กรุงเทพ--10 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2548 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ
ต่างประเทศ ได้เป็นผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียนว่าด้วยผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย ซึ่งจัดขึ้น ณ Jakarta Convention Centre (JCC) กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งผู้เข้าร่วมประกอบด้วยประมุข หัวหน้ารัฐบาล หรือรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ประเทศ + 3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) ประเทศที่ประสบภัยฯ (อินเดีย ศรีลังกา และมัลดีฟส์) ตลอดจนประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง อาทิ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สวีเดน นอร์เวย์ สหประชาชาติและทบวงการชำนัญพิเศษ สหภาพยุโรป ธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย
โอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวสุนทรพจน์พร้อมทั้งนำเสนอ วิดิทัศน์เกี่ยวกับความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับไทยอันเนื่องมาจากคลื่นยักษ์ (Tsunami) ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ต่อที่ประชุมฯ ซึ่งมีสาระสำคัญประกอบด้วย 1) การนำเสนอข้อเท็จจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตในประเทศต่างๆ รวมกันกว่า 150,000 คน และสูญหายอีกหลายพันคน ซึ่งประเทศไทยแม้จะเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยครั้งนี้แต่ก็ได้บริจาคเงินจำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประเทศอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ 2) บทเรียนที่ได้รับอันเนื่องมาจากการขาดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นนี้ ซึ่งรัฐบาลไทยได้อนุมัติเงินงบประมาณจำนวน 28,000 ล้านบาท (700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และ 3) ข้อเสนอในการป้องกันปัญหาในอนาคตทั้งในระดับประเทศซึ่งเน้นการให้ความสำคัญด้านการศึกษาและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน
ในเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติสำหรับระดับภูมิภาคนั้น ได้มีการเสนอจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า
(Early Warning System) ในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย โดยการขยายและปรับปรุงขีดความสามารถของศูนย์เตรียมความพร้อมเพื่อบรรเทาภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center: ADPC) ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศไทย ส่วนระดับโลกได้เน้นบทบาทของสหประชาชาติในการเป็นองค์กรหลักที่จะทำหน้าที่ประสานและดูแลด้านการป้องกันและการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
ในช่วงบ่าย ที่ประชุมฯ ได้รับรองแถลงการณ์เกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน การฟื้นฟูบูรณะและการป้องกันอันเนื่องมาจากธรณีพิบัติภัยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอของไทยทั้งในประเด็นบทบาทหลักของสหประชาชาติ การจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าฯ และความร่วมมือประสานงานระหว่างประเทศในภูมิภาคในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในโอกาสนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภายหลังการพบหารือทวิภาคีกับนาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ นาย Xavia Darcos รัฐมนตรีกิจการความร่วมมือฝรั่งเศส นาย Maumoon Abdul Gayoom ประธานาธิบดีมัลดีฟส์ นาย Bertel Haardee รัฐมนตรีกิจการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของเดนมาร์ก สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การประชุมบรรลุวัตถุประสงค์ในส่วนของการเน้นย้ำให้ต่างประเทศสนใจและตื่นตัวในเรื่องภัยพิบัติฯ รวมทั้งการนำความช่วยเหลือต่างๆ ให้ออกมาเป็นรูปธรรม
2. ผู้นำจากประเทศต่างๆ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันในเรื่อง ดังนี้
2.1 ภัยพิบัติครั้งนี้มีความหนักหน่วงในระดับที่ไม่เคยประสบมาก่อนในประวัติศาสตร์ ดังนั้น ประเทศต่างๆ ควรร่วมมือกันในการตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าว
2.2 ประเทศต่างๆ ทั่วโลกควรยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้ ความช่วยเหลืออาจมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับผลกระทบที่เกิดขึ้นในเประเทศนั้นๆ อย่างไรก็ตาม สหประชาชาติควรมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้
3. การหารือมี 3 ประเด็นหลักที่สำคัญ ได้แก่
3.1 การเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด โดยเน้นบทบาทนำของ
สหประชาชาติ
3.2 การวางแผนในการฟื้นฟูประเทศ โดยอาศัยความร่วมมือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
3.3 การจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า เป็นข้อเสนอที่ทุกประเทศเห็นด้วยและ
ให้การสนับสนุน เนื่องจากประเทศในแถบมหาสมุทรอินเดียยังไม่มีระบบเตือนภัยดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์แสดงความเห็นด้วยอย่างชัดเจนในการสนับสนุนให้ศูนย์เตรียมพร้อมเพื่อบรรเทาภัยพิบัติแห่งเอเชียเป็นศูนย์กลางในการป้องกันภัยพิบัติดังกล่าว นอกจากนี้ สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ ก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ในการนี้ ไทยได้เสนอเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีในเรื่องระบบการเตือนภัยล่วงหน้า ในวันที่ 28 มกราคม 2548 ซึ่งหลายประเทศได้ตอบรับเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวแล้ว อาทิ สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ มาเลเซีย
4. ในส่วนของความพยายามในการบรรเทาทุกข์ สหประชาชาติควรมีบทบาทสำคัญ ซึ่งในชั้นนี้ นาย Kofi Annan กล่าวว่า เพื่อเร่งการบรรเทาภัยพิบัติ สหประชาชาติจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากนานาประเทศเป็นจำนวนเงิน 977 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับความช่วยเหลือประเทศที่ประสบภัยพิบัติอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ ยังได้เสนอให้มีการพักชำระหนี้ (Debt moratorium) ให้แก่ประเทศที่ประสบภัยดังกล่าวด้วย
5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้กล่าวว่า ไทยสามารถพึ่งตนเองได้ทางด้านการเงิน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไทยต้องการ คือ ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยี อาทิ เทคโนโลยีในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
6. ในการพบเลขาธิการสหประชาชาติ นาย Kofi Annan ได้แสดงความพอใจที่ไทยสามารถควบคุมและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมาตรการต่างๆ ของไทยสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับประเทศอื่นที่เผชิญวิกฤตได้ นอกจากนี้ นาย Annan ได้แจ้งแก่ฝ่ายไทยว่า สหประชาชาติมีความประสงค์ที่จะใช้สำนักงานของสหประชาชาติประจำภูมิภาค คือ ESCAP และหน่วยงานอื่นๆ ของสหประชาชาติเป็นศูนย์กลางหลักในการช่วยเหลือและฟื้นฟูประเทศที่ประสบภัยในภูมิภาค
7. ในการพบรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสและเดนมาร์ก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้กล่าวขอบคุณในการให้ความช่วยเหลือ อาทิ การส่งทีมนิติเวชเข้ามายังประเทศไทย
8. ในการพบประธานาธิบดีมัลดีฟส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มอบเงินจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2548 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ
ต่างประเทศ ได้เป็นผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียนว่าด้วยผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย ซึ่งจัดขึ้น ณ Jakarta Convention Centre (JCC) กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งผู้เข้าร่วมประกอบด้วยประมุข หัวหน้ารัฐบาล หรือรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ประเทศ + 3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) ประเทศที่ประสบภัยฯ (อินเดีย ศรีลังกา และมัลดีฟส์) ตลอดจนประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง อาทิ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สวีเดน นอร์เวย์ สหประชาชาติและทบวงการชำนัญพิเศษ สหภาพยุโรป ธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย
โอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวสุนทรพจน์พร้อมทั้งนำเสนอ วิดิทัศน์เกี่ยวกับความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับไทยอันเนื่องมาจากคลื่นยักษ์ (Tsunami) ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ต่อที่ประชุมฯ ซึ่งมีสาระสำคัญประกอบด้วย 1) การนำเสนอข้อเท็จจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตในประเทศต่างๆ รวมกันกว่า 150,000 คน และสูญหายอีกหลายพันคน ซึ่งประเทศไทยแม้จะเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยครั้งนี้แต่ก็ได้บริจาคเงินจำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประเทศอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ 2) บทเรียนที่ได้รับอันเนื่องมาจากการขาดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นนี้ ซึ่งรัฐบาลไทยได้อนุมัติเงินงบประมาณจำนวน 28,000 ล้านบาท (700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และ 3) ข้อเสนอในการป้องกันปัญหาในอนาคตทั้งในระดับประเทศซึ่งเน้นการให้ความสำคัญด้านการศึกษาและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน
ในเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติสำหรับระดับภูมิภาคนั้น ได้มีการเสนอจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า
(Early Warning System) ในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย โดยการขยายและปรับปรุงขีดความสามารถของศูนย์เตรียมความพร้อมเพื่อบรรเทาภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center: ADPC) ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศไทย ส่วนระดับโลกได้เน้นบทบาทของสหประชาชาติในการเป็นองค์กรหลักที่จะทำหน้าที่ประสานและดูแลด้านการป้องกันและการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
ในช่วงบ่าย ที่ประชุมฯ ได้รับรองแถลงการณ์เกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน การฟื้นฟูบูรณะและการป้องกันอันเนื่องมาจากธรณีพิบัติภัยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอของไทยทั้งในประเด็นบทบาทหลักของสหประชาชาติ การจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าฯ และความร่วมมือประสานงานระหว่างประเทศในภูมิภาคในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในโอกาสนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภายหลังการพบหารือทวิภาคีกับนาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ นาย Xavia Darcos รัฐมนตรีกิจการความร่วมมือฝรั่งเศส นาย Maumoon Abdul Gayoom ประธานาธิบดีมัลดีฟส์ นาย Bertel Haardee รัฐมนตรีกิจการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของเดนมาร์ก สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การประชุมบรรลุวัตถุประสงค์ในส่วนของการเน้นย้ำให้ต่างประเทศสนใจและตื่นตัวในเรื่องภัยพิบัติฯ รวมทั้งการนำความช่วยเหลือต่างๆ ให้ออกมาเป็นรูปธรรม
2. ผู้นำจากประเทศต่างๆ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันในเรื่อง ดังนี้
2.1 ภัยพิบัติครั้งนี้มีความหนักหน่วงในระดับที่ไม่เคยประสบมาก่อนในประวัติศาสตร์ ดังนั้น ประเทศต่างๆ ควรร่วมมือกันในการตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าว
2.2 ประเทศต่างๆ ทั่วโลกควรยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้ ความช่วยเหลืออาจมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับผลกระทบที่เกิดขึ้นในเประเทศนั้นๆ อย่างไรก็ตาม สหประชาชาติควรมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้
3. การหารือมี 3 ประเด็นหลักที่สำคัญ ได้แก่
3.1 การเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด โดยเน้นบทบาทนำของ
สหประชาชาติ
3.2 การวางแผนในการฟื้นฟูประเทศ โดยอาศัยความร่วมมือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
3.3 การจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า เป็นข้อเสนอที่ทุกประเทศเห็นด้วยและ
ให้การสนับสนุน เนื่องจากประเทศในแถบมหาสมุทรอินเดียยังไม่มีระบบเตือนภัยดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์แสดงความเห็นด้วยอย่างชัดเจนในการสนับสนุนให้ศูนย์เตรียมพร้อมเพื่อบรรเทาภัยพิบัติแห่งเอเชียเป็นศูนย์กลางในการป้องกันภัยพิบัติดังกล่าว นอกจากนี้ สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ ก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ในการนี้ ไทยได้เสนอเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีในเรื่องระบบการเตือนภัยล่วงหน้า ในวันที่ 28 มกราคม 2548 ซึ่งหลายประเทศได้ตอบรับเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวแล้ว อาทิ สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ มาเลเซีย
4. ในส่วนของความพยายามในการบรรเทาทุกข์ สหประชาชาติควรมีบทบาทสำคัญ ซึ่งในชั้นนี้ นาย Kofi Annan กล่าวว่า เพื่อเร่งการบรรเทาภัยพิบัติ สหประชาชาติจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากนานาประเทศเป็นจำนวนเงิน 977 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับความช่วยเหลือประเทศที่ประสบภัยพิบัติอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ ยังได้เสนอให้มีการพักชำระหนี้ (Debt moratorium) ให้แก่ประเทศที่ประสบภัยดังกล่าวด้วย
5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้กล่าวว่า ไทยสามารถพึ่งตนเองได้ทางด้านการเงิน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไทยต้องการ คือ ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยี อาทิ เทคโนโลยีในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
6. ในการพบเลขาธิการสหประชาชาติ นาย Kofi Annan ได้แสดงความพอใจที่ไทยสามารถควบคุมและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมาตรการต่างๆ ของไทยสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับประเทศอื่นที่เผชิญวิกฤตได้ นอกจากนี้ นาย Annan ได้แจ้งแก่ฝ่ายไทยว่า สหประชาชาติมีความประสงค์ที่จะใช้สำนักงานของสหประชาชาติประจำภูมิภาค คือ ESCAP และหน่วยงานอื่นๆ ของสหประชาชาติเป็นศูนย์กลางหลักในการช่วยเหลือและฟื้นฟูประเทศที่ประสบภัยในภูมิภาค
7. ในการพบรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสและเดนมาร์ก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้กล่าวขอบคุณในการให้ความช่วยเหลือ อาทิ การส่งทีมนิติเวชเข้ามายังประเทศไทย
8. ในการพบประธานาธิบดีมัลดีฟส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มอบเงินจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-