สุกร
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นแทบทุกพื้นที่จากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะการเกิดโรคระบาดในสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่เนื้อและไก่ไข่ทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อสุกรมากขึ้น สำหรับราคาลูกสุกรปรับตัวสูงขึ้นอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากราคาสุกรมีแนวโน้มสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.36 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.98 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 40.92 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 38.71 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 38.73 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 38.22 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ราคาตัวละ 900 บาท (บวกลบ 38) สูงขึ้นจากตัวละ 800 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.50
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.59 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.15
ไก่เนื้อ
1. สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ค่อนข้างซบเซา เนื่องจากภาวะการเกิดโรคไข้หวัดนกระบาดในสัตว์ปีก มีการทำลายไก่เป็นจำนวนมากทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย ความต้องการบริโภคลดลงมากเพราะผู้บริโภคหวาดกลัวโรคไข้หวัดนก ไม่กล้าบริโภคเนื้อไก่เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย และขณะนี้ร้านอาหารหลาย ๆ แห่งไม่มีเมนูอาหารที่ทำจากเนื้อไก่รวมทั้งผู้จำหน่ายเนื้อไก่หลาย ๆ แห่งได้งดจำหน่ายเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์จากไก่ เพราะไม่มีผู้ซื้อ
สำหรับปริมาณส่งออกไก่สดแช่แข็งของไทย เดือนละ ประมาณ 30,500 ตัน มูลค่า 1,700 ล้านบาท และเนื้อไก่แปรรูปเดือนละประมาณ 10,500 ตัน มูลค่า 1,300 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ในการแก้ปัญหาและกลับมาเลี้ยงไก่ใหม่จึงจะสามารถส่งออกได้ตามเดิม
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.49 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.95 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.33 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 25.19 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.63 บาท และภาคเหนือ ไม่มีรายงานราคา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาตัวละ 7.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 56.25 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 34.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 21.59
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นแทบทุกพื้นที่ เนื่องจากผลผลิตได้รับความเสียหายและมีการลำลายไก่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ประกาศ เขตโรคระบาดไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแล้ว 31 จังหวัด 63 อำเภอ (ข้อมูล ณ วันที่ 29 มค. 47) และคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ที่ได้รับความเสียหายจากโรคไข้หวัดนกระบาด โดยเบื้องต้นให้ความช่วยเหลือเป็นพันธุ์ไก่ไข่อายุประมาณ 18 สัปดาห์ หรือเป็นเงินสดในราคาตลาดพร้อมค่าชดเชย ตัวละ 40 บาท ทั้งนี้จะดำเนินการให้ความช่วยเหลือในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2547 โดยระบบขึ้นทะเบียน เพื่อให้เกษตรกรแสดงความจำนงด้วยตัวเอง
สำหรับด้านการส่งออก นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและผู้ส่งออกไข่ไก่ ได้งดการส่งออกทุกประเทศ เพราะเกรงว่าปริมาณไข่ไก่จะไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ยกเว้นฮ่องกงซึ่งเป็นตลาดใหญ่และเป็นตลาดหลักของไข่ไก่ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 196 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 189 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.70 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 204 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 191 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 195 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 201 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 225 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 203 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 198 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.53 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 199 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 197 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 209 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 221 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 48.26 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 41.52 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 53.04 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 45.66 บาท และภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.87 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.53 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 38.64 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 4 ประจำวันที่ 26-1 กุมภาพันธุ์ 2547--
-พห-
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นแทบทุกพื้นที่จากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะการเกิดโรคระบาดในสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่เนื้อและไก่ไข่ทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อสุกรมากขึ้น สำหรับราคาลูกสุกรปรับตัวสูงขึ้นอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากราคาสุกรมีแนวโน้มสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.36 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.98 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 40.92 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 38.71 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 38.73 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 38.22 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ราคาตัวละ 900 บาท (บวกลบ 38) สูงขึ้นจากตัวละ 800 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.50
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.59 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.15
ไก่เนื้อ
1. สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ค่อนข้างซบเซา เนื่องจากภาวะการเกิดโรคไข้หวัดนกระบาดในสัตว์ปีก มีการทำลายไก่เป็นจำนวนมากทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย ความต้องการบริโภคลดลงมากเพราะผู้บริโภคหวาดกลัวโรคไข้หวัดนก ไม่กล้าบริโภคเนื้อไก่เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย และขณะนี้ร้านอาหารหลาย ๆ แห่งไม่มีเมนูอาหารที่ทำจากเนื้อไก่รวมทั้งผู้จำหน่ายเนื้อไก่หลาย ๆ แห่งได้งดจำหน่ายเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์จากไก่ เพราะไม่มีผู้ซื้อ
สำหรับปริมาณส่งออกไก่สดแช่แข็งของไทย เดือนละ ประมาณ 30,500 ตัน มูลค่า 1,700 ล้านบาท และเนื้อไก่แปรรูปเดือนละประมาณ 10,500 ตัน มูลค่า 1,300 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ในการแก้ปัญหาและกลับมาเลี้ยงไก่ใหม่จึงจะสามารถส่งออกได้ตามเดิม
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.49 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.95 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.33 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 25.19 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.63 บาท และภาคเหนือ ไม่มีรายงานราคา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาตัวละ 7.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 56.25 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 34.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 21.59
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นแทบทุกพื้นที่ เนื่องจากผลผลิตได้รับความเสียหายและมีการลำลายไก่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ประกาศ เขตโรคระบาดไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแล้ว 31 จังหวัด 63 อำเภอ (ข้อมูล ณ วันที่ 29 มค. 47) และคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ที่ได้รับความเสียหายจากโรคไข้หวัดนกระบาด โดยเบื้องต้นให้ความช่วยเหลือเป็นพันธุ์ไก่ไข่อายุประมาณ 18 สัปดาห์ หรือเป็นเงินสดในราคาตลาดพร้อมค่าชดเชย ตัวละ 40 บาท ทั้งนี้จะดำเนินการให้ความช่วยเหลือในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2547 โดยระบบขึ้นทะเบียน เพื่อให้เกษตรกรแสดงความจำนงด้วยตัวเอง
สำหรับด้านการส่งออก นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและผู้ส่งออกไข่ไก่ ได้งดการส่งออกทุกประเทศ เพราะเกรงว่าปริมาณไข่ไก่จะไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ยกเว้นฮ่องกงซึ่งเป็นตลาดใหญ่และเป็นตลาดหลักของไข่ไก่ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 196 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 189 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.70 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 204 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 191 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 195 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 201 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 225 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 203 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 198 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.53 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 199 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 197 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 209 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 221 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 48.26 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 41.52 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 53.04 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 45.66 บาท และภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.87 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.53 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 38.64 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 4 ประจำวันที่ 26-1 กุมภาพันธุ์ 2547--
-พห-