กรุงเทพ--6 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในระหว่างวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2547 มูลนิธิโครงการหลวงกำหนดเชิญคณะทูตเยี่ยมชมโครงการหลวงดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเผยแพร่ให้ชาวต่างประเทศทราบถึงบทบาทและการดำเนินงานของมูลนิธิฯ ในการช่วยแก้ปัญหาพืชเสพติดทั้งในและต่างประเทศ โครงการนี้เป็นแบบอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ที่ประสบปัญหาคล้ายกัน และเป็นตัวอย่างโครงการที่ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขา อันเป็นผลให้มูลนิธิโครงการหลวงได้รับรางวัล Colombo Plan เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2546 โดย ศ.ดร.กำพล อดุลยวิทย์ ที่ปรึกษามูลนิธิโครงการหลวง เป็นผู้แทนไปรับรางวัลจาก Colombo Plan: Drug Advisory Program (DAP) ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ในฐานะที่เป็นองค์กรเดียวในโลกที่สามารถแก้ไขปัญหาฝิ่นในเชิงสร้างสรรค์เป็นผลสำเร็จโดยการส่งเสริมการปลูกพืชทดแทนฝิ่นบนพื้นที่สูงของประเทศไทย ซึ่งคัดเลือกจากองค์กรต่างๆ กว่า 300 องค์กรจาก 24 ประเทศสมาชิก Colombo Plan
มูลนิธิโครงการหลวงได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2512 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดการปลูกฝิ่นและช่วยราษฎรชาวไทยภูเขาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร โดยในระยะแรกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่าโครงการหลวง โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้อำนวยการ ต่อมาในปี 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้โครงการหลวงจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ มีชื่อเรียกว่า มูลนิธิโครงการหลวงโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนายกกิตติมศักดิ์ และหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงเป็นประธานมูลนิธิ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสรับสั่งเกี่ยวกับงานโครงการหลวง ดังนี้ “เรื่องที่จะช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขานั้น มีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขาเพื่อจะส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถที่จะเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้ของเขาเอง ที่มีโครงการนี้จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือ มนุษยธรรม หมายถึง ให้ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารสามารถที่จะมีความรู้และพยุงตัว มีความเจริญก้าวหน้าได้ อีกอย่างหนึ่ง ก็เป็นเรื่องช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่าควรจะช่วย เพราะเป็นปัญหาใหญ่คือ ปัญหาเรื่องยาเสพติด ถ้าช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็นประโยชน์บ้าง เขาจะเลิกปลูกยาเสพติดคือ ฝิ่น ทำให้นโยบายการระงับ การปราบปรามการปลูกพืชฝิ่นและการค้าฝิ่นได้ผลดี อันนี้ก็เป็นผลอย่างหนึ่ง ผลอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งสำคัญมากก็คือ ชาวเขาตามที่รู้เป็นผู้ที่ทำการเพาะปลูกโดยวิธีไม่ถูกต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยเขาก็เท่ากับช่วยบ้านเมืองให้มีความดีความอยู่ดีกินดีและปลอดภัยได้อีกทั่วประเทศ เพราะถ้าสามารถทำโครงการนี้ได้สำเร็จ ให้เขาอยู่เป็นหลักแหล่ง สามารถที่จะมีความอยู่ดีกินดีพอสมควรและสนับสนุนนโยบายที่จะรักษาป่าไม้ รักษาดินให้เป็นประโยชน์ต่อไป ประโยชน์อันนี้จะยั่งยืนนานมาก”ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยาและลำพูน โดยมีสถานีวิจัย 4 แห่งและศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 36 แห่ง มีหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 444 กลุ่มบ้าน ประชากร 14,043 ครอบครัว ประกอบด้วย เผ่าม้ง เย้า กระเหรี่ยง มูเซอ อีก้อ ละว้า จีนฮ่อและคนเมิง รวมประชากรทั้งสิ้น 100,940 คนมูลนิธิโครงการหลวงเป็นแหล่งศึกษาดูงานการแก้ไขปัญหาพืชเสพติดทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนได้ให้ความช่วยเหลือราชอาณาจักรภูฏานในด้านการพัฒนาการเกษตรอีกด้วย จากการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งด้านการปลูกพืชทดแทนฝิ่นและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวไทยภูเขาอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ มูลนิธิโครงการหลวงได้รับรางวัล “แมกไซไซ” ในปี 2531
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ในระหว่างวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2547 มูลนิธิโครงการหลวงกำหนดเชิญคณะทูตเยี่ยมชมโครงการหลวงดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเผยแพร่ให้ชาวต่างประเทศทราบถึงบทบาทและการดำเนินงานของมูลนิธิฯ ในการช่วยแก้ปัญหาพืชเสพติดทั้งในและต่างประเทศ โครงการนี้เป็นแบบอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ที่ประสบปัญหาคล้ายกัน และเป็นตัวอย่างโครงการที่ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขา อันเป็นผลให้มูลนิธิโครงการหลวงได้รับรางวัล Colombo Plan เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2546 โดย ศ.ดร.กำพล อดุลยวิทย์ ที่ปรึกษามูลนิธิโครงการหลวง เป็นผู้แทนไปรับรางวัลจาก Colombo Plan: Drug Advisory Program (DAP) ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ในฐานะที่เป็นองค์กรเดียวในโลกที่สามารถแก้ไขปัญหาฝิ่นในเชิงสร้างสรรค์เป็นผลสำเร็จโดยการส่งเสริมการปลูกพืชทดแทนฝิ่นบนพื้นที่สูงของประเทศไทย ซึ่งคัดเลือกจากองค์กรต่างๆ กว่า 300 องค์กรจาก 24 ประเทศสมาชิก Colombo Plan
มูลนิธิโครงการหลวงได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2512 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดการปลูกฝิ่นและช่วยราษฎรชาวไทยภูเขาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร โดยในระยะแรกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่าโครงการหลวง โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้อำนวยการ ต่อมาในปี 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้โครงการหลวงจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ มีชื่อเรียกว่า มูลนิธิโครงการหลวงโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนายกกิตติมศักดิ์ และหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงเป็นประธานมูลนิธิ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสรับสั่งเกี่ยวกับงานโครงการหลวง ดังนี้ “เรื่องที่จะช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขานั้น มีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขาเพื่อจะส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถที่จะเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้ของเขาเอง ที่มีโครงการนี้จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือ มนุษยธรรม หมายถึง ให้ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารสามารถที่จะมีความรู้และพยุงตัว มีความเจริญก้าวหน้าได้ อีกอย่างหนึ่ง ก็เป็นเรื่องช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่าควรจะช่วย เพราะเป็นปัญหาใหญ่คือ ปัญหาเรื่องยาเสพติด ถ้าช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็นประโยชน์บ้าง เขาจะเลิกปลูกยาเสพติดคือ ฝิ่น ทำให้นโยบายการระงับ การปราบปรามการปลูกพืชฝิ่นและการค้าฝิ่นได้ผลดี อันนี้ก็เป็นผลอย่างหนึ่ง ผลอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งสำคัญมากก็คือ ชาวเขาตามที่รู้เป็นผู้ที่ทำการเพาะปลูกโดยวิธีไม่ถูกต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยเขาก็เท่ากับช่วยบ้านเมืองให้มีความดีความอยู่ดีกินดีและปลอดภัยได้อีกทั่วประเทศ เพราะถ้าสามารถทำโครงการนี้ได้สำเร็จ ให้เขาอยู่เป็นหลักแหล่ง สามารถที่จะมีความอยู่ดีกินดีพอสมควรและสนับสนุนนโยบายที่จะรักษาป่าไม้ รักษาดินให้เป็นประโยชน์ต่อไป ประโยชน์อันนี้จะยั่งยืนนานมาก”ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยาและลำพูน โดยมีสถานีวิจัย 4 แห่งและศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 36 แห่ง มีหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 444 กลุ่มบ้าน ประชากร 14,043 ครอบครัว ประกอบด้วย เผ่าม้ง เย้า กระเหรี่ยง มูเซอ อีก้อ ละว้า จีนฮ่อและคนเมิง รวมประชากรทั้งสิ้น 100,940 คนมูลนิธิโครงการหลวงเป็นแหล่งศึกษาดูงานการแก้ไขปัญหาพืชเสพติดทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนได้ให้ความช่วยเหลือราชอาณาจักรภูฏานในด้านการพัฒนาการเกษตรอีกด้วย จากการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งด้านการปลูกพืชทดแทนฝิ่นและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวไทยภูเขาอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ มูลนิธิโครงการหลวงได้รับรางวัล “แมกไซไซ” ในปี 2531
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-