คำต่อคำ 'บัญญัติ บรรทัดฐาน' เสนอรัฐบาลนำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 2547 กลับไปเพิ่มรายละเอียด
การประชุมสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2547
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547
โดยนายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
***********
ท่านประธานที่เคารพ กระผมบัญญัติ บรรทัดฐาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กระผมขอกราบเรียนท่านประธานว่า กระผมไม่แปลกใจเลยที่รัฐบาลนี้ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมต่อสภานี้ในสมัยประชุมนี้ เพราะความจริงก็เป็นเรื่องที่พวกกระผมได้คาดหมายไว้ก่อนแล้ว ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อรัฐบาลนี้ท่านตั้งเป้าหมายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ในลักษณะที่ค่อนข้างจะสูงเอามากๆ อย่างน้อยต้องโต 7% บ้าง ต้องโต 8% บ้าง และดูจะยังมุ่งที่จะทำให้โตถึง 10% ให้ได้ในปี 2548 เพราะฉะนั้นเมื่อสภาพของงความเป็นจริงในขณะที่ภาคเอกชชนเอง ยังอยู่ในลักษณะที่กลัวๆกล้า คือยังไม่ค่อยกล้าที่จะลงทุนกันมากนัก หรือเพียงกล้าที่จะลงทุนเฉพาะในบางสาขาเท่านั้น กระผมคิดว่าก็คงหนีไม่พ้นที่จะเป็นภาระของรัฐบาลเอง ที่จะต้องทุ่มเทเพื่อการนี้ ผมคิดว่านี่ประการหนึ่ง แล้วก็อีกประการหนึ่ง กระผมคิดว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่มีความเชื่อมั่นในเรื่องทุนมากเหลือเกิน ท่านเชื่อในเรื่องทุนหมุนเวียน ท่านเชื่อว่ายิ่งมีทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ มากมายขึ้นเพียงไร ก็ดูจะเป็นสภาพที่รัฐบาลท่านมีความพึงพอใจมากขึ้นเช่นนั้น
เพราะฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏอย่างชัดเจนว่า ท่านสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มเติมขึ้นได้เป็นอันมาก ในช่วงไตรมาสหนึ่งของปีงบประมาณ 2547 คือช่วงระยะเวลาระหว่างตุลาคม 2546 ถึงธันวาคม 2546 ซึ่งท่านก็ได้แถลงอย่างชัดเจนไปเมื่อสักครู่นี่แล้ว แล้วท่านก็ยังมีความมั่นใจต่อไปว่า ภาวะของการจัดเก็บรายได้ที่ว่านี้น่าจะยังมีอยู่ต่อไป จนกระทั่งตลอดปีงบประมาณ ด้วยความเชื่อมั่นที่จะเพิ่มทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น ท่านก็ได้จัดดำเนินการให้มีการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม อย่างที่พวกเราทั้งหลายก็ดูจะได้รับข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนอยู่แล้ว ซึ่งก็จะได้ทำหน้าที่อภิปรายกันต่อไป วันนี้นายกฯท่านแถลงสั้น กระผมเองก็คงจะอภิปรายไม่ยาวนานมากนัก มีอยู่เพียง 2-3 ประเด็นเท่านั้น
ประเด็นแรกที่กระผมคิดว่าควรจะได้ถือโอกาสนี้กราบเรียนต่อท่านประธานไว้ก่อนตอนนี้คืออว่า กระผมมีความรู้สึกว่ารัฐบาลนี้เริ่มทำผิดกฎหมายอีกแล้ว กระผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่ามือกฎหมายรัฐบาลมีเยอะมากมาย แต่ว่าทำไมเรื่องอย่างนี้มือกฎหมายของรัฐบาลถึงมองกันไม่เห็นเลย กระผมคิดว่าข้อเท็จจริงดูจะเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว ทั้งจากการแถลงของรัฐบาลเองหรือจากข่าวคราวของการประชุมคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับงบประมาณดังกล่าวนี้เมื่อไม่ช้าไม่นานมานี้ นั่นก็คือว่า ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 ท่านประธานครับ มาตรา 17 แห่งร่างพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ 2502 นั้นเขาเขียนไว้อย่างไร ผมขออนุญาตอ่านให้ท่านประธานฟัง
มาตรา 17ของพระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ.2502 นั้นเขียนเอาไว้ว่า ’ในกรณีจำเป็นจะต้องจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันธ์เกินกว่า หรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี คณะรัฐมนตรีอาจเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมต่อรัฐสภาได้ และให้แสดงถึงเงินที่พึงได้มาสำหรับจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่ขอตั้งเอาไว้ด้วย‘
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5/02/47--จบ--
-สส-
การประชุมสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2547
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547
โดยนายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
***********
ท่านประธานที่เคารพ กระผมบัญญัติ บรรทัดฐาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กระผมขอกราบเรียนท่านประธานว่า กระผมไม่แปลกใจเลยที่รัฐบาลนี้ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมต่อสภานี้ในสมัยประชุมนี้ เพราะความจริงก็เป็นเรื่องที่พวกกระผมได้คาดหมายไว้ก่อนแล้ว ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อรัฐบาลนี้ท่านตั้งเป้าหมายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ในลักษณะที่ค่อนข้างจะสูงเอามากๆ อย่างน้อยต้องโต 7% บ้าง ต้องโต 8% บ้าง และดูจะยังมุ่งที่จะทำให้โตถึง 10% ให้ได้ในปี 2548 เพราะฉะนั้นเมื่อสภาพของงความเป็นจริงในขณะที่ภาคเอกชชนเอง ยังอยู่ในลักษณะที่กลัวๆกล้า คือยังไม่ค่อยกล้าที่จะลงทุนกันมากนัก หรือเพียงกล้าที่จะลงทุนเฉพาะในบางสาขาเท่านั้น กระผมคิดว่าก็คงหนีไม่พ้นที่จะเป็นภาระของรัฐบาลเอง ที่จะต้องทุ่มเทเพื่อการนี้ ผมคิดว่านี่ประการหนึ่ง แล้วก็อีกประการหนึ่ง กระผมคิดว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่มีความเชื่อมั่นในเรื่องทุนมากเหลือเกิน ท่านเชื่อในเรื่องทุนหมุนเวียน ท่านเชื่อว่ายิ่งมีทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ มากมายขึ้นเพียงไร ก็ดูจะเป็นสภาพที่รัฐบาลท่านมีความพึงพอใจมากขึ้นเช่นนั้น
เพราะฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏอย่างชัดเจนว่า ท่านสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มเติมขึ้นได้เป็นอันมาก ในช่วงไตรมาสหนึ่งของปีงบประมาณ 2547 คือช่วงระยะเวลาระหว่างตุลาคม 2546 ถึงธันวาคม 2546 ซึ่งท่านก็ได้แถลงอย่างชัดเจนไปเมื่อสักครู่นี่แล้ว แล้วท่านก็ยังมีความมั่นใจต่อไปว่า ภาวะของการจัดเก็บรายได้ที่ว่านี้น่าจะยังมีอยู่ต่อไป จนกระทั่งตลอดปีงบประมาณ ด้วยความเชื่อมั่นที่จะเพิ่มทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น ท่านก็ได้จัดดำเนินการให้มีการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม อย่างที่พวกเราทั้งหลายก็ดูจะได้รับข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนอยู่แล้ว ซึ่งก็จะได้ทำหน้าที่อภิปรายกันต่อไป วันนี้นายกฯท่านแถลงสั้น กระผมเองก็คงจะอภิปรายไม่ยาวนานมากนัก มีอยู่เพียง 2-3 ประเด็นเท่านั้น
ประเด็นแรกที่กระผมคิดว่าควรจะได้ถือโอกาสนี้กราบเรียนต่อท่านประธานไว้ก่อนตอนนี้คืออว่า กระผมมีความรู้สึกว่ารัฐบาลนี้เริ่มทำผิดกฎหมายอีกแล้ว กระผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่ามือกฎหมายรัฐบาลมีเยอะมากมาย แต่ว่าทำไมเรื่องอย่างนี้มือกฎหมายของรัฐบาลถึงมองกันไม่เห็นเลย กระผมคิดว่าข้อเท็จจริงดูจะเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว ทั้งจากการแถลงของรัฐบาลเองหรือจากข่าวคราวของการประชุมคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับงบประมาณดังกล่าวนี้เมื่อไม่ช้าไม่นานมานี้ นั่นก็คือว่า ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 ท่านประธานครับ มาตรา 17 แห่งร่างพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ 2502 นั้นเขาเขียนไว้อย่างไร ผมขออนุญาตอ่านให้ท่านประธานฟัง
มาตรา 17ของพระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ.2502 นั้นเขียนเอาไว้ว่า ’ในกรณีจำเป็นจะต้องจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันธ์เกินกว่า หรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี คณะรัฐมนตรีอาจเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมต่อรัฐสภาได้ และให้แสดงถึงเงินที่พึงได้มาสำหรับจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่ขอตั้งเอาไว้ด้วย‘
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5/02/47--จบ--
-สส-