นายตรีพล เจาะจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช ประธานคณะทำงานด้านการเกษตรพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้สดถาม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถึงปัญหาสินค้าเกษตรกับคู่ค้าระหว่างประเทศว่า ตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปี ในการบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ มีสินค้าเกษตรที่รัฐบาลยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้คือ ราคาลำไย ที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ถือเป็นความล้มเหลวในการแก้ปัญหาแบบซ้ำซาก
นายตรีพลกล่าวว่า การจำนำลำไยเมื่อปี 45/46 รัฐบาลรับจำนำ 8 หมื่นกว่าตันโดยรับรัฐบาลใช้เงินประมาณ 5 พันล้านบาท ซึ่งปรากฏว่า รัฐบาลนำสินค้าหลุดจำนำ 6 หมื่นกว่าตันออกมาจำหน่ายให้บริษัทใหญ่บริษัทหนึ่งจำนวน 4 หมื่นกว่าตันคิดเป็นเงินประมาณ 2 พันกว่าล้านบาท และจนขณะนี้บริษัทดังกล่าวนำลำไยไปจำหน่ายเพียง 716 ตัน เหลืออีก 3 หมื่นกว่าตันยังอยู่ในโกดัง และสิ่งที่สำคัญคือลำไยที่ค้างอยู่ในโกดัง จะต้องเสียค่าเช่าโกดังอีกวันละ 60 บาท/ตัน ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วจะเสียค่าเช่าเดือนละ 1,800,000 แสนบาท ดังนั้นจากข้อมูลตนอยากทราบในส่วนของรายละเอียดทั้งหมด อาทิ จำนวนลำไยที่ค้างสต๊อก ลำไยยังค้างอยู่ในโกดังเป็นจำนานเท่าใด ค่าเช่าโกดังเก็บลำไยที่ต้องเสียแต่ละเดือนนั้น ใครเป็นผู้จ่าย
สินค้าเกษตรตัวที่ 2 คือราคากุ้งที่รัฐบาลยังไม่สามารถแก้ปัญหาราคาที่ตกต่ำในประเทศได้ แต่ในส่วนของการส่งออกไปต่างประเทศนั้น ในตอนแรกตนมั่นใจรัฐบาลชุดนี้เพราะถือว่าเป็นนักธุรกิจ แต่พอถึงเวลาจริงก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เช่นการค้ากุ้งกับกลุ่มประเทศยุโรป (อียู) ประเทศไทยเสียเปรียบมาโดยตลอด ทั้งโดนตัดสิทธิทางด้านภาษีหรือ GSP ประเทศไทยต้องเสียภาษีส่งออกกุ้งถึง 12% ในขณะที่ประเทศอื่นเสียภาษีเพียง 4.2% ตนอยากถามว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจากนายกฯให้มาตอบกระทู้ กล่าวว่า ข้อมูลเรื่องลำไยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในปี 2545-2546 ซึ่งอยู่ในการดูแลของกระทรวงพาณิชย์ และตนเพิ่งเข้ามารับตำแหน่งยังไม่ได้ศึกษาในรายละเอียด แต่อย่างไรก็จะนำคำถามทั้งหมดไปติดตามและจะชี้แจงให้ทราบคราวต่อไป ในส่วนเรื่องการส่งออกกุ้งไปอียูนั้น ขณะนี้ประเทศไทยมุ่งส่งออกกุ้งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกามากกว่ากลุ่มประเทศอียูอยู่แล้ว และขณะนี้ก็ได้ส่งเสริมการขายกุ้ง ขอยืนยันว่ายอดขายกุ้งไม่ได้ตกต่ำลงจากยอดขายเดิมทุกประการ อย่างไรก็ตามในการตอบคำถาม นายพงษ์ศักดิ์ กลับไม่ได้ตอบคำถามในเรื่องค่า GSP แต่อย่างใด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5/02/47--จบ--
-สส-
นายตรีพลกล่าวว่า การจำนำลำไยเมื่อปี 45/46 รัฐบาลรับจำนำ 8 หมื่นกว่าตันโดยรับรัฐบาลใช้เงินประมาณ 5 พันล้านบาท ซึ่งปรากฏว่า รัฐบาลนำสินค้าหลุดจำนำ 6 หมื่นกว่าตันออกมาจำหน่ายให้บริษัทใหญ่บริษัทหนึ่งจำนวน 4 หมื่นกว่าตันคิดเป็นเงินประมาณ 2 พันกว่าล้านบาท และจนขณะนี้บริษัทดังกล่าวนำลำไยไปจำหน่ายเพียง 716 ตัน เหลืออีก 3 หมื่นกว่าตันยังอยู่ในโกดัง และสิ่งที่สำคัญคือลำไยที่ค้างอยู่ในโกดัง จะต้องเสียค่าเช่าโกดังอีกวันละ 60 บาท/ตัน ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วจะเสียค่าเช่าเดือนละ 1,800,000 แสนบาท ดังนั้นจากข้อมูลตนอยากทราบในส่วนของรายละเอียดทั้งหมด อาทิ จำนวนลำไยที่ค้างสต๊อก ลำไยยังค้างอยู่ในโกดังเป็นจำนานเท่าใด ค่าเช่าโกดังเก็บลำไยที่ต้องเสียแต่ละเดือนนั้น ใครเป็นผู้จ่าย
สินค้าเกษตรตัวที่ 2 คือราคากุ้งที่รัฐบาลยังไม่สามารถแก้ปัญหาราคาที่ตกต่ำในประเทศได้ แต่ในส่วนของการส่งออกไปต่างประเทศนั้น ในตอนแรกตนมั่นใจรัฐบาลชุดนี้เพราะถือว่าเป็นนักธุรกิจ แต่พอถึงเวลาจริงก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เช่นการค้ากุ้งกับกลุ่มประเทศยุโรป (อียู) ประเทศไทยเสียเปรียบมาโดยตลอด ทั้งโดนตัดสิทธิทางด้านภาษีหรือ GSP ประเทศไทยต้องเสียภาษีส่งออกกุ้งถึง 12% ในขณะที่ประเทศอื่นเสียภาษีเพียง 4.2% ตนอยากถามว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจากนายกฯให้มาตอบกระทู้ กล่าวว่า ข้อมูลเรื่องลำไยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในปี 2545-2546 ซึ่งอยู่ในการดูแลของกระทรวงพาณิชย์ และตนเพิ่งเข้ามารับตำแหน่งยังไม่ได้ศึกษาในรายละเอียด แต่อย่างไรก็จะนำคำถามทั้งหมดไปติดตามและจะชี้แจงให้ทราบคราวต่อไป ในส่วนเรื่องการส่งออกกุ้งไปอียูนั้น ขณะนี้ประเทศไทยมุ่งส่งออกกุ้งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกามากกว่ากลุ่มประเทศอียูอยู่แล้ว และขณะนี้ก็ได้ส่งเสริมการขายกุ้ง ขอยืนยันว่ายอดขายกุ้งไม่ได้ตกต่ำลงจากยอดขายเดิมทุกประการ อย่างไรก็ตามในการตอบคำถาม นายพงษ์ศักดิ์ กลับไม่ได้ตอบคำถามในเรื่องค่า GSP แต่อย่างใด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5/02/47--จบ--
-สส-