลุมเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือ ด้านบริการ เพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและการแข่งขัน ด้านการลงทุนจะครอบคลุมเรื่องการ ส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน รวมทั้งให้มีการเจรจาเพื่อให้มีกฎระเบียบด้านการลงทุนเสรีมากขึ้น
นอกจากการจัดทำเขตการค้าเสรีแล้ว การประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BIMST-EC ครั้งนี้ ยังเตรียมความร่วมมือในด้านต่างๆ อีกเช่น โครงการปีท่องเที่ยว BIMST-EC 2004 การเชื่อมโยงด้านการคมนาคม ความร่วมมือทางวิชาการ และความร่วมมือของภาคเอกชน และในการประชุมครั้งนี้ยังได้จัดให้มีการแข่งขันฟุตบอลระดับเยาวชน BIMST-EC Cup ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกทั้ง 7 ประเทศอีกด้วย
อนึ่ง กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BIMST-EC จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2540 โดยประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดความร่วมมืออนุภูมิภาค โดยมีสมาชิกเมื่อแรกจัดตั้ง 4 ประเทศ คือ บังกลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา และไทย ต่อมาพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก และได้ใช้ชื่อกรอบความร่วมมือว่า BIMST-EC หรือ Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka —Thailand Economic Cooperation: BIMST-EC) และในการประชุมที่จะมีขึ้นที่ จ.ภูเก็ต ระหว่างวันที่ 6 —8 กุมภาพันธ์ 2547 นี้ จะมีสมาชิกเข้าร่วมอีก 2 ประเทศ คือ ภูฏาณ และ เนปาล โดยการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BIMST-EC นั้น จะเน้นความร่วมมือใน 6 สาขา ได้แก่ การค้าและการลงทุน (บังกลาเทศเป็นผู้นำ) เทคโนโลยี (ศรีลังกาเป็นผู้นำ) การขนส่งและคมนาคม (อินเดียเป็นผู้นำ) พลังงาน (พม่าเป็นผู้นำ) การท่องเที่ยว (อินเดียเป็นผู้นำ) และ การประมง (ประเทศไทยเป็นผู้นำ)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2547 นางสาววิมล คิดชอบ รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวในการแถลงข่าวการจัดการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BIMST-EC หรือ บีมสเทค (Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) ว่า การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบความก้าวหน้าและให้ข้อเสนอ แนะแนวทางในการดำเนินงานของสาขาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนของประเทศสมาชิกทั้ง 7 ประเทศคือ บังกลาเทศ ภูฏาณ อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย โดยในการประชุมครั้งนี้จะประกอบไปด้วย การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 7 การประชุม รัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 5 และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งที่ 6 นอกจากนี้ ยังจะมีการพิจารณาร่างกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMST-EC ซึ่งเป็นผลจากการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า BIMST-EC ครั้งที่ 4 ณ กรุงโคลัมโบ
นายชนะ คณารัตนดิลก ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านนโยบายและแผน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า หากที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า มีมติ เห็นชอบร่างกรอบความตกลงเขตการค้าเสรีแล้ว จะมีการลงนามในกรอบความตกลงฯ โดยมี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยภายหลังการลงนามความตกลงแล้ว คณะกรรมการเจรจาการค้าสามารถดำเนินการเพื่อเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี BIMST-EC ได้ทันที ทั้งนี้ ร่างกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMST-EC ครอบคลุมทั้งเรื่องการลดภาษี สินค้า ซึ่งมีทั้งสินค้าเร่งลดภาษี (Fast Track) และสินค้าลดภาษีปกติ (Normal Track) การเปิด เสรีการค้า บริการ และการลงทุน โดยด้านบริการจะครอบคลุมเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือ ด้านบริการ เพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและการแข่งขัน ด้านการลงทุนจะครอบคลุมเรื่องการ ส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน รวมทั้งให้มีการเจรจาเพื่อให้มีกฎระเบียบด้านการลงทุนเสรีมากขึ้น
นอกจากการจัดทำเขตการค้าเสรีแล้ว การประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BIMST-EC ครั้งนี้ ยังเตรียมความร่วมมือในด้านต่างๆ อีกเช่น โครงการปีท่องเที่ยว BIMST-EC 2004 การเชื่อมโยงด้านการคมนาคม ความร่วมมือทางวิชาการ และความร่วมมือของภาคเอกชน และในการประชุมครั้งนี้ยังได้จัดให้มีการแข่งขันฟุตบอลระดับเยาวชน BIMST-EC Cup ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกทั้ง 7 ประเทศอีกด้วย
อนึ่ง กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BIMST-EC จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2540 โดยประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดความร่วมมืออนุภูมิภาค โดยมีสมาชิกเมื่อแรกจัดตั้ง 4 ประเทศ คือ บังกลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา และไทย ต่อมาพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก และได้ใช้ชื่อกรอบความร่วมมือว่า BIMST-EC หรือ Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka —Thailand Economic Cooperation: BIMST-EC) และในการประชุมที่จะมีขึ้นที่ จ.ภูเก็ต ระหว่างวันที่ 6 —8 กุมภาพันธ์ 2547 นี้ จะมีสมาชิกเข้าร่วมอีก 2 ประเทศ คือ ภูฏาณ และ เนปาล โดยการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BIMST-EC นั้น จะเน้นความร่วมมือใน 6 สาขา ได้แก่ การค้าและการลงทุน (บังกลาเทศเป็นผู้นำ) เทคโนโลยี (ศรีลังกาเป็นผู้นำ) การขนส่งและคมนาคม (อินเดียเป็นผู้นำ) พลังงาน (พม่าเป็นผู้นำ) การท่องเที่ยว (อินเดียเป็นผู้นำ) และ การประมง (ประเทศไทยเป็นผู้นำ)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-