เมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา เป็นประธานเปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สมัยสามัญทั่วไป ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑ โดยมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ซึ่ง พันตำรวจโทดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งต่อที่ประชุมถึงหลักการในการตั้ง
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ จำนวน ๑๓๕,๕๐๐ ล้านบาท และได้ตั้ง
รายจ่ายชดใช้เงินคงคลังจำนวน ๓๙,๐๐๐ ล้านบาท โดยให้เหตุผลดังนี้
๑. รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินในการดำเนินนโยบายและมาตราการ ต่าง ๆ
รวมทั้งการปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคล สวัสดิการ และค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ รวมทั้งค่าใช้จ่าย
เพื่อส่งเสริมสร้างศักยภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศให้สอดคล้องกับ สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ
จึงต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมตามจำนวนเงินดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
- เพื่อจัดสรรเป็นเงินบำเหน็จดำรงชีพ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ
ข้าราชการ (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
จำนวน ๓๓,๐๔๐ ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจำนวน ๑๔,๕๙๐ ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐจำนวน ๑๖,๕๗๐ ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศจำนวน ๕๙,๐๐๐ ล้านบาท
- เงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัดจำนวน ๑๒,๓๐๐ ล้านบาท
๒. เนื่องจากได้มีการจ่ายเงินคงคลัง เพื่อไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง ดังนั้นจึงต้องตั้งรายจ่าย
เพื่อชดใช้เงินคงคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณเป็นจำนวนเงิน ๓๙,๐๐๐ ล้านบาท
ซึ่ง นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้ให้ความเห็นว่ารัฐบาล
ได้จัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาจัดทำงบประมาณ ปี ๒๕๐๒ โดยขอให้รัฐบาล
ถอนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้และทำเอกสารพร้อมตัวเลขการจัดเก็บรายได้อย่างชัดเจนมาแสดงต่อที่ประชุมในการประชุมครั้งต่อไป
นายกรัฐมนตรีได้ยอมรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว และได้ถอนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปก่อน ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติ
ถอนร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวและให้นำกลับมาพิจารณาพร้อมแสดงเอกสารประกอบเพิ่มเติมในคราวต่อไป
นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเครื่องแบบกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองพิจารณาเสร็จแล้ว
โดยมีนายวิฑูรย์ นามบุตร เป็นประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง สภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งได้มอบหมายให้นายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ ๑
เป็นผู้ชี้แจงต่อที่ประชุมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสิ้น ๖ มาตรา ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์
เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
สำหรับร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้วนั้น เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ
ล้มละลายทั้งสิ้น ๑๕ มาตรา โดยมีเหตุผลคือ กฎหมายว่าด้วยล้มละลายเดิมนั้นได้บัญญัติ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดให้ลูกหนี้พ้นจากการล้มละลาย ซึ่งผลของกฎหมายที่ใช้บังคับ
ในปัจจุบันยังขาดความ ชัดเจนและทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผลของการพ้นจาก
การล้มละลาย โดยเฉพาะการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ อย่างไรก็ตามหลักการของบทบัญญัตินี้
เป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้บุคคลล้มละลายที่สุจริตได้มีโอกาสพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย
จึงสมควรให้คงหลักการดังกล่าวไว้ โดยยกเลิกบทบัญญัติเดิมและนำมากำหนดเพิ่มเป็นบทบัญญัติ
ที่เกี่ยวกับการปลดจากล้มละลายโดยผลของกฎหมาย นอกจากนี้บทบัญญัติที่กำหนดให้บุคคลล้มละลาย
อาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งปลดจากล้มละลายได้ที่ใช้บังคับในปัจจุบันนั้นยังขาดความชัดเจนและขึ้นอยู่กับ
ดุลยพินิจของศาลในแต่ละกรณี จึงเห็นสมควรให้มีการแก้ไขหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งปลดจากการล้มละลาย
ให้ความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเป็นหลักประกันแก่บุคคลล้มละลายว่าหากดำเนินการตามกฎหมายแล้วจะได้รับ
การปลดจากการล้มละลาย และเพื่อให้บทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมในคดีล้มละลายที่ใช้บังคับ
อยู่มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับร่าง พระราชบัญญัติฉบับนี้
และสุดท้ายได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ….)
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีนายปกิต พัฒนกุล ประธานคณะกรรมาธิการฯ
ได้ชี้แจงในหลักการและเหตุผลของการแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสิ้น ๗ มาตรา โดยบทบัญญัติในส่วนของการกำหนด
หลักเกณฑ์การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่มีความเหมาะสมกับ
สภาวการณ์ปัจจุบันเป็นเหตุให้การดำเนินการพิจารณาเป็นไปด้วยความล่าช้าและไม่คุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้
และลูกหนี้อย่างเพียงพอ อีกทั้งหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลล้มละลายและ
วิธีพิจารณาคดีล้มละลายที่ใช้บังคับในปัจจุบันใช้บังคับเฉพาะคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จำเป็นต้องมีการแก้ไข
บทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลายเพื่อให้การดำเนินการพิจารณา
เป็นไปด้วยความรวดเร็วและเพื่อให้หลักการการอุทธรณ์ทั้งคดีล้มละลายและคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อยู่ใน
กฎหมายเดียวกัน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวนี้
ซึ่งที่ประชุมได้นำร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ ที่ผ่านการเห็นชอบแล้วส่งให้กับที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๕.๔๕ นาฬิกา
-------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สมัยสามัญทั่วไป ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑ โดยมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ซึ่ง พันตำรวจโทดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งต่อที่ประชุมถึงหลักการในการตั้ง
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ จำนวน ๑๓๕,๕๐๐ ล้านบาท และได้ตั้ง
รายจ่ายชดใช้เงินคงคลังจำนวน ๓๙,๐๐๐ ล้านบาท โดยให้เหตุผลดังนี้
๑. รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินในการดำเนินนโยบายและมาตราการ ต่าง ๆ
รวมทั้งการปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคล สวัสดิการ และค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ รวมทั้งค่าใช้จ่าย
เพื่อส่งเสริมสร้างศักยภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศให้สอดคล้องกับ สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ
จึงต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมตามจำนวนเงินดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
- เพื่อจัดสรรเป็นเงินบำเหน็จดำรงชีพ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ
ข้าราชการ (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
จำนวน ๓๓,๐๔๐ ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจำนวน ๑๔,๕๙๐ ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐจำนวน ๑๖,๕๗๐ ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศจำนวน ๕๙,๐๐๐ ล้านบาท
- เงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัดจำนวน ๑๒,๓๐๐ ล้านบาท
๒. เนื่องจากได้มีการจ่ายเงินคงคลัง เพื่อไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง ดังนั้นจึงต้องตั้งรายจ่าย
เพื่อชดใช้เงินคงคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณเป็นจำนวนเงิน ๓๙,๐๐๐ ล้านบาท
ซึ่ง นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้ให้ความเห็นว่ารัฐบาล
ได้จัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาจัดทำงบประมาณ ปี ๒๕๐๒ โดยขอให้รัฐบาล
ถอนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้และทำเอกสารพร้อมตัวเลขการจัดเก็บรายได้อย่างชัดเจนมาแสดงต่อที่ประชุมในการประชุมครั้งต่อไป
นายกรัฐมนตรีได้ยอมรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว และได้ถอนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปก่อน ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติ
ถอนร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวและให้นำกลับมาพิจารณาพร้อมแสดงเอกสารประกอบเพิ่มเติมในคราวต่อไป
นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเครื่องแบบกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองพิจารณาเสร็จแล้ว
โดยมีนายวิฑูรย์ นามบุตร เป็นประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง สภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งได้มอบหมายให้นายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ ๑
เป็นผู้ชี้แจงต่อที่ประชุมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสิ้น ๖ มาตรา ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์
เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
สำหรับร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้วนั้น เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ
ล้มละลายทั้งสิ้น ๑๕ มาตรา โดยมีเหตุผลคือ กฎหมายว่าด้วยล้มละลายเดิมนั้นได้บัญญัติ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดให้ลูกหนี้พ้นจากการล้มละลาย ซึ่งผลของกฎหมายที่ใช้บังคับ
ในปัจจุบันยังขาดความ ชัดเจนและทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผลของการพ้นจาก
การล้มละลาย โดยเฉพาะการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ อย่างไรก็ตามหลักการของบทบัญญัตินี้
เป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้บุคคลล้มละลายที่สุจริตได้มีโอกาสพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย
จึงสมควรให้คงหลักการดังกล่าวไว้ โดยยกเลิกบทบัญญัติเดิมและนำมากำหนดเพิ่มเป็นบทบัญญัติ
ที่เกี่ยวกับการปลดจากล้มละลายโดยผลของกฎหมาย นอกจากนี้บทบัญญัติที่กำหนดให้บุคคลล้มละลาย
อาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งปลดจากล้มละลายได้ที่ใช้บังคับในปัจจุบันนั้นยังขาดความชัดเจนและขึ้นอยู่กับ
ดุลยพินิจของศาลในแต่ละกรณี จึงเห็นสมควรให้มีการแก้ไขหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งปลดจากการล้มละลาย
ให้ความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเป็นหลักประกันแก่บุคคลล้มละลายว่าหากดำเนินการตามกฎหมายแล้วจะได้รับ
การปลดจากการล้มละลาย และเพื่อให้บทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมในคดีล้มละลายที่ใช้บังคับ
อยู่มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับร่าง พระราชบัญญัติฉบับนี้
และสุดท้ายได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ….)
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีนายปกิต พัฒนกุล ประธานคณะกรรมาธิการฯ
ได้ชี้แจงในหลักการและเหตุผลของการแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสิ้น ๗ มาตรา โดยบทบัญญัติในส่วนของการกำหนด
หลักเกณฑ์การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่มีความเหมาะสมกับ
สภาวการณ์ปัจจุบันเป็นเหตุให้การดำเนินการพิจารณาเป็นไปด้วยความล่าช้าและไม่คุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้
และลูกหนี้อย่างเพียงพอ อีกทั้งหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลล้มละลายและ
วิธีพิจารณาคดีล้มละลายที่ใช้บังคับในปัจจุบันใช้บังคับเฉพาะคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จำเป็นต้องมีการแก้ไข
บทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลายเพื่อให้การดำเนินการพิจารณา
เป็นไปด้วยความรวดเร็วและเพื่อให้หลักการการอุทธรณ์ทั้งคดีล้มละลายและคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อยู่ใน
กฎหมายเดียวกัน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวนี้
ซึ่งที่ประชุมได้นำร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ ที่ผ่านการเห็นชอบแล้วส่งให้กับที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๕.๔๕ นาฬิกา
-------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร