ภาคการเกษตร ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นมาก ยกเว้นราคาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังราคาลดลง เนื่องจากสต๊อกในตลาดโลกเหลือจำนวนมาก การใช้จ่ายภาคเอกชน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน พิจารณาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ยอดจำหน่ายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น การลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวดี มีการลงทุนต่อเนื่องทั้งภาคธุรกิจการค้าและภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจ การค้าชายแดนไทย-ลาว การส่งออกและการนำเข้าลดลง ระดับราคา สูงขึ้นร้อยละ 1.3 เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ราคาสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4
1. ภาคการเกษตร
ข้าว ข้าวเปลือกฤดูการผลิตปี 2546/2547 เดือนนี้อยู่ช่วงปลายการเก็บเกี่ยว คาดว่าได้ผลผลิตประมาณ 9.55 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากฤดูการผลิตก่อนร้อยละ 5.1 เนื่องจากสภาพฝนเอื้ออำนวย
ราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน และยังคงสูงกว่าระยะเดียวกันของ ปีก่อนค่อนข้างมาก ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเดือนนี้ ข้าวเปลือกเจ้า 5% เกวียนละ 9,166 บาท สูงขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 52.9 ราคาข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เกวียนละ 6,322 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9
มันสำปะหลัง เกษตรกรกำลังเพาะปลูกมันสำปะหลังฤดูการใหม่รุ่นที่ปลูกปลายฤดูฝน ด้านราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสำปะหลังเดือนนี้กิโลกรัมละ 0.89 บาท เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งกิโลกรัมละ 1.02 บาท ลดลงร้อยละ 12.8 มันเส้นกิโลกรัมละ 2.10 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.1
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นแล้ว ปีนี้คาดว่าได้ผลผลิตประมาณ 0.89 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 7.2 เนื่องจากเกษตรกรลดพื้นที่ปลูกเปลี่ยนไปปลูก มันสำปะหลังและอ้อยโรงงานทดแทน ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เดือนนี้กิโลกรัมละ 4.54 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.3
2. การใช้จ่ายภาคเอกชน เดือนนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยพิจารณาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 เนื่องจากอุตสาหกรรมเบียร์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสี รวมทั้งกิจการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยื่นชำระภาษีเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ด้านรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 ตามการแข่งขันของตลาดรถยนต์ที่รุนแรงมากขึ้น ประกอบกับ มีการนำรถรุ่นใหม่ออกสู่ตลาด แต่อัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลง ผลจากฐานปีก่อนสูง
ส่วนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูการขาย ประกอบกับการแข่งขันกันอย่างรุนแรงของตัวแทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ อย่างไรก็ตาม ปัญหาการผลิตรถจักรยานยนต์ไม่ทันกับความต้องการ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อน ทำให้อัตราการขยายตัวชะลอตัวลง สำหรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ 0.2
3. การลงทุนภาคเอกชน ยังขยายตัวดี เนื่องจากมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนทางภาคธุรกิจการค้า และภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจโดยรวมนักธุรกิจจึงตัดสินใจลงทุนใหม่ ขณะที่กิจการเดิมที่มีผลการประกอบกิจการดี ตามการขยายตัวของตลาด ได้มีการขยายการผลิตเดือนนี้มีการจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกิจการรับเหมาก่อสร้าง กิจการจำหน่ายสินค้าด้านการเกษตร
กิจการจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง และร้านจำหน่ายสินค้าเพื่อการอุปโภค บริโภค โดยมีการจดทะเบียนบริษัทจำนวน 76 ราย เงินทุน 126.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.0 และร้อยละ 1.3 กิจการที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงในเดือนนี้ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า กิจการจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้แปรรูป กิจการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร กิจการโรงสีข้าวเป็นต้น
สำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำนวน 215 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.8 เงินทุน 250.7 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.0 โดยกิจการที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงในเดือนนี้ได้แก่ กิจการลิสซิ่ง สถาบันการศึกษาเอกชน กิจการขนส่งสินค้า กิจการค้าที่ดิน กิจการรับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น
สำหรับบรรยากาศการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมยังคึกคักดูจาก การมีกิจการ ที่อยู่ระหว่างการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนหลายโครงการ โดยมีจำนวน 19 โครงการ เงินลงทุน 2,400 ล้านบาท อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมเกษตร ประเภทโครงการคัดคุณภาพข้าว การเลี้ยงสัตว์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานประเภท อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องประดับ เป็นต้น มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 4 โครงการ เงินลงทุน 714 ล้านบาท การจ้างงาน 1,011 คน ได้แก่ โครงการผลิตอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปจากเนื้อสัตว์ ที่นครราชสีมา โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ที่จังหวัดอุบลราชธานี โครงการผลิตพื้นรองเท้า ที่จังหวัดขอนแก่น และโครงการศูนย์ฝึกฝนวิชาชีพที่จังหวัดอุดรธานีและ นครราชสีมา
สำหรับการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 9.3
4.ภาคการก่อสร้าง เดือนนี้พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯ เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยตามสวัสดิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งให้สินเชื่อโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์และจะสิ้นสุดระยะเวลายื่นคำขอกู้ในวันที่ 30 เมษายน 2547 อีกทั้งธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจเช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสินมีการแข่งขันมากขึ้นในด้านรูปแบบ ระยะเวลาและเงื่อนไขของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งมีอัตราต่ำ เป็นแรงสนับสนุนให้มีการขอรับอนุญาตก่อสร้างที่เพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องกันมาจาก ปีที่แล้ว โดยมีภาวะสนับสนุนเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ยังคงต่ำต่อเนื่องถึงปัจจุบันและเป็นปัจจัยให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจลงทุนในด้านที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีที่แล้ว เนื่องจากบ้านที่สร้างเสร็จนั้น ในตลาดผู้บริโภคยังมีความต้องการเพื่ออยู่อาศัยจริง ไม่ใช่เพื่อขาย หรือ เก็งกำไร การลงทุนในด้านการสร้างที่อยู่อาศัยซึ่งให้ผลตอบแทนแก่ผู้ประกอบการและผู้ลงทุนที่เป็นผลตอบแทนที่ดีมากกว่าการฝากเงินกับสถาบันการเงินในปัจจุบัน
ทั้งนี้ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯเดือนนี้จำนวน 187,386 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.0 จากระยะเดียวกันของปีก่อนส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดอุดรธานี สกลนคร และสุรินทร์ ตามลำดับ โดยเป็นวัตถุประสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยสัดส่วนร้อยละ 60.5 พื้นที่เพื่อการพาณิชย์สัดส่วนร้อยละ 26.9 เพื่อการบริการสัดส่วนร้อยละ 9.3
5. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ในเดือนนี้การผลิตของอุตสาหกรรมที่สำคัญในภาคยังขยายตัวดี ไม่ว่าจะเป็นการผลิตน้ำตาล เครื่องดื่มและเยื่อกระดาษโรงงานน้ำตาลซึ่งในเดือนนี้มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม มีปริมาณ 802,326 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.7 ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการ แก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ การจัดระบบการนำส่งอ้อยเข้าหีบอย่างเหมาะสม การกำหนดประสิทธิภาพการผลิตของโรงงาน และการกำหนดให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลแยกเป็นรายโรงงานปรากฏว่าถึงสิ้นเดือนนี้ ปริมาณอ้อยไฟไหม้ในช่วงเวลาเดียวกันลดลงจาก 50.4 % ในปีก่อน เหลือเพียง 19.2 % ในปีนี้ ซึ่งส่งผลให้ค่าความหวานของอ้อยเพิ่มขึ้นจาก 11.5 ซีซีเอส ในปีที่ผ่านมาเป็น 12.2 ซีซีเอสในปีนี้ อีกทั้งประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น โดยปีก่อนผลิตได้ 102.2 กิโลกรัมต่อตันอ้อย เป็น 109.3 กิโลกรัมต่อตันอ้อยในปีนี้ โดยค่าความหวานและประสิทธิภาพของการผลิตน้ำตาลในภาคอีสาน ถือว่ามากที่สุดในประเทศในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน กระทรวงอุตสาหกรรมจะร่วมมือกับกองทัพบกจัดรถบรรทุกและกำลังพลช่วยขนส่งอ้อยให้ชาวไร่อ้อยที่ยากจน โดยชาวไร่จะเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนภาระค่าขนส่งอ้อยของชาวไร่ได้มากกว่า 20 บาท/ตัน โครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการที่ภาคอีสานก่อนในจังหวัดหนองคาย อุดรธานี ชัยภูมิ บุรีรัมย์และมหาสารคามการผลิตเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.8 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งการผลิตเบียร์และโซดา เนื่องจากการขยายกำลังการผลิตเพื่อสนองความต้องการของตลาด โดย ณ ปัจจุบันมีการใช้กำลังการผลิตประมาณร้อยละ 60 ของกำลังการผลิตทั้งหมดการผลิตเยื่อกระดาษมีปริมาณการผลิต 20,715 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.6 เนื่องจากความต้องการทั้งจากตลาดในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น6. ภาคการจ้างงาน
การจัดหางานของภาคฯเดือนนี้ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนความต้องการแรงงานจำนวน 4,343 คน ลดลงร้อยละ40.3 ผู้สมัครงานจำนวน 2,572 คนลดลง ร้อยละ15.6 ส่วนผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงานจำนวน 327 คน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการได้รับบรรจุเข้าทำงานร้อยละ 7.5 ของตำแหน่งงานว่างตามความเคลื่อนไหวของตลาดแรงงาน เป็นความต้องการแรงงานปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิตสัดส่วนร้อยละ 39.8 การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์สัดส่วนร้อยละ24.0 และงานบริการอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและการบริการสัดส่วนร้อยละ19.7 ของตำแหน่งงานว่าง อายุของแรงงานที่ต้องการอยู่ระหว่าง 18-24 ปีสัดส่วนร้อยละ 33.0 อายุระหว่าง25 - 29 ปี สัดส่วนร้อยละ 29.6และอายุระหว่าง 30 -39 ปี สัดส่วนร้อยละ19.4 วุฒิการศึกษาที่ต้องการคือระดับ อาชีวศึกษาสัดส่วนร้อยละ 40.6
สำหรับแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศเดือนนี้จำนวน 8,254 คน ลดลงร้อยละ 11.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อน อุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีแรงงานเดินทางไปทำงาน ต่างประเทศมากที่สุดในภาคฯจำนวน 1,123 คนรองลงมาเป็นนครราชสีมา 953 คน และขอนแก่น 834 คน ประเทศที่แรงงานในภาคฯ เดินทางไปทำงานมากที่สุด 6 อันดับแรกคือไต้หวัน จำนวน 3,635 คนรองลงมาเป็นมาเลเซีย 2,229 คน เกาหลีใต้ 610 คน สิงคโปร์ 506 คน บรูไน 288 คนและญี่ปุ่น 123 คน รวมจำนวนแรงงานที่เดินทางไปทำงานใน 6 ประเทศจำนวน7,391 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 89.5 ของแรงงานทั้งภาคฯที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้
ในวันที่ 23 ธันวาคม 2546 กรมการจัดหางาน ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ลงนามข้อตกลง"โครงการสินเชื่อเพื่อไปทำงานต่างประเทศ" เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐในการเป็นแหล่งเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ (อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติตามชั้นของลูกค้า) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอกู้ต้องเป็นเกษตรกรซึ่งขอกู้เงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการไปทำงานต่างประเทศของตนหรือบุคคลในครอบครัว โดยการจัดส่งของบริษัทจัดหางานที่ได้จดทะเบียนกับกรมการจัดหางานหรือโดยการจัดส่งของกรมการจัดหางานซึ่งจะให้กู้ในวงเงินตาม ค่าใช้จ่ายจริงไม่เกินรายละ 150,000.-บาท ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 18 เดือนนับแต่วันทำสัญญากู้เงินแต่ต้องไม่เกินกำหนดอายุสัญญาการจ้างงาน หลักประกันของผู้กู้ ลูกค้าประจำสาขาหรือบุคคลอื่นที่ ธ.ก.ส. พิจารณาแล้วเหมาะสมค้ำประกันอย่างน้อย 2 คน อสังหาริมทรัพย์หรือ หลักทรัพย์รัฐบาลไทยหรือเงินฝาก ผู้กู้จะต้องทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลและประกันชีวิต โดยระบุให้ธ.ก.ส.เป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์
7. การค้าชายแดนไทย-ลาว มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวในเดือนมกราคม 2547 มีแนวโน้มลดลง โดยมูลค่าการค้า 1,643.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.3 เนื่องจากการส่งออก 1,310.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.0 และการนำเข้า 330.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.2 แต่ยังคงเกินดุลการค้า 977.1 ล้านบาท
มูลค่าการส่งออก 1,310.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.0 เป็นการลดลงของสินค้าเกือบทุกหมวด ยกเว้นน้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง สินค้าส่งออกสำคัญที่ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 84.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.1 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 72.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 42.9 วัสดุก่อสร้าง 70.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 36.7
มูลค่าการนำเข้า 333.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.2 สินค้าสำคัญที่ลดลงยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 281.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 39.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากในเดือนมกราคม 2546 รัฐบาล สปป.ลาว มีนโยบายผ่อนคลายการส่งไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกไม้สูงเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ปี 2547
8. ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯมีสาขาทั้งสิ้น 484 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 55 สำนักงาน) เท่ากับเดือนก่อน
ข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯมีเงินฝากคงค้าง 265,891.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในลักษณะชะลอตัวลง ในด้านสินเชื่อเดือนนี้มียอดคงค้าง 209,973.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ การพาณิชย์ การบริโภคส่วนบุคคล และที่อยู่อาศัย เป็นสำคัญ ทั้งนี้ อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเพิ่มขึ้นจากอัตราส่วนร้อยละ 76.3 ในปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 79.0 ในเดือนนี้
สินเชื่อธนาคารอาคารสงเคราะห์คงค้างเดือนนี้ 40,711.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.2 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยที่จังหวัดที่มีการอนุมัติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือนนี้ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา รองลงมาได้แก่ อุบลราชธานี อุดรธานีและร้อยเอ็ด
9. ภาคการคลังรัฐบาล เดือนนี้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในภาคฯเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.1 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ผลจากการจัดเก็บเงินได้จากค่าตอบแทนพิเศษ และเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 เนื่องจากอุตสาหกรรมเบียร์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสี รวมทั้งกิจการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยื่นชำระภาษีเพิ่มขึ้น และภาษีสุราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.9 ผลการจัดเก็บภาษีเบียร์เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ส่วนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.3 ผลจากการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการจ่ายเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณผูกพันจากปีก่อนเพิ่มขึ้น
สำหรับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2547 ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 70.3 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งมีอัตราส่วนการเบิกจ่าย ต่ำกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน (อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 74.9) เป็นการเบิกจ่ายงบประจำร้อยละ 88.7 ของวงเงินประจำงวดฯ (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 92.6) และงบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 63.4 (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 35.7)
10. ระดับราคา
สำหรับอัตราเงินเฟ้อ วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯ สูงขึ้นร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.1 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นเป็นราคาข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งซึ่งมีราคาจำหน่ายสูงขึ้นตามราคาข้าวเปลือก ข้าวสาร และราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.4 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง
--ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
1. ภาคการเกษตร
ข้าว ข้าวเปลือกฤดูการผลิตปี 2546/2547 เดือนนี้อยู่ช่วงปลายการเก็บเกี่ยว คาดว่าได้ผลผลิตประมาณ 9.55 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากฤดูการผลิตก่อนร้อยละ 5.1 เนื่องจากสภาพฝนเอื้ออำนวย
ราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน และยังคงสูงกว่าระยะเดียวกันของ ปีก่อนค่อนข้างมาก ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเดือนนี้ ข้าวเปลือกเจ้า 5% เกวียนละ 9,166 บาท สูงขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 52.9 ราคาข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เกวียนละ 6,322 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9
มันสำปะหลัง เกษตรกรกำลังเพาะปลูกมันสำปะหลังฤดูการใหม่รุ่นที่ปลูกปลายฤดูฝน ด้านราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสำปะหลังเดือนนี้กิโลกรัมละ 0.89 บาท เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งกิโลกรัมละ 1.02 บาท ลดลงร้อยละ 12.8 มันเส้นกิโลกรัมละ 2.10 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.1
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นแล้ว ปีนี้คาดว่าได้ผลผลิตประมาณ 0.89 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 7.2 เนื่องจากเกษตรกรลดพื้นที่ปลูกเปลี่ยนไปปลูก มันสำปะหลังและอ้อยโรงงานทดแทน ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เดือนนี้กิโลกรัมละ 4.54 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.3
2. การใช้จ่ายภาคเอกชน เดือนนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยพิจารณาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 เนื่องจากอุตสาหกรรมเบียร์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสี รวมทั้งกิจการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยื่นชำระภาษีเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ด้านรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 ตามการแข่งขันของตลาดรถยนต์ที่รุนแรงมากขึ้น ประกอบกับ มีการนำรถรุ่นใหม่ออกสู่ตลาด แต่อัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลง ผลจากฐานปีก่อนสูง
ส่วนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูการขาย ประกอบกับการแข่งขันกันอย่างรุนแรงของตัวแทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ อย่างไรก็ตาม ปัญหาการผลิตรถจักรยานยนต์ไม่ทันกับความต้องการ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อน ทำให้อัตราการขยายตัวชะลอตัวลง สำหรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ 0.2
3. การลงทุนภาคเอกชน ยังขยายตัวดี เนื่องจากมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนทางภาคธุรกิจการค้า และภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจโดยรวมนักธุรกิจจึงตัดสินใจลงทุนใหม่ ขณะที่กิจการเดิมที่มีผลการประกอบกิจการดี ตามการขยายตัวของตลาด ได้มีการขยายการผลิตเดือนนี้มีการจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกิจการรับเหมาก่อสร้าง กิจการจำหน่ายสินค้าด้านการเกษตร
กิจการจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง และร้านจำหน่ายสินค้าเพื่อการอุปโภค บริโภค โดยมีการจดทะเบียนบริษัทจำนวน 76 ราย เงินทุน 126.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.0 และร้อยละ 1.3 กิจการที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงในเดือนนี้ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า กิจการจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้แปรรูป กิจการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร กิจการโรงสีข้าวเป็นต้น
สำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำนวน 215 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.8 เงินทุน 250.7 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.0 โดยกิจการที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงในเดือนนี้ได้แก่ กิจการลิสซิ่ง สถาบันการศึกษาเอกชน กิจการขนส่งสินค้า กิจการค้าที่ดิน กิจการรับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น
สำหรับบรรยากาศการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมยังคึกคักดูจาก การมีกิจการ ที่อยู่ระหว่างการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนหลายโครงการ โดยมีจำนวน 19 โครงการ เงินลงทุน 2,400 ล้านบาท อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมเกษตร ประเภทโครงการคัดคุณภาพข้าว การเลี้ยงสัตว์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานประเภท อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องประดับ เป็นต้น มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 4 โครงการ เงินลงทุน 714 ล้านบาท การจ้างงาน 1,011 คน ได้แก่ โครงการผลิตอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปจากเนื้อสัตว์ ที่นครราชสีมา โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ที่จังหวัดอุบลราชธานี โครงการผลิตพื้นรองเท้า ที่จังหวัดขอนแก่น และโครงการศูนย์ฝึกฝนวิชาชีพที่จังหวัดอุดรธานีและ นครราชสีมา
สำหรับการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 9.3
4.ภาคการก่อสร้าง เดือนนี้พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯ เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยตามสวัสดิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งให้สินเชื่อโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์และจะสิ้นสุดระยะเวลายื่นคำขอกู้ในวันที่ 30 เมษายน 2547 อีกทั้งธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจเช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสินมีการแข่งขันมากขึ้นในด้านรูปแบบ ระยะเวลาและเงื่อนไขของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งมีอัตราต่ำ เป็นแรงสนับสนุนให้มีการขอรับอนุญาตก่อสร้างที่เพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องกันมาจาก ปีที่แล้ว โดยมีภาวะสนับสนุนเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ยังคงต่ำต่อเนื่องถึงปัจจุบันและเป็นปัจจัยให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจลงทุนในด้านที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีที่แล้ว เนื่องจากบ้านที่สร้างเสร็จนั้น ในตลาดผู้บริโภคยังมีความต้องการเพื่ออยู่อาศัยจริง ไม่ใช่เพื่อขาย หรือ เก็งกำไร การลงทุนในด้านการสร้างที่อยู่อาศัยซึ่งให้ผลตอบแทนแก่ผู้ประกอบการและผู้ลงทุนที่เป็นผลตอบแทนที่ดีมากกว่าการฝากเงินกับสถาบันการเงินในปัจจุบัน
ทั้งนี้ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯเดือนนี้จำนวน 187,386 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.0 จากระยะเดียวกันของปีก่อนส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดอุดรธานี สกลนคร และสุรินทร์ ตามลำดับ โดยเป็นวัตถุประสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยสัดส่วนร้อยละ 60.5 พื้นที่เพื่อการพาณิชย์สัดส่วนร้อยละ 26.9 เพื่อการบริการสัดส่วนร้อยละ 9.3
5. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ในเดือนนี้การผลิตของอุตสาหกรรมที่สำคัญในภาคยังขยายตัวดี ไม่ว่าจะเป็นการผลิตน้ำตาล เครื่องดื่มและเยื่อกระดาษโรงงานน้ำตาลซึ่งในเดือนนี้มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม มีปริมาณ 802,326 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.7 ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการ แก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ การจัดระบบการนำส่งอ้อยเข้าหีบอย่างเหมาะสม การกำหนดประสิทธิภาพการผลิตของโรงงาน และการกำหนดให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลแยกเป็นรายโรงงานปรากฏว่าถึงสิ้นเดือนนี้ ปริมาณอ้อยไฟไหม้ในช่วงเวลาเดียวกันลดลงจาก 50.4 % ในปีก่อน เหลือเพียง 19.2 % ในปีนี้ ซึ่งส่งผลให้ค่าความหวานของอ้อยเพิ่มขึ้นจาก 11.5 ซีซีเอส ในปีที่ผ่านมาเป็น 12.2 ซีซีเอสในปีนี้ อีกทั้งประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น โดยปีก่อนผลิตได้ 102.2 กิโลกรัมต่อตันอ้อย เป็น 109.3 กิโลกรัมต่อตันอ้อยในปีนี้ โดยค่าความหวานและประสิทธิภาพของการผลิตน้ำตาลในภาคอีสาน ถือว่ามากที่สุดในประเทศในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน กระทรวงอุตสาหกรรมจะร่วมมือกับกองทัพบกจัดรถบรรทุกและกำลังพลช่วยขนส่งอ้อยให้ชาวไร่อ้อยที่ยากจน โดยชาวไร่จะเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนภาระค่าขนส่งอ้อยของชาวไร่ได้มากกว่า 20 บาท/ตัน โครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการที่ภาคอีสานก่อนในจังหวัดหนองคาย อุดรธานี ชัยภูมิ บุรีรัมย์และมหาสารคามการผลิตเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.8 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งการผลิตเบียร์และโซดา เนื่องจากการขยายกำลังการผลิตเพื่อสนองความต้องการของตลาด โดย ณ ปัจจุบันมีการใช้กำลังการผลิตประมาณร้อยละ 60 ของกำลังการผลิตทั้งหมดการผลิตเยื่อกระดาษมีปริมาณการผลิต 20,715 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.6 เนื่องจากความต้องการทั้งจากตลาดในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น6. ภาคการจ้างงาน
การจัดหางานของภาคฯเดือนนี้ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนความต้องการแรงงานจำนวน 4,343 คน ลดลงร้อยละ40.3 ผู้สมัครงานจำนวน 2,572 คนลดลง ร้อยละ15.6 ส่วนผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงานจำนวน 327 คน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการได้รับบรรจุเข้าทำงานร้อยละ 7.5 ของตำแหน่งงานว่างตามความเคลื่อนไหวของตลาดแรงงาน เป็นความต้องการแรงงานปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิตสัดส่วนร้อยละ 39.8 การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์สัดส่วนร้อยละ24.0 และงานบริการอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและการบริการสัดส่วนร้อยละ19.7 ของตำแหน่งงานว่าง อายุของแรงงานที่ต้องการอยู่ระหว่าง 18-24 ปีสัดส่วนร้อยละ 33.0 อายุระหว่าง25 - 29 ปี สัดส่วนร้อยละ 29.6และอายุระหว่าง 30 -39 ปี สัดส่วนร้อยละ19.4 วุฒิการศึกษาที่ต้องการคือระดับ อาชีวศึกษาสัดส่วนร้อยละ 40.6
สำหรับแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศเดือนนี้จำนวน 8,254 คน ลดลงร้อยละ 11.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อน อุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีแรงงานเดินทางไปทำงาน ต่างประเทศมากที่สุดในภาคฯจำนวน 1,123 คนรองลงมาเป็นนครราชสีมา 953 คน และขอนแก่น 834 คน ประเทศที่แรงงานในภาคฯ เดินทางไปทำงานมากที่สุด 6 อันดับแรกคือไต้หวัน จำนวน 3,635 คนรองลงมาเป็นมาเลเซีย 2,229 คน เกาหลีใต้ 610 คน สิงคโปร์ 506 คน บรูไน 288 คนและญี่ปุ่น 123 คน รวมจำนวนแรงงานที่เดินทางไปทำงานใน 6 ประเทศจำนวน7,391 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 89.5 ของแรงงานทั้งภาคฯที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้
ในวันที่ 23 ธันวาคม 2546 กรมการจัดหางาน ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ลงนามข้อตกลง"โครงการสินเชื่อเพื่อไปทำงานต่างประเทศ" เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐในการเป็นแหล่งเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ (อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติตามชั้นของลูกค้า) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอกู้ต้องเป็นเกษตรกรซึ่งขอกู้เงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการไปทำงานต่างประเทศของตนหรือบุคคลในครอบครัว โดยการจัดส่งของบริษัทจัดหางานที่ได้จดทะเบียนกับกรมการจัดหางานหรือโดยการจัดส่งของกรมการจัดหางานซึ่งจะให้กู้ในวงเงินตาม ค่าใช้จ่ายจริงไม่เกินรายละ 150,000.-บาท ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 18 เดือนนับแต่วันทำสัญญากู้เงินแต่ต้องไม่เกินกำหนดอายุสัญญาการจ้างงาน หลักประกันของผู้กู้ ลูกค้าประจำสาขาหรือบุคคลอื่นที่ ธ.ก.ส. พิจารณาแล้วเหมาะสมค้ำประกันอย่างน้อย 2 คน อสังหาริมทรัพย์หรือ หลักทรัพย์รัฐบาลไทยหรือเงินฝาก ผู้กู้จะต้องทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลและประกันชีวิต โดยระบุให้ธ.ก.ส.เป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์
7. การค้าชายแดนไทย-ลาว มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวในเดือนมกราคม 2547 มีแนวโน้มลดลง โดยมูลค่าการค้า 1,643.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.3 เนื่องจากการส่งออก 1,310.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.0 และการนำเข้า 330.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.2 แต่ยังคงเกินดุลการค้า 977.1 ล้านบาท
มูลค่าการส่งออก 1,310.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.0 เป็นการลดลงของสินค้าเกือบทุกหมวด ยกเว้นน้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง สินค้าส่งออกสำคัญที่ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 84.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.1 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 72.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 42.9 วัสดุก่อสร้าง 70.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 36.7
มูลค่าการนำเข้า 333.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.2 สินค้าสำคัญที่ลดลงยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 281.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 39.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากในเดือนมกราคม 2546 รัฐบาล สปป.ลาว มีนโยบายผ่อนคลายการส่งไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกไม้สูงเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ปี 2547
8. ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯมีสาขาทั้งสิ้น 484 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 55 สำนักงาน) เท่ากับเดือนก่อน
ข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯมีเงินฝากคงค้าง 265,891.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในลักษณะชะลอตัวลง ในด้านสินเชื่อเดือนนี้มียอดคงค้าง 209,973.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ การพาณิชย์ การบริโภคส่วนบุคคล และที่อยู่อาศัย เป็นสำคัญ ทั้งนี้ อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเพิ่มขึ้นจากอัตราส่วนร้อยละ 76.3 ในปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 79.0 ในเดือนนี้
สินเชื่อธนาคารอาคารสงเคราะห์คงค้างเดือนนี้ 40,711.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.2 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยที่จังหวัดที่มีการอนุมัติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือนนี้ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา รองลงมาได้แก่ อุบลราชธานี อุดรธานีและร้อยเอ็ด
9. ภาคการคลังรัฐบาล เดือนนี้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในภาคฯเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.1 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ผลจากการจัดเก็บเงินได้จากค่าตอบแทนพิเศษ และเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 เนื่องจากอุตสาหกรรมเบียร์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสี รวมทั้งกิจการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยื่นชำระภาษีเพิ่มขึ้น และภาษีสุราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.9 ผลการจัดเก็บภาษีเบียร์เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ส่วนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.3 ผลจากการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการจ่ายเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณผูกพันจากปีก่อนเพิ่มขึ้น
สำหรับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2547 ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 70.3 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งมีอัตราส่วนการเบิกจ่าย ต่ำกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน (อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 74.9) เป็นการเบิกจ่ายงบประจำร้อยละ 88.7 ของวงเงินประจำงวดฯ (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 92.6) และงบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 63.4 (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 35.7)
10. ระดับราคา
สำหรับอัตราเงินเฟ้อ วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯ สูงขึ้นร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.1 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นเป็นราคาข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งซึ่งมีราคาจำหน่ายสูงขึ้นตามราคาข้าวเปลือก ข้าวสาร และราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.4 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง
--ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-