แท็ก
เกษตรกร
1. ภาคเกษตรกรรม
ในเดือนมกราคม 2548 รายได้เกษตรกรจาการขายพืชผลสำคัญ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.2 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน แม้ว่าผลผลิตพืชผลสำคัญจะลดลง จากสภาวะแห้งแล้ง แต่ราคาที่เพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงสามารถชดเชยผลผลิตที่ลดลงได้
ผลผลิตพืชผล ลดลงร้อยละ 1.9 จากผลผลิตข้าวนาปีและอ้อยที่ลดลงจากสภาวะแห้งแล้ง ส่วนผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ราคาพืชผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 ตามราคาข้าวนาและมันสำปะหลังในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งราคาข้าวโพดและอ้อยสูงขึ้นจากอุปทานที่ลดลงเป็นสำคัญอย่างไรก็ดี ราคายางพาราได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
ราคาสินค้าเกษตรโดยรวมของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน
ราคาปศุสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากราคากุ้งที่ปรับตัวดีขึ้นมาก เนื่องจากการส่งออกมากขึ้น สำหรับราคาสินค้าประมงอื่นๆ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเนื่องจากอุปทานมีมากขึ้น
แนวโน้มราคาสินค้าเกษตรโดยรวมของไทยคาดว่าจะ อยู่ในเกณฑ์ดี จากราคาข้าวที่อยู่ในระดับสูงเพราะอุปสงค์จากต่างประเทศและการประกันราคาในประเทศ รวมทั้งผลผลิตที่ลดลงจากภาวะแห้งแล้ง ราคามันสำปะหลังและราคากุ้งที่อุปสงค์จากต่างประเทศอยู่ในระดับสูง และราคาปศุสัตว์ ได้แก่ สุกร ไข่ไก่ และไข่เป็ด ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นคามอุปสงค์ในประเทศ
ราคาสินค้าเกษตร (ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย 12 ชนิด) ในตลาดโลกเพิ่มตัวร้อยละ 11.6 จากระยะเดียวปีก่อน โดยราคาข้าวและน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้นมาก ตามความต้องการในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูงและอุปทานที่ลดลงเพราะประเทศผู้ผลิตสำคัญประสบปัญหาภาวะแล้ง
2. ภาคอุตสาหกรรม
ในเดือนมกราคม 2548 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9 ชะลอลงต่อเนื่องเป็นผลจากการชะลดตัวด้านอุปสงค์และปัจจัยชั่วคราวที่เกิดจากการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน โดยหลายหมวดอุตสาหกรรมมีการผลิตลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อุปสงค์จากต่างประเทศลดลง หมวดอาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋องที่มีการเร่งนำเข้าไปแล้วในเดือนก่อนหน้านี้ หมวดเครื่องดื่มที่มีสต็อกอยู่ในระดับสูงหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานเพื่อเตรียมขยายกำลังการผลิต
นอกจากนี้ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งการผลิตชะลอตัวลงมากจากที่มีการขยายตัวในระดับสูง ต่อเนื่องในปีก่อน หมวดอิเล็กทรอนิกส์ชะลอตัวตามอุปสงค์ตลาดโลก และหมวดปิโตรเลียมชะลอลงมากจากการปิดซ่อมบำรุงโรงงานประจำปี อย่างไรก็ตาม การผลิตในหมวดวัสถุก่อสร้างและหมวดสิ่งทอยังขยายตัวดี
อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 71.2 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าโดยในเดือนนี้มีการขยายกำลังการผลิตในหลายหมวดอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า
3. การท่องเที่ยวและโรงงาน
ในเดือนมกราคม 2548 นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีจำนวน 890,000 คน ลดลงร้อยละ 26.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การท่องเที่ยวในภาคใต้ได้รับผลกระทบจากทั้งเหตุการณ์ภัยธรรมชาติใน 6 จังหวัดภายใต้ชายฝั่งทะเลอันดามัน และความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบกับผลของจำนวนนักท่องเที่ยวทีสูงในปีก่อน ซึ่งมีเทศกาลตรุษจีนในเดือนมกราคม
อัตราเข้าพักโรงแรมเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 65.4 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 72.2 โดยในภาคใต้อัตราการเข้าพักลดลงในเกือบทุกจังหวัดยกเว้นจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากนักท่องเที่ยวบางส่วนเปลี่ยนเส้นทางท่องเที่ยวไปยังเกาะสมุยแทน
ในระยะต่อไปแม้ว่าการท่องเที่ยวใน 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันจะยังคงได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ แต่คาดว่าภาวะการท่องเที่ยวจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากนักท่องเที่ยวเข้าใจในสถานการณ์และเริ่มเดินทางกลับเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น ประกอบกับมาตรการของทางการที่เชิญสื่อมวลชนและผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาดูแหล่งท่องเที่ยว เพื่อทำความเข้าใจว่าพื้นดังกล่าวมีความพร้อมและสามารถต้อนรับนักท่องเที่ยวได้แล้ว
4. ภาคอสังหาริมทรัพย์
ในเดือนธันวาคม 2547 ภาวะอสังหาริมทรัพย์ยังอยู่ในเกณฑดีแม้ว่าจะหดตัวลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งมีการเร่งโอนอสังหาริมทรัพย์ก่อนมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ดินจะสิ้นสุดลง ในเดือนธันวาคม 2546 โดยจำนวนที่อยู่อาศัยจดทะเบียนเพิ่มในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลลดลงร้อยละ 6.7 จำนวนรายการซื้อขายที่ดินทั่วประเทศลดลงร้อยละ 44.6 จากระยะเดียวกันปีก่อนอย่างไรก็ตาม มูลค่าการซื้อขายที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เพราะมีการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้
ส่วนดัชนีราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดินในไตรมาสที่ 4 ปี 2547 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5 และดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์พร้อมที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนตามราคาที่ดินที่สูงขึ้น สำหรับดัชนีราคาขายส่งวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน
ภาพรวมปี 2547
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวดีแม้จะชะลดลงจากปี 2546 ซึ่งขยายตัวสูงมากจากมาตรการกระตุ้นของทางการ โดยที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียนเพิ่มในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 จากปีก่อน พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลทั้งประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.3 อย่างไรก็ตาม มูลค่าการซื้อขายที่ดินทั่วประเทศลดลงร้อยละ 5.3 จากปีก่อน และจำนวนรายการซื้อขายที่ดินทั่วประเทศลดลงร้อยละ 4.1 อันเนื่องมาจากการเร่งโอนอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปลายปี 2546
สำหรับราคาอสังหาริมทรัพย์ ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดินและดัชนีราคาทาวเฮ้าส์พร้อมที่ดินเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.4 และ 3.5 ตามลำดับ ซึ่งน้อยกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ดัชนีราคาขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 จากปีก่อน เนื่องจากภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง
5. ภาคการค้า
ในเดือนธันวาคม 2547 ภาวะการค้าโดยรวมยังขยายตัวทั้งการค้าปลีกและค้าส่ง ส่วนหนึ่งจากมาตรการที่ผ่อนผันให้มีการขยายเวลาปิด-เปิดห้างสรรพสินค้าเพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ อย่างไรก็ตามทั้งการค้าปลีกและค้าส่งมีอัตราการขยายตัวชะลอลงจากเดือนพฤศจิกายนที่ขยายตัวในเกณฑ์สูง
ภาพรวมปี 2547
ภาวะการค้าโดยทั่วไปยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีแม้ภาวะการค้าส่งชะลอลงบ้างในช่วงครึ่งปีหลัง แต่การค้าปลีกเร่งตัวขึ้น จากการขยายสาขาห้างสรรพสินค้า Discount Store และร้านสะดวกซื้อเพิ่มขึ้น ส่วนสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกได้ส่งผลให้การค้าไก่สด ไข่ไก่และอาหารที่เกี่ยวเนื่องกับไก่หดตัวในช่วงต้นปี แต่สถานการณ์ได้คลื่คลายลงตั้งแต่ช่วงกลางปี
6. โทรคมนาคม
ในเดือนธันวาคม 2547 จำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่จดทะเบียนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 600,000 เลขหมาย เป็น 27.3 ล้านเลขหมาย จากกลยุทธ์ส่งเสริมการขายที่กระตุ้นความต้องการซื้ออย่างต่อเนื่องส่วนโทรศัพท์พื้นฐานทรงตัวอยู่ที่ 6.8 ล้านเลขหมาย
ภาพรวมปี 2547
ภาวะการใช้บริการโทรศัพท์โดยรวมในปี 2547 ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะชะลดลงมากจากปีก่อนที่โทรศัพท์เคลื่อนที่มีการเร่งตัวสูง โดยจำนวนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.7 ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวในเขตภูมิภาค ส่วนจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ในเดือนมกราคม 2548 รายได้เกษตรกรจาการขายพืชผลสำคัญ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.2 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน แม้ว่าผลผลิตพืชผลสำคัญจะลดลง จากสภาวะแห้งแล้ง แต่ราคาที่เพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงสามารถชดเชยผลผลิตที่ลดลงได้
ผลผลิตพืชผล ลดลงร้อยละ 1.9 จากผลผลิตข้าวนาปีและอ้อยที่ลดลงจากสภาวะแห้งแล้ง ส่วนผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ราคาพืชผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 ตามราคาข้าวนาและมันสำปะหลังในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งราคาข้าวโพดและอ้อยสูงขึ้นจากอุปทานที่ลดลงเป็นสำคัญอย่างไรก็ดี ราคายางพาราได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
ราคาสินค้าเกษตรโดยรวมของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน
ราคาปศุสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากราคากุ้งที่ปรับตัวดีขึ้นมาก เนื่องจากการส่งออกมากขึ้น สำหรับราคาสินค้าประมงอื่นๆ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเนื่องจากอุปทานมีมากขึ้น
แนวโน้มราคาสินค้าเกษตรโดยรวมของไทยคาดว่าจะ อยู่ในเกณฑ์ดี จากราคาข้าวที่อยู่ในระดับสูงเพราะอุปสงค์จากต่างประเทศและการประกันราคาในประเทศ รวมทั้งผลผลิตที่ลดลงจากภาวะแห้งแล้ง ราคามันสำปะหลังและราคากุ้งที่อุปสงค์จากต่างประเทศอยู่ในระดับสูง และราคาปศุสัตว์ ได้แก่ สุกร ไข่ไก่ และไข่เป็ด ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นคามอุปสงค์ในประเทศ
ราคาสินค้าเกษตร (ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย 12 ชนิด) ในตลาดโลกเพิ่มตัวร้อยละ 11.6 จากระยะเดียวปีก่อน โดยราคาข้าวและน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้นมาก ตามความต้องการในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูงและอุปทานที่ลดลงเพราะประเทศผู้ผลิตสำคัญประสบปัญหาภาวะแล้ง
2. ภาคอุตสาหกรรม
ในเดือนมกราคม 2548 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9 ชะลอลงต่อเนื่องเป็นผลจากการชะลดตัวด้านอุปสงค์และปัจจัยชั่วคราวที่เกิดจากการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน โดยหลายหมวดอุตสาหกรรมมีการผลิตลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อุปสงค์จากต่างประเทศลดลง หมวดอาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋องที่มีการเร่งนำเข้าไปแล้วในเดือนก่อนหน้านี้ หมวดเครื่องดื่มที่มีสต็อกอยู่ในระดับสูงหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานเพื่อเตรียมขยายกำลังการผลิต
นอกจากนี้ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งการผลิตชะลอตัวลงมากจากที่มีการขยายตัวในระดับสูง ต่อเนื่องในปีก่อน หมวดอิเล็กทรอนิกส์ชะลอตัวตามอุปสงค์ตลาดโลก และหมวดปิโตรเลียมชะลอลงมากจากการปิดซ่อมบำรุงโรงงานประจำปี อย่างไรก็ตาม การผลิตในหมวดวัสถุก่อสร้างและหมวดสิ่งทอยังขยายตัวดี
อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 71.2 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าโดยในเดือนนี้มีการขยายกำลังการผลิตในหลายหมวดอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า
3. การท่องเที่ยวและโรงงาน
ในเดือนมกราคม 2548 นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีจำนวน 890,000 คน ลดลงร้อยละ 26.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การท่องเที่ยวในภาคใต้ได้รับผลกระทบจากทั้งเหตุการณ์ภัยธรรมชาติใน 6 จังหวัดภายใต้ชายฝั่งทะเลอันดามัน และความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบกับผลของจำนวนนักท่องเที่ยวทีสูงในปีก่อน ซึ่งมีเทศกาลตรุษจีนในเดือนมกราคม
อัตราเข้าพักโรงแรมเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 65.4 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 72.2 โดยในภาคใต้อัตราการเข้าพักลดลงในเกือบทุกจังหวัดยกเว้นจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากนักท่องเที่ยวบางส่วนเปลี่ยนเส้นทางท่องเที่ยวไปยังเกาะสมุยแทน
ในระยะต่อไปแม้ว่าการท่องเที่ยวใน 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันจะยังคงได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ แต่คาดว่าภาวะการท่องเที่ยวจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากนักท่องเที่ยวเข้าใจในสถานการณ์และเริ่มเดินทางกลับเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น ประกอบกับมาตรการของทางการที่เชิญสื่อมวลชนและผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาดูแหล่งท่องเที่ยว เพื่อทำความเข้าใจว่าพื้นดังกล่าวมีความพร้อมและสามารถต้อนรับนักท่องเที่ยวได้แล้ว
4. ภาคอสังหาริมทรัพย์
ในเดือนธันวาคม 2547 ภาวะอสังหาริมทรัพย์ยังอยู่ในเกณฑดีแม้ว่าจะหดตัวลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งมีการเร่งโอนอสังหาริมทรัพย์ก่อนมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ดินจะสิ้นสุดลง ในเดือนธันวาคม 2546 โดยจำนวนที่อยู่อาศัยจดทะเบียนเพิ่มในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลลดลงร้อยละ 6.7 จำนวนรายการซื้อขายที่ดินทั่วประเทศลดลงร้อยละ 44.6 จากระยะเดียวกันปีก่อนอย่างไรก็ตาม มูลค่าการซื้อขายที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เพราะมีการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้
ส่วนดัชนีราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดินในไตรมาสที่ 4 ปี 2547 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5 และดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์พร้อมที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนตามราคาที่ดินที่สูงขึ้น สำหรับดัชนีราคาขายส่งวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน
ภาพรวมปี 2547
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวดีแม้จะชะลดลงจากปี 2546 ซึ่งขยายตัวสูงมากจากมาตรการกระตุ้นของทางการ โดยที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียนเพิ่มในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 จากปีก่อน พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลทั้งประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.3 อย่างไรก็ตาม มูลค่าการซื้อขายที่ดินทั่วประเทศลดลงร้อยละ 5.3 จากปีก่อน และจำนวนรายการซื้อขายที่ดินทั่วประเทศลดลงร้อยละ 4.1 อันเนื่องมาจากการเร่งโอนอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปลายปี 2546
สำหรับราคาอสังหาริมทรัพย์ ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดินและดัชนีราคาทาวเฮ้าส์พร้อมที่ดินเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.4 และ 3.5 ตามลำดับ ซึ่งน้อยกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ดัชนีราคาขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 จากปีก่อน เนื่องจากภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง
5. ภาคการค้า
ในเดือนธันวาคม 2547 ภาวะการค้าโดยรวมยังขยายตัวทั้งการค้าปลีกและค้าส่ง ส่วนหนึ่งจากมาตรการที่ผ่อนผันให้มีการขยายเวลาปิด-เปิดห้างสรรพสินค้าเพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ อย่างไรก็ตามทั้งการค้าปลีกและค้าส่งมีอัตราการขยายตัวชะลอลงจากเดือนพฤศจิกายนที่ขยายตัวในเกณฑ์สูง
ภาพรวมปี 2547
ภาวะการค้าโดยทั่วไปยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีแม้ภาวะการค้าส่งชะลอลงบ้างในช่วงครึ่งปีหลัง แต่การค้าปลีกเร่งตัวขึ้น จากการขยายสาขาห้างสรรพสินค้า Discount Store และร้านสะดวกซื้อเพิ่มขึ้น ส่วนสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกได้ส่งผลให้การค้าไก่สด ไข่ไก่และอาหารที่เกี่ยวเนื่องกับไก่หดตัวในช่วงต้นปี แต่สถานการณ์ได้คลื่คลายลงตั้งแต่ช่วงกลางปี
6. โทรคมนาคม
ในเดือนธันวาคม 2547 จำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่จดทะเบียนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 600,000 เลขหมาย เป็น 27.3 ล้านเลขหมาย จากกลยุทธ์ส่งเสริมการขายที่กระตุ้นความต้องการซื้ออย่างต่อเนื่องส่วนโทรศัพท์พื้นฐานทรงตัวอยู่ที่ 6.8 ล้านเลขหมาย
ภาพรวมปี 2547
ภาวะการใช้บริการโทรศัพท์โดยรวมในปี 2547 ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะชะลดลงมากจากปีก่อนที่โทรศัพท์เคลื่อนที่มีการเร่งตัวสูง โดยจำนวนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.7 ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวในเขตภูมิภาค ส่วนจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--