ภายใต้ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS) ขององค์การการค้าโลก ( World Trade Organization: WTO) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่ประเทศสมาชิก WTO ตกลงให้ความคุ้มครองร่วมกัน
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คืออะไร
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คือ ชื่อหรือสัญลักษณ์ของแหล่งภูมิศาสตร์ที่ใช้เรียกสินค้า ซึ่งบ่งบอกถึงแหล่งที่มาหรือแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของสินค้านั้น โดยสินค้าดังกล่าวจะต้องมีคุณภาพ (quality) ชื่อเสียง (reputation) หรือคุณลักษณะเฉพาะ (other specifications) สัมพันธ์กับแหล่งที่มาหรือแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ด้วย อาทิ Darjeeling Tea ของอินเดีย Roquefort Cheese ของฝรั่งเศส Parma Ham ของอิตาลี ส้มโอนครชัยศรีและไข่เค็มไชยาของไทย เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
เพื่อช่วยคุ้มครองผู้ผลิตสินค้าไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิโดยการลอกเลียนชื่อสินค้าจากผู้ผลิตที่อยู่นอกแหล่งภูมิศาสตร์นั้น ซึ่งไม่เป็นธรรมกับผู้ผลิตสินค้าที่ตั้งอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเนื่องจากการระบุสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะช่วยผลักดันให้สินค้านั้นมีราคาสูงขึ้นหรือจำหน่ายได้มากขึ้นเพราะผู้บริโภคเกิดความมั่นใจว่าจะได้รับสินค้าที่ดีมีคุณภาพตามที่ต้องการจากแหล่งผลิตตามการใช้ชื่อทางภูมิศาสตร์ และมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากสินค้าประเภทเดียวกันที่ผลิตขึ้นจากแหล่งอื่นจึงเต็มใจจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าในราคาที่สูงขึ้น
ขอบเขตของการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะสินค้าเกษตรเท่านั้น แต่สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สามารถใช้ได้กับสินค้าทุกประเภท เช่น ผ้าคลุมไหล่ “Pashmina Shawls” จากประเทศอินเดีย เป็นต้น ภายใต้เงื่อนไขว่าสินค้าที่มีการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของชื่อสินค้า จะต้องมีลักษณะพิเศษอันสืบเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เท่านั้น เพราะได้มีการใช้ชื่อแหล่งผลิตเป็นหลักประกันคุณภาพและชื่อเสียงของสินค้า
สำหรับสิทธิความเป็นเจ้าของและการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไม่จำกัดเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด แต่ผู้เป็นเจ้าของและมีสิทธิใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คือ ประชากรที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการที่ตั้งอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าวเท่านั้น ส่งผลให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการรายอื่นที่ตั้งอยู่นอกแหล่งภูมิศาสตร์ไม่สามารถผลิตสินค้าประเภทเดียวกันภายใต้ชื่อแหล่งภูมิศาสตร์ตรงกันออกมาแข่งขันได้
ระยะเวลาการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วจะได้รับการคุ้มครองตลอดไป โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะสิ้นสุดลงเมื่อประเทศที่ให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในสินค้านั้นยกเลิกการให้ความคุ้มครองเนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นมีลักษณะขัดต่อกฎหมายในประเทศในภายหลังหรือเมื่อประเทศนั้นไม่ต้องการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับสินค้านั้นๆ แล้ว
ประเทศที่มีการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกตระหนักถึงประโยชน์ของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และให้ความสนใจกับการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มากขึ้น โดยประเทศที่มีการจดทะเบียนเพื่อให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้ว อาทิ กลุ่มสหภาพยุโรป (European Union: EU) สหรัฐอเมริกา ลิกเตนสไตน์ และอินเดีย ฯลฯ
สำหรับประเทศไทยคาดว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะเริ่มมีผลบังคับใช้ได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2547 และจากข้อมูลล่าสุด (ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2546) ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ปรากฏว่ามีผู้มาขอขึ้นทะเบียนเพื่อจดแจ้งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สินค้ารวม 15 รายการ อาทิ ทุเรียนสวนนนท์ กระท้อนห่อบางกร่าง ตุ่มสามโคก บางเพรียงไวน์ และปลาสลิดหอมบางบ่อ เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เริ่มมีผลบังคับใช้เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวเพื่ออนุมัติขึ้นทะเบียนและให้ความคุ้มครองตามกฎหมาย ตลอดจนนำไปจดทะเบียนเพื่อให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสินค้าไทยในต่างประเทศต่อไป โดยหากเป็นการจดทะเบียนในกลุ่ม EU สินค้าดังกล่าวจะได้รับความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จากประเทศสมาชิก EU ทั้ง 15 ประเทศ พร้อมกันทันที
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1142-1145
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2547--
-พห-
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คืออะไร
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คือ ชื่อหรือสัญลักษณ์ของแหล่งภูมิศาสตร์ที่ใช้เรียกสินค้า ซึ่งบ่งบอกถึงแหล่งที่มาหรือแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของสินค้านั้น โดยสินค้าดังกล่าวจะต้องมีคุณภาพ (quality) ชื่อเสียง (reputation) หรือคุณลักษณะเฉพาะ (other specifications) สัมพันธ์กับแหล่งที่มาหรือแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ด้วย อาทิ Darjeeling Tea ของอินเดีย Roquefort Cheese ของฝรั่งเศส Parma Ham ของอิตาลี ส้มโอนครชัยศรีและไข่เค็มไชยาของไทย เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
เพื่อช่วยคุ้มครองผู้ผลิตสินค้าไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิโดยการลอกเลียนชื่อสินค้าจากผู้ผลิตที่อยู่นอกแหล่งภูมิศาสตร์นั้น ซึ่งไม่เป็นธรรมกับผู้ผลิตสินค้าที่ตั้งอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเนื่องจากการระบุสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะช่วยผลักดันให้สินค้านั้นมีราคาสูงขึ้นหรือจำหน่ายได้มากขึ้นเพราะผู้บริโภคเกิดความมั่นใจว่าจะได้รับสินค้าที่ดีมีคุณภาพตามที่ต้องการจากแหล่งผลิตตามการใช้ชื่อทางภูมิศาสตร์ และมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากสินค้าประเภทเดียวกันที่ผลิตขึ้นจากแหล่งอื่นจึงเต็มใจจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าในราคาที่สูงขึ้น
ขอบเขตของการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะสินค้าเกษตรเท่านั้น แต่สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สามารถใช้ได้กับสินค้าทุกประเภท เช่น ผ้าคลุมไหล่ “Pashmina Shawls” จากประเทศอินเดีย เป็นต้น ภายใต้เงื่อนไขว่าสินค้าที่มีการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของชื่อสินค้า จะต้องมีลักษณะพิเศษอันสืบเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เท่านั้น เพราะได้มีการใช้ชื่อแหล่งผลิตเป็นหลักประกันคุณภาพและชื่อเสียงของสินค้า
สำหรับสิทธิความเป็นเจ้าของและการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไม่จำกัดเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด แต่ผู้เป็นเจ้าของและมีสิทธิใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คือ ประชากรที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการที่ตั้งอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าวเท่านั้น ส่งผลให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการรายอื่นที่ตั้งอยู่นอกแหล่งภูมิศาสตร์ไม่สามารถผลิตสินค้าประเภทเดียวกันภายใต้ชื่อแหล่งภูมิศาสตร์ตรงกันออกมาแข่งขันได้
ระยะเวลาการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วจะได้รับการคุ้มครองตลอดไป โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะสิ้นสุดลงเมื่อประเทศที่ให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในสินค้านั้นยกเลิกการให้ความคุ้มครองเนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นมีลักษณะขัดต่อกฎหมายในประเทศในภายหลังหรือเมื่อประเทศนั้นไม่ต้องการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับสินค้านั้นๆ แล้ว
ประเทศที่มีการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกตระหนักถึงประโยชน์ของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และให้ความสนใจกับการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มากขึ้น โดยประเทศที่มีการจดทะเบียนเพื่อให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้ว อาทิ กลุ่มสหภาพยุโรป (European Union: EU) สหรัฐอเมริกา ลิกเตนสไตน์ และอินเดีย ฯลฯ
สำหรับประเทศไทยคาดว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะเริ่มมีผลบังคับใช้ได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2547 และจากข้อมูลล่าสุด (ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2546) ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ปรากฏว่ามีผู้มาขอขึ้นทะเบียนเพื่อจดแจ้งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สินค้ารวม 15 รายการ อาทิ ทุเรียนสวนนนท์ กระท้อนห่อบางกร่าง ตุ่มสามโคก บางเพรียงไวน์ และปลาสลิดหอมบางบ่อ เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เริ่มมีผลบังคับใช้เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวเพื่ออนุมัติขึ้นทะเบียนและให้ความคุ้มครองตามกฎหมาย ตลอดจนนำไปจดทะเบียนเพื่อให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสินค้าไทยในต่างประเทศต่อไป โดยหากเป็นการจดทะเบียนในกลุ่ม EU สินค้าดังกล่าวจะได้รับความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จากประเทศสมาชิก EU ทั้ง 15 ประเทศ พร้อมกันทันที
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1142-1145
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2547--
-พห-