กรุงเทพ--6 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จะจัดการสัมมนาร่วมกับชมรมนักจัดรายการวิทยุชายแดน ครั้งที่ 6 ขึ้นระหว่างวันที่ 11-14 กุมภาพันธ์ 2547 ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยจะมีผู้ร่วมการสัมมนา ได้แก่ เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ อัครราชทูตประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ กงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต รองอธิบดีกรมสารนิเทศ รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก และรองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ตลอดจนเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงการต่างประเทศ และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการเข้าร่วมของสมาชิกชมรมนักจัดรายการวิทยุชายแดน และ ผู้สังเกตการณ์ จำนวน 81 คน จาก 18 จังหวัดชายแดนทั้งด้านไทย-ลาว และด้านไทย-กัมพูชา
การจัดสัมมนาร่วมฯ นั้น มาจากแนวความคิดของสถานกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต ซึ่งได้เสนอให้จัดสัมมนานักจัดรายการวิทยุในจังหวัดชายแดนไทย-ลาวขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2543 อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดชมรมนักจัดรายการวิทยุชายแดนไทย-ลาว และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปี 2546 กรมสารนิเทศก็ได้ดำเนินการจัดสัมมนาร่วมกับชมรมนักจัดรายการวิทยุชายแดนรวม 5 ครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน 2543 ที่จังหวัดมุกดาหาร ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ที่จังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนกันยายน 2544 ที่จังหวัดหนองคาย ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมิถุนายน 2545 ที่จังหวัดเชียงราย และครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2546 ที่จังหวัดหนองคาย
สำหรับเป้าหมายของการจัดสัมมนาร่วมฯ มีดังนี้
1. เพื่อใช้สื่อวิทยุซึ่งเข้าถึงประชาชนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะรายการวิทยุที่กระจายเสียงจากสถานีวิทยุของไทยในจังหวัดชายแดนทางภาคอีสานที่ประชาชนลาวรับฟังได้และเข้าใจเป็นอย่างดี รวมทั้งมีความนิยมทั้งในภาษาไทย อีสาน และภาษาลาว ในการเสนอรายการข่าวเชิงประชาสัมพันธ์และสร้างสรรค์เกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินงานของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกระชับความสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเน้นการสร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อประเทศไทยให้กับประชาชนเหล่านั้น
2. เพื่อประสานงานให้การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารข้อมูลของรัฐบาลมีความชัดเจนและถูกต้อง สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศ โดยเน้นการสื่อและถ่ายทอดโดยตรงถึง นักจัดรายการวิทยุชายแดนฯ จากกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นการ หลีกเลี่ยงการนำเสนอข่าวที่อาจมีผลกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ รวมทั้งจะช่วยให้ผู้จัดรายการตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ในการมีส่วนร่วมส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีชายแดนติดกับไทย
3. เพื่อขยายเครือข่ายการกระจายเสียงของสถานีวิทยุสราญรมย์ออกไปยังสถานีวิทยุ ชายแดนโดยนำไปถ่ายทอดเป็นภาษาท้องถิ่น
4. มุ่งหวังให้ผู้จัดรายการวิทยุชายแดนศึกษานโยบายและท่าทีของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีร่วมกันและนำเสนอข่าวในแนวสร้างสรรค์ที่มีทิศทางร่วมกัน
จากจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งชมรมนักจัดรายการวิทยุชายแดนไทย-ลาว ดังที่กล่าวมา ปัจจุบันได้มีพัฒนาการของแนวความคิดไปสู่ความเป็น “ชมรมนักจัดรายการวิทยุชายแดน” ทั้งนี้ เพื่อให้เป้าหมายดังกล่าวข้างต้นได้รับการสนองตอบและเพื่อเป็นการขยายผลให้ครอบคลุมพื้นที่ชายแดนที่ติดกับกัมพูชา และอาจขยายต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ในโอกาสต่อไป ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์เต็มเม็ด เต็มหน่วยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในระหว่างการสัมมนาร่วมฯ ครั้งที่ 5 จึงได้มีการหารือเพื่อความเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงชื่อชมรมที่เคยจำกัดเฉพาะชายแดนไทย-ลาว มาเป็น “ชมรมนักจัดรายการวิทยุชายแดน”
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จะจัดการสัมมนาร่วมกับชมรมนักจัดรายการวิทยุชายแดน ครั้งที่ 6 ขึ้นระหว่างวันที่ 11-14 กุมภาพันธ์ 2547 ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยจะมีผู้ร่วมการสัมมนา ได้แก่ เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ อัครราชทูตประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ กงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต รองอธิบดีกรมสารนิเทศ รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก และรองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ตลอดจนเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงการต่างประเทศ และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการเข้าร่วมของสมาชิกชมรมนักจัดรายการวิทยุชายแดน และ ผู้สังเกตการณ์ จำนวน 81 คน จาก 18 จังหวัดชายแดนทั้งด้านไทย-ลาว และด้านไทย-กัมพูชา
การจัดสัมมนาร่วมฯ นั้น มาจากแนวความคิดของสถานกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต ซึ่งได้เสนอให้จัดสัมมนานักจัดรายการวิทยุในจังหวัดชายแดนไทย-ลาวขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2543 อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดชมรมนักจัดรายการวิทยุชายแดนไทย-ลาว และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปี 2546 กรมสารนิเทศก็ได้ดำเนินการจัดสัมมนาร่วมกับชมรมนักจัดรายการวิทยุชายแดนรวม 5 ครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน 2543 ที่จังหวัดมุกดาหาร ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ที่จังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนกันยายน 2544 ที่จังหวัดหนองคาย ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมิถุนายน 2545 ที่จังหวัดเชียงราย และครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2546 ที่จังหวัดหนองคาย
สำหรับเป้าหมายของการจัดสัมมนาร่วมฯ มีดังนี้
1. เพื่อใช้สื่อวิทยุซึ่งเข้าถึงประชาชนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะรายการวิทยุที่กระจายเสียงจากสถานีวิทยุของไทยในจังหวัดชายแดนทางภาคอีสานที่ประชาชนลาวรับฟังได้และเข้าใจเป็นอย่างดี รวมทั้งมีความนิยมทั้งในภาษาไทย อีสาน และภาษาลาว ในการเสนอรายการข่าวเชิงประชาสัมพันธ์และสร้างสรรค์เกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินงานของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกระชับความสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเน้นการสร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อประเทศไทยให้กับประชาชนเหล่านั้น
2. เพื่อประสานงานให้การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารข้อมูลของรัฐบาลมีความชัดเจนและถูกต้อง สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศ โดยเน้นการสื่อและถ่ายทอดโดยตรงถึง นักจัดรายการวิทยุชายแดนฯ จากกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นการ หลีกเลี่ยงการนำเสนอข่าวที่อาจมีผลกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ รวมทั้งจะช่วยให้ผู้จัดรายการตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ในการมีส่วนร่วมส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีชายแดนติดกับไทย
3. เพื่อขยายเครือข่ายการกระจายเสียงของสถานีวิทยุสราญรมย์ออกไปยังสถานีวิทยุ ชายแดนโดยนำไปถ่ายทอดเป็นภาษาท้องถิ่น
4. มุ่งหวังให้ผู้จัดรายการวิทยุชายแดนศึกษานโยบายและท่าทีของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีร่วมกันและนำเสนอข่าวในแนวสร้างสรรค์ที่มีทิศทางร่วมกัน
จากจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งชมรมนักจัดรายการวิทยุชายแดนไทย-ลาว ดังที่กล่าวมา ปัจจุบันได้มีพัฒนาการของแนวความคิดไปสู่ความเป็น “ชมรมนักจัดรายการวิทยุชายแดน” ทั้งนี้ เพื่อให้เป้าหมายดังกล่าวข้างต้นได้รับการสนองตอบและเพื่อเป็นการขยายผลให้ครอบคลุมพื้นที่ชายแดนที่ติดกับกัมพูชา และอาจขยายต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ในโอกาสต่อไป ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์เต็มเม็ด เต็มหน่วยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในระหว่างการสัมมนาร่วมฯ ครั้งที่ 5 จึงได้มีการหารือเพื่อความเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงชื่อชมรมที่เคยจำกัดเฉพาะชายแดนไทย-ลาว มาเป็น “ชมรมนักจัดรายการวิทยุชายแดน”
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-