สุกร
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นแทบทุกพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก เพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน ประกอบกับในช่วงนี้ได้เกิดโรคระบาดไก่ ทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อสุกรมากขึ้นสำหรับราคาลูกสุกรได้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาสุกรมีแนวโน้มสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.36 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.39 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.64 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 38.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.97 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 36.44 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 35.89 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ราคาตัวละ 800 บาท (บวกลบ 36) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.33 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 46.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.30
ไก่เนื้อ
1. สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นทุกพื้นที่ เนื่องจากผลผลิตที่มีปริมาณลดลงเพราะได้รับความเสียหายจากภาวะการเกิดโรคระบาดไก่ กรมปศุสัตว์ได้ใช้มาตรการควบคุมการระบาดของโรค โดยทำลายสัตว์ปีกทุกชนิดในรัศมี 5 กิโลเมตรที่พบการเกิดการระบาดของโรค ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ทั้งประเทศ ถ้าจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายจะต้องมีใบกำกับการเคลื่อนย้ายจากกรมปศุสัตว์ และจะเคลื่อนย้ายได้เฉพาะเส้นทางที่กำหนดเท่านั้น โดยกรมฯ ได้กำหนดจุดตรวจอย่างเข้มงวด 65 จุด โรงเชือดและโรงฆ่าสัตว์ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมฯ จะอนุญาตให้ดำเนินการได้เฉพาะสัตว์ปีกที่มีผลการตรวจรับรองจากกรมปศุสัตว์เท่านั้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 30.49 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.82 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.25 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 30.40 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 29.38 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 33.57 บาท และภาคเหนือ ไม่มีรายงานราคา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาตัวละ 7.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.59 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 44.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.53
2. สถานการณ์การผลิตและ การค้าและราคาต่างประเทศ
มีรายงานข่าวว่า ญี่ปุ่นได้ระงับการนำเข้าการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากไทยเป็นการชั่วคราว เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2547 หลังจากมีรายงานการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไทย ซึ่งทางการของไทยได้เจรจาขอให้ห้ามนำเข้าเฉพาะไก่ทั้งตัวไม่ครอบคลุมชิ้นส่วนชำแหละ ซึ่งก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นได้ยกเลิกการนำเข้าสัตว์ปีกจากเวียดนาม เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2547 หลังจากได้รับแจ้งว่ามีการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเวียดนาม
ล่าสุดมีรายงานว่า รัฐบาลไทยได้ตรวจพบว่าโรคระบาดไก่ที่เกิดขึ้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นการติดเชื้อไข้หวัดนก ทำให้สหภาพยุโรป หรือ EU ซึ่งเป็นตลาดนำเข้ารายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของไทย มีคำสั่งห้ามนำเข้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากไทยทุกชนิด ในขณะที่ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศนำเข้าไก่จากไทยมากเป็นอันดับ 4 มีคำสั่งเก็บเนื้อสัตว์ทุกชนิด รวมทั้งเนื้อไก่ที่นำเข้าจากไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
จากภาวะการเกิดโรคระบาดไก่ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงใหญ่ของไก่ไข่ กรมปศุสัตว์ได้มีการสุ่มตรวจตัวอย่างชิ้นส่วนเนื้อไก่ทั่วประเทศ จำนวน 100,000 ตัวอย่าง พบว่าชิ้นส่วนเนื้อไก่มีการติดเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5 แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็น N ชนิดใด และจะส่งตัวอย่างให้องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ที่ฝรั่งเศส และ ที่ฮ่องกงตรวจสอบในห้องแลบสากลอีกครั้ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งให้มีการทำลายไก่และสัตว์ปีกทุกชนิดในรัศมี 5 กิโลเมตรที่พบเชื้อไข้หวัดนก และได้ทำลายไก่ที่สงสัยจะเป็นพาหะของโรคแล้วใน 2 จังหวัด คือฉะเชิงเทรา และสุพรรณบุรี ประมาณ 7 ล้านตัว คาดว่าน่าจะเป็นไก่ไข่ประมาณ 60% ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตโดยรวมลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 189 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 180 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 205 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 183 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 187 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 191 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 225 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 215 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.65
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 198 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 194 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 199 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 191 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 200 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 213 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 47.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 41.52 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 52.15 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 45.66 บาท และภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.53 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.03 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.16 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 38.23 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 19-25 มกราคม 2547--จบ--
-พห-
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นแทบทุกพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก เพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน ประกอบกับในช่วงนี้ได้เกิดโรคระบาดไก่ ทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อสุกรมากขึ้นสำหรับราคาลูกสุกรได้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาสุกรมีแนวโน้มสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.36 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.39 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.64 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 38.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.97 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 36.44 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 35.89 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ราคาตัวละ 800 บาท (บวกลบ 36) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.33 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 46.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.30
ไก่เนื้อ
1. สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นทุกพื้นที่ เนื่องจากผลผลิตที่มีปริมาณลดลงเพราะได้รับความเสียหายจากภาวะการเกิดโรคระบาดไก่ กรมปศุสัตว์ได้ใช้มาตรการควบคุมการระบาดของโรค โดยทำลายสัตว์ปีกทุกชนิดในรัศมี 5 กิโลเมตรที่พบการเกิดการระบาดของโรค ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ทั้งประเทศ ถ้าจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายจะต้องมีใบกำกับการเคลื่อนย้ายจากกรมปศุสัตว์ และจะเคลื่อนย้ายได้เฉพาะเส้นทางที่กำหนดเท่านั้น โดยกรมฯ ได้กำหนดจุดตรวจอย่างเข้มงวด 65 จุด โรงเชือดและโรงฆ่าสัตว์ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมฯ จะอนุญาตให้ดำเนินการได้เฉพาะสัตว์ปีกที่มีผลการตรวจรับรองจากกรมปศุสัตว์เท่านั้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 30.49 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.82 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.25 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 30.40 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 29.38 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 33.57 บาท และภาคเหนือ ไม่มีรายงานราคา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาตัวละ 7.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.59 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 44.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.53
2. สถานการณ์การผลิตและ การค้าและราคาต่างประเทศ
มีรายงานข่าวว่า ญี่ปุ่นได้ระงับการนำเข้าการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากไทยเป็นการชั่วคราว เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2547 หลังจากมีรายงานการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไทย ซึ่งทางการของไทยได้เจรจาขอให้ห้ามนำเข้าเฉพาะไก่ทั้งตัวไม่ครอบคลุมชิ้นส่วนชำแหละ ซึ่งก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นได้ยกเลิกการนำเข้าสัตว์ปีกจากเวียดนาม เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2547 หลังจากได้รับแจ้งว่ามีการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเวียดนาม
ล่าสุดมีรายงานว่า รัฐบาลไทยได้ตรวจพบว่าโรคระบาดไก่ที่เกิดขึ้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นการติดเชื้อไข้หวัดนก ทำให้สหภาพยุโรป หรือ EU ซึ่งเป็นตลาดนำเข้ารายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของไทย มีคำสั่งห้ามนำเข้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากไทยทุกชนิด ในขณะที่ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศนำเข้าไก่จากไทยมากเป็นอันดับ 4 มีคำสั่งเก็บเนื้อสัตว์ทุกชนิด รวมทั้งเนื้อไก่ที่นำเข้าจากไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
จากภาวะการเกิดโรคระบาดไก่ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงใหญ่ของไก่ไข่ กรมปศุสัตว์ได้มีการสุ่มตรวจตัวอย่างชิ้นส่วนเนื้อไก่ทั่วประเทศ จำนวน 100,000 ตัวอย่าง พบว่าชิ้นส่วนเนื้อไก่มีการติดเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5 แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็น N ชนิดใด และจะส่งตัวอย่างให้องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ที่ฝรั่งเศส และ ที่ฮ่องกงตรวจสอบในห้องแลบสากลอีกครั้ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งให้มีการทำลายไก่และสัตว์ปีกทุกชนิดในรัศมี 5 กิโลเมตรที่พบเชื้อไข้หวัดนก และได้ทำลายไก่ที่สงสัยจะเป็นพาหะของโรคแล้วใน 2 จังหวัด คือฉะเชิงเทรา และสุพรรณบุรี ประมาณ 7 ล้านตัว คาดว่าน่าจะเป็นไก่ไข่ประมาณ 60% ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตโดยรวมลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 189 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 180 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 205 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 183 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 187 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 191 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 225 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 215 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.65
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 198 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 194 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 199 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 191 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 200 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 213 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 47.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 41.52 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 52.15 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 45.66 บาท และภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.53 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.03 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.16 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 38.23 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 19-25 มกราคม 2547--จบ--
-พห-