กรุงเทพ--6 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเรื่องผู้แทน คณะกรรมาธิการยุโรปเชิญเอกอัครราชทูตหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป ไปพบเรื่องไข้หวัดนกในประเทศไทย
วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2547) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่กระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับรายงานข่าวที่ว่าผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปเชิญเอกอัครราชทูตหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรปไปพบเพื่อแสดงท่าทีเกี่ยวกับการที่ไทยไม่เปิดเผยข้อมูลเรื่องไข้หวัดนกในประเทศไทย กับนาย David Byrne กรรมาธิการด้านสาธารณสุขและคุ้มครองผู้บริโภค แห่งสหภาพยุโรป สรุปได้ดังนี้
1. วันที่ผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปเชิญเอกอัครราชทูต ฯ ไปพบในวันที่ 29 มกราคม 2547 นั้น ฝ่ายสหภาพยุโรปยังไม่ได้รับรายงานผลการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยโรคระบาดในสัตว์ปีกซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2547 ฝ่ายสหภาพยุโรปจึงเชิญเอกอัครราชทูตฯ ไปพบเพื่อขอทราบผลการประชุมและขอความกระจ่างในประเด็นที่ฝ่ายไทยไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับไข้หวัดนกให้นาย David Byrne ผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปได้ทราบ ในครั้งที่เดินทางมาประเทศไทยระหว่างวันที่ 19-23 มกราคม 2547 ซึ่งฝ่ายไทยได้ชี้แจงให้ทราบว่าประเทศไทยมิได้มีเจตนาที่จะปิดบังข้อมูลใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ตราบใดที่ผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ยังไม่ยืนยันว่าเป็นโรคไข้หวัดนก รัฐบาลไทยก็ยังไม่สามารถแจ้งผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปได้ เพราะรัฐบาลไม่สามารถคาดการณ์เรื่องที่ยังไม่ชัดเจนในทางวิทยาศาสตร์ได้
2. ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้แจ้งเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า กระทรวงฯ ได้เชิญคณะทูตที่ประจำอยู่ในประเทศไทยมาฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการที่ประเทศไทยจะจัดประชุมเรื่องโรคระบาดในสัตว์ปีก เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2547 ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ทราบผลการตรวจสอบว่าเป็นโรคไข้หวัดนก โดยผู้แทนสถานทูตที่มาประชุมในวันนั้นหลายรายสอบถามว่า เหตุใดจึงไม่เรียกว่าเป็นการประชุมเรื่องโรคไข้หวัดนก ซึ่งฝ่ายไทยได้ชี้แจงว่า ถึงแม้ทุกคนจะคิดว่าน่าจะเป็นโรคไข้หวัดนก แต่ตราบใดที่ผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ยังไม่ออกมา ก็ยังไม่สามารถเรียกว่าเป็นโรคไข้หวัดนก คงเรียกได้เพียงว่าโรคระบาดในสัตว์ปีก ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งโรคทางเดินหายใจ โรคอหิวาต์ หรือโรคไข้หวัดนก แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2547 ผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ยืนยันออกมาว่าเป็นโรคไข้หวัดนก ฝ่ายไทยก็แจ้งให้ทุกฝ่ายทราบว่าแม้ชื่อการประชุมจะเรียกว่าการประชุมเกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์ปีก แต่ประเด็นของเรื่องที่จะประชุมกันก็คือเรื่องโรคไข้หวัดนก ซึ่งองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่มาร่วมประชุมคือ WHO OIE และ FAO ต่างก็เห็นด้วยกับจุดยืนของไทยในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้น ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2547 เป็นต้นมาที่ผลการตรวจสอบวิทยาศาสตร์ออกมาแล้วไทยก็ประกาศชัดเจนว่าเป็นโรคไข้หวัดนก
3. ในการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่กระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2547 ซึ่งได้เชิญองค์การระหว่างประเทศและตัวแทนประเทศผู้บริโภคเข้าร่วมประชุมด้วย ก็เป็นการนำความจริงทุกอย่างมาพูดกันชัดเจน ผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญก็แจ้งในที่ประชุมว่า พอใจประเทศไทยที่มีความโปร่งใสและจะส่งข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของเรื่องนี้ถึงสหภาพยุโรปวันต่อวัน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ขอความร่วมมือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งข้อมูลให้สหภาพยุโรปวันต่อวันด้วยโดยเฉพาะข้อมูลทางด้านเทคนิค ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานว่า ช่วงต่อมาสหภาพยุโรปมีความเข้าใจดีขึ้น กล่าวคืออนุญาตให้นำไก่สุกของไทยเข้าสหภาพยุโรปได้ ส่วนที่ห้ามนำเข้า 6 เดือนคือไก่สด ซึ่งแสดงว่า ความเข้าใจของสหภาพยุโรปในนโยบายของไทยและผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์คงจะค่อย ๆ ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
4. ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงแรก ๆ ที่ยังไม่ทราบผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์นั้น เป็นช่วงที่มีความสับสนเพราะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปเดินทางมาประเทศไทยในขณะที่ยังไม่ทราบผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ และในช่วงที่ผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปเดินทางกลับ ฝ่ายไทยและองค์การระหว่างประเทศก็แจ้งว่า ยังไม่มีโรคไข้หวัดนก แต่เมื่อผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปเดินทางกลับไปเรียบร้อยแล้ว จึงมีการยืนยันผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ว่าเป็นโรคไข้หวัดนก จึงอาจทำให้ผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปรู้สึกอึดอัดว่าวันที่เดินทางมาและวันที่เดินทางกลับไปแล้วข้อมูลไม่ตรงกัน แต่เรื่องทั้งหมดนี้สามารถอธิบายได้ และเมื่อกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลมา กระทรวงการต่างประเทศก็นำไปอธิบายให้สหภาพยุโรปฟัง ซึ่งฝ่ายสหภาพยุโรปก็เข้าใจดีขึ้นเป็นลำดับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเรื่องผู้แทน คณะกรรมาธิการยุโรปเชิญเอกอัครราชทูตหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป ไปพบเรื่องไข้หวัดนกในประเทศไทย
วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2547) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่กระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับรายงานข่าวที่ว่าผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปเชิญเอกอัครราชทูตหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรปไปพบเพื่อแสดงท่าทีเกี่ยวกับการที่ไทยไม่เปิดเผยข้อมูลเรื่องไข้หวัดนกในประเทศไทย กับนาย David Byrne กรรมาธิการด้านสาธารณสุขและคุ้มครองผู้บริโภค แห่งสหภาพยุโรป สรุปได้ดังนี้
1. วันที่ผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปเชิญเอกอัครราชทูต ฯ ไปพบในวันที่ 29 มกราคม 2547 นั้น ฝ่ายสหภาพยุโรปยังไม่ได้รับรายงานผลการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยโรคระบาดในสัตว์ปีกซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2547 ฝ่ายสหภาพยุโรปจึงเชิญเอกอัครราชทูตฯ ไปพบเพื่อขอทราบผลการประชุมและขอความกระจ่างในประเด็นที่ฝ่ายไทยไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับไข้หวัดนกให้นาย David Byrne ผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปได้ทราบ ในครั้งที่เดินทางมาประเทศไทยระหว่างวันที่ 19-23 มกราคม 2547 ซึ่งฝ่ายไทยได้ชี้แจงให้ทราบว่าประเทศไทยมิได้มีเจตนาที่จะปิดบังข้อมูลใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ตราบใดที่ผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ยังไม่ยืนยันว่าเป็นโรคไข้หวัดนก รัฐบาลไทยก็ยังไม่สามารถแจ้งผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปได้ เพราะรัฐบาลไม่สามารถคาดการณ์เรื่องที่ยังไม่ชัดเจนในทางวิทยาศาสตร์ได้
2. ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้แจ้งเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า กระทรวงฯ ได้เชิญคณะทูตที่ประจำอยู่ในประเทศไทยมาฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการที่ประเทศไทยจะจัดประชุมเรื่องโรคระบาดในสัตว์ปีก เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2547 ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ทราบผลการตรวจสอบว่าเป็นโรคไข้หวัดนก โดยผู้แทนสถานทูตที่มาประชุมในวันนั้นหลายรายสอบถามว่า เหตุใดจึงไม่เรียกว่าเป็นการประชุมเรื่องโรคไข้หวัดนก ซึ่งฝ่ายไทยได้ชี้แจงว่า ถึงแม้ทุกคนจะคิดว่าน่าจะเป็นโรคไข้หวัดนก แต่ตราบใดที่ผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ยังไม่ออกมา ก็ยังไม่สามารถเรียกว่าเป็นโรคไข้หวัดนก คงเรียกได้เพียงว่าโรคระบาดในสัตว์ปีก ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งโรคทางเดินหายใจ โรคอหิวาต์ หรือโรคไข้หวัดนก แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2547 ผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ยืนยันออกมาว่าเป็นโรคไข้หวัดนก ฝ่ายไทยก็แจ้งให้ทุกฝ่ายทราบว่าแม้ชื่อการประชุมจะเรียกว่าการประชุมเกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์ปีก แต่ประเด็นของเรื่องที่จะประชุมกันก็คือเรื่องโรคไข้หวัดนก ซึ่งองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่มาร่วมประชุมคือ WHO OIE และ FAO ต่างก็เห็นด้วยกับจุดยืนของไทยในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้น ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2547 เป็นต้นมาที่ผลการตรวจสอบวิทยาศาสตร์ออกมาแล้วไทยก็ประกาศชัดเจนว่าเป็นโรคไข้หวัดนก
3. ในการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่กระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2547 ซึ่งได้เชิญองค์การระหว่างประเทศและตัวแทนประเทศผู้บริโภคเข้าร่วมประชุมด้วย ก็เป็นการนำความจริงทุกอย่างมาพูดกันชัดเจน ผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญก็แจ้งในที่ประชุมว่า พอใจประเทศไทยที่มีความโปร่งใสและจะส่งข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของเรื่องนี้ถึงสหภาพยุโรปวันต่อวัน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ขอความร่วมมือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งข้อมูลให้สหภาพยุโรปวันต่อวันด้วยโดยเฉพาะข้อมูลทางด้านเทคนิค ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานว่า ช่วงต่อมาสหภาพยุโรปมีความเข้าใจดีขึ้น กล่าวคืออนุญาตให้นำไก่สุกของไทยเข้าสหภาพยุโรปได้ ส่วนที่ห้ามนำเข้า 6 เดือนคือไก่สด ซึ่งแสดงว่า ความเข้าใจของสหภาพยุโรปในนโยบายของไทยและผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์คงจะค่อย ๆ ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
4. ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงแรก ๆ ที่ยังไม่ทราบผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์นั้น เป็นช่วงที่มีความสับสนเพราะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปเดินทางมาประเทศไทยในขณะที่ยังไม่ทราบผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ และในช่วงที่ผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปเดินทางกลับ ฝ่ายไทยและองค์การระหว่างประเทศก็แจ้งว่า ยังไม่มีโรคไข้หวัดนก แต่เมื่อผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปเดินทางกลับไปเรียบร้อยแล้ว จึงมีการยืนยันผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ว่าเป็นโรคไข้หวัดนก จึงอาจทำให้ผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปรู้สึกอึดอัดว่าวันที่เดินทางมาและวันที่เดินทางกลับไปแล้วข้อมูลไม่ตรงกัน แต่เรื่องทั้งหมดนี้สามารถอธิบายได้ และเมื่อกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลมา กระทรวงการต่างประเทศก็นำไปอธิบายให้สหภาพยุโรปฟัง ซึ่งฝ่ายสหภาพยุโรปก็เข้าใจดีขึ้นเป็นลำดับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-