ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าสหภาพพม่า-ไทย ครั้งที่ 4 และการนำคณะผู้แทนทางการค้าประชุมร่วมกับสหภาพพม่าระหว่างวันที่ 25-26 มกราคม 2547 ณ กรุงย่างกุ้ง สหภาพพม่า
ในวันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) ได้นำคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า (Joint Trade Commission :JTC) สหภาพพม่า-ไทย ครั้งที่ 4 ณ กรุงย่างกุ้ง สหภาพพม่า ซึ่งก่อนหน้านั้น ในวันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม 2547 กรมการค้าต่างประเทศได้จัดคณะผู้แทนการค้าประกอบไปด้วย ผู้แทนหอการค้าและนักธุรกิจเอกชนไทย 40 ราย เดินทางไปเจรจาการค้าและการลงทุนเพื่อดำเนินกิจกรรมในการขยายการค้าและการลงทุนภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economic Cooperation Strategy : ECS) กับคณะผู้แทนหอการค้าและภาคเอกชนของพม่าด้วย
การประชุม JTC ในครั้งนี้ เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) เป็นประธานร่วมฝ่ายไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหภาพพม่า (พลจัตวา พี โซน) เป็นประธานร่วมฝ่ายสหภาพพม่า ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าวได้มีการหารือเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ได้แก่
1. การค้าระบบหักบัญชี (Account Trade) สองฝ่ายได้เริ่มมีการค้าผ่านระบบดังกล่าวแล้ว โดยฝ่ายไทยส่งออกพลาสติกเรซิ่นมาพม่า และฝ่ายพม่าส่งออกถั่วเขียวผิวดำไปไทย และทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเพิ่มปริมาณและมูลค่าการค้าระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง
2. การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่พม่าภายใต้กรอบอาเซียน (ASEAN integration System of Preferences : AISP)
- ฝ่ายไทยได้แจ้งให้พม่าทราบว่า ได้เพิ่มรายการ AISP ให้พม่าอีก 379 รายการ ซึ่งกระทรวงการคลังกำลังดำเนินการเพื่อออกประกาศ
- ฝ่ายพม่าจะพิจารณาความเป็นไปได้ในการยกเลิกการเก็บภาษีส่งออกเมล็ดละหุ่ง 10 %ตามที่ฝ่ายไทยเสนอขอ
- ฝ่ายพม่าได้มอบอำนาจการออกแบบฟอร์ม AISP กับ C/O ให้ด่านชายแดนท่าขี้เหล็ก เมียวดี และเกาะสอง แทนที่จะออกได้เฉพาะที่ย่างกุ้งเช่นในปัจจุบัน
3. การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและการแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนทางการค้า
- ฝ่ายไทยได้แจ้งให้พม่าทราบว่ายินดีให้การสนับสนุนภาคเอกชนพม่าเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นในประเทศไทยในปี 2547 และจะช่วยสนับสนุนการจัดงาน ECS Trade Fair ประมาณเดือนธันวาคม ศกนี้ ที่จะจัดขึ้น ณ สหภาพพม่า
- ฝ่ายพม่ายินดีให้ไทยจัดงานแสดงสินค้าในพม่าเพิ่มอีกปีละ 1 ครั้งที่มัณฑะเลย์
4. Contract Farming
- ขณะนี้ฝ่ายพม่ากำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการทำ Contract Farming พืชไร่ และจะส่งให้ไทยเพื่อพิจารณาดำเนินการให้ความช่วยเหลือในด้านเทคโนโลยีต่อไป
- ฝ่ายพม่าแจ้งว่าจะให้กระทรวงเกษตรเป็นผู้ประสานงาน (Focal Point) ในเรื่องนี้
5. ฝ่ายไทยแจ้งว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างของบประมาณเพื่อจัดจ้างศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งตลาดกลางค้าส่งและส่งออกสินค้าเกษตรตามแนวชายแดนไทย-พม่า ซึ่งพม่าแจ้งว่ามีกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้ประสานงาน (Focal Point)
6. ที่ประชุมเห็นพ้องให้มีการตั้ง Joint Study Team ขึ้นมาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง One Stop Inspection
7. ECS Business Council
- ภาคเอกชนสองฝ่ายได้มีการลงนาม MOU ว่าด้วยการตกลงจัดตั้งคณะกรรมการสภาธุรกิจร่วมไทย-พม่า (The Joint Standing Committee between Thailand and Myanmar under the ECS Business Council) ภายหลังการลงนามใน Agreed Minute การประชุม JTC ครั้งที่ 4
- ฝ่ายไทยเสนอว่าจะมีการประชุม ECS Business Council ครั้งที่ 1 ในประเทศไทย เร็วๆ นี้
8. การค้าชายแดน (Border Trade) ฝ่ายพม่ารับที่จะพิจารณาความเป็นไปได้ในการยกเลิกมาตรการห้ามส่งสินค้าออก 32 รายการ และมาตรการห้ามนำสินค้าเข้า 15 รายการ ตามที่ฝ่ายไทยเสนอขอ
9. ฝ่ายไทยแจ้งให้พม่าทราบถึงโครงการนำร่อง 6 โครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะให้ความช่วยเหลือพม่า
10. สองฝ่ายแจ้งความพร้อมในการลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการลงทุน ระหว่าง BOI กับ Myanmar Investment Commission (MIC)
11. ฝ่ายไทยได้แจ้งย้ำถึงความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและการประมงดังเช่นที่เคยได้หารือกันในการประชุม JTC ครั้งที่ 3
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี และหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและชลประทานสหภาพพม่า ซึ่งนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่าได้ฝากความระลึกถึงนายกรัฐมนตรีไทยด้วย การหารือเป็นไปด้วยความราบรื่นฉันท์มิตรไมตรี มีการตกลงที่จะร่วมมือแก้ไขปัญหาต่างๆ ของทั้งไทยและพม่า ไทยมีนโยบายช่วยพม่าพัฒนา ในลักษณะของการพัฒนาร่วมกันเป็นหุ้นส่วน โดยเน้นการสร้างงานและรายได้ให้แก่ประชาชนพม่า เพื่อให้กลับมาช่วยพัฒนาประเทศของตนเอง ในการนี้ ไทยและพม่าจะแบ่งกันผลิตในสิ่งที่แต่ละฝ่ายมีความถนัด และแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน
สำหรับการเจรจาการค้าและการลงทุนระหว่างผู้แทนหอการค้าและภาคธุรกิจเอกชนไทย-พม่า ได้มีรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (นายวิจักร วิเศษน้อย) เป็นประธานร่วมฝ่ายไทย และอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศของพม่า (นายอูเนียวเอ) เป็นประธานร่วมฝ่ายพม่า ได้มีการเจรจาการค้าและการลงทุนในกลุ่มการค้าสำคัญ 5 กลุ่ม คือ กลุ่มสินค้าเกษตร กลุ่มสินค้าประมงและอาหารแปรรูป กลุ่มสินค้าไม้และเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มสินค้าวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มสินค้าอัญมณี
ผลของการเจรจานอกจากมีการจัดตั้งสภาธุรกิจและการทำการค้าหักบัญชีดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังได้มีการรับซื้อสินค้าเกษตร ได้แก่ ไม้ซุง 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมล็ดละหุ่ง 5,000 ตัน และถั่วเหลือง 1,000 ตัน มีการทำ Contract Farming ปลูกสับปะรดและข้าวโพดหวาน ในพม่า พื้นที่ 10,000 เอเคอร์
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775--จบ--
-พห-
ในวันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) ได้นำคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า (Joint Trade Commission :JTC) สหภาพพม่า-ไทย ครั้งที่ 4 ณ กรุงย่างกุ้ง สหภาพพม่า ซึ่งก่อนหน้านั้น ในวันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม 2547 กรมการค้าต่างประเทศได้จัดคณะผู้แทนการค้าประกอบไปด้วย ผู้แทนหอการค้าและนักธุรกิจเอกชนไทย 40 ราย เดินทางไปเจรจาการค้าและการลงทุนเพื่อดำเนินกิจกรรมในการขยายการค้าและการลงทุนภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economic Cooperation Strategy : ECS) กับคณะผู้แทนหอการค้าและภาคเอกชนของพม่าด้วย
การประชุม JTC ในครั้งนี้ เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) เป็นประธานร่วมฝ่ายไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหภาพพม่า (พลจัตวา พี โซน) เป็นประธานร่วมฝ่ายสหภาพพม่า ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าวได้มีการหารือเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ได้แก่
1. การค้าระบบหักบัญชี (Account Trade) สองฝ่ายได้เริ่มมีการค้าผ่านระบบดังกล่าวแล้ว โดยฝ่ายไทยส่งออกพลาสติกเรซิ่นมาพม่า และฝ่ายพม่าส่งออกถั่วเขียวผิวดำไปไทย และทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเพิ่มปริมาณและมูลค่าการค้าระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง
2. การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่พม่าภายใต้กรอบอาเซียน (ASEAN integration System of Preferences : AISP)
- ฝ่ายไทยได้แจ้งให้พม่าทราบว่า ได้เพิ่มรายการ AISP ให้พม่าอีก 379 รายการ ซึ่งกระทรวงการคลังกำลังดำเนินการเพื่อออกประกาศ
- ฝ่ายพม่าจะพิจารณาความเป็นไปได้ในการยกเลิกการเก็บภาษีส่งออกเมล็ดละหุ่ง 10 %ตามที่ฝ่ายไทยเสนอขอ
- ฝ่ายพม่าได้มอบอำนาจการออกแบบฟอร์ม AISP กับ C/O ให้ด่านชายแดนท่าขี้เหล็ก เมียวดี และเกาะสอง แทนที่จะออกได้เฉพาะที่ย่างกุ้งเช่นในปัจจุบัน
3. การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและการแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนทางการค้า
- ฝ่ายไทยได้แจ้งให้พม่าทราบว่ายินดีให้การสนับสนุนภาคเอกชนพม่าเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นในประเทศไทยในปี 2547 และจะช่วยสนับสนุนการจัดงาน ECS Trade Fair ประมาณเดือนธันวาคม ศกนี้ ที่จะจัดขึ้น ณ สหภาพพม่า
- ฝ่ายพม่ายินดีให้ไทยจัดงานแสดงสินค้าในพม่าเพิ่มอีกปีละ 1 ครั้งที่มัณฑะเลย์
4. Contract Farming
- ขณะนี้ฝ่ายพม่ากำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการทำ Contract Farming พืชไร่ และจะส่งให้ไทยเพื่อพิจารณาดำเนินการให้ความช่วยเหลือในด้านเทคโนโลยีต่อไป
- ฝ่ายพม่าแจ้งว่าจะให้กระทรวงเกษตรเป็นผู้ประสานงาน (Focal Point) ในเรื่องนี้
5. ฝ่ายไทยแจ้งว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างของบประมาณเพื่อจัดจ้างศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งตลาดกลางค้าส่งและส่งออกสินค้าเกษตรตามแนวชายแดนไทย-พม่า ซึ่งพม่าแจ้งว่ามีกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้ประสานงาน (Focal Point)
6. ที่ประชุมเห็นพ้องให้มีการตั้ง Joint Study Team ขึ้นมาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง One Stop Inspection
7. ECS Business Council
- ภาคเอกชนสองฝ่ายได้มีการลงนาม MOU ว่าด้วยการตกลงจัดตั้งคณะกรรมการสภาธุรกิจร่วมไทย-พม่า (The Joint Standing Committee between Thailand and Myanmar under the ECS Business Council) ภายหลังการลงนามใน Agreed Minute การประชุม JTC ครั้งที่ 4
- ฝ่ายไทยเสนอว่าจะมีการประชุม ECS Business Council ครั้งที่ 1 ในประเทศไทย เร็วๆ นี้
8. การค้าชายแดน (Border Trade) ฝ่ายพม่ารับที่จะพิจารณาความเป็นไปได้ในการยกเลิกมาตรการห้ามส่งสินค้าออก 32 รายการ และมาตรการห้ามนำสินค้าเข้า 15 รายการ ตามที่ฝ่ายไทยเสนอขอ
9. ฝ่ายไทยแจ้งให้พม่าทราบถึงโครงการนำร่อง 6 โครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะให้ความช่วยเหลือพม่า
10. สองฝ่ายแจ้งความพร้อมในการลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการลงทุน ระหว่าง BOI กับ Myanmar Investment Commission (MIC)
11. ฝ่ายไทยได้แจ้งย้ำถึงความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและการประมงดังเช่นที่เคยได้หารือกันในการประชุม JTC ครั้งที่ 3
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี และหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและชลประทานสหภาพพม่า ซึ่งนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่าได้ฝากความระลึกถึงนายกรัฐมนตรีไทยด้วย การหารือเป็นไปด้วยความราบรื่นฉันท์มิตรไมตรี มีการตกลงที่จะร่วมมือแก้ไขปัญหาต่างๆ ของทั้งไทยและพม่า ไทยมีนโยบายช่วยพม่าพัฒนา ในลักษณะของการพัฒนาร่วมกันเป็นหุ้นส่วน โดยเน้นการสร้างงานและรายได้ให้แก่ประชาชนพม่า เพื่อให้กลับมาช่วยพัฒนาประเทศของตนเอง ในการนี้ ไทยและพม่าจะแบ่งกันผลิตในสิ่งที่แต่ละฝ่ายมีความถนัด และแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน
สำหรับการเจรจาการค้าและการลงทุนระหว่างผู้แทนหอการค้าและภาคธุรกิจเอกชนไทย-พม่า ได้มีรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (นายวิจักร วิเศษน้อย) เป็นประธานร่วมฝ่ายไทย และอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศของพม่า (นายอูเนียวเอ) เป็นประธานร่วมฝ่ายพม่า ได้มีการเจรจาการค้าและการลงทุนในกลุ่มการค้าสำคัญ 5 กลุ่ม คือ กลุ่มสินค้าเกษตร กลุ่มสินค้าประมงและอาหารแปรรูป กลุ่มสินค้าไม้และเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มสินค้าวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มสินค้าอัญมณี
ผลของการเจรจานอกจากมีการจัดตั้งสภาธุรกิจและการทำการค้าหักบัญชีดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังได้มีการรับซื้อสินค้าเกษตร ได้แก่ ไม้ซุง 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมล็ดละหุ่ง 5,000 ตัน และถั่วเหลือง 1,000 ตัน มีการทำ Contract Farming ปลูกสับปะรดและข้าวโพดหวาน ในพม่า พื้นที่ 10,000 เอเคอร์
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775--จบ--
-พห-