ปัญหาภาคใต้ จากมุมมองของ “สุรินทร์” และ “เอนก”
โดย : ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ และ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
กลับจากการพูดคุยกับผู้คนในภาคใต้ ทั้งที่เป็นนักวิชาการ ครูสอนศาสนาและประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับปัญหาในพื้นที่ สุรินทร์ พิศสุวรรณและเอนก เหล่าธรรมทัศน์นัดถกกันที่ริมฝั่งอันดามัน จังหวัดระนอง 1 วัน และต่อไปนี้คือบทสรุปของการสนทนาของดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย อดีตศาสตราจารย์พิเศษแห่งมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอพกินส์
พื้นที่ปลายสุดของภาคใต้ ที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนั้น มีวิถีชีวิตที่แตกต่างจากพี่น้องชาวพุทธ คริสต์ หรือชาวไทยอื่นๆ กล่าวคือ ชาวมุสลิมในภาคใต้นั้น มีการดำเนินชีวิตที่ผูกพันกับการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด มีวัฒนธรรมเฉพาะของตนเอง จนถือได้ว่า “ศาสนาคือชีวิต ชีวิตคือศาสนา” พวกเขามีปรัชญาพอเพียง สมถะ ใฝ่ธรรมและรักความสงบเป็นอย่างยิ่ง
ปัญหาที่ปลายสุดของภาคใต้มิใช่การขาดการพัฒนาหรือขาดความเจริญทางวัตถุอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ
ตรงกันข้าม ปัญหาอาจเกิดเพราะ การพัฒนาที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาทางวัตถุมากเกินไป การพัฒนาเช่นนี้กระทบกระเทือนต่อวิถีชีวิตที่สมถะและพอเพียงของชาวมุสลิม พูดง่าย ๆ ก็คือเราพัฒนาภาคใต้อย่างไม่สอดคล้องกับปรัชญา วัฒนธรรม และอารยธรรมของพวกเขา
ปัจจุบันนี้เมื่อเกิดวิกฤตในภาคใต้ รัฐบาลมักจัดการปัญหาจากมุมมองของความมั่นคงและมุมมองของการพัฒนาอยู่เสมอ เช่นสรุปว่าเกิดจากการกระทำของโจรกระจอก โจรก่อการร้าย หรือขบวนการแบ่งแยกดินแดน ดังเช่นกรณีล่าสุด ที่มีการเผาโรงเรียน ปล้นอาวุธปืน ลอบยิงสถานีตำรวจ และการวางระเบิดตามจุดต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลก็ลุกลนใช้มาตรการปราบปรามอย่างแข็งกร้าวพร้อมกับคำประกาศว่าจะจับให้ได้ภายใน 7 วัน โดยมีเป้าหมายที่โรงเรียนสอนศาสนา (ปอเนาะ) ตามมาด้วยการจับกุมบุคคลที่เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นครูสอนศาสนา
หลังจากแก้ปัญหาด้วยมาตรการทางทหารแล้ว รัฐบาลอาจมีมาตรการทางเศรษฐกิจติดตามมา เพื่อเร่งสร้างความเจริญให้แก่ภาคใต้ เพื่อเอาชนะใจประชาชน แต่มาตรการดังกล่าว ก็มักจะเป็นการวางแผนหรือสั่งการโดยผู้นำ CEO ด้วยการสร้างแรงจูงใจ จัดสรรผลประโยชน์ให้ประชาชน ยั่วยุให้เกิดความอยากในชนหมู่ต่างๆ ซึ่งมาตรการเหล่านี้ย่อมขัดแย้งกับชีวิตที่เน้นความสมถะ เน้นจริยธรรมและศาสนธรรม
ชาวมุสลิมที่เราพบกล่าวกันว่ารัฐบาลปัจจุบันสนใจทำแต่สิ่งที่เป็น “ฮาราม” ให้เป็น “ฮาลาล”
คำว่า “ฮาราม” หมายถึงสิ่งต้องห้าม สิ่งที่ไม่ได้รับการอนุมัติจากพระเจ้า การสร้างหนี้สิน การทำหวยให้ถูกกฎหมาย การอนุญาตให้มีสถานบันเทิงเริงกามอย่างถูกกฎหมาย การทำให้บ่อนการพนันเป็นเรื่องชอบธรรมและถูกกฎหมาย เหล่านี้อาจถือเป็น “ฮาราม”
ส่วน “ฮาลาล” หมายถึงสิ่งถูกต้องชอบธรรม
การทำ “ฮาราม” ให้เป็น “ฮาลาล” ทำให้พวกเขารู้สึกว่าวิถีชีวิตของพวกเขากำลังถูกคุกคาม
ในความเห็นของเรา รัฐบาลควรจะทบทวนการแก้ไขปัญหาในภาคใต้ ควรจะเข้าใจประชาชนที่ศรัทธาในความถูกต้อง รักความสงบ รักในเกียรติ ในศักดิ์ศรี และต้องการโอกาสที่เท่าเทียมกัน พวกเขาไม่ต้องการผู้นำ “ตะกับโบรฺ” ของผู้นำ (หมายถึงการหลงอำนาจของผู้นำ การโอ้อวดลำพอง หรือหลงตัวเองอย่างมากจนเทียบตนกับอำนาจพระผู้เป็นเจ้า)
ชาวมุสลิมภาคใต้ มิได้ต้องการรัฐบาลที่ดี (Good Governance ) หากคำว่าดีนั้นหมายถึงเพียงการพัฒนาเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่มอมเมาประชาชนโดยวิถีวัตถุนิยม(Materialism)
ชาวมุสลิมไม่เชื่อว่า การบริหารและการจัดการที่ดี โดยมองข้ามเรื่องความดี ความชั่ว หรือความถูก ความผิด เป็นสิ่งที่ควรทำ ผู้นำศาสนาอิสลามกล่าวกันว่า “การพัฒนาที่ละเลยว่าอะไรคือผิดอะไรคือถูก หากเน้นแต่ว่า “จะซื้อใจใครได้ในราคาเท่าไร” เท่านั้น มิใช่สิ่งที่พวกเขาต้องการ พวกเขาต้องการการพัฒนาและการบริหารที่เข้าใจความต้องการของมุสลิมซึ่งมีหลักศาสนาและปรัชญาชีวิตเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว
จำต้องพูดให้ชัดว่า ชาวมุสลิมภาคใต้ต้องการ “Self Governance” มากกว่า “Good Governance” นั่นคือ พวกเขาอยากได้การบริหารการพัฒนาจากมุมมองของพวกเขาเอง การพัฒนาที่ไม่ทำลายวิถีชุมชนที่เข้มแข็งของพวกเขา พวกเขาไม่ต้องการสิ่งยั่วยุต่างๆ ที่จะทำให้ห่างจากศาสนา พวกเขาต้องการโอกาสจากรัฐบาลในการจัดการปัญหาตามเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของพวกเขาเองให้มากขึ้น นี่คือความหมายของการจัดการและจัดองค์กรแบบ “Self Governance Organization” (SGO)
จำต้องย้ำว่า ไม่มีชาวมุสลิมผู้ใดที่เราคุยด้วยปรารถนาจะแยกพื้นที่ปลายสุดของภาคใต้ออกจากประเทศไทย พวกเขาอยากอยู่กับประเทศไทยไปตราบนานเท่านานและพวกเขาก็เป็นคนไทยเหมือนคนไทยในภูมิภาคอื่นๆ เพียงแต่พวกเขามีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมที่ต่างออกไป
เราทั้งสองจึงเห็นพ้องกันว่า การแก้ปัญหาภาคใต้ในระยะยาวที่สำคัญที่สุดคือ รัฐบาลต้องให้ที่นั่นมีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เราปรารถนาจะเห็น สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส มีการปกครองท้องถิ่นในระดับจังหวัด ที่สามารถสะท้อนและสอดรับวัฒนธรรม ค่านิยม ศาสนา และวิถีชีวิตของชาวมุสลิมออกมาได้มากยิ่งขึ้น ให้ประชาชนชาวมุสลิมสามารถดำรงวิถีความเป็นมุสลิมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ โดยมีแนวทางสำคัญ เป็นต้นว่า
-ส่งเสริมโรงเรียนสอนศาสนา (ปอเนาะ) ให้มีการเรียนการสอน ทั้งภาษาไทย มลายู และภาษาอาหรับ (เนื่องจากคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยภาษาอาหรับ) โดยเฉพาะมัสยิดและโรงเรียนสอนศาสนาเป็นทั้งศูนย์รวมจิตวิญญาณและศูนย์รวมใจของชาวมุสลิม ซึ่งจะเป็นสะพานเชื่อมที่ดี ระหว่างอำนาจรัฐและวิถีชุมชนชาวมุสลิม
-ให้หลักประกันในชีวิต ทรัพย์สิน สิทธิ เสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
-เข้มงวดในสิ่งต้องห้ามทางศาสนา เช่นสถานบันเทิง สุรา ยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ
-ขยายโอกาสในการเข้าสู่ระบบราชการ โดยเฉพาะการเข้ารับราชการของชาวมุสลิมในพื้นที่ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนน้อยมาก
-ส่งเสริมการศึกษาภาคศาสนาเบื้องต้น (ฟัรดูอีน) อย่างจริงจัง
-ให้ความชอบธรรมในเรื่องการแต่งกายและตั้งชื่อบุตรตามหลักศาสนา
-ให้ชาวมุสลิมหยุดงานและหยุดราชการเพื่อปฏิบัติศาสนากิจได้ในบ่ายวันศุกร์
หากได้ดำเนินการตามแนวทางข้างต้นที่ยกตัวอย่างนี้แล้ว ก็จะสามารถสร้างความมั่นใจยืนยันในความเคารพในสิทธิ เสรีภาพในศาสนา ภาษและวัฒนธรรมที่พวกเขามีอยู่ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นการเริ่มต้นเยียวยาความเจ็บปวด ความหวาดกลัว และความรู้สึกไม่ดีต่างๆ ที่สั่งสมมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลควรจะเปลี่ยนท่าที จากการใช้วิธีรุนแรงทางทหาร แบบ “บ้าเลือด” สู้กับ “บ้าเลือด” อย่างที่ผู้รับผิดชอบแก้ไขปัญหาภาคใต้คนหนึ่งกล่าว หรือขอความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านในด้านความมั่นคง โดยไม่ตระหนักถึงความละเอียดอ่อนของปัญหาและข้อจำกัดภายในของเขา
รัฐบาลควรเปลี่ยนมาให้โอกาสชาวมุสลิมในการจัดการปัญหาในท้องถิ่นของตนเองได้มากขึ้น ตามเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของพวกเขาเอง จะดีกว่า.
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5/02/47--จบ--
-สส-
โดย : ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ และ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
กลับจากการพูดคุยกับผู้คนในภาคใต้ ทั้งที่เป็นนักวิชาการ ครูสอนศาสนาและประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับปัญหาในพื้นที่ สุรินทร์ พิศสุวรรณและเอนก เหล่าธรรมทัศน์นัดถกกันที่ริมฝั่งอันดามัน จังหวัดระนอง 1 วัน และต่อไปนี้คือบทสรุปของการสนทนาของดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย อดีตศาสตราจารย์พิเศษแห่งมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอพกินส์
พื้นที่ปลายสุดของภาคใต้ ที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนั้น มีวิถีชีวิตที่แตกต่างจากพี่น้องชาวพุทธ คริสต์ หรือชาวไทยอื่นๆ กล่าวคือ ชาวมุสลิมในภาคใต้นั้น มีการดำเนินชีวิตที่ผูกพันกับการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด มีวัฒนธรรมเฉพาะของตนเอง จนถือได้ว่า “ศาสนาคือชีวิต ชีวิตคือศาสนา” พวกเขามีปรัชญาพอเพียง สมถะ ใฝ่ธรรมและรักความสงบเป็นอย่างยิ่ง
ปัญหาที่ปลายสุดของภาคใต้มิใช่การขาดการพัฒนาหรือขาดความเจริญทางวัตถุอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ
ตรงกันข้าม ปัญหาอาจเกิดเพราะ การพัฒนาที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาทางวัตถุมากเกินไป การพัฒนาเช่นนี้กระทบกระเทือนต่อวิถีชีวิตที่สมถะและพอเพียงของชาวมุสลิม พูดง่าย ๆ ก็คือเราพัฒนาภาคใต้อย่างไม่สอดคล้องกับปรัชญา วัฒนธรรม และอารยธรรมของพวกเขา
ปัจจุบันนี้เมื่อเกิดวิกฤตในภาคใต้ รัฐบาลมักจัดการปัญหาจากมุมมองของความมั่นคงและมุมมองของการพัฒนาอยู่เสมอ เช่นสรุปว่าเกิดจากการกระทำของโจรกระจอก โจรก่อการร้าย หรือขบวนการแบ่งแยกดินแดน ดังเช่นกรณีล่าสุด ที่มีการเผาโรงเรียน ปล้นอาวุธปืน ลอบยิงสถานีตำรวจ และการวางระเบิดตามจุดต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลก็ลุกลนใช้มาตรการปราบปรามอย่างแข็งกร้าวพร้อมกับคำประกาศว่าจะจับให้ได้ภายใน 7 วัน โดยมีเป้าหมายที่โรงเรียนสอนศาสนา (ปอเนาะ) ตามมาด้วยการจับกุมบุคคลที่เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นครูสอนศาสนา
หลังจากแก้ปัญหาด้วยมาตรการทางทหารแล้ว รัฐบาลอาจมีมาตรการทางเศรษฐกิจติดตามมา เพื่อเร่งสร้างความเจริญให้แก่ภาคใต้ เพื่อเอาชนะใจประชาชน แต่มาตรการดังกล่าว ก็มักจะเป็นการวางแผนหรือสั่งการโดยผู้นำ CEO ด้วยการสร้างแรงจูงใจ จัดสรรผลประโยชน์ให้ประชาชน ยั่วยุให้เกิดความอยากในชนหมู่ต่างๆ ซึ่งมาตรการเหล่านี้ย่อมขัดแย้งกับชีวิตที่เน้นความสมถะ เน้นจริยธรรมและศาสนธรรม
ชาวมุสลิมที่เราพบกล่าวกันว่ารัฐบาลปัจจุบันสนใจทำแต่สิ่งที่เป็น “ฮาราม” ให้เป็น “ฮาลาล”
คำว่า “ฮาราม” หมายถึงสิ่งต้องห้าม สิ่งที่ไม่ได้รับการอนุมัติจากพระเจ้า การสร้างหนี้สิน การทำหวยให้ถูกกฎหมาย การอนุญาตให้มีสถานบันเทิงเริงกามอย่างถูกกฎหมาย การทำให้บ่อนการพนันเป็นเรื่องชอบธรรมและถูกกฎหมาย เหล่านี้อาจถือเป็น “ฮาราม”
ส่วน “ฮาลาล” หมายถึงสิ่งถูกต้องชอบธรรม
การทำ “ฮาราม” ให้เป็น “ฮาลาล” ทำให้พวกเขารู้สึกว่าวิถีชีวิตของพวกเขากำลังถูกคุกคาม
ในความเห็นของเรา รัฐบาลควรจะทบทวนการแก้ไขปัญหาในภาคใต้ ควรจะเข้าใจประชาชนที่ศรัทธาในความถูกต้อง รักความสงบ รักในเกียรติ ในศักดิ์ศรี และต้องการโอกาสที่เท่าเทียมกัน พวกเขาไม่ต้องการผู้นำ “ตะกับโบรฺ” ของผู้นำ (หมายถึงการหลงอำนาจของผู้นำ การโอ้อวดลำพอง หรือหลงตัวเองอย่างมากจนเทียบตนกับอำนาจพระผู้เป็นเจ้า)
ชาวมุสลิมภาคใต้ มิได้ต้องการรัฐบาลที่ดี (Good Governance ) หากคำว่าดีนั้นหมายถึงเพียงการพัฒนาเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่มอมเมาประชาชนโดยวิถีวัตถุนิยม(Materialism)
ชาวมุสลิมไม่เชื่อว่า การบริหารและการจัดการที่ดี โดยมองข้ามเรื่องความดี ความชั่ว หรือความถูก ความผิด เป็นสิ่งที่ควรทำ ผู้นำศาสนาอิสลามกล่าวกันว่า “การพัฒนาที่ละเลยว่าอะไรคือผิดอะไรคือถูก หากเน้นแต่ว่า “จะซื้อใจใครได้ในราคาเท่าไร” เท่านั้น มิใช่สิ่งที่พวกเขาต้องการ พวกเขาต้องการการพัฒนาและการบริหารที่เข้าใจความต้องการของมุสลิมซึ่งมีหลักศาสนาและปรัชญาชีวิตเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว
จำต้องพูดให้ชัดว่า ชาวมุสลิมภาคใต้ต้องการ “Self Governance” มากกว่า “Good Governance” นั่นคือ พวกเขาอยากได้การบริหารการพัฒนาจากมุมมองของพวกเขาเอง การพัฒนาที่ไม่ทำลายวิถีชุมชนที่เข้มแข็งของพวกเขา พวกเขาไม่ต้องการสิ่งยั่วยุต่างๆ ที่จะทำให้ห่างจากศาสนา พวกเขาต้องการโอกาสจากรัฐบาลในการจัดการปัญหาตามเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของพวกเขาเองให้มากขึ้น นี่คือความหมายของการจัดการและจัดองค์กรแบบ “Self Governance Organization” (SGO)
จำต้องย้ำว่า ไม่มีชาวมุสลิมผู้ใดที่เราคุยด้วยปรารถนาจะแยกพื้นที่ปลายสุดของภาคใต้ออกจากประเทศไทย พวกเขาอยากอยู่กับประเทศไทยไปตราบนานเท่านานและพวกเขาก็เป็นคนไทยเหมือนคนไทยในภูมิภาคอื่นๆ เพียงแต่พวกเขามีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมที่ต่างออกไป
เราทั้งสองจึงเห็นพ้องกันว่า การแก้ปัญหาภาคใต้ในระยะยาวที่สำคัญที่สุดคือ รัฐบาลต้องให้ที่นั่นมีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เราปรารถนาจะเห็น สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส มีการปกครองท้องถิ่นในระดับจังหวัด ที่สามารถสะท้อนและสอดรับวัฒนธรรม ค่านิยม ศาสนา และวิถีชีวิตของชาวมุสลิมออกมาได้มากยิ่งขึ้น ให้ประชาชนชาวมุสลิมสามารถดำรงวิถีความเป็นมุสลิมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ โดยมีแนวทางสำคัญ เป็นต้นว่า
-ส่งเสริมโรงเรียนสอนศาสนา (ปอเนาะ) ให้มีการเรียนการสอน ทั้งภาษาไทย มลายู และภาษาอาหรับ (เนื่องจากคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยภาษาอาหรับ) โดยเฉพาะมัสยิดและโรงเรียนสอนศาสนาเป็นทั้งศูนย์รวมจิตวิญญาณและศูนย์รวมใจของชาวมุสลิม ซึ่งจะเป็นสะพานเชื่อมที่ดี ระหว่างอำนาจรัฐและวิถีชุมชนชาวมุสลิม
-ให้หลักประกันในชีวิต ทรัพย์สิน สิทธิ เสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
-เข้มงวดในสิ่งต้องห้ามทางศาสนา เช่นสถานบันเทิง สุรา ยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ
-ขยายโอกาสในการเข้าสู่ระบบราชการ โดยเฉพาะการเข้ารับราชการของชาวมุสลิมในพื้นที่ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนน้อยมาก
-ส่งเสริมการศึกษาภาคศาสนาเบื้องต้น (ฟัรดูอีน) อย่างจริงจัง
-ให้ความชอบธรรมในเรื่องการแต่งกายและตั้งชื่อบุตรตามหลักศาสนา
-ให้ชาวมุสลิมหยุดงานและหยุดราชการเพื่อปฏิบัติศาสนากิจได้ในบ่ายวันศุกร์
หากได้ดำเนินการตามแนวทางข้างต้นที่ยกตัวอย่างนี้แล้ว ก็จะสามารถสร้างความมั่นใจยืนยันในความเคารพในสิทธิ เสรีภาพในศาสนา ภาษและวัฒนธรรมที่พวกเขามีอยู่ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นการเริ่มต้นเยียวยาความเจ็บปวด ความหวาดกลัว และความรู้สึกไม่ดีต่างๆ ที่สั่งสมมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลควรจะเปลี่ยนท่าที จากการใช้วิธีรุนแรงทางทหาร แบบ “บ้าเลือด” สู้กับ “บ้าเลือด” อย่างที่ผู้รับผิดชอบแก้ไขปัญหาภาคใต้คนหนึ่งกล่าว หรือขอความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านในด้านความมั่นคง โดยไม่ตระหนักถึงความละเอียดอ่อนของปัญหาและข้อจำกัดภายในของเขา
รัฐบาลควรเปลี่ยนมาให้โอกาสชาวมุสลิมในการจัดการปัญหาในท้องถิ่นของตนเองได้มากขึ้น ตามเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของพวกเขาเอง จะดีกว่า.
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5/02/47--จบ--
-สส-