แท็ก
ไข้หวัดนก
2.2.1 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น)ในเดือนมกราคม 2547 ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากระยะเดียวกันปีก่อนมาอยู่ที่ระดับ 115.3 ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเดือนก่อนสะท้อนอัตราการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคที่ชะลอลงส่วนหนึ่งเนื่องจากฐานสูง ประกอบกับการระบาดของไข้หวัดนก ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอย่างไรก็ดี ดัชนีฯยังอยู่ในแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น และการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังเป็นแรงผลักดันที่สำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้ในกลุ่มยานพาหนะ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 10.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากช่วงก่อนหน้า แต่ปริมาณจำหน่ายในเดือนมกราคมยังคงอยู่ในระดับสูง 16,005คันตามความนิยมในสินค้ารุ่นใหม่และการส่งเสริมการขายที่มีอย่างต่อเนื่องในสภาวะที่รายได้เพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่อยู่ในระดับสูว แม้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 8.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน
เครื่องชี้ในกลุ่มที่ไม่ใช่ยานพาหนะ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 16.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน สะท้อนกิจกรรมการใช้จ่ายที่ยังขยายตัวได้ดี ขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวเพียงร้อยละ4.6 ตามการนำเข้าสินค้าคงทนที่ชะลอลง อาทิ เครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องใช้ไฟฟ้า กอปรกับในเดือนมกราคมปีก่อนมีการนำเข้ารถยนต์นั่งสูงกว่าระดับปกติ สำหรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยและปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินขยายตัวร้อยละ 4.0 และ 2.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
สำหรับ ยอดค้าปลีกรวมทั้งประเทศ เดือนธันวาคม 2546 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 17.7 จากระยะเดียวกันปีก่อนสะท้อนกิจกรรมการอุปโภคบริโภคที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสอดคล้องกับดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-
ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น)ในเดือนมกราคม 2547 ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากระยะเดียวกันปีก่อนมาอยู่ที่ระดับ 115.3 ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเดือนก่อนสะท้อนอัตราการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคที่ชะลอลงส่วนหนึ่งเนื่องจากฐานสูง ประกอบกับการระบาดของไข้หวัดนก ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอย่างไรก็ดี ดัชนีฯยังอยู่ในแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น และการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังเป็นแรงผลักดันที่สำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้ในกลุ่มยานพาหนะ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 10.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากช่วงก่อนหน้า แต่ปริมาณจำหน่ายในเดือนมกราคมยังคงอยู่ในระดับสูง 16,005คันตามความนิยมในสินค้ารุ่นใหม่และการส่งเสริมการขายที่มีอย่างต่อเนื่องในสภาวะที่รายได้เพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่อยู่ในระดับสูว แม้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 8.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน
เครื่องชี้ในกลุ่มที่ไม่ใช่ยานพาหนะ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 16.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน สะท้อนกิจกรรมการใช้จ่ายที่ยังขยายตัวได้ดี ขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวเพียงร้อยละ4.6 ตามการนำเข้าสินค้าคงทนที่ชะลอลง อาทิ เครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องใช้ไฟฟ้า กอปรกับในเดือนมกราคมปีก่อนมีการนำเข้ารถยนต์นั่งสูงกว่าระดับปกติ สำหรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยและปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินขยายตัวร้อยละ 4.0 และ 2.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
สำหรับ ยอดค้าปลีกรวมทั้งประเทศ เดือนธันวาคม 2546 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 17.7 จากระยะเดียวกันปีก่อนสะท้อนกิจกรรมการอุปโภคบริโภคที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสอดคล้องกับดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-